สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ชุมพร

การประชุมจัดทำยุทธศาสตร์อาหารระดับพื้นที่(สมัชชาพลเมืองชุมพร)9 ธันวาคม 2563
9
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
  • แผนดำเนินงานยุทธศาสตร์ระบบอาหารชุมพร 4 ปี .pdf
  • ข้อเสนอเชิงนโยบายสมัชชาพลเมืองชุมพร 9-12-63.docx
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเวทีสมัชชาพลเมืองชุมพร อันประกอบด้วย
1. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ :สมาคมประชาสังคมชุมพร (Node Flagship Chumphon)
2. สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร ซึ่งได้ร่วมกันดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะที่สนับสนุนวิสัยทัศน์จังหวัด “ชุมพรเมืองน่าอยู่ บนพื้นฐานการเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวคุณภาพ เชื่อมโยงการพัฒนาสองฝั่งทะเล” ในสอง ประเด็นได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่:จัดการโรคเรื้อรัง และ ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ 3. ขบวนสภาองค์กรชุมชนจังหวัดชุมพร ซึ่งได้ดำเนินการในประเด็นที่ดิน ที่อยู่อาศัย สวัสดิการชุมชน
4. ชมรมวุฒิอาสาธนาคารสมองจังหวัดชุมพร และกลุ่มเครือ ภาคีการพัฒนาทั้ง ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคราชการ การเมือง  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรึกษาหารือ ออกแบบความร่วมมือการพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เพื่อผลักดันชุมพรเมืองน่าอยู่ โดยการขยายผลจากพื้นที่รูปธรรม สร้างการมีส่วนร่วมของพลเมือง สร้างเสริมสุขภาวะให้ชุมพรเมืองน่าอยู่และได้ทำข้อเสนอเชิงนโยบายระดับจังหวัดชุมพรต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการรับรู้และร่วมให้ความเห็นต่อร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร
  • มีข้อเสนอการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อความมั่นคงในชีวิตแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพรในยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร คือ
  • ขอให้จังหวัดชุมพรและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ให้ความสำคัญสนับสนุนให้เแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดชุมพร  (พรบ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ปี 2551
    มียุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารฉบับที่ 2 (2561-2579 )  มุ่งสู่วิสัยทัศน์ที่ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคงด้าน อาหารและโภชนาการ เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อชาวไทยและชาวโลกอย่างยั่งยืน” )  ประกอบด้วยความมั่นคงอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย การสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันเกษตรกรให้เป็นเสาหลักของชุมชนท้องถิ่น พร้อมการเชื่อมโยงประสานเครือข่ายในระดับท้องถิ่น จังหวัดหรือภูมิภาคให้เป็นพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย
  • ขอให้จังหวัดชุมพรและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สนับสนุนการพัฒนาระบบเกษตรสุขภาพ หรือเกษตรกรรมยั่งยืน ในรูปแบบ 5 รูปแบบ ได้แก่ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร/ธนาคารต้นไม้ เกษตรธรรมชาติ  และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง) โดยส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานและเพิ่มมูลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบโดยหลักอาชีวอนามัย ให้บรรลุผลลัพธ์ ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย
  • ขอให้จังหวัดชุมพรและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมและพืชอัตลักษณ์ถิ่น โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ ให้คงอยู่เป็นฐานทรัพยากรกับชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมธนาคารเมล็ดพันธุ์และพันธุกรรมถิ่น การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการแพทย์ประจำถิ่น เช่น กัญชาเพื่อการแพทย์ กระท่อมชูกำลัง ขมิ้นถิ่นใต้ ฯ การพัฒนาต่อยอดพืชอัตลักษณ์ถิ่นให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่มขึ้น เช่น กล้วยเล็บมือนางชุมพร ข้าวไร่ชุมพร ข้าวเหลืองปะทิว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่