สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ศึกษาข้อมูลเอกสารรายละเอียดโครงการ

วัตถุประสงค์
  1. การประเมินบริบทสภาพแวดล้อม (context) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
  2. .การประเมินปัจจัยนำเข้า (input) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
  3. การประเมินกระบวนการทำงาน (process) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
  4. การประเมินผลผลิต (product)ผลลัพธ์ (outcome) และผลกระทบ (impact) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
กลุ่มเป้าหมาย
จำแนกตามช่วงวัยจำแนกกลุ่มเฉพาะ
เด็กเล็ก0คน คนพิการ0คน
เด็กวัยเรียน0คน ผู้หญิง5คน
วัยทำงาน0คน มุสลิม4คน
ผู้สูงอายุ0คน แรงงาน9คน
อื่น ๆ ระบุ...0คน
รายละเอียดกิจกรรม

ประชุมคณะทำงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน

1 ปี

ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

ภาคีร่วมสนับสนุน (ระบุชื่อภาคีและวิธีการสนับสนุน เช่น งบประมาณ สิ่งของ การเข้าร่วมอื่นๆ)

 

รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวม(บาท)
รวมค่าใช้จ่าย 0

กิจกรรม : ประชุมคณะทำงานทบทวนโครงการและกำหนดกรอบแผนงานอย่างชัดเจน

ประชุมคณะทำงานทบทวนโครงการและกำหนดกรอบแผนงานอย่างชัดเจน

วันที 23 ก.ค. 2561 เวลา 16:00:00 - 18:30:00 น.

สถานที่
ศวตล.ม.อ.ปัตตานี ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

16.00-16.15 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมคณะทำงาน 16.16-17.00 น. ทบทวนแผนงานการประชุมครั้งเดิมเพื่อต่อยอดในครั้งนี้ 17.00-17.45 น. ประชุมออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลเฉพาะกลุ่ม 1. ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้มีผู้เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งสิ้น 4 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีบทบาทแตกต่างกันออกไป ดังนี้ - ภาคีเครือข่าย เป็นผู้ร่วมกำหนดแนวทางและดำเนินโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างสุขภาวะและการดูแลตนเองได้ ในการตั้งคำถามเพื่อสร้างเครื่องมือในครั้งนี้ คือ 1.ผู้จัดมีหลักสูตรการจัดอบรมให้กับกลุ่มพี่เลี้ยงอย่างไร และมีกระบวนการแบบใดบ้าง การเก็บข้อมูลที่เหมาะสมจึงควรจะเป็นการใช้เครื่องมือแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ -กลุ่มญาลันนันบารู ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมอบรมกับกลุ่มภาคีเครือข่าย คำถามที่ต้องตั้งไว้เป็นอย่างแรก คือ การหาคำตอบว่า กลุ่มนี้ทำงานอะไร ในการประเมิน คือมุ่งไปประเมินเกี่ยวกับความพึงพอใจของกลุ่มผู้เข้าร่วมว่าพอใจกับการจัดอบรมของกลุ่มภาคีเครือข่ายหรือไม่
2.จากนั้นประเมินความสามารถของกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมว่าสามารถดำเนินการตามที่เข้าอบรมได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด และควรจะมีการประเมินก่อนหลัง การนำความรู้จากการอบรมไปใช้ต่อว่าใช้อย่างไร โดยการเก็บข้อมูลเครื่องมือที่เหมาะสม ในที่ประชุมยังคงยืนยันเครื่องมือการสนทนากลุ่มไว้เช่นการประชุมครั้งที่ 1 - กลุ่มจิตอาสา ในกลุ่มนี้จะถูกแบ่งออกอีกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกและไม่ผ่านการคัดเลือก โดยรวมจะเก็บข้อมูลกับทุกคน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม แล้วค่อยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างมาสนทนากลุ่มในลำดับถัดไป แต่กับกลุ่มที่ไม่ผ่านการคัดเลือกจะดำเนินการค้นหาสาเหตุต่อว่าเหตุใดถึงไม่ผ่านการคัดเลือก แล้วจะแก้ไขปัญหาโดยวิธีการใดต่อไป - กลุ่มกองทุน กลุ่มนี้ต้องศึกษาถึงเหตุผลการตัดสินใจว่าเหตุใดถึงสนับทุนกับกลุ่มจิตอาสาที่คัดเลือกมา การเก็บข้อมูลควรใช้เครื่องมือแบบสอบถามแบบ Checklist นอกจากนี้จะสนทนากลุ่มอีกครั้งในเรื่องการให้ผ่านโครงการและไม่ให้ผ่านโครงการกับกลุ่มผู้ขอสนับสนุนทุนทำโครงการ       จากการประชุมครั้งนี้ คณะทำงานยังคงยึดแนวทางที่วางแผนไว้ในการประชุมในครั้งแรก แต่ได้ความชัดเจนด้านเครื่องมือและกระบวนการดำเนินการมากขึ้น คือสามารถแยกย่อกลุ่มจากกลุ่มใหญ่ให้เป็นกลุ่มย่อย เพื่อการเก็บข้อมูลจะได้มีความละเอียดและครอบคลุมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ในที่ประชุมยังได้ติดต่อประสานงานกับกะยะห์ เพื่อเข้าร่วมประชุมและทบทวนแนวคิด กระบวนการทำงานอีกครั้ง เพื่อจัดทำเครื่องมือประเมินได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ โดยกะยะห์ได้ตกลงเข้าร่วมประชุมงานในครั้งถัดไปในวันที่ 24 กรกฎาคม 2561
17.46-18.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง 18.01-18.30 น. สรุปผลการประชุม ในการประชุมครั้งนี้สรุปได้ว่า รูปแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลในการประเมินโครงการมีความชัดเจนและเป็นไปได้มากขึ้น นั่นคือ       กลุ่มภาคีเครือข่ายจะใช้เครื่องมือแบบสอบถามและการประเมินผลการอบรมโดยใช้โมเดลการประเมินผล CIPP       กลุ่มญาลันนันบารูใช้แบบสอบถามแบบสนทนากลุ่ม และแบบประเมินก่อนหลัง     กลุ่มจิตอาสา ใช้เครื่องมือประเมินโดยแบบสอบถามและสนทนากลุ่ม       กลุ่มผู้ให้ทุน ใช้เครื่องมือแบบสอบถามแบบ Checklist และสนทนากลุ่ม โดยการดำเนินการจะแบ่งการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1.ประชุมกำหนดกรอบแผนงาน 2.สร้างเครื่องมือการประเมิน 3.ดำเนินการเก็บข้อมูลและประเมินผล 4.ประชุมวิเคราะห์และสรุปผลการประเมิน

งบประมาณที่ตั้งไว้ 2500.00 บาท

จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 6 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย

1.คณะทำงาน 1.1.ผศ.ณชพงศ จันจุฬา 1.2.ดร.ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ 1.3.ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก 1.4.น.ส.แสงอรุณ นกแอนหมาน 2.ผู้ร่วมประชุม 2.1.น.ส.รัตติกาล มะประสิทธิ์ 2.2.นายธีรวัฒน์ เกตวิสิทธิ์

กิจกรรมย่อยตามปฏิทินกิจกรรมของโครงการ

วันที่กิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย(คน)งบประมาณ(บาท)
11 ก.ค. 61 จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อศึกษารายละเอียดของโครงการและวางกรอบงานอย่างคร่าวๆ 6 - more_vert
23 ก.ค. 61 ประชุมคณะทำงานทบทวนโครงการและกำหนดกรอบแผนงานอย่างชัดเจน 6 - more_vert
24 ก.ค. 61 ประชุมเพื่อศึกษารายละเอียดกลุ่มเป้าหมายจากผู้เกี่ยวข้อง 9 - more_vert
รวม 3 กิจกรรม 21 9,500.00

Refresh