สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี ”

จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
อ.ดร.เพ็ญ สุขมาก

ชื่อโครงการ การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี

ที่อยู่ จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 66-00459 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี



บทคัดย่อ

โครงการ " การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 66-00459 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤศจิกายน 2566 - 31 ตุลาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 0.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

  1. พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ของภาคใต้ เน้นการทำเกษตรเชิงเดี่ยวได้แก่ ยางพาราและปาล์มนํ้ามัน จำนวนถึง 18,691,482 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.94 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ในขณะที่การปลูกพืชอาหาร เช่น ข้าวนาปี และนาปรังมีเพียง 883,326 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.06 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 3.07 สำหรับผลผลิตต่อไร่ของพืชหลักเกือบทุกชนิดตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้และประเทศ ปี 2563 จำนวนปศุสัตว์ในภาพรวมมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ส่วนปริมาณสัตว์นํ้า ณ ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี มีจำนวน 84,762 ล้านตัน หดตัวจากปีก่อนร้อยละ 15.5 ด้านการปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานหรือพืชร่วมยางอยู่ในระดับการปรับใช้ไม่เกินระดับ 4 นั้นคือ เกษตรกรเพิ่งเริ่มต้นมีความสนใจ ทดลอง และกำลังปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานหรือพืชร่วมยาง แต่ข้อจำกัดที่สำคัญของการปรับใช้ระบบเกษตร คือ ความเพียงพอของแหล่งนํ้า การระบาดของโรคและศัตรูพืช/สัตว์ และขาดความรู้ทักษะทางการเกษตร และข้อจำกัดอื่น ๆ เช่น ที่ตั้งไม่เหมาะสม ดินเสื่อมโทรม ขาดพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์ที่เหมาะสม ที่ดินขนาดเล็ก ขาดแคลนเงินทุน ขาดตลาดรองรับ ขาดแคลนแรงงาน และนโยบายสนับสนุนไม่แน่นอน
    1. ภาคใต้ประสบปัญหาความยากจนรุนแรงที่สุด โดยมีสัดส่วนคนจนสูงสุดที่ร้อยละ 10.94 ซึ่งจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสยังเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด 10 อันดับแรกของประเทศไทย ในปี 2564 จังหวัดปัตตานีมีสัดส่วนคนจนติดในอันดับสูงสุด 10 อันดับแรกมาตั้งแต่ปี 2549 และต่อเนื่องมาจนถึงปี 2564 รวมระยะเวลา 16 ปีติดต่อกัน โดยพบว่าภาคเกษตรกรรมเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีปัญหาความยากจนสูงที่สุด โดยสัดส่วนแรงงานยากจนในภาคเกษตรกรรมปี 2564 สูงถึงร้อยละ 11.43 สำหรับการว่างงานโดยปี 2558-2562 อัตราการว่างงานกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานการณ์ความยากจนของประชากรยังอยู่ในระดับสูงมาก เนื่องมาจากผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกตํ่า โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มนํ้ามัน โดยพบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนรวมมูลค่า 139,173 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.82 ของประเทศและร้อยละ 9.44 ของภาคใต้ โดยในปี 2562 มูลค่าผลิตภัณฑ์รวมมวลภาคการเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 29.00
    2. สถานการณ์เชิงลบด้านโภชนาการของเด็กในชายแดนภาคใต้ยังมีหลายด้านที่ควรเร่งแก้ปัญหา คือ พื้นที่ชายแดนใต้นับเป็นกลุ่มที่มีปัญหาทุพโภชนาการมากที่สุดในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กในระยะยาว ผลสำรวจพบว่า ประมาณร้อยละ 23 ของเด็กที่มีอายุตํ่ากว่า 5 ปีในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส กำลังเผชิญกับภาวะเตี้ยแคระแกร็น (มีส่วนสูงตํ่ากว่าเกณฑ์อายุ) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่ร้อยละ 13 เกือบสองเท่า โดยจังหวัดนราธิวาสมีเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปีที่มีภาวะผอมแห้งสูงสุดใน 17 จังหวัดที่ทำการสำรวจแบบเจาะลึก โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยประเทศที่ไม่ถึงร้อยละ 8 ขณะเดียวกัน ภาวะผอมแห้งของเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปีในจังหวัดปัตตานีก็เป็นที่น่ากังวลเช่นกัน โดยอยู่ที่ร้อยละ 10
      ต้นทุน องค์ความรู้ ผลงานที่ผ่านมาของสถาบันนโยบายสาธารณะ ระยะที่ 1 ตัวอย่างเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราของอำเภอควนเนียง 12 ราย และแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ ในรูปแบบเกษตร 1 ไร่ 1 แสน การยกระดับตลาดเกษตร ม.อ. เป็นอุทยานอาหารปลอดภัย โดยพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เกิดข้อมูลสุขภาวะเด็ก 6-14 ปี นำไปสู่แผนบูรณาการความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยตำบลชะแล้ และตำบลควนรู และเกิดยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา ระยะที่ 2 รูปแบบเกษตรผสมผสานในสวนยาง 10 แบบ องค์ความรู้การทำ 1 ไร่ 1 แสนในพื้นที่ทำนา เกิดรูปแบบการเชื่อมโยงผลผลิตระหว่างเกษตรกรตลาดเกษตร ม.อ.ไปสู่ร้านอาหาร และผู้บริโภค การขยายผลและตำบลบูรณาการความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยไปสู่ตำบลรัตภูมิ เชิงแส และเทศบาลสิงหนคร การผลักดันยุทธศาสตร์ระบบอาหารสู่แผนปฏิบัติราชการจังหวัดสงขลา ได้แก่ โครงการแก้ปัญหาโภชนาการ โดย วพบ.สงขลา และสถาบันนโยบายสาธารณะ
      ระยะที่ 3 รูปแบบเกษตรผสมผสานไปส่งเสริมเกษตรกรใน 5 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน 44 แปลง และประเมินมูลค่าด้านเศรษฐศาสตร์จำนวน 20 แปลงคัดเลือกเป็นแหล่งเรียนรู้จำนวน 8 แปลง จัดทำคู่มือ หลักสูตรการทำสวนยางยั่งยืน ยกระดับชุมชนบ้านคูวาเป็นรูปแบบ 1 ไร่หลายแสน โดยมีแหล่งเรียนรู้ย่อยของชุมชนจำนวน 10 แห่ง การขยายผลรูปแบบตลาดอาหารปลอดภัยไปสู่ห้างสรรพสินค้า ตลาดเอกชน และตลาดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนอาหารและโภชนาการจำนวน 79 แห่งเพื่อใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล การบูรณาการแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลาเข้าสู่แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา ระยะที่ 4 แหล่งเรียนรู้จำนวน 8 แปลงของจังหวัดสงขลา ขยายผลรูปแบบเกษตรผสมผสาน 4 รูปแบบ คือ 1) ระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง 2) ระบบเกษตรหลากหลายแบบร่วมยาง 3) ระบบเกษตรผสมผสาน 4) ระบบวนเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลาขยายผล 1 ไร่หลายแสนอย่างต่อเนื่องโดยใช้รูปแบบบ้านคูวา ส่วนสามจังหวัดภาคใต้ชายแดนไม่สามารถขยายผลได้เพราะเป็นนาร้าง โรงพยาบาลจำนวน 8 แห่งของจังหวัดสงขลาเกิดการเชื่อมโยงผลผลิตอาหารชุมชน การเกิดพื้นที่ตลาดอาหารปลอดภัยในตลาดจะบังติกอ เทศบาลเมืองปัตตานี เกิดแผนงานระบบอาหารและโภชนาการรวมทั้งโครงการส่งเสริมโภชนาการ จำนวน 11โครงการโดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลนครยะลา เกิดแผนระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส ระยะที่ 5 ได้รูปแบบเกษตรกรรมในสวนยางพาราจำนวน 3 รูปแบบที่เหมาะสมกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1) ระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง (ยางพารา ทุเรียน ปาล์มนํ้ามัน สละ กล้วย เป็นต้น) 2) ระบบการปลูกพืชร่วมยาง (ยางพาราร่วมกับผักกูด ผักเหรียง ไม้เศรษฐกิจ กาแฟ) 3) ระบบเกษตรผสมผสาน (ยางพารา ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ ผักกินใบแพะ วัว หมู เป็ด ไก่ ปลา) ถอดบทเรียนและประเมินมูลค่าด้านเศรษฐศาสตร์จำนวน 16 ราย ได้ Best practice จำนวน 5 ราย ซึ่งมีศักยภาพพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ เกิดการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อาหารชุมชนไปยัง รพ. 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลบางกลํ่า และโรงพยาบาลควนเนียง ในจังหวัดสงขลา และโรงเรียน 3 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านดอนรัก โรงเรียนบ้านปะกาจินอ ในจังหวัดปัตตานี โรงเรียนบ้านแขยง จังหวัดนราธิวาส และร้านอาหาร 1 แห่ง คือ โรงแรม CS ปัตตานี จ.ปัตตานี และการสื่อสารเรื่องอาหารปลอดภัยจังหวัดปัตตานี โดยแนวคิดเรื่อง ความสะอาดเป็นส่วนนึงของความศรัทธา แนวคิดอาหารฮาลาล ตอยยีบัน(การนำสิ่งดีๆสู่ชีวิต ความบารอกัตในชีวิต) เผยแพร่สู่สาธารณะ 10 ช่องทาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 17 แห่งของจังหวัดยะลา มีโครงการระบบอาหารและโภชนาการปีงบประมาณ 2565 จำนวน 14 โครงการ ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 16 โครงการโครงการเกี่ยวกับฟัน ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 2 โครงการ และปีงบประมาณ 2566 จำนวน 2 โครงการ เกิดตำบลต้นแบบการจัดการระบบอาหารอย่างครบวงจรให้กับกลุ่มเปราะบาง ในระดับ อปท. (COVID-19) จังหวัดปัตตานี 5 แห่ง จังหวัดยะลา 1 แห่ง และระดับ รพ.สต.ในจังหวัดนราธิวาส 6 แห่ง แผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ปีงบประมาณ 2566- 2567 มีการดำเนินงานเรื่องระบบอาหารและโภชนาการที่ครบวงจร ปีพ.ศ. 2566 มีโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรื่อนยากจน 3 จังหวัด จำนวน 1 โครงการ ปีพ.ศ. 2567 จำนวน 5 โครงการ คือ 1) โครงการยกระดับไม้ผลที่มีประสิทธิภาพในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน งบ 20 ล้าน กิจกรรมสำคัญ ขยายผลทักษะการผลิตไม้ผลตามมาตรฐาน GAP การผลิตไม้ผลตามอัตลักษณ์ 2) พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูป งบ 2.4 ล้านบาท 3) ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์นํ้าเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร งบ 10 ล้านบาท 4) ยกระดับการเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้เศรษฐกิจฐานราก เพื่อความมั่นคง มั่นคั่ง งบ 49 ล้านบาท 5) โครงการยกระดับการแก้ไขปัญหาความยากจนและเสริมสร้างสุขภาวะครัวเรือนชายแดนใต้อย่างยั่งยืน ระยะที่ 2 งบ 10.2 ล้านบาท

