สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการพัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะภาคใต้

เวทีเสวนาหรือสมัชชาทางอากาศ10 กุมภาพันธ์ 2560
10
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย วรวิชญ์ กฐินหอม
circle
วัตถุประสงค์

1.  เพื่อเปิดเวทีสาธารณะให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ได้แสดงความคิดเห็น  2.  เพื่อประสานให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้พร้อมพูดคุยหาทางออกร่วมกัน  3.  เพื่อทำข้อเสนอที่เกิดจากชุมชนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแก้ปัญหา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.  ชาวบ้าน 5 ตำบล โดยกลไกเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนประชุมแสดงความคิดเห็นและแบ่งกลุ่มตามตำบล 2.  ได้ข้อสรุปผลกระทบจากปัญหากองขยะ 3.  ร่างข้อเสนอให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.  ร่วมอภิปรายและเสนอแนวคิดร่วมกับเวทีสาธารณะไทยพีบีเอส

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กองขยะ 1.2 ล้านตัน ที่นครศรีธรรมราชถึงทางตันแล้วหรือ

เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดนครศรีธรรมราช

ปริมาณขยะ 1.2 ล้านตัน สะสมมานานกว่า 10 ปี เนื่องจาก เปลี่ยนการจัดเก็บแบบฝังกลบเป็นแบบเทกอง ซึ่งผิดจากที่ออกแบบไว้เดิม สาเหตุมาจากการรับขยะ ในองค์กรท้องถิ่นอื่นๆ รวมทั้งเทศบาลนครด้วยเป็น 58 แห่ง มีปริมาณขยะ เข้าวันละเกือบ 300 ตัน เป็นขยะที่มาจากเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ประมาณ 120-130 ตันต่อวัน หลังจากน้ำท่วมปี 2554 ก็ส่งผลกระทบรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และก็ไม่ได้รับการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง จนปลายปี 2559 เกิดวิกฤติน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และเกิดซ้ำอีกในต้นปี 2560 ซึ่งเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ทั้ง 23 อำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่งผลกระทบกับการจัดการขยะของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นจากภาวะน้ำท่วม และปริมาณน้ำที่เข้าท่วมขังบริเวณกองขยะเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบซ้ำเติมกับประชาชนที่อาศัยและทำมาหากิน บริเวณรอบกองขยะ อย่างน้อย 5 ตำบลคือ ต.นาทราย ต.ปากพูน ต.นาเคียน ต.ท่างิ้ว และ ต.ปากนคร

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 ชาวบ้านทั้ง 5 ตำบล รวมตัวเพื่อช่วยกันหาทางออกกับปัญหาผลกระทบที่ได้รับ ก่อนนำข้อมูลส่งต่อเวทีสาธารณะในช่วงบ่าย

ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบรวมตัวผ่านกลไกเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล ในพื้นที่ 5 ตำบล ภายใต้ พรบ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 ได้ข้อสรุปกับผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ น้ำเสียจากกองขยะไหลเข้าสู่ลำคลองระบบน้ำธรรมชาติซึ่งเป็นพื้นที่ทำมาหากินของชาวบ้าน สิ่งที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบชัดเจนนั่นคือวิถีชีวิตเปลี่ยนไป การประกอบอาชีพไม่เหมือนเดิม ส่งผลต่อรายได้ประจำวัน เช่นอาชีพประมง ปลูกพืชผัก ทำนา การเลี้ยงสัตว์ ไม่สามารถทำได้ ภูมิทัศน์เปลี่ยนไปไม่สวยงามและยังส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง น้ำสำหรับบริโภคมีสิ่งปนเปื้อนต้องหลีกเลี่ยง มีโรคที่เกิดจากการสัมผัสทางผิวหนัง เช่น ผื่นคัน เปื่อยพุพองจากอาการคัน สิ่งสำคัญคือประชาชนที่ได้รับผลกระทบเกิดความกังวล ระแวง และมีความเครียด

