สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการเห็ดอินทรีย์ วิถีพอเพียงโรงเรียนวัดบางศาลา (โรงเรียนวัดบางศาลา)

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้ได้เห็ดนางฟ้าในการประกอบอาหารกลางวันที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด
ตัวชี้วัด : โรงเรียนได้เห็ดนางฟ้าในการประกอบอาหารกลางวันที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด
7.00 7.00

1.โรงเรียนได้เห็ดนางฟ้าที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด ซึ่งท้องตลาดขาย ขีดละ 10 บาท แต่โรงเรียนขายขีดละ 7 บาท

2.นักเรียนได้กินผักเพิ่มมากขึ้น

นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย

เนื่องจากการเพาะเห็ดนางฟ้ายังไม่เป็นที่แพร่หลายในชุมชน จึงทำให้มีราคาในท้องตลาดค่อนข้างสูง โรงเรียนสามารถเพาะเห็ดเองได้ ก็ทำให้ได้รับวัตถุดิบที่มีราคาถูก

2 เพื่อให้ได้เห็ดนางฟ้าที่ใช้ในการประกอบอาหารกลางวันที่ปลอดสารเคมี
ตัวชี้วัด : โรงเรียนได้เห็ดนางฟ้าที่ใช้ในการประกอบอาหารกลางวันที่ปลอดสารเคมี
100.00 100.00

1.โรงเรียนได้เห็ดนางฟ้าที่ปลอดสารเคมี 100 เปอร์เซ็น

นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย

เห็ดนางฟ้ามีขั้นตอนในการดูแลค่อนข้างยุ่งยาก จึงทำให้เกษตรกรที่เพาะเห็ดมีการใส่สารเคมีที่จะช่วยกันแมลงที่จะมากินเห็ดนางฟ้า ทำให้เห็ดนางฟ้าที่นำมาขายยังท้องตลาดมีการปนเปื้อนของสารเคมี

3 เพื่อให้ครู นักเรียน ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนเห็นคุณค่าความสำคัญของการเพาะเห็ดนางฟ้ากินเอง
ตัวชี้วัด : นักเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนจำนวน 65 คน เห็นคุณค่าความสำคัญของการเพาะเห็ดนางฟ้ากินเอง
100.00 100.00

ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชน ตระหนักถึงคุณค่าของการเพาะเห็ดนางฟ้ารับประทานเอง 100 เปอร์เซ็น เนื่องจากได้เห็ดนางฟ้าที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด และยังปลอดสารพิษ เหลือจากการรับทานเองก็สามารถนำไปจำหน่ายต่อได้

นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย

ข้อสังเกตที่สำคัญคือกลุ่มเป้าหมายของโครงการสนใจที่จะนำการเพาะเห็ดไปดำเนินการด้วยตนเองที่บ้าน เพื่อจะได้นำเห็ดนางฟ้ามาเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารรับประทานเองและนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมในการจำหน่ายเห็ดนางฟ้า