สถาบันนโยบายสาธารณะ

TH | EN

เปิดมติเครือข่ายสมัชชาสุข ภาพภาคใต้ หนุนเลือกผู้ว่าฯให้พื้น ที่จัดการตนเอง

การประชุมเวทีวิชาการสมัช ชาสุขภาพภาคใต้ “10 ปี พัฒนาวิชชา สมัชชาสุขภาพ” และสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา เริ่มต้นขึ้นแล้ว เมื่อ 11 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วนกว่า 500 คน

โอกาสนี้เครือข่ายสมัชชา สุขภาพ 14 จังหวัดภาคใต้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา ที่มีแนวคิดและมุ่งไปสู่ “สงขลาพอเพียง” ก่อนเข้ากลุ่มย่อยเสนอมติวาระสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ.2553 มาเสนอเวทีใหญ่ที่มีนายทวีวัตร เครือสาย แกนนำเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร เป็นประธาน ด้วยวิถีแห่งสมัชชา ปรากฏสาระสำคัญตามวาระต่างๆ ที่น่าสนใจเช่น

วาระร่วมฝ่าวิกฤติความไม่เป็น ธรรม นำสังคมสู่สุขภาวะ มีมติเสนอให้

1.ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) แก้ไขระเบียบ กฎ เกณฑ์ และวิธีการในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด โดย

กำหนดให้องค์ประกอบของคณะ กรรมการ กบจ. มีสัดส่วนของคณะกรรมการที่มาจากภาคประชาสังคมไม่น้อยกว่าสอง ในสามของคณะกรรมการทั้งหมด  ทั้งนี้คณะกรรมการที่มาจากสัดส่วนภาคประชาสังคมต้องมีคุณสมบัติอย่าง ใดอย่างหนึ่ง ตามที่กำหนด

กำหนดให้การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดจะต้องพิจารณาจากแผนพัฒนาของ ชุมชนเป็นหลัก

กำหนดให้มี กระบวนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ ของภาคประชาชน

แก้ไขระเบียบ  ข้อบังคับ  ว่าด้วยหน่วยงานที่เสนอแผนงาน โครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากแผนพัฒนาจังหวัดแบบบูรณ ราการ โดยให้องค์กร ภาคี  เครือข่ายภาคประชาสังคมสามารถเสนอขอรับการจัด สรรงบประมาณได้โดยตรง

2.ให้คณะ รัฐมนตรีพิจารณาทบทวนและแก้ไขพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ...  ในประเด็นให้มีรูปแบบการปกครองเฉพาะการปกครองส่วน ท้องถิ่นและการปกครองส่วนกลาง ปรับรูปแบบการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับรูปแบบการบริหารราชการ ตามเสนอและ ให้คณะรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย ยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดินและป่าจำนวน 5ฉบับ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2541 และให้แต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนกฎหมาย ระเบียบ มติ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดินและป่า โดยให้มีขั้นตอนการดำเนินการที่ คณะกรรมการต้องประกอบด้วย ภาคราชการ  ภาควิชาการ  และภาคประชาชน  สัดส่วนของภาคประชาชนไม่น้อยกว่า 2ใน 3

ให้คณะรัฐมนตรี ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกลไกการจัดการความไม่เป็น ธรรมในระดับจังหวัด  โดยจะต้องจัดให้มีคณะกรรมการจัดการความไม่เป็นธรรมระดับจังหวัด  ประกอบด้วยผู้แทนจากพื้นที่ตามเขตการปกครอง (ทั้งท้องที่และท้องถิ่น) พื้นที่เชิงประเด็น  และพื้นที่เชิงภูมินิเวศ  และให้คณะกรรมการมีหน้าที่ในการกำหนดทิศทาง  แผนงาน วิธีการ  เครื่องมือ  ในการแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทั้งในเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่โดย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการ ภายใต้การติดตาม การประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ร่วมกับภาคประชาสังคม ทั้งนี้การดำเนินการในระยะเริ่มต้นให้ใช้การ ศึกษา วิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำเสนอรูปแบบที่เหมาะสม  และสร้างพื้นที่ต้นแบบภาคละ 2 จังหวัดภายในระยะเวลา 1 ปี โดยรัฐจะต้องจัดให้มีกองทุนจัดการความไม่เป็นธรรมทางสังคม ระดับจังหวัด เพื่อชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่เป็น ธรรมทางสังคม และสร้างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการความไม่เป็นธรรมให้ กับประชาชน

วาระสนับสนุนพื้นที่จัด การตนเองเพื่อสังคมสุขภาวะ

ประมวลสรุปข้อเสนอ  เป็น 4 ระดับกล่าวคือ ข้อเสนอระดับบุคคล

ข้อเสนอระดับชุมชนท้องถิ่น ข้อเสนอระดับจังหวัด และข้อเสนอระดับประเทศ แต่ละระดับมีนัยยน่าสนใจ เช่นระดับชาติ มีข้อเสนอ ให้มีการปรับแก้กฎหมาย ระเบียบ วิธีปฏิบัติของหน่วยงานราชการที่ขัดต่อบทบัญญัติ ตามรัฐธรรมณูญ ปี พ.ศ. 2550  และเป็นอุปสรรคต่อการสนับสนุน แนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่จัดการตนเองเพื่อสังคมสุขภาวะ

  1. สนับสนุนให้มีกลไกกลางในระดับ ภาค ในการทำหน้าที่บูรณาการทุกภาคส่วน (กระทรวง ทบวง กรม  หน่วยงาน ภาคเอกชน  องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ  ภาคประชาสังคม ฯลฯ) สนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ และติดตาม ประเมินผล อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ให้มีการศึกษาวิจัย บทบาท อำนาจและหน้าที่ การดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเมือง และการปกครองของโครงสร้างการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น  เพื่อสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงเช่น เดียวกับกรุงเทพมหานคร
  3. ให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  และกระทรวงมหาดไทย(ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) มีการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีมีสุขภาวะทางปัญญา
  4. ให้รัฐบาลทบทวนนโยบายประชานิยม ที่มุ่งสนับสนุนเฉพาะกลุ่ม  โดยให้ดูแลประชาชนอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกันตามหลักสิทธิพลเมือง ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

วาระการแก้ปัญหาวัยรุ่นไทยกับ การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมขอให้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติพิจารณาเกี่ยว กับ

  1. สนับสนุน รณรงค์ เผยแพร่ และสร้างทัศนคติ/ค่านิยมที่ดีต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสม ของวัยรุ่น

  2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดนโยบายและแผน เป็นนโยบายหลักในการเฝ้าระวัง ส่งเสริม ป้องกัน แก้ไขปัญหา และเยียวยา และสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในชุมชน

  3. มีการจัดตั้งโรงเรียนพ่อ แม่

  4. มีหลักสูตรเพศศึกษาใน สถาบันการศึกษาเป็นหลักสูตรบังคับ

  5. มีการจัดตั้งสภาเด็กและ เยาวชนทุกระดับ

  6. มีการจัดตั้งองค์กรอิสระ และเครือข่ายเฝ้าระวังในพื้นที่

  7. รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับแก้กฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องต่อปัญหาเด็กและเยาวชน รวมทั้งมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

นอกจากวาระที่กล่าวมาแล้วยังมีวาระ อื่นที่นำมาพิจารณากล่าวคือ

การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหาร สำหรับทารกและเด็ก ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ มาตรการทำให้สังคมไร้แร่ใยหิน

มาตรการในการควบคุมปัจจัยเสี่ยง ต่อสุขภาพด้านยาสูบและนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ

ผศ.ดร.พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ  ผู้อำนวยการ  สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจ.รส.ภาคใต้ มอ.) กล่าวถึงที่มาของแนวคิดสมัชชาว่า เนื่องจากสังคมทุกวันนี้มีความสลับซับซ้อน ปัญหาต่างๆมากขึ้นและเป็นปัญหาซับซ้อน  ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาก็มีหลายปัจจัยประกอบกัน ไม่ง่ายเหมือนเดิม