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.พัฒนายกระดับต้นแบบการทําเกษตรกรรมยั่งยืนใน พื้นที่เป้าหมายและขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Model for Scaling up)
  2. 2.ขับเคลื่อนและยกระดับ โมเดล (good practice) ใน การกระจาย เชื่อมโยง ผลผลิต อาหารเพื่อสุข ภาวะให้กับ ประชาชนใน ชุมชน ผ่าน กลไกต่างๆ ไปสู่การขยาย ผล (Model for Scaling up)
  3. 3.พัฒนา ต้นแบบการ ส่งเสริมความ รอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุข ภาวะ (ความ มั่นคงอาหาร/ อาหาร ปลอดภัย/ โภชนาการ) ให้กับ ประชาชนใน พื้นที่เพื่อปรับ พฤติกรรม การบริโภค และร่วมพลัง เป็นพลเมือง อาหาร
  4. 4.พัฒนา ระบบ/กลไก เฝhาระวัง ผลผลิต ปลอดภัย เทศบาลนคร ยะลา จ.ยะลา
  5. 5.พัฒนา ต้นแบบ ระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดห่วงโซ่ ที่แก้ปัญหา ภาวะ โภชนาการใน กลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่ม เปราะบาง
  6. 6.พัฒนาและ ขับเคลื่อน นโยบาย สาธารณะ เพื่อส่งเสริม บริโภค อาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบ อาหารที่ ยั่งยืน
  7. 7.พัฒนาฐาน ข้อมูลและ แผนภาพ เพื่อใช้ขับ เคลื่อนและ บูรณาการทํา งานระบบ อาหารตลอด ห่วงโซ่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. ขับเคลื่อนรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนให้เกิด การขยายผลในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ชายแดนเพื่อนําไปสู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ
  2. 2. พัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะ โภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่มเปราะบาง โดยกลไก รพ.สต.ที่ ถ่ายโอนภารกิจมายัง อบจ.ปัตตานี โดยส่งเสริมความรอบรู้และสร้างปฏิบัติการ ด้านอาหาร (ความมั่นคงอาหาร/อาหารปลอดภัย/ โภชนาการ)
  3. 1.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
  4. 1.2 ทีมนักวิชาการออกแบบหลักสูตรเกษตรกรรมยั่งยืนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ จากเกษตรกร 10 แห่ง และออกแบบเครื่องมือประเมินความมั่นคงทางอาหาร ระดับครัวเรือน (นำไปใช้ประเมินกลุ่มเป้าหมาย 200 คน)
  5. 2.1 เตรียมความพร้อมการทำงานตำบลต้นแบบบูรณาการระบบอาหาร ประสานรพ.สต.ถ่ายโอน จำนวน 40 ตำบล และอบจ.คัดลือกแกนนำตำบล ตำบลละ 5 คน
  6. 3. พัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมบริโภคอาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยกลไกกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) กลไกผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กลไกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
  7. 4. กิจกรรมการสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย
  8. 5. การติดตามประเมินผลภายนอก
  9. 1.3 สนส. และทีมวิชาการสร้างปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่งให้มีความพร้อมเป็นจุดถ่ายทอดการทำเกษตรกรรมยั่งยืน การเป็นทีมวิทยากร
  10. 2.2 ทีมนักวิชาการ จาก Thailand Policy lab, ม.อ.ปัตตานี, วสส.ยะลา ดำเนินการ Training แกนนำตำบล มีขีดความสามารถใช้แครื่องมือ CHIA ประเมินระบบอาหารตลอดห่วงโซ่, การวิเคราะห์ข้อมูล, การจัดทำแผนที่ต้นทุนระบบอาหารชุมชน, การจัดทำแผนงานโครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่
  11. 3.1 ประชุมทีมคณะเศรษฐศาสตร์มอ. เพื่อวางแผนประเมินโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนากลุ่มจังหวักภาคใต้ชายแดน และแผนของอบจ. แผนปี 65และ66 เพื่อประเมินถึงความคุ้มค่าในมิติทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
  12. 3.4 การประชุมกำหนดวาระนโยบายเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร นโยบายการแก้ปัญหาโภชนาการเด็ก ให้อยู่ในแผนของกลุ่มจังหวัดและอบจ. ปัตตานี
  13. 4.1 ประสานกับวิทยุมอ.88 หาดใหญ่ มอ.ปัตตานี เอามาออกแบบการพัฒนาประเด็นสื่อสาร ข้อเสนอเชิงนโยบายความมั่นคงทางอาหาร การทำเกษตรกรรมยั่งยืน ตลาดสีเขียวในชุมชน อาหารปลอดภัย นโยบายแก้ปัญหาด้านโภชนาการ เช่นเด็กเตี้ย เด็กผอม
  14. 5.1 ติดตามประเมินผลภายในโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้รับผิดชอบโครงการรวมทั้งช่วยประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่นค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์
  15. 6. ติดตามผลความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะ รวมทั้งจัดทําแผนยุทธศาสตร์ ท้องถิ่น ขับเคลื่อนแผนไปสู้การปฏิบัติโดยรพ.สต.ที่ถ่ายโอนภารกิจมายัง อบจ.ปัตตานี
  16. 1.4 จัด workshop ให้เกษตรกร 200 คน ในพื้นที่แปลงเรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบ พร้อมกับประเมินความมั่นคงทางอาหาร ของกลุ่มเป้าหมาย 200 คน
  17. 2.3 แกนนำตำบล ดำเนินการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
  18. 2.7 อบจ. สปสช. โหนด สสส. ทีมวิชาการ ประชุมพิจารณาโครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ จัดกลุ่มชุดโครงการที่ใช้งบประมาณจาก สปสช., ชุดโครงการที่ใช้งบประมาณจากแผนงานร่วมทุน สสสและ อบจ.,ชุดโครงการที่ใช้งบประมาณกับสำนักอื่นๆของ สสส.
  19. 2.8 โครงการสร้างปฏิบัติการในพื้นที่ (มี งบ สสส. นำร่อง 5 ตำบล และ อบจ. 40 ตำบล)
  20. 2.9 จัดหลักสูตรพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาหารให้มีความสามารถดำเนินงานการจัดการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ (หลักสูตร non degree)
  21. 3.2 ทีมนักวิชาการลงพื้นที่ประเมินโครงการ
  22. 6.1 ทีมวิชาการ ม.อ. ปัตตานี ,วสส.ยะลา ,ติดตามประเมินผลแบบเสริมพลังให้กับตำบลทั้ง 40 แห่ง โดยประเมินผลผลัพธ์ เรื่อง ความสามารถของคน ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ความรู้ที่เกิดขั้นจากการทำงาน มาตรนโยบาย
  23. 5. ระบบติดตามสนับสนุนให้คำปรึกษาการทำเกษตรกรรมยั่งยืน (กลุ่มไลน์) ให้กับแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง และแกนนำเกษตรกร 200 คน
  24. 2.4 นักวิชาการ แกนนำตำบลจัดทำแผนที่ต้นทุนระบบอาหารชุมชน
  25. 2.5 นักวิชาการ แกนนำตำบล workshop การเขียนแผนงาน โครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่
  26. 2.6 ทีมนักวิชาการ แกนนำตำบล อสม. ออกแบบการทำกลไกติดตามด้านโภชนาการในพื้นที่
  27. 3.3 นักวิชาการนำผลการประเมินคืนให้กับส่วนราชการที่ดำเนินโครงการ พร้อมกับworkshop การยกระดับการทำแผนงานโครงการที่ตอบความคุ้มค่าในมิติเศรษฐกิจและสังคม
  28. 4.2 จัดเวทีนโยบายในพื้นที่(คลายๆ Thai pbs)
  29. 1.6 เดือน ก.ค.ประเมินความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน เกษตรกร 200 คน (ประเมินหลังการเข้าร่วมกิจกรรม)
  30. 7. การพัฒนาชุดความรู้ แนวทางปฏิบัติ และคู่มือ Model เกษตรกรรมยั่งยืนใน สวนยางพารา ขยายผลกับการยางแห่งประเทศไทยสามจังหวัดภาคใต้ชายแดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  31. 6.2 นักวิชาการ แกนนำตำบล สรุปบทเรียน และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารตลอดห่วงโซ่
  32. 7.1. นักวิชาการลงพื้นที่ ประเมินแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง ถอดบทเรียนการเป็นแหล่งเรียนรู้ และจัดทำ model แหล่งเรียนรู้ฯ จัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา
  33. 7.2 จัดประชุมแลกเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ในรูปแบบการจัดประชุมวิชาการ หรือการจัดสมัชชาเรื่องสวนยางยั่งยืน ทั้ง onsite และ online
  34. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์และจัดทำเครื่องมือส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหาร
  35. การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
  36. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอด ห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการระดับชุมชน
  37. การประชุมสร้างความร่วมมือพัฒนาตำบลต้นแบบจัดการระบบอาหารเพื่อสุขภาวะที่แก้ปัญหาโภชนาการระดับชุมชน
  38. การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการทรพ.สต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์และจัดทำเครื่องมือส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหาร โดยทีมวิชาการ

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้จัดประชุมกับทีมวิชาการ ประกอบด้วย ดร.เพ็ญ สุขมาก น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี, ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล, ผศ.ดร.ธัญญรัตน์ อุทัยพันธ์,อาจารย์ศรีลา สะเตาะ อ.ซูวารี มอซู , อ.ชัญณยา หมันการ , อ.วีณาพร วงศ์สถาพรพัฒน์ , ผศ.ดร.วุฒิชัย ศรีช่วย, ดร.มุมตาส มีระมาน และนางสาวมัสกะห์ นาแว เพื่อรวมรวบเครื่องมือเรื่องความรอบรู้ด้านอาหาร ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือ 1) แบบสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร (เครื่องมือ SEA ปรับจากเวที HIA) 2) การประเมินความรอบรู้ระบบการจัดการอาหารกลุ่มครู 3) แบบประเมินการดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการตามตัวชี้วัดของ ศพด. 4) แบบประเมินความรอบรู้ทางด้านอาหาร สำหรับบุคคลทั่วไปวัยผู้ใหญ่ 5) แบบประเมินความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัย แม่ครัวร้านอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน และแม่ค้าแผงลอย โดยเครื่องมือทั้งหมดจะถูกนำไปใช้การประเมินตำบลนำร่อง 41 ตำบลในจังหวัดปัตตานี และตำบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยข้อมูลที่ได้ไปใช้จัดทำแผนที่ระบบอาหารชุมชน กิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อแก้ปัญหาโภชนาการ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารระดับท้องถิ่น รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถเกิดการจัดการตนเองระบบระบบอาหารตลอดห่วงโซ่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดร่างเครื่องมือความรอบรู้ด้านอาหาร จำนวน 5 ชิ้น 1) แบบสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร (เครื่องมือ SEA ปรับจากเวที HIA) 2) การประเมินความรอบรู้ระบบการจัดการอาหารกลุ่มครู 3) แบบประเมินการดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการตามตัวชี้วัดของ ศพด. 4) แบบประเมินความรอบรู้ทางด้านอาหาร สำหรับบุคคลทั่วไปวัยผู้ใหญ่ 5) แบบประเมินความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัย แม่ครัวร้านอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน และแม่ค้าแผงลอย

  • photo S__60801059_0.jpgS__60801059_0.jpg
  • photo S__60801061_0.jpgS__60801061_0.jpg
  • photo S__60268572_0.jpgS__60268572_0.jpg
  • photo S__60268574_0.jpgS__60268574_0.jpg
  • photo S__60268575_0.jpgS__60268575_0.jpg
  • photo S__60268587_0.jpgS__60268587_0.jpg
  • photo S__60268588_0.jpgS__60268588_0.jpg
  • photo S__60268589_0.jpgS__60268589_0.jpg
  • photo S__60268568_0.jpgS__60268568_0.jpg
  • photo S__60268573_0.jpgS__60268573_0.jpg
  • photo S__60268570_0.jpgS__60268570_0.jpg
  • photo S__60268575_0.jpgS__60268575_0.jpg

 

0 0

2. การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

วันที่ 6 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ชี้แจงวัตถุการประชุมสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส : ภายใต้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ
  2. การคืนข้อมูลการวิจัย : การศึกษาการปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานและการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ของระบบการผลิต จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
      และข้อเสนอแนวทางการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดย ดร.ไชยยะ คงมณี, ผศ.ดร.อริศรา ร่มเย็น เณรานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่
  3. การมอบนโยบาย แผนปฏิบัติการของการยางแห่งประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา โดย นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านปฏิบัติการ และนายวิวรรธน์ สงประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี  สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
  4. การชี้แจงแผนงาน กิจกรรม และกรอบระยะเวลาเพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ.
  5. แบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่มตามรายจังหวัด (จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) เพื่อจัดทำแผนการสนับสนุนขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน กลุ่มที่ 1 จังหวัดปัตตานี วิทยากรกลุ่ม ดร.ไชยยะ คงมณี
    กลุ่มที่ 2 จังหวัดยะลา วิทยากรกลุ่ม น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี กลุ่มที่ 3 จังหวัดนราธิวาส วิทยากรกลุ่ม ดร.เพ็ญ สุขมาก โจทย์กิจกรรมกลุ่มย่อย
  6. วิเคราะห์แปลงต้นแบบเกษตรกร จำนวน 10 แห่ง และข้อเสนอแนะในการยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืน (ตามเอกสารแนบท้าย 1)
  7. การกำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นกลุ่มขยายผลการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมจำนวน 200 ราย (ครูยาง,โควต้า กยท.) (เกษตรกร โควต้า สปก.) (ตามเอกสารแนบท้าย 2)
  8. การร่วมวางกลไกพี่เลี้ยงซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ กยท., สปก. ทีมนักวิชาการ เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (ตามเอกสารแนบท้าย 2)
  9. ข้อเสนอแนะ ต่อแผนงาน กิจกรรม และกรอบระยะเวลาเพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) (ตามเอกสารแนบท้าย 3)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เกษตรกรที่จะเป็นกลุ่มเป้าหมายเพื่อการขยายผลเรื่องการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา โดยจะเป็นแปลงต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. กลุ่ม 1 จังหวัดปัตตานี
1.1 กลุ่มเกษตรกร บ้านคลองปอม ต.โคกโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เกษตรกร จำนวน 20 คน หน่วยงานรับผิดชอบ: สำนักงานเกษตร จ.ปัตตานี ติดต่อ: คุณกัญญาภัค นวลศิลป (พี่อร) โทร.0862942019 การประสานงาน: ทำหนังสือประสานเกษตรจังหวัดปัตตานี 1.2 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรยิ้มแป้น ต.แป้น อ.สายบุรี จ.ปัตตานี สมาชิก 21 คน หน่วยงานรับผิดชอบ: สำนักงานปฏิรูปที่ดิน จ.ปัตตานี ติดต่อ: ประธาน คุณนเรศ อินทร์ทองเอียด โทร.0870993498 การประสานงาน: ทำหนังสือประสานปฏิรูปที่ดินจังหวัดปัตตานี 1.3 ครูยาง, เกษตรกรต้นแบบ, อาสาสมัครเกษตรกร, เกษตรกรแปลงใหญ่, smart farmer ที่ขึ้นทะเบียนกับกยท. ใน ต.ตะโละแมะนะ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี จำนวน 30 คน หน่วยงานรับผิดชอบ: การยางแห่งประเทศไทย จ.ปัตตานี ติดต่อ: คุณนูรอด๊ะ ดะมิ โทร.0622349360 การประสานงาน: ทำหนังสือประสานการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดปัตตานี 1.4 เกษตรกร อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ติดต่อ: คุณอดุล ดือราแม 2. กลุ่ม 2 จังหวัดยะลา 2.1 คุณตอยฮีเราะ อยู่อำเภอยะหา เป็นคนรวบรวมผลิตในชุมชน และทำการตลาดออนไลน์ สำหรับสวนยางยังไม่สามารถเป็นแหล่งถ่ายทอดได้ 2.2 คุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก (อยู่อำเภอเบตง) กยท.เบตงกำลังยกเป็นแหล่งเรียนรู้ ภายในแปลงมีการเลี้ยงปลาพวงชมพู เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผัก และไม้ผล และกำลังยกระดับเป็นเกษตรท่องเที่ยว (ติดต่อ กยท คุณเสะอุเซ็ง สาแมง 086-9561729) 2.3 คุณอิสมาแอ ล่าแต๊ะ (ตำบลลำใหม่)เป็นเครือข่าย กยท. (ติดต่อ กยท. คุณภาสกร ปาละวัล 0982802495) 2.4 คุณชาลี ฉัตรทัน ม.1 ต.ท่าธง อ.รามัน มีโซล่าเซลล์ที่ กยท.สนับสนุน ในสวนจะมีการปลูกยาง ทุเรียน กล้วย กระท่อม พืชผักสวนครัว เนื้อที่ 15 ไร่ (ติดต่อ กยท. คุณบุคอรี เจ๊ะแว 084-3130403) 2.5 คุณรอยาลี ดอเลาะ ม.3 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา(อำเภอบันนังสตา) (ติดต่อ กยท. คุณมารีกัน มะมิง 098-1853588) 3. กลุ่ม 3 จังหวัดนราธิวาส 3.1 คุณชมสิทธิ์
3.2 มีแนวคิดพัฒนาเกษตรกรต้นแบบ อำเภอละ 1 แปลง รวม 11 แปลง (กยท………….) 3.3 กลุ่มเป้าหมายที่จะร่วมอบรม จำนวน 80 คน แบ่งเป็น กยท. (ติดต่อสุบันดริโอ มะเก๊ะ 064-1804740) สปก. (ติดต่อ ซุลกิฟลี เจะและ 089-4844433) เกษตรจังหวัด (ติดต่อ ณัฐพัฒน์ เสาะสมบูรณ์ 085-5792426) กยท.รือเสาะ นาราวี ดือเระ 086-9684241 3.4 กลไกติดตาม เกษตรอำเภอ กยท. ประมง ปศุสัตว์ สหกรณ์ พัฒนาที่ดิน

  • photo 37604_0.jpg37604_0.jpg
  • photo 37600_0.jpg37600_0.jpg
  • photo 37602_0.jpg37602_0.jpg
  • photo 37616_0.jpg37616_0.jpg
  • photo 37596_0.jpg37596_0.jpg
  • photo 37572_0.jpg37572_0.jpg

 

0 0

3. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอด ห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการระดับชุมชน ให้กับ รพ.สต. ถ่ายโอนมายัง อบจ.ปัตตานี

วันที่ 7 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมฯ และแนวทางการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
    โดย ดร.เพ็ญ  สุขมาก  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ
  2. ระดมความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการระดับชุมชน โดยกลไก รพ.สต.ที่ถ่ายโอนภารกิจมายัง อบจ.ปัตตานี โดยส่งเสริมความรอบรู้และสร้างปฏิบัติการด้านอาหาร (ความมั่นคงอาหาร/อาหารปลอดภัย/ โภชนาการ)  โดย น.ส.วรรณา  สุวรรณชาตรี  สถาบันนโยบายสาธารณะ 3.แบ่งกลุ่มย่อย ให้แต่ละ รพ.สต.
    • กำหนดกลุ่มเป้าหมายภาคี เครือข่ายที่จะร่วมขับเคลื่อนพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการระดับชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รพ.สต.ที่จะเข้าร่วมดำเนินงานมีความเข้าใจในโครงการฯมากขึ้น แต่มีข้อเสนอแนะให้มีการประชุมกับผู้บริหาร อปท, ที่ รพ.สต.อยู่ในเขตรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • photo project_2193_action_0d65857de3.jpgproject_2193_action_0d65857de3.jpg
  • photo project_2193_action_080ad130b3.jpgproject_2193_action_080ad130b3.jpg
  • photo project_2193_action_0108078d4b.jpgproject_2193_action_0108078d4b.jpg
  • photo project_2193_action_049e6dbd1a.jpgproject_2193_action_049e6dbd1a.jpg
  • photo S__60620810_0.jpgS__60620810_0.jpg
  • photo S__60620813_0.jpgS__60620813_0.jpg
  • photo 7616EC91-80BB-4AB7-B3D5-D6D6A3337DDF.jpg7616EC91-80BB-4AB7-B3D5-D6D6A3337DDF.jpg
  • photo 11.jpg11.jpg
  • photo 6.jpg6.jpg
  • photo 9.jpg9.jpg
  • photo 4.jpg4.jpg
  • photo 3.jpg3.jpg

 

0 0

4. การประชุมสร้างความร่วมมือพัฒนาตำบลต้นแบบจัดการระบบอาหารเพื่อสุขภาวะที่แก้ปัญหาโภชนาการระดับชุมชน

วันที่ 27 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมฯ และทิศทางความร่วมมือการขับเคลื่อนโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
  2. เสวนาและร่วมแลกเปลี่ยน : พื้นที่ตัวอย่างที่มีการจัดการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น
        • เทศบาลตำบลชะแล้ จังหวัดสงขลา นโยบายท้องถิ่นความยั่งยืนบูรณาการระบบเกษตรอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร) ยกระดับโภชนาการเด็กนักเรียนและคุณภาพชีวิตกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง โดย นายถาวร ไชยมะโณ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลชะแล้ และนางจิตรา  เขาไข่แก้ว  ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะแล้     • ตำบลนาท่อม จังหวัดพัทลุง การจัดการอาหารปลอดภัยชุมชนนำสู่การจัดการระบบเศรษฐกิจอาหารชุมชนแบบครบวงจรโดย นายถาวร คงศรี และกำนันอนุชา  เฉลาชัย
  3. สรุปรูปแบบการขับเคลื่อนงานการจัดการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น
        • เทศบาลตำบลชะแล้ จังหวัดสงขลา     • ตำบลนาท่อม จังหวัดพัทลุง
  4. กลไกความร่วมมือยกระดับโครงการ กิจกรรมระบบเกษตรและอาหารที่เชื่อมโยงการแก้ปัญหาโภชนาการ โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
  5. Work Shop ผู้เข้าร่วมประชุม :
        • แนวทางความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบายท้องถิ่นให้เกิดการจัดการระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่
        • การขับเคลื่อนศักยภาพชุมชน ท้องถิ่น  ให้เกิดการจัดการระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน เพื่อยกระดับโภชนาการชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. รพ.สต. และอปท. พื้นที่เป้าหหมายการดำเนินโครงการฯ มีความเข้าใจในการทำงาน และมีความต้องการพัฒนาศักยภาพชุมชนเรื่องการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ แผนสุขภาพ ตลอดจนการการสร้างปฏิบัติการเพื่อการแก้ปัญหาโภชนาการในพื้นที่
  2. รพ.สต. มีความต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการเมนูอาหารกลางวัน โดยใช้โปรแกรม thai school lunch
  • photo S__61046796_0.jpgS__61046796_0.jpg
  • photo S__61046819_0.jpgS__61046819_0.jpg
  • photo S__61046818_0.jpgS__61046818_0.jpg
  • photo S__61046817_0.jpgS__61046817_0.jpg
  • photo S__61046816_0.jpgS__61046816_0.jpg
  • photo S__61046815_0.jpgS__61046815_0.jpg
  • photo S__61046814_0.jpgS__61046814_0.jpg
  • photo S__61046813_0.jpgS__61046813_0.jpg
  • photo S__61046811_0.jpgS__61046811_0.jpg
  • photo S__61046810_0.jpgS__61046810_0.jpg
  • photo S__61046809_0.jpgS__61046809_0.jpg
  • photo S__61046808_0.jpgS__61046808_0.jpg
  • photo S__61046807_0.jpgS__61046807_0.jpg
  • photo S__61046810_0.jpgS__61046810_0.jpg
  • photo S__61046809_0.jpgS__61046809_0.jpg
  • photo S__61046808_0.jpgS__61046808_0.jpg
  • photo S__61046807_0.jpgS__61046807_0.jpg
  • photo S__4563011_0.jpgS__4563011_0.jpg
  • photo S__4563010_0.jpgS__4563010_0.jpg
  • photo S__4563009_0.jpgS__4563009_0.jpg
  • photo S__4563007_0.jpgS__4563007_0.jpg
  • photo S__61046791_0.jpgS__61046791_0.jpg
  • photo S__61046789_0.jpgS__61046789_0.jpg

 

0 0

5. การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการทรพ.สต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์

วันที่ 17 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เอกสารประกอบการประชุมพัฒนาโครงการฉบับย่อประเด็นอาหารและโภชนาการ

รพ.สต. ทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

วันที่ 15 พฤษภาคม 2567

ความเป็นมา สืบเนื่องเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 12 สงขลา และสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้ลงนามความร่วมมือการขับเคลื่อนต้นแบบตำบลบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการจังหวัดปัตตานี โดยใช้ศักยภาพตามภารกิจ ต้นทุนของทั้งสี่หน่วยงานเพื่อบูรณาการและหนุนเสริมการทำงานร่วมกัน สถาบันนโยบายสาธารณะฯ จึงได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา และสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ระยะเวลาตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 – 31 ตุลาคม 2567 งบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำร่องพัฒนาตำบลต้นแบบระบบอาหารในจังหวัดปัตตานีจำนวน 39 แห่ง และ ตำบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาสจำนวน 1 แห่ง สำหรับกระบวนการทำงานสถาบันนโยบายสาธารณะฯมีการพัฒนาศักยภาพทีมวิชาการ และแกนนำชุมชนตำบลละ 5 คนซึ่งประกอบไปด้วย บุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน อสม. และแกนนำที่เกี่ยวข้อง มีศักยภาพเป็นวิทยากรกลุ่ม และการใช้เครื่องมือนโยบายสาธารณะ 8 ขั้นตอน เมื่อผ่านการอบรมแล้วทีมนักวิชาการและแกนนำตำบลจะนำไปใช้ระดมความคิดเห็นกับชุมชนพัฒนาแผนงาน โครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารและโภชนาการต่อไป การดำเนินงานที่ผ่านมาสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับสถาบันวิชาการในพื้นที่ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาเขตปัตตานี  วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดยะลา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 38 แห่งในจังหวัดปัตตานี ได้เก็บข้อมูลเก็บข้อมูลชุมชนในด้าน 1) สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารระดับชุมชน 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและผู้ประกอบอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานสำหรับจำหน่าย  3) แบบประเมินการดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน และการประเมินความรอบรู้ของคุณครูต่อการจัดการระบบอาหารกลางวันเพื่อการบริโภคอาหารอย่างมีสุขภาวะของนักเรียน ขณะนี้ได้ผลการวิเคราะห์เบื้องต้น พบข้อมูลสำคัญ ดังนี้ 1. สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือน (กลุ่มตัวอย่าง 218 คน) 1.1 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ร้อยละ 87.2 1.2 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงมัธยมศึกษา/ปวช.ร้อยละ 41.9
และประถมศึกษาร้อยละ 31.8
1.3 รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน 5001 – 10000 บาท ร้อยละ 47.2 1.4 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน) รับจ้างร้อยละ 29.8 เกษตรกรรมร้อยละ 25.7 1.5 วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง
- ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 92.9
- ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 20.0 - ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต  ร้อยละ 5.8
- ร้อยละ 99 ของการเพาะปลูกเป็นการปลูกพืชผักเพื่อการบริโภค
- รูปแบบการเกษตร แบบอินทรีย์  ร้อยละ 33.3 ,แบบปลอดภัย ร้อยละ 18.4
  และแบบอื่น ๆ ร้อยละ 48.2 1.6 สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
- ร้อยละ 36.4 ไม่เคยมีอาหารครบ 5 หมู่ ได้แก่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 2. ความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและผู้ประกอบอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานสำหรับจำหน่าย (กลุ่มตัวอย่าง 23 คน) 2.1 การใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร ปฎิบัติบางครั้ง
    ร้อยละ 39.1 ปฏิบัติประจำร้อยละ 13.0 2.2 การใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร ปฎิบัติบางครั้ง ร้อยละ 47.6
    ปฏิบัติประจำร้อยละ 4.8 2.3 การให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย
    ปฎิบัติบางครั้ง ร้อยละ 4.3 ข้อมูลที่ได้นำเข้าสู่การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนให้มีความสามารถใช้เครื่องมือแบบใหม่ 8 ขั้นตอนเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล ระหว่างวันที่ 22-25 เมษายน และ 29-30 เมษายน 2567 โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมฯ ได้แก่บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขฯ ครู และแกนนำชุมชน จำนวน 200 คน ซึ่งมาจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 38 แห่งในจังหวัดปัตตานี และตำบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยมีวิทยากรจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP Thailand) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,Thailand Policy Lab นำเครื่องมือ Systems Map, Problem Statement, How might we?, Ideation – Idea flower ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมฯ สามารถมองภาพเชิงระบบอาหารและโภชนาการ และสามารถระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการในแต่ละตำบล หลังจากนี้ทีมนักวิชาการและผู้เข้าอบรมฯจะนำไอเดียที่ได้จากการอบรมฯ กลับไประดมความคิดเห็นเพิ่มเติมจากชุมชน และร่วมกันออกแบบโครงการฉบับย่อฯต่อไป ผลการทำกิจกรรมเพื่อค้นหาไอเดียการแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการ มีรายละเอียด ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ภาพเชิงระบบอาหารและโภชนาการ (Systems Map) 1.1 ห่วงโซ่อุปทานอาหาร - ร้อยละ 41.9 สามารถหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติ - มีแหล่งที่มีประโยชนืในชุมชนแต่ไม่มีกระบวนการจัดการในการนำไปใช้ประโยชน์ - มีอ่างเก็บน้ำ 2 แหล่ง
- มีน้ำตก - มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 1051 ไร่ ทั้งตำบล - มีพื้นที่ปลูกทุเรียน 355 ไร่ (พื้นที่ ม.4,5) - ชุมชนมีแหล่งบ่อปลาน้ำจืด - อาหารทะเลมาจากรถเร่ขายที่รับจากสะพายปลา - ปลูกข้าวแบบใช้สารเคมี - ครัวเรือนมีการปลูกผักกินเอง - มีการแปรรูปอาหารหลากหลาย เช่น ไข่เค็ม, ปลาส้ม) 1.2.ปัจจัยแวดล้อม - ร้อยละ 92.9 ไม่มีปัจจัยการผลิต - ร้อยละ 71.5 รายได้น้อยกว่า 10,000/เดือน - ร้อยละ 68 ครัวเรือนผลิตอาหารเอง - ร้อยละ 28 ที่ผลิตอาหารไม่เพียงพอ - หาซื้อวัตถุดิบได้ง่าย เนื่องจากมีตลาดนัดใกล้บ้าน - ราคาวัตถุดิบเข้าสามารถถึงได้ เนื่องจากร้านค้าเยอะมีการแข่งขันกัน - มีอาหารที่อยู่คู่กับชุมชน - ผัก/เครื่องปรุง รับจากร้านขายของชำที่นำเข้าจากต่างถิ่น - สื่อ/โฆษณาชวนเชื่อ 1.3.ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - กังวลไม่มีอาหารกิน - ร้อยละ 43 ไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ - ร้อยละ 44 กินอาหารซ้ำๆ - ร้อยละ 53 ยังใช้น้ำมันทอดซ้ำ - การดูแลอุปกรณ์ใช้ในการประกอบอาหาร - ผู้ปกครองไม่มีความรู้เพียงพอในเรื่องอาหารที่ส่งผลต่อโภชนาการ - ความตระหนักของผู้ปกครอง เน้นตามความสะดวก - ยังปฏิบัติในด้านสุขลักษณะไม่ถูกต้อง
- ร้านค้า/ผู้ผลิต ผลิตตามความนิยมของผู้ซื้อ - ประมาณร้อยละ 40 คนในชุมชนไม่มีความมั่นคงทางอาหาร - ผู้ปกครองทำงานมาเลย์ ลูกอยู่กับยาย - ครัวเรือน มีการปลูกผักริมรั้ว เพื่อจะได้สะดวกเอามาปรุงเอง - อาหารต้องมีฮาลาล เพื่อความเหมาะสม 1.4.พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว/ผู้ปกครอง - ร้อยละ 36.4 ชาวบ้านกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ - ศพด.มีวัตถุดิบ/ร้านค้าชุมชนใกล้เคียง/จ้างแม่ครัวปรุงอาหารเมนูที่กำหนดให้เด็ก - พ่อแม่ซื้ออาหารตามร้านค้าชุมชน เป็นอาหารสำเร็จรูป - พ่อแม่ปรุงอาหารเอง จากการซื้อวัตถุดิบจากรถเร่ ที่มีสารอาหารไม่ครบ - โรงเรียนมีการกำหนดเมนูอาหารแต่ละวันในรอบสัปดาห์ 1.5.อาหารที่รับประทานของนักเรียน - มื้อเช้า บางคนไม่ทาน บางคนทานเป็นข้าวต้ม/โจ๊ก โรตี ข้าวหมกไก่  ข้าวแกงราด นม - มื้อกลางวัน ก๋วยเตี๋ยว เมนูตามร.ร.กำหนด ข้าวต้ม มาม่าลวก
- มื้อเย็น พ่อแม่ ปรุงเองที่บ้านเอง อาหารปรุงสำเร็จ(แกงถุง) ข้าวต้มไข่เจียว/ไข่ดาว ข้าวเหนียวไก่ทอด ข้าวหมกไก่ - มื้ออาหารว่าง ลูกชิ้น ขนมกรุบกรอบ  ลูกอม นม   2. การระบุปัญหาด้านระบบอาหารและโภชนาการ (Problem Statement  เพื่อระบุประเด็นใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) 2.1. เด็ก 0-5 ปี
- ทานอาหารตามความชอบ เพราะผู้ปกครองซื้ออาหารตามความสะดวกให้ลูกทานเป็นประจำ - ไม่ได้รับประทานหารครบ 5 หมู่ เพราะเด็กไม่รับประทานอาหารครบทุกมื้อ พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ซื้อกินเอง - ภาวะโภชนาการเกิน/ทุพโภชนาการ เพราะซื้ออาหารตามความสะดวกของพ่อแม่และให้ลูกเลือกซื้อกินเอง 2.2. พ่อแม่ – ผู้ปกครอง
-  ไม่มีเวลาเตรียมอาหารทำให้เด็กขาดโภชนาการ เพราะต้องรีบไปทำงานและมีร้านขายอาหารที่ซื้อง่าย -  ขาดความรู้ ความตระหนักในการสรรหาและปรุงอาหาร เพราะกังวลไม่มีอาหารกินและไม่สามารถหาอาหารครบ 5 หมู่ได้ - ไม่ได้เตรียมอาหารให้ลูก เพราะไม่มีเวลาเจอกัน¬ ขาดวัตถุดิบในการเตรียมอาหารและรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย 2.3.  ครู
- แหล่งที่มาของวัตถุดิบในการผลิตอาหารรายละเอียด เพราะซื้อวัตถุดิบและเครื่องปรุงจากร้านชำ
2.4.  โรงเรียน (แม่ครัว) - ได้รับอาหารไม่ครบตามกำหนดของเด็ก เพราะการทำอาหารไม่ตรงกับเมนู เพราะไม่เข้าใจสูตรอาหารสำหรับเด็กอย่างแท้จริง - รสชาติอาหารที่ไม่เหมาะกับเด็ก เพราะปรุงรสชาติไม่คำนึงถึงเด็ก 2.5. ร้านค้าในชุมชน
-  อาหารที่จำหน่ายไม่ครบ 5 หมู่ คุณภาพอาหาร เพราะแหล่งที่มาของวัตถุดิบและความสะอาดของแม่ ครัว 3. การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา(How might we? ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ) 3.1. กลุ่มเด็ก - เราจะทำยังไงให้เด็กทานอาหารครบ 3 มื้อ - เราจะทำยังไงให้เด็กสามารถซื้ออาหารเองได้โดยที่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ - เราจะทำยังไงให้เด็กได้รับประทานที่มีคุณภาพ ครบ 5 หมู่ 3.2. กลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็ก - เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ผู้ปกครองหันมาสนใจเรื่องโภชนาการให้กับเด็ก - เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเตรียมอาหารที่มีคุณภาพให้เด็ก - จะทำอย่างไรให้พ่อแม่สามารถบริหารเวลาในการเตรียมอาหารให้ลูก - เราจะทำยังไรให้พ่อแม่ มีปกครองมีความรู้และเวลาในการเตรียมอาหาร - เราจะทำยังไง ผู้ปกครองมีเวลาเพียงพอและอยู่กับช่วงเวลาที่สำคัญ - จะถ้ายังไงให้แม่หรือเด็ก เลือกอาหารที่มีความเหมาะสมและรสชาติที่เหมาะสมกับช่วงวัย - เราจะทำยังไงให้ผู้ปกครองประกอบอาหารได้ถูกต้องสะอาดครบ 5 หมู่ และน่ารับประทาน - จะทำอย่างไรให้วัตถุดิบในการเตรียมอาหารเพียงพอในครัวเรือน - จะทำยังไง ผู้ปกครองมีเงินเพียงพอต่อการประกอบอาหารแต่ละมื้อ - จะทำยังไงให้พ่อแม่สามารถใช้นวัตกรรมการสร้างสรรอาหารมีความน่ากินและรวมทำกับทำอาหารพร้อมๆกัน - จะทำยังไงให้พ่อแม่ให้ความสำคัญอาหารมื้อเช้าต่อลูก 3.3. ชุมชน - เราจะทำยังไงให้ชุมชนมีอาหารที่มีอาหารทีมีคุณภาพโดยที่เด็กและผู้ปกครองไม่ต้องมีความรู้ - จะทำยังไงให้ ตลาดนัดมีซองกินอร่อย ถูกสุขลักษณะและมีโภชนาการ - เราจะทำยังไงให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตอาหารที่ดีคุณภาพ ถูกหลักโภชนาการ - เราจะทำยังไงให้เทคโนโลยีมีผลต่อโภชนาการเด็ก 4. การระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการ (Ideation – Idea flower) เลือกปัญหา
- เราจะทำยังไงให้นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาประกอบอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการ - เราจะทำยังไงให้นำความนำความเชื่อและวิถีชีวิตของคนในชุมชนมาเปลี่ยนแปลงความเชื่อในการกินอาหารที่ถูกต้อง 4.1. ไอเดียทำได้เลย การทำปลาดดุกร้า,ปลาส้มน้ำจืด 4.2. ไอเดียไม่ใช้งบประมาณ
-  ส่งเสริมให้ชุมชนปลูกผักที่เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร - คิดเมนูโดยใช้วัตถุดิบในครัวเรือนแต่ละบ้านตอบโดยตอบโจทย์โภชนาการ - ใช้วัตถุดิบในพื้นที่ประกอบอาหาร 4.3. ไอเดียปกติทั่วไป - เรื่องหลักสูตรอาหารในยูทูป - จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับโภชนาการ - คืนข้อมูลโภชนาการเด็กในชุมชนให้ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนทราบ 4.4. ไอเดียผู้สูงอายุ - หาวัตถุดิบริมรั่วและทำเมนูที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ - กำหนดวันให้ผู้อายุเข้าครัวเพื่อเด็กๆ(เป็นกิจกรรมครอบครับ)
4.5. ไอเดียสำหรับเด็ก - ชวนน้องทำอาหารพร้อมกัน - จัดมนูอาหารที่ดูน่ากินสำหรับเด็ก - จัดอาหารตามตัวการ์ตูนที่เด้กชอบ 4.6. ไอเดีย AI - ใช้ AI ประมวล BMT และโภชนาการ - ใช้ AI ช่วยตอบอาหารนี้มีประโยชน์ 4.7. ไอเดียอุตสาหกรรม - ใช้ระบบสะสมแต้ม ลูกใครกินอาหารครบ 5 หมู่จะได้แต้ม - นำอาหารที่เข้าถึงง่ายในชุมชนมาถนอมอาหาร 4.8. ไอเดียกระแสออนไลน์ - แม่ตัวอย่างในการทำเมนูอาหารให้ลูกที่ส่งผลต่อโภชนาการที่ดี – ทำประเพณีชุมชนลาซังลง tiktok - เอาคนดังในชุมชนมาปรุงอาหารลงโซเซียล 4.9. ไอเดียที่มี Story - เล่านิทาน /เพลง ที่นำวัตถุดิบในชุมชนมาทำเป็นเมนูอาหารและข้อดีในการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ - เล่าที่มาของอาหาร เช่นสินค้า OTOP ไก่กอและ ให้ผู้ใหญ่เล่าที่มาโดยสอดแทรกโภชนาการ 4.10. ไอเดียชุมชนมีส่วนร่วม - ปิ่นโตสุขภาพ - ทำอาหารแลกเปลี่ยนระหว่างบ้าน 4.11. ไอเดียจากเกมส์ - เกมณ์ที่เด็กชอบเปลี่ยนแปลงเป็นอาหาร - สร้างเกมส์ให้เด็กลองปรุงอาหารเอง โดยใส่วัตถุดิบ





1. การวิเคราะห์ภาพเชิงระบบอาหารและโภชนาการ (Systems Map) ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ 1.1.สิ่งที่เกิดขึ้น - คลอดที่บ้านจากความเชื่อ - ไม่พึ่งพอใจในระบบบริการ - ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ - ขาดการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ - ขาดความรู้ความเข้าใจในการรับประทาน - อายุของการตั้งครรภ์มาก 1.2 ปัจจัยส่วนบุคคล - ยากจน - ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง - รับประทานอาหารที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพครรภ์ - ไม่กินยาเสริมธาตุเหล็ก 1.3.ปัจจัยแวดล้อม - การเข้าถึงบริการของ รพ.สต. เพราะกลัวและอาย - ไม่รู้ว่าควรฝากครรภ์ เวลาไหน - การประชาสัมพันธ์กระจ่ายความรู้ให้กับชุมชน - คนในชุมชนยังมีความเชื่อเรื่องการคลอดกับโตะปีแด/ทำให้ไม่ได้ฝากครรภ์ในสถานบริการ - ระบบการให้บริการรอนาน 1.4.ปัจจัยภายนอก/ระดับครัวเรือน - ขาดความรู้/ความเข้าใจ/ความตระหนักในการกินอาหาร - ไม่ให้ความสำคัญกับการกิน - ขาดความรู้การดูแลครรภ์ - ส่วนใหญ่ต้องทำงาน ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง - รายได้ไม่เพียงพอ 1.5 พฤติกรรม - ไม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ - การไม่ฝากท้องอย่างสม่ำเสมอ - การไม่รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก - ทานยาไม่ครบมื้อตามที่หมอสั่ง - ตั้งครรภ์ที่แม่อายุมาก - รับประทานอาหารตามใจปาก - ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ - ทานน้อยและทานแต่ของไม่มีประโยชน์ - รู้ตัวเองช้าว่าตัวเองตั้งครรภ์ 2. การระบุปัญหาด้านระบบอาหารและโภชนาการ (Problem Statement  เพื่อระบุประเด็นใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) 2.1 หญิงตั้งครรภ์
- ไม่กินยาเสริมธาตุเหล็ก เนื่องจากกินแล้วอาเจียนและขาดความตระหนัก -  ไม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์  เนื่องจากไม่มีเวลาและไม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ - ไม่ฝากครรภ์/ฝากครรภ์ช้า เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์เรื่องระบบการบริการ 2.2 หน่วยงานเจ้าหน้าที่
- ประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์น้อยมาก                     และมีจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ 2.3 หน่วยบริการ
- การให้บริการล่าช้า เนื่องจากยังขาดระบบบริการจัดการ 2.4 สามี
-  ขาดความรู้ในการดูแลภรรยา เนื่องจากไม่ได้รับการอบรม 3. การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา (How might we?  ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ) - เราจะทำอย่างไรให้คนท้องกินยาแล้วไม่มีอาการข้างเคียง - ทำอย่างไรให้คนท้องได้รับธาตุเหล็กพอเพียง - จะทำอย่างไรให้หญิงตั้งครรภ์ไปพบหน่วยบริการตามนัด - จะทำอย่างไรให้คนท้องรับสารอาหารยาที่แพทย์สั่งครบมื้อและมีความเพียงพอ - จะทำอย่างไรให้หญิงตั้งครรภ์กินยาเสริมเหล็กสม่ำเสมอ - ทำอย่างไรให้คนท้องสนใจกับการดูแลสุขภาพของครรภ์ - ทำอย่างไรให้หญิงตั้งครรภ์ รู้และป้องกันเกี่ยวกับโรคต่างๆที่มีผลต่การตั้งครรภ์ - ทำอย่างไรให้สามีมาสนับสนุนการดูแดสุขภาพของคนท้อง 4. การระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการ (Ideation – Idea flower) เลือกปัญหา เราจะทำอย่างไรให้คนท้องและครองครัวทราบปัญหาช่วงภาวะตั้งครรภ์มีความสำคัญที่สุด 4.1. ไอเดียทั่วไป - รณรงค์ตั้งครรภ์คุณภาพ - ทำโพสต์ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรับรู้ถึงปัญหาหารตั้งครรภ์ - จนท.ลงพื้นที่ให้ความรู้และความสำคัญช่วงระยะตั้งครรภ์ - โรงเรียนพ่อแม่ 4.2. ไอเดียไม่ใช้งบประมาณ - ประชาสัมพันธ์ช่วงทำเวทีประชาคมของชุมชน - การประชาสัมพันธ์ - เสียงตามสายสื่อความรู้ 4.3. ไอเดียอุตสาหกรรม - หญิงตั้งครรภ์ไม่ซีด/กินยาครบได้รับกิ๊ฟวอชเชอร์ - ให้บริการคำปรึกษา 24 ชม. (ได้ทุกครั้งที่ต้องการเหมือน 7-11) 4.4. ไอเดียที่มีชุมชนมาเป็นส่วนร่วม - ชุมชนมีส่วนร่วมในกการประชาสัมพันธ์ให้กับหญิงตั้งครรภ์มาฝากผ่านประเพณีลาซัง (สอดแทรกกิจกรรม) - บ้านสีชมพู สำหรับหญิงตั้งครรภ์(ปรึกษากับเจ้าหน้าที่โดยตรง) - สร้างวัฒนธรรมลูกของฉัน =  ลูกของโลก ร่วมด้วยช่วยกันดูแล 4.5. ไอเดียทางศาสนา - วายับ(จำเป็น)ที่สามีจะต้องดูแลภรรยาในขณะตั้งครรภ์ - การดูแลหญิงตั้งครรภ์สามารถเพิ่มพูนริสกี้ 4.6.ไอเดียกระแสออนไลน์ - ตั้งไลน์กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน - ทำTik Tok บ้านชมพู (หญิงตั้งครรภ์) - แอปเช็ค-เตือน กินยาเม็ดเหล็ก - ตั้งไลน์สื่อสาร ปรึกษา จนท-เพื่อนช่วยเพื่อน - คลิปแชร์ประสบการณ์ความสำเร็จในทานยาสม่ำเสมอในการตั้งครรภ์คุณภาพ 4.7. ไอเดียที่มี Story - อ่านหนังสือสั้น เพื่อสร้างสรรด์ให้เด็กในครรภ์และหญิงตั้งครรภ์อารมณ์ดี - ทำหนังสั้นแชร์ประสบการณ์หญิงตั้งครรภ์ตัวอย่าง - บันทึกประสบการณ์การตั้งครรภ์เป็นความภาคภูมิใจของฉันเมื่อฉันตั้งครรภ์ 4.8. ไอเดียแปลกๆ - ส่งพ่อเข้าครอสเรียนดูแลแม่ตั้งครรภ์ - คุยไป บ่นไป เรื่องคนท้องที่ร้านน้ำชา - ชวนพ่อๆคุยที่ร้านน้ำชา ประเด็นดูแลเมียอย่างไร


<br />



สรุปกิจกรรมประชุมตำบลทุ่งพลา วันที่15 พฤษภาคม 2567

สถานที่ รพ.สต.ทุ่งพลา

เนื่องจากทางทุ่งพลาได้เห็นความสำคัญของเด็กในเรื่องโภชนาการอาหารที่เด็กยังขาดอยู่จึงคิดทำโครงการเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็กขึ้น โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทนรพ.สต ผู้ใหญ่บ้าน ครู อสม

มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน

• ให้พระสงฆ์หรือผู้สูงอายุในชุมชนมาให้ความรู้เรื่องอาหารสมัยโบราณที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

• จัดกางบประมาณให้เพียงพอต่อโรงเรียนเพื่อให้เด็กได้รับอาหารที่เพียงพอและมีสุขภาพร่างกายที่สมส่วน

• คิดวิธีฝึกให้เด็กกินผัก

• ให้คุณพ่อช่วยคุณแม่ประกอบอาหารที่บ้าน

• ชวนน้องทำอาหารตามธาตุเจ้าเรือน

• ให้เด็กทำอาหารกับพ่อแม่และคนในครอบครัว

• แจกนมและไข่สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักน้อย

• ประกวดหนูน้อยฟันสวย

• ประกวดหนูน้อยสมส่วน

• ให้เด็กทำอาหารกินเองให้ดูน่ากิน

• จัดอาหารเช้าสำหรับเด็กที่มรภาวะทุพโภชนาการ

• จัดตลาดสุขภาพเด็กน้อยในชุมชน

• เปลี่ยนเมนูผักให้เป็นขนมทานเล่น

• จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องการทำอาหารให้กับลูกน้อย

• ประกวดเด็กน้อยโภชนาการดีในชุมชน

• จัดตลาดเด็กน้อยเด็กดีทำอาหารที่มีประโยชน์มาขาย

• สร้างเซเว่นหนูน้อย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การออกแบบโครงการฉบับย่อ กิจกรรมที่จะดำเนินการ • ชวนหนูน้อยมาปลูกผักกินกันเอง • ทำโรงเรือนให้กับกลุ่มไก่กอและข้าวหลามให้ถูกหลักอนามัย • ประกวดเด็กดีมีร่างกายตามเกณฑ์มาตรฐาน • จัดตลาดครอบครัวในชุมชนแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องอาหารที่แต่ละครอบครัวทำมาขาย • ตั้งกลุ่มแม่บ้านแปรรูปอาหารให้ถูกหลักโภชนาการโดยเฉพาะ • จัดให้มีชุมชนสำหรับขายอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในตลาดนัดชุมชน • สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ให้ความรู้กับครัวเรือนในการปลูกผักประจำบ้านกินเองเหลือให้นำมาขายในตลาดนัดชุมชน • ปลูกผักไร้สารพิษและ 1 ครัวเรือนต้องมี 1 อย่าง • อบรมแปรรูปข้าวไรซ์เบอรี่เป็นไอศครีมเพื่อขายในตลาดนัดชุมชน • แลกเปลี่ยนผักระหว่างครัวเรือน • จัดกิจกรรมกลุ่มเด็กไปขายอาหารที่ตลาด • จัดประชาสัมพันธ์ในชุมชนว่ามีอาหารเพื่อสุขภาพจากเด็กมาขาย • ทำหนังสือขอความร่วมมือจากยุวเกษตรเพื่อมาให้ความรู้ • ขอความร่วมมือระดับตำบลจากทุกโรงเรียนเพื่อเป็นการนำร่อง ขั้นตอนการดำเนินงาน • เพิ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการโดยการรับสมัคร • จัดอบรมเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ • จัดอบรมให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนคิดเมนูใหม่ๆเพื่อมาขายในตลาด • ขอการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์จากอบตและมาให้ความรู้เรื่องการปลูกการดูแลพืชผักให้กับเด็กๆ • ให้เด็กฝึกทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพในโรงเรียน • เพิ่มหลักสูตรอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียนสู่ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย • เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะตา • เด็กนักเรียนโรงเรียนซอลีฮียะ • แกนนำครัวเรือนในชุมชน

ระดมความคิดชื่อโครงการ • โครงการอาหารเช้าเพื่อน้องอิ่มท้องสมองดี • อาหารดีมีประโยชน์ • หนูน้อยสุขภาพดีได้รับอาหารครบ 5 หมู่ • เด็กสมวัยจิตใจร่าเริง • ตลาดนัดอาหารหนูน้อยโภชนาการสมวัย • อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ • หนูน้อยสุภาพดี จากชื่อจากๆที่ระดมมาจึงเกินเป็นชื่อโครงการ โครงการยกระดับตลาดนัดเกาะตาใส่ใจสุขภาพและโภชนาการ ปัจจุบันมีตลาดนัดเกาะตาซึ่งเปิดขายทุกเย็นวันพฤหัสบดีภายในตลาดเป็นของเอกชนร้านค้าที่ขายเป็นประจำอยู่แล้วขายทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จดังนี้มีแผงขายผัก 4-5 ร้านมีปลาสดผลไม้ผักอาหารสำเร็จมีข้าวหมกไก่ข้าวหลามไก่กอและของทอดต่างๆลูกชิ้นทอดโดยทางโครงการจะประสานงานเจ้าของตลาดเพื่อขอเข้าไปขายอาหารเพื่อสุขภาพผักปลอดภัยอาหารปรุงเพื่อสุขภาพซึ่งอาจจะต้องมีการจัดโซนโดยมีกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้ขาย ต้นทุนในพื้นที่ในพื้นที่ได้มีการปลูกตะไคร้จำนวนมากเพื่อส่งปัตตานีและยะลา โรงเรียนซอลีฮียะห์มีการฝึกให้เด็กนักเรียนปลูกผักเช่นผักบุ้งผักกาดขาวผักสลัดมีการเลี้ยงปลาดุกปลาสลิดดอนนาเลี้ยงไก่ไข่ทั้งหมดนี้ไม่ใช้สารเคมีโดยใช้ปุ๋ยคอกและมีการให้นักเรียนนำปุ๋ยมาเองจากบ้านเพื่อมีส่วนร่วมในการปลูกผักของโรงเรียนในอนาคตกำลังจะมีการขอพันธุ์ไก่ดำมาเลี้ยงที่โรงเรียนด้วยผลผลิตจากการปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์จะนำมาใช้ในการทำอาหารภายในโรงเรียนใช้ระบบโรงเรียนซื้อของโรงเรียนเพื่อเป็นเงินหมุนเวียนและนำไปซื้อเมล็ดพันธุ์และพันธุ์สัตว์ต่อไปเหลือจากการนำมาใช้ในโรงเรียนจะมีการขายให้ครูในโรงเรียนและแจกเด็กนักเรียนให้กลับบ้านด้วย

ได้อะไรจากการมาประชุมครั้งนี้ • ตัวแทนอบตได้ความรู้วิสัยทัศน์ในการนำไปพัฒนาอบตนำไปใช้ในการทำแผนตำบลต่อไป • ได้นำไปปฏิบัติในโรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ซึ่งในโรงเรียนมีการปลูกอยู่แล้วแต่ไม่ได้นำมาขายภายนอกโรงเรียนยินดีเข้าร่วมกับโครงการเพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ • อยากให้โครงการนี้เกิดขึ้นจริงและจะสู้ไปด้วยกันเด็กๆจะได้มีรายได้และปลูกฝังในเรื่องอาหารสุขภาพให้กับเด็กๆและผู้ปกครองผู้ปกครองจะได้มีส่วนร่วมและเห็นถึงความสำคัญของอาหารของเด็ก • ตัวแทนอสมเป็นโครงการที่ดีได้ปลูกฝังเด็กให้กินผักและปลูกฝังให้มีพัฒนาการยินดีที่จะช่วยเหลือเต็มที่ • ตัวแทนโรงเรียนซอลีฮียะห์นักเรียนที่อยู่ในหอพักจะได้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์มีอาชีพรองรับลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง • ตัวแทนรพ. สตมีความภูมิใจที่ได้เข้าร่วมโครงการและและได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจากชุมชนอยากสร้างสหวิชาชีพจากทุกส่วนเพราะทุกคนมีศักยภาพที่จะช่วยกันได้อยากให้เยาวชนทั้งตำบลมีโอกาสที่ดีขึ้นได้รับความรู้มากขึ้นและดีใจที่ทุกคนที่มามีความหลากหลายอยากให้เด็กมีการพัฒนาการด้านการศึกษาให้ดีที่สุด

  • photo 1715734137397.jpg1715734137397.jpg
  • photo 1715764711117.jpg1715764711117.jpg
  • photo IMG_20240515_103308.jpgIMG_20240515_103308.jpg
  • photo IMG_20240515_105004.jpgIMG_20240515_105004.jpg
  • photo 1715764770868.jpg1715764770868.jpg
  • photo 1715767182922.jpg1715767182922.jpg
  • photo 1715767183986.jpg1715767183986.jpg
  • photo 1715782601295.jpg1715782601295.jpg
  • photo 1715782601162.jpg1715782601162.jpg
  • photo 1715782602187.jpg1715782602187.jpg
  • photo 1715782610388.jpg1715782610388.jpg
  • photo 1715782615170.jpg1715782615170.jpg
  • photo 1715767181703.jpg1715767181703.jpg

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.พัฒนายกระดับต้นแบบการทําเกษตรกรรมยั่งยืนใน พื้นที่เป้าหมายและขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Model for Scaling up)
ตัวชี้วัด : 1. มีต้นแบบที่ยกระดับการทําเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่จํานวน 10 แห่งพร้อมถอดบทเรียนกระบวนการทํางานเป็นเอกสาร สําหรับนําไปใช้เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Modelfor Scaling up) ในพื้นที่เป้าหมาย 2. มีชุดความรู้/แนวทางปฏิบัติ/คู่มือ ในการยกระดับการทําเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างน้อย 1 เรื่องคือ Model เกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารากรณีสามจังหวัดภาคใต้ชายแดน พร้อมทั้งนําไปใช้ขับเคลื่อนการดําเนินงาน และเผยแพร่สู่สาธารณะ

 

2 2.ขับเคลื่อนและยกระดับ โมเดล (good practice) ใน การกระจาย เชื่อมโยง ผลผลิต อาหารเพื่อสุข ภาวะให้กับ ประชาชนใน ชุมชน ผ่าน กลไกต่างๆ ไปสู่การขยาย ผล (Model for Scaling up)
ตัวชี้วัด : 1. เกิดรูปแบบการกระจายเชื่อมโยงผลผลิตอาหารที่เพิ่มการเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ Model forScaling up (โมเดลที่พร้อมขยายผล) อย่างน้อย 1 กรณีเช่น กลไกหน่วยงาน สหกรณ์การเกษตร ตลาดสีเขียวในชุมชนทั้งในรูปแบบออนไลน์และ onsiteพร้อมทั้งถอดบทเรียนกระบวนการทํางานเป็นเอกสาร และนําบทเรียนกระบวนการทํางานไปใช้ เสนอต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย 2. มีชุดความรู้/แนวทางปฏิบัติ/คู่มือ ในการกระจาย เชื่อมโยงผลผลิตอาหารที่เพิ่มการเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างน้อย 1 เรื่อง คือ Modelตลาดอาหารปลอดภัยในระดับโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา พร้อมทั้งนําไปขับเคลื่อนการดําเนินงานและใช้เผยแพร่สู่สาธารณะ

 

3 3.พัฒนา ต้นแบบการ ส่งเสริมความ รอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุข ภาวะ (ความ มั่นคงอาหาร/ อาหาร ปลอดภัย/ โภชนาการ) ให้กับ ประชาชนใน พื้นที่เพื่อปรับ พฤติกรรม การบริโภค และร่วมพลัง เป็นพลเมือง อาหาร
ตัวชี้วัด : มีต้นแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะ (ความมั่นคงอาหาร/อาหารปลอดภัย/โภชนาการ) ในพื้นที่ตําบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และมีรายงานติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายที่เกิดขึ้นจากการสร้างความรอบรู้ด่านอาหารเพื่อสุขภาวะ โดยนําผลไปปรับปรุงการดําเนินงานและจัดทําแผนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น พร้อม ทั้งเผยแพร่ความรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะสู่สาธารณะ

 

4 4.พัฒนา ระบบ/กลไก เฝhาระวัง ผลผลิต ปลอดภัย เทศบาลนคร ยะลา จ.ยะลา
ตัวชี้วัด : ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาระบบ/กลไกเฝ้าระวังการจัดการผลผลิตปลอดภัยอย่างน้อย 1 กรณี คือระบบเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยเทศบาลนครยะลา จ. ยะลา พร้อมทั้งติดตามประเมินผลระบบ/กลไกเฝ้าระวังฯ โดยระบบ/กลไกเฝ้าระวังฯถูกนําไปใช้เสนอต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย

 

5 5.พัฒนา ต้นแบบ ระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดห่วงโซ่ ที่แก้ปัญหา ภาวะ โภชนาการใน กลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่ม เปราะบาง
ตัวชี้วัด : มีต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในชุมชนอย่างน้อย 6 แห่ง (ใหม่) ได้แก่ ตําบลยะหริ่ง ตําบลปานาแระตําบลสะดาแวะ ตําบลนํ้าดํา ตําบลนาเกตุ ตําบลดอนรัก ที่่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็กนักเรียน และกลุ่มเปราะบาง โดยมีรายงานการติดตามผลการเชื่อมโยงระบบอาหารตั้งแต่การผลิต (ต้นทาง) การกระจาย/การจําหน่าย(กลางทาง) และการบริโภค (ปลายทาง) พร้อมนําไปใช้สื่อสารสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดการขยายผล

 

6 6.พัฒนาและ ขับเคลื่อน นโยบาย สาธารณะ เพื่อส่งเสริม บริโภค อาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบ อาหารที่ ยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 1. มีข้อเสนอนโยบายสาธารณะที่ส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ โดยผ่านกลไกงบประมาณกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส)อย่างน้อย 1 เรื่อง คือประเด็นความมั่นคงทางอาหาร พร้อมทั้งนํามาใช้สื่อสารสู่สาธารณะเพื่อให้เกิดกระแสสังคมในการขับเคลื่อนนโยบาย และผลักดันต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย 2. มีข้อเสนอนโยบายสาธารณะด้านอาหารปลอดภัยในระดับจังหวัดปัตตานี พร้อมทั้งนํามาใช้สื่อสารสู่สาธารณะเพื่อให้เกิดกระแสสังคมในการขับเคลื่อนนโยบาย และผลักดันต่อผู้บริหารหน่วยงานเพื่อพิจารณาการกําหนดเป็นนโยบาย 3. มีข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียนอย่างน้อย 1 เรื่อง คือนโยบายแก้ปัญหาเด็กเตี้ยเด็กผอมจังหวัดปัตตานีพร้อมทั้งนํามาใช้สื่อสารสูสาธารณะเพื่อให้เกิดกระแสสังคมในการขับเคลื่อนนโยบาย และผลักดันต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาการกําหนดเป็นนโยบาย

 

7 7.พัฒนาฐาน ข้อมูลและ แผนภาพ เพื่อใช้ขับ เคลื่อนและ บูรณาการทํา งานระบบ อาหารตลอด ห่วงโซ่
ตัวชี้วัด : เกิด Mapping ที่แสดงให้เห็นต้นทุนการทํางานและการเชื่อมโยงระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ จํานวน 4จังหวัด ได้แก่ สงขลาปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ความรู้ พื้นที่ดําเนินงาน ภาคีเครือข่าการขับเคลื่อนนโยบายการเชื่อมโยงระหว่างการผลิต การกระจาย/ตลาดการบริโภค) เพื่อใช้บูรณาการทํางานและสื่อสารสู่สาธารณะ

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.พัฒนายกระดับต้นแบบการทําเกษตรกรรมยั่งยืนใน พื้นที่เป้าหมายและขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Model for Scaling up) (2) 2.ขับเคลื่อนและยกระดับ โมเดล (good practice) ใน การกระจาย เชื่อมโยง ผลผลิต อาหารเพื่อสุข ภาวะให้กับ ประชาชนใน ชุมชน ผ่าน กลไกต่างๆ ไปสู่การขยาย ผล (Model for Scaling up) (3) 3.พัฒนา ต้นแบบการ ส่งเสริมความ รอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุข ภาวะ (ความ มั่นคงอาหาร/ อาหาร ปลอดภัย/ โภชนาการ) ให้กับ ประชาชนใน พื้นที่เพื่อปรับ พฤติกรรม การบริโภค และร่วมพลัง เป็นพลเมือง อาหาร (4) 4.พัฒนา ระบบ/กลไก เฝhาระวัง ผลผลิต ปลอดภัย เทศบาลนคร ยะลา จ.ยะลา (5) 5.พัฒนา ต้นแบบ ระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดห่วงโซ่ ที่แก้ปัญหา ภาวะ โภชนาการใน กลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่ม เปราะบาง (6) 6.พัฒนาและ ขับเคลื่อน นโยบาย สาธารณะ เพื่อส่งเสริม บริโภค อาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบ อาหารที่ ยั่งยืน (7) 7.พัฒนาฐาน ข้อมูลและ แผนภาพ เพื่อใช้ขับ เคลื่อนและ บูรณาการทํา งานระบบ อาหารตลอด ห่วงโซ่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. ขับเคลื่อนรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนให้เกิด การขยายผลในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ชายแดนเพื่อนําไปสู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ (2) 2. พัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะ โภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่มเปราะบาง โดยกลไก รพ.สต.ที่ ถ่ายโอนภารกิจมายัง อบจ.ปัตตานี โดยส่งเสริมความรอบรู้และสร้างปฏิบัติการ ด้านอาหาร (ความมั่นคงอาหาร/อาหารปลอดภัย/ โภชนาการ) (3) 1.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (4) 1.2 ทีมนักวิชาการออกแบบหลักสูตรเกษตรกรรมยั่งยืนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ จากเกษตรกร 10 แห่ง และออกแบบเครื่องมือประเมินความมั่นคงทางอาหาร ระดับครัวเรือน (นำไปใช้ประเมินกลุ่มเป้าหมาย 200 คน) (5) 2.1 เตรียมความพร้อมการทำงานตำบลต้นแบบบูรณาการระบบอาหาร ประสานรพ.สต.ถ่ายโอน จำนวน 40 ตำบล และอบจ.คัดลือกแกนนำตำบล ตำบลละ 5 คน (6) 3. พัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมบริโภคอาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยกลไกกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) กลไกผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กลไกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (7) 4. กิจกรรมการสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย (8) 5. การติดตามประเมินผลภายนอก (9) 1.3 สนส. และทีมวิชาการสร้างปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่งให้มีความพร้อมเป็นจุดถ่ายทอดการทำเกษตรกรรมยั่งยืน การเป็นทีมวิทยากร (10) 2.2 ทีมนักวิชาการ จาก Thailand Policy lab, ม.อ.ปัตตานี, วสส.ยะลา ดำเนินการ Training แกนนำตำบล มีขีดความสามารถใช้แครื่องมือ CHIA ประเมินระบบอาหารตลอดห่วงโซ่, การวิเคราะห์ข้อมูล, การจัดทำแผนที่ต้นทุนระบบอาหารชุมชน, การจัดทำแผนงานโครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ (11) 3.1 ประชุมทีมคณะเศรษฐศาสตร์มอ. เพื่อวางแผนประเมินโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนากลุ่มจังหวักภาคใต้ชายแดน และแผนของอบจ. แผนปี 65และ66 เพื่อประเมินถึงความคุ้มค่าในมิติทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (12) 3.4 การประชุมกำหนดวาระนโยบายเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร นโยบายการแก้ปัญหาโภชนาการเด็ก ให้อยู่ในแผนของกลุ่มจังหวัดและอบจ. ปัตตานี (13) 4.1 ประสานกับวิทยุมอ.88 หาดใหญ่ มอ.ปัตตานี เอามาออกแบบการพัฒนาประเด็นสื่อสาร ข้อเสนอเชิงนโยบายความมั่นคงทางอาหาร การทำเกษตรกรรมยั่งยืน ตลาดสีเขียวในชุมชน อาหารปลอดภัย นโยบายแก้ปัญหาด้านโภชนาการ เช่นเด็กเตี้ย เด็กผอม (14) 5.1 ติดตามประเมินผลภายในโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้รับผิดชอบโครงการรวมทั้งช่วยประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่นค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์ (15) 6. ติดตามผลความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะ รวมทั้งจัดทําแผนยุทธศาสตร์ ท้องถิ่น ขับเคลื่อนแผนไปสู้การปฏิบัติโดยรพ.สต.ที่ถ่ายโอนภารกิจมายัง อบจ.ปัตตานี (16) 1.4 จัด workshop ให้เกษตรกร 200 คน ในพื้นที่แปลงเรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบ พร้อมกับประเมินความมั่นคงทางอาหาร ของกลุ่มเป้าหมาย 200 คน (17) 2.3 แกนนำตำบล ดำเนินการเก็บข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล (18) 2.7 อบจ. สปสช. โหนด สสส. ทีมวิชาการ ประชุมพิจารณาโครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่  จัดกลุ่มชุดโครงการที่ใช้งบประมาณจาก สปสช., ชุดโครงการที่ใช้งบประมาณจากแผนงานร่วมทุน สสสและ อบจ.,ชุดโครงการที่ใช้งบประมาณกับสำนักอื่นๆของ สสส. (19) 2.8 โครงการสร้างปฏิบัติการในพื้นที่ (มี งบ สสส. นำร่อง 5 ตำบล และ อบจ. 40 ตำบล) (20) 2.9 จัดหลักสูตรพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาหารให้มีความสามารถดำเนินงานการจัดการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ (หลักสูตร non degree) (21) 3.2 ทีมนักวิชาการลงพื้นที่ประเมินโครงการ (22) 6.1 ทีมวิชาการ ม.อ. ปัตตานี ,วสส.ยะลา ,ติดตามประเมินผลแบบเสริมพลังให้กับตำบลทั้ง 40 แห่ง โดยประเมินผลผลัพธ์ เรื่อง ความสามารถของคน  ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ความรู้ที่เกิดขั้นจากการทำงาน มาตรนโยบาย (23) 5. ระบบติดตามสนับสนุนให้คำปรึกษาการทำเกษตรกรรมยั่งยืน (กลุ่มไลน์) ให้กับแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง และแกนนำเกษตรกร 200 คน (24) 2.4 นักวิชาการ แกนนำตำบลจัดทำแผนที่ต้นทุนระบบอาหารชุมชน (25) 2.5 นักวิชาการ แกนนำตำบล workshop การเขียนแผนงาน โครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ (26) 2.6 ทีมนักวิชาการ แกนนำตำบล  อสม. ออกแบบการทำกลไกติดตามด้านโภชนาการในพื้นที่ (27) 3.3 นักวิชาการนำผลการประเมินคืนให้กับส่วนราชการที่ดำเนินโครงการ พร้อมกับworkshop การยกระดับการทำแผนงานโครงการที่ตอบความคุ้มค่าในมิติเศรษฐกิจและสังคม (28) 4.2 จัดเวทีนโยบายในพื้นที่(คลายๆ Thai pbs) (29) 1.6 เดือน ก.ค.ประเมินความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน เกษตรกร 200 คน (ประเมินหลังการเข้าร่วมกิจกรรม) (30) 7. การพัฒนาชุดความรู้ แนวทางปฏิบัติ และคู่มือ Model เกษตรกรรมยั่งยืนใน สวนยางพารา ขยายผลกับการยางแห่งประเทศไทยสามจังหวัดภาคใต้ชายแดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (31) 6.2 นักวิชาการ แกนนำตำบล สรุปบทเรียน และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ (32) 7.1. นักวิชาการลงพื้นที่ ประเมินแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง ถอดบทเรียนการเป็นแหล่งเรียนรู้ และจัดทำ model แหล่งเรียนรู้ฯ จัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา (33) 7.2 จัดประชุมแลกเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ในรูปแบบการจัดประชุมวิชาการ หรือการจัดสมัชชาเรื่องสวนยางยั่งยืน ทั้ง onsite และ online (34) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์และจัดทำเครื่องมือส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหาร (35) การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (36) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอด  ห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการระดับชุมชน (37) การประชุมสร้างความร่วมมือพัฒนาตำบลต้นแบบจัดการระบบอาหารเพื่อสุขภาวะที่แก้ปัญหาโภชนาการระดับชุมชน (38) การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการทรพ.สต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 66-00459

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( อ.ดร.เพ็ญ สุขมาก )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด