โครงการเกษตรในโรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา 1 (โรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา ๑)

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการเกษตรในโรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา 1 (โรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา ๑)
ภายใต้โครงการ แผนงานการบูรณาการระบบอาหารในสถานศึกษาของจังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา ๑ ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 20 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา 1 (0892996257 , 0895971252)
พี่เลี้ยงโครงการ วรรณา สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ ม.3 ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด
งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00

ข้อมูลในการดำเนินโครงการ

สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และนโยบายการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ซึ่งกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารฉบับดังกล่าวมุ่ง  สู่วิสัยทัศน์ที่ว่า  “ ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อชาวไทยและชาวโลกอย่างยังยืน ” ตามหลักการดังกล่าวโรงเรียนธรรมศาสตร์-จุฬา ๑ ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการจัดทำอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษาคือตั้งแต่ระดับดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนทุกคนได้รับรับประทานอาหารกลางวันทุกคน แต่นักเรียนบางส่วนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 45.89 และน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนตามเกณฑ์ 79 คน คิดเป็นร้อยละ 54.10 ของนักเรียนทั้งหมด ดังนั้นตามเกณฑ์ดังกล่าวทางโรงเรียนธรรมศาสตร์-จุฬา ๑ มีการจัดทำกิจกรรมเกี่ยวการเกษตรหรือการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ที่ดีขึ้น โดยกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เน้นนักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการผลิตและใช้เป็นอาหารกลางวันที่ถูกต้องครบถ้วนหลักการทางด้านโภชนาการและปลอดสารพิษ
กิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตรโดยเฉพาะกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลาดุก รวมไปถึงการปลูกพืชสวนครัวและเพาะเห็ดนางฟ้าเป็นกิจกรรมที่ควรพัฒนาต่อไปเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี รวมถึงการให้ความรู้และปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่นเพื่อที่จะนำไปพัฒนาตนเองในการประกอบอาชีพและใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข

กรอบแนวคิด

กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

1.นักเรียนโรงเรียนธรรมศาสตร์จุฬา ๑ ได้รับประทานอาหารกลางวันทุกคน

2.กิจกรรมเลี้ยงสัตว์ คือ เลี้ยงไก่ไข่ และปลาดุก ( บ่อซีเมนต์ ) เพื่อสนับสนุนการประกอบอาหาร
กลางวัน 3.กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษและเพาะเห็ดนางฟ้าสนับสนุนอาหารกลางวัน

4.นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมเลี้ยงสัตว์และปลูกผัก

5.นักเรียน ครู ผู้ปกครองได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  1. นักเรียนมีน้ำหนัก และส่วนสูงตามภาวะโภชนาการที่กำหนด
60.00
2 นักเรียนมีความรู้และเลี้ยงสัตว์ คือ ไก่ไข่ และปลาดุก (บ่อซีเมนต์) ได้ถูกต้อง

1.นักเรียนสามารถเลี้ยงปลา ไก่ ได้ถูกต้อง

2.นักเรียนมีเนื้อสัตว์เป็นอาหารกลางวัน เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต

60.00
3 นักเรียนทีความรู้และสามารถปลูกผักปลอดสารพิษและเพาะเห็ดนางฟ้าได้
  1. นักเรียนสามารถปลูกผักสวนครัวได้
  2. นักเรียนมีความรู้เรื่องประโยชน์ของผักปลอดสารพิษและนำความรู้ไปปฏิบัติ
  3. นักเรียนสามารถดูแลเห็ดนางฟ้า
60.00
4 นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ได้มีความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้ อย่างถูกต้อง
  1. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติทั้งที่โรงเรียน บ้าน และชุมชน
70.00

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 146
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
นักเรียน 146 -

การดำเนินงาน/กิจกรรม

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
20 พ.ย. 61 เลี้ยงไก่ไข่ 10,000.00 14,500.00
20 พ.ย. 61 เลี้งปลาดุก 2,500.00 2,500.00
20 พ.ย. 61 เพาะเห็ดนางฟ้า 2,000.00 2,000.00
20 พ.ย. 61 ปลูกผักสวนครัว 1,000.00 1,000.00
รวม 0 15,500.00 4 20,000.00
วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม)
  1. กิจกรรมเลี้ยงสัตว์ คือ เลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 48 ตัว
  2. กิจกรรมเลี้ยงปลาดุก (บ่อซีเมนต์) จำนวน 500 ตัว
  3. กิจกรรมปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ (ผักกางมุ้ง) ขนาดพื้นที่กว้าง 5 เมตร ยาว 9 เมตร
  4. กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า จำนวน 200 ก้อน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักเรียนได้รับประทาอาหารที่ปลอดภัยและถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  2. นักเรียนมีความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ คือ เลี้ยงไก่ไข่ และปลาดุก (บ่อซีเมนต์) และนำไปสู่ระบบอาหาร กลางวันในโรงเรียน
  3. นักเรียนมีความรู้และสามารถปลูกผักปลอดสารพิษและเพาะเห็ดนางฟ้าเพื่อนำไปสู่ระบบอาหาร กลางวันในโรงเรียน
  4. นักเรียน ครู ผู้ปกครองมีความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติใน ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

เอกสารประกอบโครงการ

ชื่อเอกสารผู้ส่ง
1 ไฟล์ข้อเสนอโครงการ ครั้งที่ 1 (.docx) wanna

โครงการเข้าสู่ระบบโดย โรงเรียนธรรมศาสตร์ จุฬา 1 โรงเรียนธรรมศาสตร์ จุฬา 1 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 14:55 น.