“อย่างปัญหาเด็กและยาวชน ตั้งครรภ์วัยเรียน ปัญหา ไม่ได้อยู่ที่ตัวเด็ก มันโยงใยไปถึงปัญหาครอบครัว สื่อมวลชน การโฆษณา หรือ อินเตอร์เนท กระแสทุนนิยม บริโภคนิยมที่ไหลบ่าเข้ามา ล้วนมีความซับซ้อนมากขึ้น การแก้แบบเดิมที่ให้หน่วยงานต่างๆไปดูแลกันเอง กระทรวง ต่างๆไปดูซิว่า ปัญหาอย่างไร จะแก้อย่างไร มันไม่พอแล้ว”

ด้วยเหตุดังกล่าว ผอ. สจ.รส. จึงกล่าวว่ามีความต้องการที่ให้คนที่เจอปัญหานี้มานั่งคุยกันว่า จะทำอย่างไรเอาคนหลายคนมาคิดร่วมกัน การคุยแบบนี้จะคุยแบบฐานความเห็น หรือคุยแบบธรรมดาไม่ได้ ต้องคุยแบบมีกระบวนการ

พรบ.สุขภาพแห่งชาติมีกระบวนการ พยายามค้นหาว่ากระบวนการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน จะทำอย่างไร มาเห็นว่าต้องใช้แนวคิด สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ดึงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆมา นั่งคุยกัน เป็นการรวมพลังการทำงานร่วมกัน ขณะเดียวกันเป็นการทำงานบนฐานความรู้ ฐานปัญญา ฐานของจิตวิญญาณ

“ผิดกับที่ผ่านมาซึ่งไม่รู้ จริงว่าวิธีการใดดีที่สุดในการแก้ปัญหา  แต่เมื่อเอาสิ่งที่ดี ปฏิบัติการชุมชนดีๆมานั่งคุยกัน เพื่อหาจุดหมายร่วมหาวิธีการทำงานร่วมกันจะขับเคลื่อนไปได้”

ผศ.ดร.พงค์เทพกล่าวว่าสัง คมไทยใช้พลังความรู้อย่างเดียวไม่พอ เพราะว่ากลไกขับเคลื่อนสังคมขณะนี้อยู่ที่ ภาครัฐ และท้องถิ่น  จึงต้องนำสองส่วนนี้มารวมตัวกัน  สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาจึงรวมพลังฐานความรู้ และต้องอาศัยช่องทาง โครงสร้างเชิงอำนาจของรัฐ ซึ่งฐานเหล่านี้ถ้าจะขยับให้เกิดกระบวนการได้ต้องมีกระบวนการ ทำงาน เหมือนนาฬิกาเคลื่อนไหวได้ต้องมีกลไก เข็ม สั้น เข็มยาว กลไก พรบ.สุขภาพ จึงมองไปถึงกลไกเชิงพื้นที่  ประเด็น และระดับชาติ

กรณีพื้นที่ มองไปถึง ระดับตำบลแต่เนื่องจากว่า ระดับตำบลขยับยากเพราะพื้นที่มาก  เลยขยับมาจังหวัด ต่อจากนั้นขยับมาเป็นระดับภาค มีกลไกกลางอันหนึ่งเป็นตัวประสานงาน เป้าหมายคือให้คนมาร่วมวางจุดหมาย คิดวิธีการทำงานร่วม ด้วยการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงานต่างๆ

“สจ.รส. เป็นตัวประสาน  เป็นกลไกอันหนึ่งที่ไปขยับ สร้างกลไกอื่นๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่เขามีอยู่แล้ว เราไปช่วยประสานงาน  ประเด็นที่ขึ้นมาเราไปช่วยดูว่า สิ่งที่เขามีอยู่ เขายังขาดอะไร เราไปเติมเต็ม เขาอาจเคลื่อนเรื่องการอนุรักษ์ แต่อาจเคลื่อนโดยมีพลัง เราถามว่ามีความรู้ไหม อยู่ภายใต้ชุดความรู้อะไร หรือเพราะว่าอยากทำไปเรื่อยๆ ประสบผลสำเร็จบ้างไม่ประสบผลสำเร็จบ้าง”

การเคลื่อนด้วยชุดความรู้ อาจทำให้รู้ว่าพื้นที่อื่นเคยเคลื่อนเรื่องนี้มา  ดำเนินการมาแบบไหน การรวมพลังทุกภาคส่วนครบหรือไม่ เช่นชุมชนทำอย่างเดียว แต่กลไกรัฐไม่ทำงาน ท้องถิ่นไม่ทำ โอกาสขับเคลื่อนไปได้เลย ทำยาก เป็นโจทย์ที่ สจรส. เข้าไปพัฒนาศักยภาพคนในพื้นที่ ทำหน้าที่เชื่อมให้องค์กรในพื้นที่เจอกับภาคประชาสังคม  ที่ผ่านมาชาวบ้านไปเจรจากับ อบต.หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดค่อนข้างลำบากเพราะ เข้าไม่ถึง สจ.รส.ก็ไปจัดช่องทางให้เขาไปเจอกัน เพื่อความเข้าใจ ตระหนัก เห็นด้วยกับกระบวนการและมาร่วมมือกัน

ผศ.ดร.พงค์เทพยังกล่าวว่า สมัชชาชาติมีกรรมการชุดหนึ่ง มาจากรูปแบบสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา คือมีทุกภาคส่วน เมื่อเขาจะจัดสมัชชาจะถามว่าภาคีเครือข่ายมีประเด็น อะไรเข้ามาบ้าง เป็นวาระในสมัชชาชาติ ข้อเสนอเข้ามาเป็น 100 กรรมการก็จะเลือกประเด็นที่เป็นวิกฤติของชาติ หลังเลือกเรื่องได้ จะตั้งกรรมการมาพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย หรือร่างมติ เลือกเสร็จจัดเป็นกลุ่ม ให้คนมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดช่วยกันคิด ว่าจะเอาอย่างไร คณะทำงานเสร็จจะส่งมาขอความเห็นจากทุกพื้นที่ ทุกจังหวัดให้ช่วยดูว่าแต่ละวาระ ใช้ได้ไหม พอแก้เสร็จก็ส่งกลับไปให้คณะทำงานแต่ละชุดปรับแก้ เพื่อส่งให้สมัชชาที่เข้าร่วม ได้รับทราบอีกรอบ

“ข้อเสนอวันนี้จะเข้าสมัช ชาชาติ” ผศ.ดรงพงค์เทพกล่าวว่าทุกปี ที่ผ่านมาแต่ละเครือข่ายจะดูของตัวเอง แต่ของภาคใต้ ในปีนี้กลับคิดว่ามาดูด้วยกัน เพราะบางเรื่องน่าจะต้องช่วยกันผลักดัน เพราะทุกเรื่องที่เสนอไม่ได้หมายความว่าคณะทำงานจะเอา แต่ถ้ามาทั้งภาค อย่างกรณีภาคใต้เห็นตรงกันว่าเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมจะมีน้ำหนักมากขึ้น

“วาระต่างๆ ถือว่าเป็นวาระของพื้นที่ เกี่ยวข้องกับพื้นที่  อย่างมีคนเสนอให้เลือกผู้ว่า พูดไปอาจไม่มีใครฟัง แต่ถ้า ภาคใต้ทั้งภาคเสนอ ให้เลือกตั้ง ผลกระทบจะเยอะกว่า”

สำหรับกรณีศึกษาสมัชชาใน 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อให้มีการวิเคราะห์ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว เป็นกระบวนการนโยบายสาธารณะ กระบวนการสมัชชาหรือไม่ ถ้าใช่มีผลกระทบอะไร ขณะเดียวกันให้เพื่อจังหวัดอื่นๆได้เห็นว่ามีความหลากหลาย และบนความหลากหลายมี แก่นว่าด้วยความร่วมมือ ใช้ฐานความรู้ในการเคลื่อน ด้วยปัญญา และใช้ช่องทางการเมืองและอำนาจรัฐในการเคลื่อน มีเป้าหมายร่วม และมีพันธะที่ทุกคนต้องนำไปปฏิบัติ

โดย ถนอม ขุนเพ็ชร์

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง