สถาบันนโยบายสาธารณะ

TH | EN

สจรส. มอ. ขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคระยะที่ 2

by sim @6 ม.ค. 53 14:36 ( IP : 172...98 ) | Tags : กิจกรรม
  • photo  , 304x228 pixel , 30,282 bytes.
  • photo  , 324x243 pixel , 27,664 bytes.
  • photo  , 324x243 pixel , 27,089 bytes.

สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดประชุมคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ภาคใต้ 2553 – 2554 ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2553  มีตัวแทนภาคีเครือข่ายร่วมประชุม  ได้แก่  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล  เทศบาลนครหาดใหญ่ ,เทศบาลตำบลปริก , องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู , องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามสำนักงานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดสงขลา , ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สงขลา ศูนย์พิทักษ์คุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนจังหวัดสตูล
โครงการได้สรุปผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคปีที่ผ่านมา  มีวัตถุประสงค์ทำให้กลไกต่างๆ เห็นความสำคัญถึงสถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภค จึงทำการสำรวจถึงสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในจังหวัด สงขลา สตูลและสุราษฏร์ธานี  พบว่า อาหารริมทางเท้าเป็นปัญหาในอันดับต้นๆ ผู้บริโภคเองก็ไม่เข้าใจในเรื่องสิทธิผู้บริโภค นอกจากสำรวจสถานการณ์ข้างต้น ทางโครงการได้รวมรวบหน่วยงานที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภค  บทบาทหน้าที่ สถานที่ติดต่อ  เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการทำงานร่วมกัน การพัฒนากลไกคุ้มครองผู้บริโภค ทางโครงการได้พยายามดึงภาคีที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม  เข้ามาร่วมพัฒนาระบบ เกิดบันทึกความร่วมมือในการทำงาน ร่วมกันผลักดันให้เกิดศูนย์พิทักษ์สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ อบต. ท่าข้าม , อบต. ควนรู ,  เทศบาลตำบลปริก , เทศบาลเมืองสตูล , ศูนย์พิทักษ์สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสงขลา , ศูนย์พิทักษ์สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนจังหวัดสตูล
การพัฒนากลไกเครือข่ายผู้บริโภคมีการจัดทำ Website www.consumersouth.org  เพื่อเป็นฐานความรู้ให้กับผู้บริโภค  ตลอดจนเป็นตัวเชื่อมประสานในการรับเรื่องร้องเรียน และการแก้ปัญหาให้กับผู้บริโภค สำหรับการดำเนินงานในปีที่ 2 มีเป้าหมาย คือ การพัฒนาศูนย์พิทักษ์สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคทั้งในระดับ อปท. และ ภาคประชาชน เป็นโมเดลนำร่องในรูปแบบองค์การอิสระ สร้างรูปแบบกลไกการประสานงาน แก้ปัญหา ชดเชยความเสียหาย ให้กับผู้บริโภค การสร้างปฏิบัติการแก้ปัญหาในชุมชน การสื่อสารสาธารณะ ที่ใช้เว็บไซต์ สื่อวิทยุ และ การจัดการความรู้  โดยจัดทำห้องเรียน มีหลักสูตรคุ้มครองผู้บริโภค ตัวชี้วัดที่ได้จากการทำงานจะต้องเกิดโมเดลระบบคุ้มครองผู้บริโภค อาจใช้จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดนำร่องและให้จังหวัดสตูลและสุราษฏร์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นอกจากนี้จะต้องเกิดนโยบาย ที่มีแผนเฝ้าระวัง การรับเรื่อง การเชื่อมต่อข้อมูล เกิด weblink ในการส่งต่อเรื่องร้องเรียนระหว่างหน่วยงาน เป้าหมายที่วางไว้จึงต้องอาศัยภาคีทั้งหลาย ช่วยกันทำงานเพื่อพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคของภาคใต้ให้เข้มแข็ง  โครงการคาดหวังว่า เมื่อสามจังหวัดนำร่องเข้มแข็ง จังหวัดอื่นๆจะสามารถนำโมเดลที่เกิดขึ้นไปพัฒนาต่อ เพื่อสร้างระบบคุ้มครองผู้บริโภค

Relate topics

Comment #1
ผู้บริโภคคนหนึ่ง (Not Member)
Posted @12 ม.ค. 53 23:17 ip : 222...123

อยากเห็นพลังของผู้บริโภคที่สงขลาเข้มแข็ง ๆ ๆ

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง