สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการเสริมศักยภาพกลไกคณะทำงานพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นด้วยการจัดการความรู้เขต 11สุราษฎร์ธานี (ภาคใต้ตอนบน)

เวทีจัดการความรู้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดกระบี่13 ตุลาคม 2559
13
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นิฮาฟีซา นิมะมิง
circle
วัตถุประสงค์

-

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 13 ตุลาคม 2559 แนะนำทักทาย โดย นายทวีชัย  อ่อนนวน ในนามของตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดกระบี่ ขอตอนรับตัวแทนคณะกรรมการกองทุนท้องถิ่นทุกๆพื้นที่  เวทีวันนี้จัดขึ้นเพื่อทบทวนการปฏิบัติงานของศูนย์ประสานงานสำนักงานหลักประกันสุขภาพ(สปสช.)จังหวัดกระบี่ และเพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางจังหวะก้าวต่อไปในอนาคตและให้ในที่ประชุมแนะนำตัวและพื้นที่ปฏิบัติการ ทั้ง 8 อำเภอ

ชี้แจงแนวทางและที่มาของของกองทุน นายสรณ์จักร์  ปรีชา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำการสร้างเสริมสุขภาพ  โดยการใช้งบจากภาษีเหล้าบุหรี่ ซึ่งสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการทำงานส่งเสริมสุขภาพที่อยู่ภายใต้งานกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เรื่องการส่งเสริมป้องกันโรคในระดับพื้นที่ (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) สท. ทำในเรื่องของตำบลสุขภาพ เพื่อให้ทุกคนได้ประโยชน์อย่างทั่วถึง ซึ่งคนดูแลหลักคือท้องถิ่น อบต. อบจ. และท้องถิ่นปกครองพิเศษ คือ กรุงเทพ และพัทยา จากการทำงานร่วมกัน จะทำให้ทุกคนเกิดประโยชน์ร่วมกันในการขับเคลื่อนงานต่อไปในอนาคต เช่น การเกิดธรรมนูญสุขภาพในชุมชน เกิดการทำงานส่งเสริมป้องกันโรคในพื้นที่ เกิดการเสริมสุขภาพในพื้นที่  ซึ่งการทำงานเรื่องสุขภาพจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่การร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ และภาคประชาชนเพื่อหนุนงานของท้องถิ่น  ซึ่งเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคนโดยเฉพาะประชาชน ดังนั้น ทุกคนต้องช่วยกัน ในส่วนของประกันสังคมนั้น  ดูแลโดยสำนักงานประกันสังคม  งบประมาณได้เงินจาก 3 ส่วน  คือ ผู้ประกันตน  นายจ้าง และรัฐสมทบ ในการทำงานของประกันสังคมนั้น แบ่งเป็น  2 ส่วน คือ สวัสดิการ และรักษาพยาบาล  แต่มีการประชุมได้มีการเสนอให้ประกันสังคมดูแลเรื่องสวัสดิการ ส่วนการรักษาพยาบาลให้เป็นหน่วยงานอื่นเป็นคนดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล แนวทางการสนับสนุนการดำเนินงาน


นายประพันธ์  ช่างเรือ ชี้แจงโครงการศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน
ความเป็นมา สำนักสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ดำเนินการสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เพื่อเป็นการสนับสนุนการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้ดำเนินการในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจกับเครือข่ายต่างๆ อบรมวิทยากรแกนนำ โครงการขยายผลการสร้างรู้ความเข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน มีภารกิจคือการสร้างความรู้ความเข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพ รับเรื่องราวร้องทุกข์ ร่วมพัฒนาระบบบริการ ตลอดจนผลักดันเชิงนโยบาย โดยในปี 2547 ดำเนินการ 29 ศูนย์ 21 จังหวัด ปี 2549 จำนวน 72 ศูนย์ ในพื้นที่ 43 จังหวัด ปี 2550 จำนวน 85 ศูนย์ ในพื้นที่ 61 จังหวัด สำหรับปี 2551 มีแนวทางการสนับสนุนโดยพิจารณาตามศักยภาพและความพร้อมของศูนย์ โดยมีศูนย์ประสานงานฯ ครอบคลุมทุกพื้นที่ จากปี 2550 จำนวน 85 ศูนย์ในพื้นที่ 61 จังหวัด เพิ่ม 15 จังหวัดที่ยังไม่มีศูนย์ ส่วน กทม.สนับสนุนเป็นโซน 6 โซน 4 ประเด็นและเพิ่มพื้นที่โซนเจ้าพระยาอีก 1 โซน รวมจำนวน 101 ศูนย์ การดำเนินงานศูนย์ประสานงานฯ เน้นการพัฒนาศักยภาพยกระดับการดำเนินกิจกรรมจากประสบการณ์ที่ผ่านมา การเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับพื้นที่ สสจ. อปท. โดยเฉพาะกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุน อบต.) บางแห่งเริ่มดำเนินกิจกรรมแล้ว เป็นต้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ความเข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพ รวมถึงนำข้อมูลความคืบหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบหลักประกันสุขภาพไปถ่ายทอดต่อในระดับพื้นที่ ตามแผนกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการที่เสนอ 2. เพื่อประสานความร่วมมือกับ เครือข่ายองค์กร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีอื่นในระดับพื้นที่ และ สปสช.ส่วนกลาง/สาขาเขตพื้นที่/สาขาจังหวัด 3. เพื่อดำเนินการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และกรณีส่งต่อ 4. เพื่อติดตามและพัฒนาคุณภาพระบบบริการหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ 5. เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน องค์กรประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพและผลักดันเชิงนโยบาย เป้าหมาย ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ที่เคยได้รับงบสนับสนุนในปี 2547-2550 หรือองค์กรเครือข่ายต่างๆ ที่ดำเนินการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ บทบาทภารกิจของทีมกลไกภาค 1. การบริหารจัดการให้เป็นไปตามแผนงาน 2. การพัฒนาศักยภาพแกนนำในจังหวัดที่เป็นศูนย์ใหม่ทั้งสองระดับ 3. หนุนเสริมกระบวนการทำงานตามบทบาทภารกิจของศูนย์ประสานงานฯ 4. ประสานให้เกิดกลไกการทำงานการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน เครือข่ายผู้ให้บริการและ อปท. 5. เชื่อมประสานกับ สปสช.ส่วนกลาง/สาขาเขตพื้นที่/สาขาจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6. ติดตามประเมินผล และสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานฯ ร่วมกับ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ ขอบเขตการดำเนินงานทีมกลไกภาค ประกอบด้วย กิจกรรมหลัก ดังนี้ 1. สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการเชื่อมร้อยเครือข่ายในระดับพื้นที่ภาค/เขต/โซน/จังหวัด 2. ประสานความร่วมมือสนับสนุนและหนุนเสริมกระบวนการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของ ศูนย์ประสานงานในพื้นที่ 3. ประสานงานให้เกิดกลไกการดำเนินงานการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนและเครือข่ายผู้ให้บริการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4. เชื่อมประสานข้อมูลการดำเนินงานร่วมกับ สปสช.ส่วนกลาง/สาขาเขตพื้นที่/สาขาจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในระดับพื้นที่ 5. ติดตามประเมินผล และสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หลังจากเริ่มดำเนินงานร่วมกับ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ บทบาทภารกิจ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน 1. เผยแพร่ข้อมูล ความรู้ สร้างความเข้าใจ เรื่องหลักประกันสุขภาพ 2. รับเรื่องร้องทุกข์ ให้คำแนะนำปรึกษา ประสานงานแก้ไขปัญหา 3. ติดตามและพัฒนาคุณภาพบริการในระดับพื้นที่ 4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมองค์กรชุมชน/องค์กรประชาชน ในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 5. จัดทำข้อเสนอและความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ 6. รายงาน ผลการทำกิจกรรมตามกรอบ ระยะเวลา และเงื่อนไข ตามที่สัญญษกำหนด ขอบเขตการดำเนินงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ดังนี้ 1. เผยแพร่ข้อมูล ความรู้ สร้างความเข้าใจ ระบบหลักประกันสุขภาพ รวมถึงนำข้อมูลความคืบหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบหลักประกันสุขภาพไปถ่ายทอดต่อไปในระดับพื้นที่ด้วยการจัดกิจกรรมตามโครงการที่เสนอ 2. รับเรื่องร้องทุกข์ ให้คำแนะนำปรึกษา ประสานงานแก้ไขปัญหาจากการใช้บริการและติดตามและพัฒนาคุณภาพบริการในระดับพื้นที่ 3. สนับสนุนการมีส่วนร่วมองค์กรชุมชน/องค์กรประชาชน ในการเชื่อมร้อยเครือข่ายในระดับพื้นที่ที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพ 7. พัฒนาศักยภาพยกระดับการดำเนินกิจกรรมจากประสบการณ์ที่ผ่านมา 8. จัดทำข้อเสนอและความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ ลักษณะโครงสร้างของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนเป็นศูนย์ที่ดำเนินการโดยภาคประชาชน ไม่อยู่ในหน่วยบริการ โรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือหน่วยงานของภาครัฐทุกประเภท และอาจเป็นศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมที่ดำเนินอยู่เดิม หรือเป็นศูนย์ที่ก่อตั้งใหม่ โดยมีลักษณะดังนี้ 1. มีสถานที่หรือที่ตั้งชัดเจน 2. มีบุคคลากรหรือองค์กรที่มีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน 3. บุคลากรที่ดำเนินงานมีความรู้ในเรื่องหลักประกันสุขภาพ 4. มีระบบบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ เกณฑ์การคัดเลือกศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน
1. มีสถานที่หรือที่ตั้งชัดเจน ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้บริการได้โดยสะดวก 2. มีโครงสร้างของการดำเนินงาน ในรูปของคณะกรรมการ มิใช่การดำเนินการโดยคนใดคน หนึ่งเพียงคนเดียว 3. มีประสบการณ์ หรือเคยจัดกิจกรรมในเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีลักษณะเอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมศูนย์ฯ 4. ผู้รับผิดชอบดำเนินการศูนย์เป็นที่ยอมรับของหน่วยบริการและประชาชนผู้รับบริการใน พื้นที่ 5. ดำเนินการโดยประชาชนในชุมชน หรือ ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนและมีความผูกพันกับชุมชนหรือ องค์กรเอกชน (NGO) เป็นต้น

นายรวี  บ่อหนา ประธานเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดกระบี่ ชวนทบทวนการปฏิบัติงานของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จากการปฏิบัติงานที่ผ่านมาการปฏิบัติงาน มีกลไกและแผนการพัฒนา และผลการปฏิบัติงานเป็นเช่นไรบ้าง ขออภิปรายจากในที่ประชุมครับ

นายทวีชัย  อ่อนนวน  จากที่รู้มาในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดกระบี่ มีกลไกการทำงาน โดยมีนายสหัส ทุมรัตน์  เป็นประธาน และตั้งอยู่ที่ 161/48  ซ.กระบี่ 27 ถ. กระบี่ ต.ปากน้ า  อ.เมือง กระบี่ จ.กระบี่ 81000

นายสรณ์จักร์  ปรีชา  บทบาทภารกิจงานที่ดำเนินการมาไม่สอดคล้องกับภารกิจที่เป็นกรอบภารกิจของศูนย์เท่าที่ควร จึงเกิดปัญหาต่างๆที่เชื่อมโยงกันทั้งภายในและภายนอก อาทิเช่น 1. การประชาสัมพันธ์ สิทธิต่างๆที่ประชาชนควรจะได้รับรู้ ในกรอบ สปสช.ยังไม่ดีเท่าที่ควร 2. ขาดการประสานจัดเวทีระดับในระดับต่าง 3. ช่วงหลังบทบาทน้อยไป 4. ส่งผลให้กองทุนท้องถิ่น  ทั้งหมด 61 กองทุน  100 เปอร์เซ็น  มีกองทุนค้างท่อ ร้อยละ 70
5. ระชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจวัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนไป จากเดิม 4 ประเภท  เพิ่มเป็น 5 ในปัจจุบัน 6. จึงทำให้ประชาชนยังมีบทบาทน้อยในการขอโครงการ ซึ่งมี จำนวน ร้อยล่ะ 20

การแนะนำเพื่อการปฏิบัติงานได้ดี ควรดำเนินการดังนี้ 1. ทบทวน ปรับปรุงให้เกิดโครงสร้างใหม่เพื่อการขยายผลต่อในพื้นที่ 2. มีทีมติดตามงาน ให้ความรู้ ในระดับพื้นที่ เป็นคณะกรรมการระดับอำเภอ และพัฒนาทีมให้มีความรู้ ความเข้าใจแผนงานสุขภาพ มีการทบทวนทุกปีของแต่ละตำบลของคณะกรรมการกองทุน ศูนย์ประสานงานระดับอำเภอโดยให้นายอำเภอเป็นผู้เซ็นคำสั่ง เพื่อการปฏิบัติงานที่ตรงกัน เป็นต้น

อนุคณะกรรมการภาค (นายฉิม ทับทอง) 1. มีโครงสร้างแต่ไม่มีตัวตนในระดับอำเภอ 2. คณะกรรมการขาดความตระหนักและขาดการเรียนรู้ 3. การมีกติกาขับเคลื่อนงานที่ชัดเจนของคณะทำงาน 4. ปัญหาความไม่เข้าใจตรงกันของ สตง.กับกองทุน 5. ผู้รับผิดชอบในระดับ อบต. ไม่รับผิดชอบงาน 6. ระเบียบต่างๆควรลงพื้นที่สร้างความรู้ความเข้าใจในพื้นที่ให้ชัดเจน ท้องถิ่นต้องให้ความตระหนักมากขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-