สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

เวทีชี้แจงทำความเข้าใจเครื่องมือเก็บข้อมูลและจัดทำแผนงานให้กับพี่เลี้ยงกองทุน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี13 กุมภาพันธ์ 2566
13
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
  • 7 สรุปกิจกรรม เก็บข้อมูลสถานการณ์ชุมชนและการบันทึกข้อมูล อ.เขื่องใน 13 ก.พ.66.docx
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กล่าวต้อนรับและการสนับสนุนการดำเนินงานระหว่างกองทุนฯ และ พชอ. โดยสาธารณสุขอำเภอ
  2. ชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงานและทบทวนแผนการดำเนินงานที่ผ่านมา
  3. กองทุนสรุปผลการดำเนินงานเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน
  4. ดำเนินการบันทึกข้อมูลแผนงานสถานการณ์สุขภาพชุมชนและโครงการที่ควรดำเนินการ ในระบบเว็บไซต์
  5. สรุปผลการดำเนินงานและวางแผนปฏิบัติการกิจกรรมครั้งต่อไป
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุปผลการดำเนินการเก็บข้อมูลของกองทุนตำบลทั้ง 8 กองทุน ดังนี้
  2. กองทุนฯ อบต.สร้างถ่อ มีการดำเนินงาน ดังนี้ 1) จัดประชุมคณะทำงาน ประกอบด้วย นายก อบต. ปลัด อบต. ผอ.รพ.สต. ทั้ง 3 แห่ง และทีมเลขานุการ เพื่อออกแบบวางแผนการเก็บข้อมูลและกำหนดกลุ่มตัวอย่างและช่วงอายุในเขตรับผิดชอบ 2) ประชุมเตรียมทีมเก็บข้อมูล 17 คน (ตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 คน) เก็บข้อมูลผ่าน app มี 17 หมู่บ้านๆ ละ 10-12 ชุด (ระดับบุคคล) เช่น หมู่ที่ 1 อายุ 5-17 จำนวน 3 คน อายุ 18-64 จำนวน 6 คน อายุ 64 ปีขึ้นไป จำนวน 3 ชุด โดยระดับบุคคล กับระดับครัวเรือนคนละกลุ่มกัน ข้อจำกัด คือ ไม่สามารถตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลทั้ง 3 ระดับได้
  3. กองทุนฯ อบต.บ้านไทย ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ 1) ประชุมเตรียมทีมเก็บข้อมูล 12 คน (ตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 คน ตำบลบ้านไทยมี 12 หมู่บ้าน) เก็บข้อมูลผ่าน app และกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่จะคัดเลือกเก็บข้อมูลเฉลี่ยหมู่บ้านประมาณ 15 - 18 ชุด
  4. กองทุนฯ อบต.ยางขี้นก มีการดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมเตรียมทีมเก็บข้อมูลและวางแผนการเก็บข้อมูล กำหนดทีมเก็บข้อมูลหมู่บ้านละ 2 คน (ตัวแทน อสม.) และกำหนดกลุ่มตัวอย่างการเก็บข้อมูลเฉลี่ยหมู่บ้าน 20 ชุด
  5. กองทุนฯ อบต.โนนรัง มีการดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมทีมคณะทำงานเพื่อคัดเลือกทีมเก็บข้อมูล (ตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 คน) และชี้แจงวิธีการเก็บข้อมูลกับทีมเก็บข้อมูล ตำบลโนนรังมี 7 หมู่บ้านเฉลี่ยหมู่บ้านละ 25 ชุด
  6. กองทุนฯ อบต.หนองเหล่า มีการดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมเตรียมทีมเก็บข้อมูล คัดเบือกตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 คน กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่จะเก็บข้อมูลหมู่บ้านละ 10 – 12 ชุด นัดหมายรวมรวบข้อมูลที่ รพ.สต.ในพื้นที่
  7. กองทุนฯ อบต.สหธาตุ มีการดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมคณะทำงานเพื่อคัดเลือก อสม. (ตัวแทน อสม.หมู่บ้านละ 1 คน) และประชุมเตรียมทีมเก็บข้อมูล กำหนดกลุ่มตัวอย่างการเก็บข้อมูลเฉลี่ยหมู่บ้าน 22 – 25 ชุด ขณะนี้รวบรวมข้อมูลได้ประมาณ 70% และอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลส่วนที่เหลือ
  8. กองทุนฯ อบต.หัวดอน มีการดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ตำบลหัวดอนมี 11 หมู่บ้าน เฉลี่ยหมู่บ้านละ 10-12 ชุด โดยมอบหมายให้ตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ 1 คนดำเนินการเก็บข้อมูล ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลแบบเก็บข้อมูล
  9. กองทุนฯ อบต.ชีทวน อยู่ระหว่างการประสานการเก็บข้อมูล คัดเลือกหาทีมเก็บข้อมูลจากทั้ง อบต. และ รพ.สต. โดยจะเร่งดำเนินการต่อไป
    1. คณะทำงานกองทุนฯ ได้บันทึกข้อมูลแบบสอบถามเข้าในระบบเว็บไซต์ ซึ่งสามารถดูผลความก้าวหน้าการบันทึกข้อมูล ดังนี้
      กองทุนฯ อบต.สร้างถ่อ บุคคล 219 ครัวเรือน 104 ชุมชม 1 กองทุนฯ อบต.ยางขี้นก บุคคล 207 ครัวเรือน 100 ชุมชน -
      กองทุนฯ อบต.สหธาตุ บุคคล 215 ครัวเรือน 165 ชุมชน -
      กองทุนฯ อบต.บ้านไทย บุคคล 218 ครัวเรือน 108 ชุมชน 1
      กองทุนฯ อบต.โนนรัง บุคคล 205 ครัวเรือน -    ชุมชน -
      กองทุนฯ อบต.หนองเหล่า บุคคล 200 ครัวเรือน 100 ชุมชน 1
      กองทุนฯ อบต.ชีทวน บุคคล 135 ครัวเรือน 48 ชุมชน -
      กองทุนฯ อบต.หัวดอน บุคคล 51 ครัวเรือน 108 ชุมชน 1
    2. คณะทำงานกองทุนฯ เข้าไปสร้างแผนงานสุขภาพปี 2566 ในระบบเว็บไซต์ จำนวน 10 แผน และได้วิเคราะห์ข้อมูลโครงการที่ควรจะดำเนินงานในแต่ละแผนงาน อย่างน้อย 5 โครงการ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาโครงการต่อไป
    3. นัดหมายจัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนเพื่อจัดดทำแผนงานและโครงการสุขภาวะ วันที่ 27 มีนาคม 2566