สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา

assignment
บันทึกกิจกรรม
ประชุมวางแผนการพัฒนาตลาดในโรงงานอุตหกรรม19 มกราคม 2567
19
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yadaporn Yimkaew
  • S__61661235_0.jpg
  • S__61661234_0.jpg
  • S__61661232_0.jpg
  • S__61661231_0.jpg
  • S__61661230_0.jpg
  • S__61661228_0.jpg
  • S__61661227_0.jpg
  • S__61661225_0.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เจ้าหน้าที่วิจัย โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี  ได้สรุปแนวทางการพัฒนาตลาดในโรงงานเซฟสกิน ให้กับทางประธานกลุ่ม สมาชิกและ ผู้จัดการโรงงานได้นำไปปรับแก่ไข โดยมีละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาจุดรับสินค้าก่อนจะส่งมาขายในโรงงาน การพัฒนาตลาดในโรงงาน และการพัฒนากลุ่มเกษตรกรที่ยังขาดความรู้และความเข้าใจในระบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จุดรับสินค้า
      1.1 พัฒนาระบบใบส่งสินค้าให้มีรูปแบบเดียวกันโดยทำเป็นสมุดบันทึก 2 ชุด มีการเขียนชื่อผู้รับและผู้ส่ง แล้วเก็บไว้ฝ่ายละชุด
      1.2 การวางสินค้า
            -  ปรับพื้นที่บริเวณจุดรับสินค้า ให้ถูกสุขลักษณะ  โดยมีเต๊น โต๊ะ เพื่อวางสินค้า ผลผลิตอาหาร         - ประชุมสมาชิกส่งสินค้า เพื่อให้สมาชิกแยกหมวดอาหาร เช่น ผักพื้นบ้าน ผักยอดนิยม ผลไม้ ขนม
                อาหารปรุงสุกพร้อมทาน ใส่ในกระตร้าแยกประเภท เพื่อเตรียมขนส่ง         - กล่องบรรจุสินค้า เพื่อแยกประเภทอาหารที่จำหน่าย   1.3 การขนส่ง           - สแลนกันลม
  2. ตลาดในโรงงาน   2.1 จุดวางสินค้าที่คละกัน         -  ป้ายแสดงราคาสินค้า         -  จัดโซนประเภทอาหาร   2.2  การจำหน่ายผลผลิตให้กับร้านอาหารในโรงงาน
            - การทำตลาดล่วงหน้า ตลาดออนไลน์กับผู้จำหน่ายอาหารในโรงงาน
  3. กลุ่มเกษตรกร     3.1 กลุ่มเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบ และพบโรคแมลงทุกราย         - สนับสนุนการทำเกษตรอัจริยะ จำนวน 20 ราย         - พัฒนาระบบการให้คำปรึกษาของทีมนักวิชาการ เรื่องเกษตรผ่านระบบไลน์กลุ่มสมาชิก
            - จัดทำปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของตนเอง ที่สอดคล้องกับชนิดพืชซึ่ง
                ต้องการปลูก โดยดูสภาพพื้นที่เป็นหลัก
            - การอบรมให้ความรู้ด้านการเกษตร ตามเนื้อหาที่สมาชิกต้องการ
การลงพื้นที่ ดูแหล่งรวบรวมผลผลิตและตลาดเขียวในโรงงานเซฟสกิน15 มกราคม 2567
15
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yadaporn Yimkaew
  • S__61423655_0.jpg
  • S__61423654_0.jpg
  • S__61423651_0.jpg
  • S__61423650_0.jpg
  • S__61399105.jpg
  • S__61399104_0.jpg
  • S__61399101_0.jpg
  • S__61399100_0.jpg
  • S__61423653_0.jpg
  • S__61423652_0.jpg
  • S__61423648_0.jpg
  • S__61399106.jpg
  • S__61399103_0.jpg
  • S__61399102_0.jpg
  • S__61399099_0.jpg
  • S__61399097_0.jpg
  • 8.jpg
  • 7.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เจ้าหน้าที่วิจัย โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี และอาจารย์ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี  ได้ลงพื้นที่ดูแหล่งรวบรวมผลผลิต แปลงของกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างและจุดวางขายสินค้าในโรงงาน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาปัญหาของการทำตลาดในโรงงานอุตสาหกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จุดรับสินค้า
    ข้อค้นพบจากการไปดูตลาด แนวทางการพัฒนา 1.1. ใบส่งสินค้ามีหลายแบบการตรวจทานค่อนข้างยาก

- พัฒนาระบบใบส่งสินค้าให้มีรูปแบบเดียวกันโดยทำเป็นสมุดบันทึก 2 ชุด มีการเขียนชื่อผู้รับและผู้ส่ง แล้วเก็บไว้ฝ่ายละชุด 1.2 การวางสินค้ามีการวางปะปนกัน วางบนพื้นถนน
- จัดจุดวางสินค้าให้สูงจากพื้น เช่น บนแคร่หรือโต๊ะ - แยกประเภทสินค้าออกเป็นหมวด  เช่น ผักพื้นบ้าน ผักยอดนิยม ผลไม้ ขนม อาหาร
-พัฒนากล่องสินค้าให้พร้อมขนส่งที่วางท้ายรถกระบะให้ทับซ้อนกันได้โดยไม่หักช้ำ และเมื่อถึงยกตั้งวางขายที่ตลาดโรงงานให้ได้อย่างรวดเร็วตามหมวดหมู่ 1.3 การขนส่งมีการซ้อนสินค้าระหว่างการขนส่ง ไม่มีที่คลุมสินค้าระหว่างขนส่งทำให้ของตกหลนตามทาง สบัดพริ้วทำให้ช้ำเหี่ยวเฉาไว
- เมื่อจัดวางกล่องสินค้าลงท้ายรถกระหมดแล้วให้ใช้สแลนคลุมสินค้าระหว่างการขนส่ง โดยจัดผูกสแลนที่ไว้กับขอบกระบะให้เรียบร้อย ซึ่งจะช่วยลดการช้ำของผักจากแรงลมที่ทำให้เกิดการสบัดได้ 2. ตลาดในโรงงาน ข้อค้นพบจากการไปดูตลาด แนวทางการพัฒนา 2.1 จุดวางสินค้าที่คละกัน
- ตั้งวางโดยแยกประเภทสินค้าให้ได้โดยไวเมื่อมาถึง - สินค้าแสดงราคาให้ชัดเจน โดยให้ติดราคาที่ตำแหน่งเหมือนกัน - แบ่งจุดชำระเงิน เพิ่ม 2 จุด จ่ายเงินสด และจ่ายผ่านอแปฯ 2.2 สินค้าบางอย่างไม่ได้ระบุราคา ตอนขายต้องหาบิลราคาทำให้เกิดความสับสนล่าช้า และคอยดูแลบริการลูกค้าได้ไม่ประทับใจ
- ระบุราคาสินค้าติดไว้ให้ชัดเจนที่ตำแหน่งเดียวกัน 3. กลุ่มเกษตรกร ข้อค้นพบจากการไปดูแปลงของเกษตรกร แนวทางการพัฒนา 3.1 กลุ่มเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบ เพื่อการสร้างคุณค่าผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต เช่น เรื่องเล่ากระบวนการผลิต การใช้วัสดุเหลือทิ้งทางครัวเรือนและการเกษตรมาเป็นปุ๋ย การกินอาหารให้เป็นยา การสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ เป็นต้น
- ทำพื้นที่และระบบการเพาะปลูกให้ได้มาตรฐานสากล เช่น สดาด เป็นกลุ่มหมวดหมู่ วัสดุปลูดและแสงเหมาะสมตามชนิดพืช ให้ปุ๋ยและน้ำตามความต้องการของพืช - จัดทำปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของตนเอง ที่สอดคล้องกับชนิดพืชซึ่งต้องการปลูก โดยดูสภาพพื้นที่เป็นหลัก เพาระจะช่วยลดรายจ่ายได้แนวทางหนึ่ง 3.2 สังเกตุพบมีโรคแมลงทุกรายที่ไปเยี่ยมชม เนื่องจากเพราะขาดความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยปลูกที่ไม่ดีพอหรือเหมาะสม สภาพพื้นที่บางแห่งแสงไม่เพียงพอ
- การจัดการวัสดุปลูกให้เหมาะสมตามชนิดพืช
- วัสดุปลูกเก่าต้องเอามาทำการฟื้นฟูสภาพดินใหม่ โดยนำมาทำการย่อน พักตากแดดกำจัดโรคแมลง แล้วเพิ่มปุ๋ยณาตุอาหารเพื่อนำไปเป็นวัสดุปลูกใหม่ - การจัดการปรับปรุงดิน และการทำปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก - การปรับแต่งสภาพพื้นที่ให้มีแสงส่องถึงพอเพียงตามความต้องการของชนิดพืช

ประชุมระดมความคิดเห็นจัดทำแผนพัฒนาตลาดนัดอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม9 มกราคม 2567
9
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yadaporn Yimkaew
  • S__61423669_0.jpg
  • S__61423668_0.jpg
  • S__61423667_0.jpg
  • S__61423662_0.jpg
  • S__61423661_0.jpg
  • S__61423659_0.jpg
  • S__61423663_0.jpg
  • S__61423669_0.jpg
  • S__61423668_0.jpg
  • S__61423666_0.jpg
  • S__61423665_0.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เจ้าหน้าที่วิจัย โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี ได้รับฟังข้อคิดเห็น จากกลุ่มผู้บริหารเทศบาลตำบลปริก ประกอบด้วย รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล บุคลากร คณะกรรมการชุมชนและผู้จัดการโรงงานเซฟสกิน เกี่ยวกับเรื่องการนำผลผลิตการเกษตรไปขายในโรงงานเซฟสกิน ได้มีการนำเสนอเกี่ยวกับจุดรวมรวมผลผลิต จำนวนผู้บริโภคในโรงงาน ผลผลิตที่นำเข้าไปขาย บรรจุภัณฑ์ การวางขายในโรงงาน รายได้จากการขายสินค้า รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆจากการนำผลผลิตไปขายในโรงงงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีแนวทางในการพัฒนาตลาดในโรงงาน ดังนี้ 1) การพัฒนาจุดรวบรวมผลผลิตการเกษตรของชุมชน 2) การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรกลุ่มเดิม 15 ราย ให้เพิ่มการผลผลิตอาหาร
3) พัฒนาศักยภาพกลุ่มปลูกผักยกแคร่เดิม 4-5 ราย
4) ขยายกลุ่มเกษตรกร 5) พัฒนามาตรฐานอาหาร ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค 6) การพัฒนาระบบบันทึกข้อมูลสินค้า การทำแผนตลาด การทำปฏิทินการผลิต 7) การทำตลาดล่วงหน้า  หรือตลาดออนไลน์ และจุดรับสินค้า

ประชุมคณะกรรมการชุมชนเทศบาลตำบลปริก ประจำเดือนธันวาคม 2566 ครั้งที่ 2/256726 ธันวาคม 2566
26
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
  • S__61112368_0.jpg
  • S__61112359_0.jpg
  • S__61112372_0.jpg
  • S__61112371_0.jpg
  • S__61112370_0.jpg
  • S__61112368_0.jpg
  • S__61112367_0.jpg
  • S__61112366_0.jpg
  • S__61112365_0.jpg
  • S__61112364_0.jpg
  • S__61112363_0.jpg
  • S__61112362_0.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เจ้าหน้าที่วิจัย โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี ได้นำเสนอโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ให้กับผู้บริหารเทศบาลตำบลปริก ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล บุคลากรและคณะกรรมการชุมชน เพื่อสร้างความร่วมมือการทำงานขับเคลื่อนและยกระดับโมเดล (good practice) ในการกระจาย เชื่อมโยงผลผลิตอาหารเพื่อสุขภาวะให้กับประชาชนในชุมชน ผ่านกลไกต่างๆ ไปสู่การขยายผล (Model for Scaling up) โดยเลือกพื้นที่การทำตลาดในเขตพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม โดยเบื้องต้นจากการหารือกับนายกเทศมนตรีตำบลปริก ทางเทศบาลมีการดำเนินงานเรื่องนี้กับโรงงานเซฟสกิน แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งในขณะนี้เทศบาลตำบลปริกได้มีนโยบายให้คนในชุมชนรวมกลุ่มโดยใช้ชื่อว่า กลุ่มคนปริกมีกินมีใช้ ซึ่งจะพยายามขยายให้เกิดความครอบคลุมทุกชุมชน ให้เกิดรูปแบบชุมชนที่มีการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทางเทศบาลมีข้อเสนอให้เรื่องการทำตลาดในโรงงานอุตสาหกรรมเชื่อมกับงานวิจัยด้านโภชนาการที่ทาง อ.กุลทัต หงส์ชยางกูร ได้ศึกษาไว้ โดยให้กองสวัสดิการสังคม และกองการศึกษาเป็นหน่วยงานประสานการทำงานกับสถาบันนโยบายสาธารณะ