โครงการเกษตรในโรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา 1 (โรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา ๑)

เพาะเห็ดนางฟ้า

15 กรกฎาคม 2562
โรงเรียนธรรมศาสตร์ จุฬา 1โรงเรียนธรรมศาสตร์ จุฬา 1
รายงานจากพื้นที่
Project owner
  • photo นักเรียนกำลังเก็บเห็ดนักเรียนกำลังเก็บเห็ด
  • photo
  • photo รดน้ำเพิ่มความชื้นรดน้ำเพิ่มความชื้น
  • photo ทำความสะอาดเห็ดนางฟ้าทำความสะอาดเห็ดนางฟ้า
  • photo เห็ดที่พร้อมทำอาหารเห็ดที่พร้อมทำอาหาร
  • photo
  • photo
  • photo เห็ดที่พร้อมจำหน่ายเห็ดที่พร้อมจำหน่าย
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประชุมครู ,บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรม มีการแบ่งนักเรียนที่รับผิดชอบโครงการ ออกเป็นกลุ่มที่สนใจในเรื่องที่จะทำ เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ การปลูกผัก การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลาดุก

2.มีการเพาะเห็ด จำนวน 300 ก้อนในโรงเรือนจำนวน 1โรงเรือน ที่มีอยู่เดิมมีการแบ่งนักเรียนที่สนใจเข้ามารับผิดชอบงานระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4 จำนวน 5-6 คน ผลัดเปลี่ยนเวรในแต่ละวัน ในเรื่องของการรดน้ำ การดูแลโรงเรือน และการเก็บผลผลิต

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เห็ดนางฟ้าที่เพาะไว้สามารถให้ผลผลิต 13-14กิโลกรัมต่อครั้ง และสามารถนำไปเป็นเมนูอาหารให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้นตั้งแต่อนุบาล ถึงระดับประถมศึกษาปีที่6

2.นักเรียนที่รับผิดชอบโครงการมีความรู้ในการเพาะเห็ดนางฟ้า

3.เมนูจากเห็ดนางฟ้า ทำให้นักเรียนได้รับโปรตีนในมื้ออาหาร

4.นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง และโภชนาการสมวัย

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่ายสถานะ
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 2,000.00 0.00 0.00 2,000.00

ปลูกผักสวนครัว

2 กรกฎาคม 2562
โรงเรียนธรรมศาสตร์ จุฬา 1โรงเรียนธรรมศาสตร์ จุฬา 1
รายงานจากพื้นที่
Project owner
  • photo กิจกรรมการปลูกผักคะน้าและผักบุ้งกิจกรรมการปลูกผักคะน้าและผักบุ้ง
  • photo
  • photo
  • photo นักเรียนเตรียมแปลงก่อนปลูกนักเรียนเตรียมแปลงก่อนปลูก
  • photo เตรียมแปลงปลูกเตรียมแปลงปลูก
  • photo
  • photo รดน้ำผักบุ้งรดน้ำผักบุ้ง
  • photo นักเรียนเตรียมแปลงปลูกผักบุ้งนักเรียนเตรียมแปลงปลูกผักบุ้ง
  • photo
  • photo ผักบุ้งเริ่มงอกผักบุ้งเริ่มงอก
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประชุมครู ,บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรม มีการแบ่งนักเรียนที่รับผิดชอบโครงการ ออกเป็นกลุ่มที่สนใจในเรื่องที่จะทำ เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ การปลูกผัก การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลาดุก

2.มีการปลูกผักสวนครัว และผักใบ เช่น ผักบุ้ง ผักกาด ในแปลงดินในรูปแบบผักกางมุ้ง จำนวน 5 แปลง

3.นักเรียนที่รับผิดชอบ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5 จำนวน 7-8 คน มีการเปลี่ยนเวรในการดูแล รดน้ำ ใส่ปุ๋ย และเก็บผลผลิต จากแปลงสู่โรงครัวของโรงเรียน

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผลผลิตที่ได้จากแปลงผัก ป้อนสู่โรงครัว ตลอดปีการศึกษา ทำให้มีเมนูอาหารจากผักที่นักเรียนปลูกเองมีความปลอดภัย และเหลือสามารถแบ่งให้กับผู้ปกครองนักเรียนเพื่อเป็นอาหารให้กับทุกคนในครอบครัว

2.นักเรียน 153 คน ได้กินผักปลอดสารพิษในมื้ออาหารกลางวันของโรงเรียน

3.นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจในการปลูกผัก สามารถนำไปใช้ในครัวเรือนตนเองได้

4.นักเรียนมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง และมีโภชนาการสมวัย

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่ายสถานะ
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 1,000.00 0.00 0.00 1,000.00

เลี้งปลาดุก

3 มิถุนายน 2562
โรงเรียนธรรมศาสตร์ จุฬา 1โรงเรียนธรรมศาสตร์ จุฬา 1
รายงานจากพื้นที่
Project owner
  • photo บ่อเลี้ยงปลาดุก ( บ่อซีเมนต์ )บ่อเลี้ยงปลาดุก ( บ่อซีเมนต์ )
  • photo ปลาดุกระยะ 3 เดือนปลาดุกระยะ 3 เดือน
  • photo
  • photo
  • photo เตรียมการจับปลาจำหน่ายแก่โรงอาหารเตรียมการจับปลาจำหน่ายแก่โรงอาหาร
  • photo กำลังจับปลากำลังจับปลา
  • photo
  • photo คัดแยกขนาดปลาดุกคัดแยกขนาดปลาดุก
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประชุมครู ,บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรม มีการแบ่งนักเรียนที่รับผิดชอบโครงการ ออกเป็นกลุ่มที่สนใจในเรื่องที่จะทำ เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ การปลูกผัก การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลาดุก

2.มีการเลี้ยงปลาดุก จำนวน 1,000 ตัว ในบ่อซีเมนต์เดิมที่มีอยู่แล้ว จำนวน 2 บ่อ มีการแบ่งนักเรียนที่สนใจเข้ามารับผิดชอบงานระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4 จำนวน 5-6 คน ผลัดเปลี่ยนเวรในแต่ละวัน ในเรื่องของการให้อาหาร การถ่ายน้ำจากบ่อเลี้ยง การดูแลรักษาความสะอาดของบ่อ

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ปลาดุก 1,000 ตัว ที่เลี้ยงไว้สามารถส่งเข้าสู่โรงครัวของโรงเรียน และเป็นเมนูอาหารในมื้อกลางวัน จำนวน 13-14กิโลกรัม จำนวน 1 ครั้ง .ในปีการศึกษา

2.นักเรียนได้กินปลาดุกที่แม่ครัวทำเป็นเมนูอาหาร ทำให้ได้รับโปรตีนจากเนื้อปลา

3.นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง โภชนาการสมวัย

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่ายสถานะ
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 2,500.00 0.00 0.00 2,500.00

เลี้ยงไก่ไข่

2 พ.ค. 2562
โรงเรียนธรรมศาสตร์ จุฬา 1โรงเรียนธรรมศาสตร์ จุฬา 1
รายงานจากพื้นที่
Project owner
  • photo กิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่กิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่
  • photo นักเรียนกำลังล้างกรงไก่ไข่นักเรียนกำลังล้างกรงไก่ไข่
  • photo
  • photo บันทึกสถิติการไข่บันทึกสถิติการไข่
  • photo
  • photo ให้อาหารไก่ให้อาหารไก่
  • photo
  • photo
  • photo อาหารกลางวันจากไข่ไก่อาหารกลางวันจากไข่ไก่
  • photo อาหารกลางวันของนักเรียนอาหารกลางวันของนักเรียน
  • photo นำไข่ไก่ส่งโรงอาหารนำไข่ไก่ส่งโรงอาหาร
  • photo
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประชุมครู ,บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรม มีการแบ่งนักเรียนที่รับผิดชอบโครงการ ออกเป็นกลุ่มที่สนใจในเรื่องที่จะทำ เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ การปลูกผัก การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลาดุก

2.มีการเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 48 ตัว ในโรงเรีอนเดิมที่มีอยู่แล้ว จำนวน 1โรงเรือน มีการแบ่งนักเรียนที่สนใจเข้ามารับผิดชอบงาน แบ่งเวรในการดูแลไก่ไข่ในแต่ละวัน ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่6 จำนวน 8คน พลัดเปลี่ยนเวรกันดูแลทั้งในเรื่องของการให้อาหารไก่ไข่ การดูแลโรงเรีอน และการเก็บผลผลิตไข่ไก่ ส่งให้กับโรงครัวโรงเรียนเพื่อเป็นเมนูอาหารให้กับนักเรียนในโรงเรียนระดับชั้นอนุบาล จนถึงประถมศึกษาปีที่6

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.นักเรียนมีไก่ไข่บริโภคเป็นอาหารกลางวัน

2.ไก่ไข่ จำนวน 48 ตัวที่เลี้ยงไว้สามารถให้เก็บไข่ ครั้งละ 180 ฟองต่อสัปดาห์ และสามารถทำเป็นเมนูอาหารที่เป็นเมนูไข่ให้กับนักเรียนได้ทานเป็นมื้ออาหารกลางวัน

3.นักเรียนมีความรู้และทักษะในการดูแลไก่ไข่และสามารถขยายความรู้ให้กับเพื่อนนักเรียนและชุมชนที่สนใจ

4.นักเรียนได้กินไข่ไก่ที่มีความปลอดภัย และมีโปรตีนสูง

5.นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่ายสถานะ
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 14,500.00 0.00 0.00 14,500.00