สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

การจัดระบบบริการสุขภาพด้านพัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนในพื้นที่พหุวัฒนธรรม เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธารโต

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ การจัดระบบบริการสุขภาพด้านพัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนในพื้นที่พหุวัฒนธรรม เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธารโต ”

อ.ธารโต

หัวหน้าโครงการ
นายมะยือรี หะแว นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นายสุไลมาน งอปูแล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ชื่อโครงการ การจัดระบบบริการสุขภาพด้านพัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนในพื้นที่พหุวัฒนธรรม เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธารโต

ที่อยู่ อ.ธารโต จังหวัด

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"การจัดระบบบริการสุขภาพด้านพัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนในพื้นที่พหุวัฒนธรรม เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธารโต จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อ.ธารโต

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การจัดระบบบริการสุขภาพด้านพัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนในพื้นที่พหุวัฒนธรรม เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธารโต



บทคัดย่อ

โครงการ " การจัดระบบบริการสุขภาพด้านพัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนในพื้นที่พหุวัฒนธรรม เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธารโต " ดำเนินการในพื้นที่ อ.ธารโต รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 180,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน นำหลักศาสนาควบคู่หลักการบริการสุขภาพ
  2. 2.เพื่อนำหลักการ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา นำมาปฎิบัติในระบบบริการสุขภาพสถานบริการสาธารณสุข
  3. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียน มีคุณภาพพัฒนาการสมวัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรม (สพส.) ครั้งที่ 1

    วันที่ 23 มกราคม 2561 เวลา 09.00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คัดเลือกตัวแทนกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด 2.ติดต่อประสานงาน 3.ส่งหนังสือเชิญ 4.ประชุมตามแผนการดำเนินงาน 5.พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีตัวแทนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมครบ 19 คน 2.คณะกรรมการมีความเข้าใจแผนการดำเนินงานโครงการ 3. มีแผนปฏิบัติการการดำเนินงาน

     

    19 19

    2. การประชุมเชิงปฏิบัติการการรายงานกิจกรรมและรายงานการเงินแบบออนไลน์

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงขั้นตอนการบันทึกข้อมูลโครงการการจัดระบบสุขภาพในพื้นทีพหุวัฒนธรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถบันทึกข้อมูลรายงานกิจกรรมและรายงานการเงินลงในเว็บไซต์สจรส.ได้ถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์

     

    2 2

    3. ประชุมคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรม (สพส.) ครั้งที่ 2

    วันที่ 21 มีนาคม 2561 เวลา 09.00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดทำหนังสือเชิญประชุม
    2.ส่งหนังสือเชิญให้กลุ่มเป้าหมาย 3.ติดต่อประสานงาน 4.ดำเนินการประชุมตามแผน
    5.สรุปผลการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะกรรมการพหุวัฒนธรรมจำนวน 15 คน และคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอธารโต จำนวน 15 คน 2.มีการนำเสนอ 1 ผลงาน

     

    19 23

    4. อบรมให้ความรู้การเลี้ยงดูและเสริมสร้างพัฒนาการเด็กแนวทางหลักศาสนา"กิน เล่น กวดขัน ปฏิบัติ"แก่ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ศพด.

    วันที่ 11 เมษายน 2561 เวลา 09:00-16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.หนังสือเชิญประชุม/เชิญวิทยากร 2.จัดทำเอกสารการประชุม 3.แบบสอบถามวัดความรู้ก่อน-หลัง 4.จัดอบรมให้ความรู้ 5. ร่วมซักถามแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรม อบรมให้ความรู้ การเลี้ยงดูพัฒนาการเด็ก (พัฒนาการ โภชนาการ วัคซีน สุขภาพฟัน)
    1. จำนวนผู้ร่วมอบรม 100 คน 2. ทดสอบความรู้ก่อน-หลัง ผลลัพธ์ผู้เข้าอบรมตอบแบบสอบถาม 87 คน มีความรู้เพิ่มขึ้นจำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 78.16
    3. มีร่างกำหนด ผ่านการติดตามเสริมความรู้ให้กับผู้ปกครอง และตรวจพัฒนาการเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