ข้อเสนอเพื่อขอความช่วยเหลือ

ชาวบ้านเรียกร้องค่าชดเชยเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการขาดรายได้ ขอให้หน่วยงานสาธารณะสุขเข้ามาดูแลเรื่องสุขภาพ สุขภาวะ ขอให้มีการจัดการน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคและบริโภค ให้มีมาตรการพัฒนาส่งเสริมอาชีพและรายได้ การปรับสภาพดิน

ข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหากับเทศบาลนครนครศรีธรรมราช

ชาวบ้านต้องการให้เกิดการแก้ปัญหาโดยเร็วและเป็นรูปธรรม มีกรอบระยะเวลาในการจัดการและขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ทั้งเรื่องการบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะต้นทาง โดยคัดแยกขยะจากครัวเรือน การห้ามไม่ให้นำขยะจากพื้นที่อื่นเข้ามาทิ้ง หามาตรการในการพัฒนาส่งเสริมฟื้นฟูด้านอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และไม่ต้องการให้มีกองขยะในพื้นที่

ในช่วงบ่ายวันเดียวกันสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจัดรายการถ่ายทอดสด รายการเวทีสาธารณะ สถานที่ วัดหญ้า ต.นาทราย เพื่อหาทางออกร่วมกัน

ผู้เข้าร่วมรายการเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมแก้ปัญหาภูเขาขยะแห่งนี้โดยตรงคือ นายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายชิษณุพงษ์ สุวรรณ รองปลัดเทศบาลนครนครศรธรรมราช นพ.บัญชา ค้าของ สสจ. จังหวัดนครศรีธรรมราช นายสนธิ คชวัฒน์ จากสมาคมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม นายสมชาย ฮามีน นายกสมาคมคุ้มครองสิทธิและสิ่งแวดล้อม และ ดร.ศิริอุมา เจาะจิตต์ นักวิชาการอนามัยสิ่งแวดล้อม ม.วลัยลักษณ์

รองปลัดเทศบาลนคร ให้ข้อมูล สาเหตุที่ต้องรับขยะจากท้องถิ่นอื่นเข้ามาทิ้งด้วยนั้นสืบเนื่องจากปี 2542 อบต.แต่ละพื้นที่ได้จัดซื้อรถเก็บขยะเพื่อบริการจัดเก็บขยะในพื้นที่ตัวเอง แต่สุดท้ายไม่มีสถานที่ทิ้งและกำจัดขยะของตัวเอง เทศบาลนครนครศรีฯ จึงจำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาของจังหวัดขณะนั้น ทำให้มีขยะจากท้องถิ่นอื่นรวมทั้งเทศบาลนครเองรวม 58 แห่ง มีขยะรวมกันวันละเกือบ 300 ตัน โดยเก็บค่าบริการตันละ 250 บาท ในขณะที่เทศบาลต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะตันละ 350 บาท ซึ่งเทศบาลต้องรับภาระมาโดยตลอด (เทศบาลก็ขาดทุนชาวบ้านก็จะขาดใจ) อีกทั้งเมื่อปริมาณขยะเพิ่มขึ้นก็

ไม่สามารถทำการฝังกลบได้ตามที่กำหนดไว้ จึงใช้วิธีเทกองจนเกิดเป็นภูเขาขยะ ส่งผลกระทบอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

ฝ่ายวิชาการม.วลัยลักษณ์ ให้ข้อมูลการตรวจสอบน้ำบนผิวดิน ตรวจพบ ทั้ง แคชเมี่ยม โครเมี่ยม ตะกั่ว และสารอื่นๆ อีกถึง 8 ชนิด พบว่าไม่เกินค่ามาตรฐานน้ำผิวดิน แต่ก็เป็นการตรวจในช่วงที่มีปริมาณน้ำมากกว่าปกติ จึงจำเป็นต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้นายสนธิ คชรัตน์ ซึ่งทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าถึงแม้จะไม่เกินค่ามาตรฐานน้ำผิวดิน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะไม่เกิดอันตรายกับมนุษย์ เพราะความต้านทานของมนุษย์แต่ละคนในการรับสารแต่ละชนิดไม่เท่ากัน ซึ่งนายแพทย์สาธารณะสุขจังหวัดที่ร่วมเวทีก็เห็นด้วยในเรื่องนี้

สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัด ได้ศึกษาภาพรวมของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ พบว่าชาวบ้านมีอาการคันเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่น่าห่วงคือความกังวลของชาวบ้านหวาดกลัวผลกระทบต่าง ๆ นานาที่จะตามมาในอนาคต สาธารณะสุขจึงทำ mapping ปักหมุดบ้านที่ได้รับผลกระทบ และโรคที่ตรวจพบ คือ ผื่นคัน โรคหอบ โรคภูมิแพ้ จำนวน 808 หลังคา 23,145 คน พบผู้ที่เป็นโรคดังกล่าว 2,968 คน

แนวทางการแก้ปัญหาเทศบาล เบื้องต้นคือการทำเขื่อนมาตรฐานป้องกันน้ำไหลลงสู่พื้นที่ทำกินรวมถึงการติดตั้งกล้อง cctv เพื่อป้องกันและตรวจสอบผู้ไม่หวังดีเข้ามาทำลายเขื่อนอีกชั้นหนึ่ง

ส่วนในระยะยาวคือ

  1. การร่วมทุนกับเอกชนทำโรงงานกำจัดขยะแบบ Refuse Derived Fuel; RDF :แบบ (การเปลี่ยนขยะเป็นเชื้อเพลิง) ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2552 แต่ยังไม่สามารถหาผู้มาลงทุนร่วมได้ด้วยปัญหาที่พบหลายอย่างเช่นปัญหาข้อกฎหมายผังเมืองการตั้งโรงงานในเขตพื้นที่รวมถึง พรบ.ร่วมทุน ที่ไม่สามารถทำให้บรรลุข้อตกลงได้

  2. บ่อบำบัดน้ำเสีย ต้องทำให้ถูกลักษณะ

  3. การขนย้ายขยะไปทิ้งแหล่งอื่น

  4. ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการฝังกลบขยะชุมชน

ในส่วนของการร่วมทุนกับเอกชนยังต้องใช้เวลาและการลงทุนค่อนข้างสูง ซึ่งเทศบาลจัดหาผู้รับจ้างมาตั้งแต่ปี 52 แต่ยังมีปัญหาทางด้านกฎหมายผังเมืองการตั้งโรงงานในเขตพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

1.  กลุ่มชาวบ้าน 5 ตำบล และผู้นำชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อน
2.  สภาองค์กรชุมชนตำบลนาทราย

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.  ให้เทศบาลนครนครศรีธรรมราชกำหนดเวลาในการแก้ไขปัญหา 2.  กำหนดขั้นตอนและแนวทางในการแก้ไขปัญหาระยะสั้นและระยะยาว 3.  ดำเนินการรณรงค์การแยกขยะจากครัวเรือน 4.  หามาตรการในการพัฒนาส่งเสริมฟื้นฟูอาชีพเพื่อสร้างรายได้ครัวเรือน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-  จำเป็นต้องบูรณาการหรือทำงานร่วมกันหลายฝ่ายเพราะผลกระทบในวงกว้างและเป็นปัญหาร่วมของจังหวัด -  คำร้องเรียนหรือความต้องการของชุมชน ต้องให้ความสนใจและแก้ไขทันที

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

1.  ประชาชนในพื้นที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามผลการดำเนินงานร่วมกันหลายฝ่ายตลอดเวลาที่ทำการตกลงไว้ 2.  ร่วมกันแก้ปัญหาและช่วยเหลือชุมชนเบื้องต้น