     

    100 100

    5. ประชุมคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรม (สพส.)ครั้งที่ 3

    วันที่ 18 เมษายน 2561 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ทำหนังสือเชิญประชุม
    2.ดำเนินการประชุมตามแผน
    3.นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงาน
    4.ร่วมถอดบทเรียนไตรมาสที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 18 คน
    2.นำเสนอผลการอบรมให้ความรู้การเลี้ยงดูและเสริมสร้างพัฒนาการเด็กแก่ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ศพด.
    3.แจ้งแผนการติดตามเสริมความรู้ให้กับผู้ปกครอง และตรวจพัฒนาการเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่กำหนดจากการอบรม
    4.เอกสารถอดบทเรียน 1 ชุด 5.กำหนดจุดบริการสำหรับพระสงค์

     

    19 18

    6. ประชุมคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรม (สพส.) ครั้งที่ 4

    วันที่ 3 พฤษภาคม 2561 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำหนังสือเชิญประชุม
      2.ส่งหนังสือเชิญประชุมให้กลุ่มเป้าหมาย 3.ประ่ชุมตามแผน 4.สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ทำแล้ว
    2. สรุปผลการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นำเสนอผลการดำเนินงานคัดกรองเด็กใน ศพด.ของพื้นที่เป้าหมาย
    2.เร่งรัดการดำเนินกิจกรรมคัดกรองพัฒนาการตามแผน
    3.กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาทั้งที่พบจากชุมชนและศพด. 

     

    19 20

    7. การประชุมคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรม (สพส.) ครั้งที่ 5

    วันที่ 7 มิถุนายน 2561 เวลา 08:30-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทำหนังสือเชิญประชุม
    2. ติดต่อประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
    3. ดำเนินการประชุมตามแผน
    4. นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงาน
    5. สรุปผลการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ที่ประชุมได้ร่วมกำหนดหัวข้อในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ อสม. และค้นหาวิทยากรที่เหมาะสม
    2. ที่ประชุมได้แจ้งปัญหาที่เกิดจากการคัดกรองพัฒนาการเด็ก และปัญหาอื่นๆ ในเด็กที่พบในชุมชน เช่น การป่วยด้วยโรคติดต่อ การดูแลสุขภาพฟัน เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมได้เสนอให้ อสม. และ ผู้รัผิดชอบระดับ รพ.สต. ได้รับการฟื้นฟูความรู้ที่เหมาะสมและทันเหตุการณ์

     

    19 20

    8. กิจกรรมอบรมติดตาม ตรวจพัฒนาการเด็ก ตรวจสุขภาพช่องฟันในศพด.และเสริมความรู้ผู้ปกครอง

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประสานพื้นที่ดำเนินการ 2.จัดทำแผนปฏิบัตงานนอกสถานที่ 3.จัดเตรียมทีมงาน 4.ส่งแผนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รพ.สต. อบต.และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5.ดำเนินงานตามแผนในพื้นที่ศพด. 6.สรุปผลการดำเนินงาน และคืนข้อมูลให้กับพื้นที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในพื้นที่ ศพด.13แห่ง จำนวน 300 คน 2.อุดฟันเด็กนักเรียน จำนวน 340  คน 3.ตรวจพัฒนาการเด็กจำนวน 340 คน 4.ประเมินศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐาน จำนวน 13 แห่ง 5.ประเมินคุณภาพการจัดเก็บนมโรงเรียน จำนวน 13 แห่ง

     

    520 300

    9. ประชุมอบรมผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก , อสม.

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2561 เวลา 08.30-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
    2. รายงานสถานการณ์ด้านพัฒนาการเด็ก โดยนายมะยือรี หะแว นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
    3. จัดทำแผนบูรณาการการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยทีมผู้รับผิดชอบระดับเครือข่าย จัดทำแผนปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บูรณาการงานพัฒนาการ งานโภชนาการ งานมาตรฐานศูนย์เด็กเล็ก ครัวฮาลาล และงานทันตกรรม
    4. ฟื้นฟูความรู้ผู้รับผิดชอบงานระดับเครือข่าย 4.1 งานทันตสาธารณสุข โดย ทันตแพทย์พรพิทักษ์ ภักดี ตำแหน่ง ทันตแพทย์ชำนาญการ 4.2 งานพัฒนาการเด็ก โดย นางสาวนัยนา มะแซ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ,นางสาวมารียัม แวหะยี ตำแหน่งนักจิตวิทยา 4.3 งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดย นางสาวอัสมาร์ สะมะแอ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน 4.4 งานโภชนาการ โดย นางสาวสุบูรียะห์ วาเลาะ ตำแหน่ง โภชนากร 4.5 รายงานสถานการณ์โรค และแนวทางการป้องกันและควบคุมโรค มือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยนางสาวรุสนี มะตาเยะ
    5. อบรมการลงสหัสข้อมูลโปรแกรม HDC,รหัสประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยเครื่อง DSPM ใน HOSxp

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แผนงานการปฏิบัติให้ความรู้/งานหัตถการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แผนดำเนินกิจกรรมการตรวจพัฒนาการเด็ก และการดำเนินกิจกรรมเฝ้าระวังทันตสุขภาพ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธารโต ปีการศึกษา ๒๕๖๑ …………………………………………………………

    ลำดับที่ วัน/เดือน/ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมายเหตุ 1 16 ก.ค.2561 ศพด.บ้านปูยุด ฝ่ายทันตกรรม รพ.ออกร่วม 2 17 ก.ค.2561 ศพด.บ้านวังไทร ฝ่ายทันตกรรม รพ.ออกร่วม 3 1 ส.ค.2561 ศพด.บ้านละหาด ฝ่ายทันตกรรม รพ.ออกร่วม     ศพด.บ้านปะเด็ง
    4 2 ส.ค.2561 ศพด.บ้านคอกช้าง ฝ่ายทันตกรรม รพ.ออกร่วม 5 7 ส.ค.2561 ศพด.บ้านแหร ฝ่ายทันตกรรม รพ.ออกร่วม 6 8 ส.ค.2561 ศพด.บ้านบาตูปูเต๊ะ ฝ่ายทันตกรรม รพ.ออกร่วม 7 9 ส.ค.2561 ศพด.สันติ 2 ฝ่ายทันตกรรม รพ.ออกร่วม 8 16 ส.ค.2561 ศพด.บ้านนิคม ฝ่ายทันตกรรม รพ.ออกร่วม 9 23 ส.ค.2561 ศพด.บ้านมายอ ฝ่ายทันตกรรม รพ.ออกร่วม 10 30 ส.ค.2561 ศพด.ฉลองศิริราชครบ60ปี
    11 6 ก.ย.2561 ศพด.บ้านบัวทอง
    12 13 ก.ย.2561 ศพด.บ้านบ่อหิน

     

    40 40

    10. ประชุมคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรม (สพส.) ครั้งที่ 6

    วันที่ 12 กรกฎาคม 2561 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทำหนังสือเชิญประชุม
    2. ดำเนินการประชุมตามแผน
    3. นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงาน
    4. สรุปแบ่งกลุ่มย่อยถอดบทเรียนและนำเสนอผลการทำกิจกรรมที่ผ่านมา
    5. จัดทำแผนพัฒนาและต่อยอดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการได้รับทราบแผนการลงเยี่ยมให้ความรู้ในศพด.เพื่อดำเนินการประชาสัมพันธ์ในชุมชน
    2.คณะกรรมการได้ทราบผลการจัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้ อสม.ในภาพรวม 3.คณะกรรมการไดร่วมจัดทำแผนพัฒนาต่อยอดกิจกรรม

     

    19 17

    11. ประชุมคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรม (สพส.) ครั้งที่ 7

    วันที่ 9 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ทำหนังสือเชิญประชุม
    2.ดำเนินการประชุมตามแผน
    3.นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงาน
    4. สรุปผลการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ที่ประชุมรับทราบผลการลงเยี่ยม ศพด. ตามแผน และร่วมกันสะท้อนปัญหาที่พบ ใน ศพด. ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขสำหรับการลงเยี่ยม ใน ศพด.อื่นๆ
    2. ที่ประชุมรับทราบแผนการปฏิบัติงานตามโครงการที่ต้องดำเนินการ

     

    19 21

    12. อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามวิถีอิสลาม

    วันที่ 31 สิงหาคม 2561 เวลา 08:30-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.รพ.สต.แจ้งสำรวจหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่อำเภอธารโต 2.จัดทำหนังสือแจ้ง รพ.สต.นำกลุ่มเป้าหมายร่วมกิจกรรม 3.ประสานวิทยากรบรรยาย 4.จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ และภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ 5.การติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยผู้รับผิดชอบงานระดับ รพสต.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.)ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ 2.)คุณภาพการฝากครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ร้อยละ 81.21 (เป้าหมาย 75) ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 72.14 (เป้าหมาย 60) 3.)ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ซีดครั้งที่ 1 ร้อยละ 32.66 ซีดครั้งที่ 2 ร้อยละ 43.33 ซีดครั้งที่ 3 ร้อยละ 20.66 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ10) 4.)แผนการติดตามหญิงตั้งครรภ์ภาวะซีดในพื้นที่

     

    60 61

    13. ประชุมคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรม (สพส.) ครั้งที่ 8

    วันที่ 6 กันยายน 2561 เวลา 08:30-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทำหนังสือเชิญประชุม
    2. ดำเนินการประชุมตามแผน
    3. นำเสนอการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลของกิจกรรมต่างๆ
    4. สรุปผลการดำเนินงาน นำเสนอปัญหาและข้อเสนอแนะ
    5. สรุปผลการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินกิจกรรมการตรวจพัฒนาการเด็ก และการดำเนินกิจกรรมเฝ้าระวังทันตสุขภาพ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ตามแผน
    • ที่ประชุมร่วมเสนอแนวคิดและกำหนดรูปแบบ กิจกรรมอบรมความรู้สุขภาพและการคูซุส (การอบรมเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน) สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย 

     

    19 21

    14. กิจกรรมอบรมความรู้สุขภาพและการคูซุส (การอบรมเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน) สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย

    วันที่ 24 กันยายน 2561 เวลา 08:30-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ขออนุมัติดำเนินงาน 2.ประสานวิทยากร ประสานพื้นที่ดำเนินการ 3.หนังสือเชิญ วิทยากร และกลุ่มเป้าหมาย 4.จัดอบรม สร้างแกนนำ 5.สรุปผลการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำด้านความรู้พฤติกรรมสุขภาพ ด้านยาเสพติด เพศศึกษา จำนวน 100 คน

     

    100 100

    15. ประชุมคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรม (สพส.) ครั้งที่ 9

    วันที่ 10 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทำหนังสือเชิญประชุม
    2. ดำเนินการประชุมตามแผน
    3. นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานและการประเมินผล
    4. นำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข
    5. สรุปผลการประชุม  

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ที่ประชุมรับทราบผลการจัดกิจกรรมอบรมความรู้สุขภาพและการคูซุส (การอบรมเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน) สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย ที่จัดขึ้นที่ รร.สุทธิศาสน์วิทยา โดยมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 100 คน
    • ที่ประชุมร่วมกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามวิถีอิสลาม

     

    19 20

    16. ประชุมคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรม (สพส.) ครั้งที่ 10

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทำหนังสือเชิญประชุม
    2. ดำเนินการประชุมตามแผน
    3. สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ
    4. นำเสนอปัญหาและข้อเสนอแนะในการทำงาน
    5. ถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการจัดระบบบริการสุขภาพด้านพัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนในพื้นที่พหุวัฒนธรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ที่ประชุมรับทราบผลการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามวิถีอิสลาม
    • ที่ประชุมร่วมแสดงความคิดเห็นเรื่องการทำอย่างไรให้เกิดการฝากครรภ์คุณภาพ โดยชุมชน ซึ่งเป็นปัญหาในพื้นที่ คณะกรรมการจากชุมชนได้เสนอให้มีการกระตุ้นจากชุมชน โดยให้สามีซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องรับทราบความสำคัญ และแนะนำให้ภรรยาฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ
    • ที่ประชุมได้ร่วมกำหนดให้มีการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก
    • ที่ประชุมร่วมกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมอบรมบทเรียนพัฒนาการและสุขภาพเด็กสำหรับครูสอนศาสนา
    • ที่ประชุมร่วมกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมค่ายฤดูร้อนและพัฒนาความรู้สุขภาพ

     

    19 20

    17. การประชุมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กระดับเครือข่าย

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมวางแผนการดำเนินงาน 2.กำหนดเนื้อหาและหัวข้อการบรรยายและอภิปราย 3.จัดทำแบบฟอร์มและกรอบแนวคิดในการจัดทำแผนพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก 4.ประสานวิทยากรและพื้นที่ดำเนินการ 5.บรรยายและปฏิบัติการกลุ่มตามหัวข้อดังนี้ 1) นำเสนอสถานการณ์อนามัยแม่และเด็กและกลไกการพัฒนางานในพื้นที่พหุวัฒนธรรม
    2) บรรยาย มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิตมุ่งสู่เป้าหมายเด็กธารโต 4.0
    3) บรรยายหลักการและแนวคิดชุมชนมุสลิมกับรูปแบบการเลี้ยงดูบุตรตามแนวทางนบี 4) สรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนมุมมองวิถีคิดการทำงานในพื้นที่ 5) แบ่งกลุ่มเพื่ออภิปรายและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่พหุวัฒนธรรม โดยวิทยากรกลุ่ม
                                        1) การจัดระบบบริการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน                                     2) แนวทางเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ                                     3) การสร้างสื่อเพื่อการสื่อสารพัฒนาการเด็กสำหรับพื้นที่                                     4) แนวทางเพื่อป้องกันและลดการตายมารดาสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ                                     5) แนวทางการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และคุณค่าขอน้ำนมในมุมมองสังคมมุสลิมในพื้นที่ 6) นำเสนอผลแต่ละกลุ่ม รับฟังข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ โดยวิทยากรกลุ่ม
    7) อภิปรายทั่วไปและปิดการอบรม 8) กิจกรรมกระบวนการกลุ่มเพื่อสร้างสัมพันธภาพผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้รับผิดชอบหลักงานอนามัยแม่และเด็กสามารถเข้าร่วมร้อยละ 100 2.ผู้รับผิดชอบมีความรู้เรื่องแนวทางการเลี้ยงดูบุตรตามแนวทางซุนนะห์ท่านนบี (ศาสดา) และสามารประยุกต์ใช้ในการให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาในระหว่างการให้บริการ 3.มีวิถีปฏิบัติในงานห้องคลอดของ รพ. ตามหลักการของอิสลาม 4.มีนวัตกรรมการสร้างสิ่งแวดล้อมในสถานบริการที่เอื้อต่อการใช้บริการในรพ. เช่น ผ้าปิดระหว่างให้นมบุตร

     

    14 14

    18. กิจกรรมค่ายฤดูร้อนและพัฒนาความรู้สุขภาพ

    วันที่ 14 ธันวาคม 2561 เวลา 08:30-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ขออนุมัติดำเนินงาน
    2. ประสานวิทยากร ประสานพื้นที่ดำเนินการ
    3. จัดทำหนังสือเชิญวิทยากร และกลุ่มเป้าหมาย
    4. จัดกิจกรรมอบรม
    5. สรุปผลการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนประถมศึกษาในพื้นที่อำเภอธารโต จำนวน 138 คน มีทักษะในการปฎิบัติธรรมตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนา และมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันในด้านอบายมุข และมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป

     

    100 138

    19. กิจกรรมอบรมบทเรียนพัฒนาการและสุขภาพเด็กสำหรับครูสอนศาสนา

    วันที่ 14 ธันวาคม 2561 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประสานวิทยากรสุขภาพและผู้รู้ทางศาสนา 2.ประสานพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย 3.บรรยายและเสวนาเรื่อง   08.30 - 08.30 น. ลงทะเบียน 08.30 - 09.00 กล่าวรายงาน พิธีเปิด 09.00 - 11.00 น. บรรยายเรื่องทักษะการสื่อสารด้านหลักการทางศาสนาและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในการดูแลบุตรให้มีคุณภาพ 11.00 - 12.00 บรรยายการสังเคราะห์ข้อมูลพัฒนาการเด็กกับผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก 13.00 - 14.00 น. บรรยายเชิงปฏิบัติการทักษะการสรา้งสื่อ การบริหารจัดการเด็กเพื่อพัฒนาการเด็กใน GEN Z ให้มีคุณภาพ 14.00 - 16.00 น. แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก บรรยายการสร่้างเสริมสุภาพจิตในเด็กนักเรียน กลุ่ม 2 หลักการศาสนากับการส่งเสรมิสุขภาพ   - การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเด็กกับบทบาทครูสอนศาสนาในสังคมพหุวัฒนธรรม - ถ่ายทอดประสบการณ์ความเข้าใจหลักศาสนาและพฤติกรรมสุขภาพ - ทักษะการสร้างสื่อ การสื่อสาร และการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเด็กใน GEN Z ให้มีคุณภาพในชั้นเรียน 4.ประเมินผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มครูสอนศาสนาและผู้ที่จะกำลังจะจบในชั้น 10 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพและสามารถบูรณาการสอนและการส่งเสริมสุขภาพเด็ก GEN Z
    2.โรงเรียนสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กและอาจต่อยอดเป็นตาดีกา/ปอเนาะส่งเสริมสุขภาพ 3.ในโรงเรียน ตาดีกา สถาบันปอเนาะ มีกิจกรรมที่บูรณาการกิจกรรมส่งเสรมิสุขภาพกับหลักปฏิบัติทางศาสนา เช่น แรงฟันทุกคร้ังก่อนละหมาด บริหารอาหารที่มีประโยชน์ 4.ทำสัญญาประชาคมในโรงเรียนให้มีการขายเฉพาะอาหารที่มีประโยชน์เท่านั้น

     

    100 100

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน นำหลักศาสนาควบคู่หลักการบริการสุขภาพ
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจแนวทางการดำเนินงานด้านพัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนแบบวิถีศาสนา

     

    2 2.เพื่อนำหลักการ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา นำมาปฎิบัติในระบบบริการสุขภาพสถานบริการสาธารณสุข
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและพัฒนาการเด็ก

     

    3 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียน มีคุณภาพพัฒนาการสมวัย
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน นำหลักศาสนาควบคู่หลักการบริการสุขภาพ (2) 2.เพื่อนำหลักการ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา นำมาปฎิบัติในระบบบริการสุขภาพสถานบริการสาธารณสุข (3) เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียน มีคุณภาพพัฒนาการสมวัย

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    การจัดระบบบริการสุขภาพด้านพัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนในพื้นที่พหุวัฒนธรรม เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธารโต จังหวัด

    รหัสโครงการ

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายมะยือรี หะแว นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นายสุไลมาน งอปูแล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด