สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้

ลงพื้นที่โรงพยาบาลยะหริ่ง21 สิงหาคม 2561
21
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Syuwari
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.เก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลเทพาโดยใช้แบบสอบถาม
2.สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง 3.สังเกตการจัดกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พื้นที่อำเภอยะหริ่งมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ความเป็นพหุวัฒนธรรมของพื้นที่ยะหริ่งมีลักษณะของความแตกต่างในศาสนา (อิสลาม-พุทธ) ความแตกต่างในศาสนาเดียวกันที่มีแนวคิดการตีความแตกต่างกัน เป็นพื้นที่ที่มีความเห็นต่างในเชิงสังคมการเมืองการปกครอง (เป็นพื้นที่ที่มีสถานการณ์ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องการลอบยิง วางระเบิด จนปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2562) อาณาเขตที่เป็นพื้นที่ชายทะเลเป็นแนวยาวและอาณาบริเวณที่กว้างทำให้เกิดความแตกต่างของสถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ชีวิตผู้คน (ชุมชนชายประมง ชุมชนชาวบ้าน ชุมชนเขตอำเภอตามวิถีคนเมือง) ช่องว่างทางการศึกษา รายได้ ประชากรส่วนหนึ่งในพื้นที่มักนิยมเดินทางไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน และเนื่องจากเป็นพื้นที่ติดทะเลมักพบชาวต่างชาติมาอาศัยในพื้นที่ เช่น พม่า ชาวกัมพูชา ชาวโรฮิงยา เป็นต้น จากสภาพความเป็นพหุวัฒนธรรมเหล่านี้ทำให้ต้นทุนชีวิต ภาวะสุขภาพผู้คนมีความแตกต่างกัน
โรงพยาบาลยะหริ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนมีต้นทุนการทำงานที่บูรณการความเป็นพหุวัฒนธรรมในทุกหน่วยงานย่อยและพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสุภาพของพื้นที่ ประเด็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยและสัมพันธ์กับบริบทความเชื่อ ศาสนาและวิถีชีวิตคือ อนามัยแม่และเด็ก รายงานในพื้นที่มีการเสียชีวิตของมารดา การตั้งครรภ์เสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่องทุกปี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในปัญหาสุขภาพได้แก่ การไม่นิยมคุมกำเนิดตามหลักการศาสนา ความยากจนและการไม่สามารถเข้าถึงระบบสุขภาพ (ในชนบทหากสามีไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านภรรยามักเลี้ยงลูกตามลำพัง) ความไม่สะดวกในการเข้าถึงบริการปฐมภูมิ นอกจากประเด็นการตั้งครรภ์แล้ว การเข้าถึงบริการวัคซีนขั้นพื้นฐานก็เป็นปัญหาสำคัญ การขับเคลื่อนโดยนำรูปแบบการบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้มาสู่การปฏิบัติมีจุดเน้นเกี่ยวกับการปรับระบบบริการของโรงพยาบาลและการขับเคลื่อนระดับชุมชนเกี่ยวกับ smart kid ของชาวยะหริ่ง ปัจจัยนำเข้า
บุคลากรโรงพยาบาลยะหริ่งมีต้นทุนการทำงานเชิงพหุวัฒนธรรม มีทักษะการใช้ความเป็นพหุวัฒนธรมในการแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ทีมงานมีการเตรียมด้านบุคลากรสำหรับการขับเคลื่อนการนำแนวทางการให้บริการในสังคมพหุวัฒนธรรมโดยการจัดอบรมเตรียมความพร้อม มีการเชิญเครือข่ายผู้รู้ในหลักการศาสนาทั้งอิสลามและวิถีพุทธมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วางแผน และขับเคลื่อนกิจกรรม
กระบวนการ การขับเคลื่อนระบบบริการที่คำนึงถึงมิติทางวัฒนธรรมของโรงพยาบาลยะหริ่งมีการทำงานที่คู่ขนานระหว่างการพัฒนาระบบการดูแลในโรงพยาบาลและการทำงานขับเคลื่อนส่งเสริมสุขภาพในชุมชน รายละเอียดมีดังนี้ การพัฒนาระบบการดูแลในโรงพยาบาล การดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการด้านวัฒนธรรมในผู้มารับบริการเป็นกิจกรรมที่มีมาก่อน แต่ทีมผู้ดำเนินงานมีการสร้างความพร้อมของกิจกรรมปกติของโรงพยาบาลโดยมีการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแนวปฏิบัติในแต่ละหน่อยย่อยภายในโรงพยาบาลให้ครอบคลุมทุกหน่วย เช่น แผนกผู้ป่วยนอก แผนกทันตกรรม แผนกฉุกเฉิน แผนกเภสัชกรรม แผนกแพทย์แผนไทย แผนกผู้ป่วยใน แผนกฝากครรภ์ หน่วยห้องคลอด แผนกหลังคลอด เป็นต้น การร่วมกันทบทวนและออกแบบการบริการทำให้เกิดแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ได้แนวทางในการทำงานที่มีความชัดเจนสำหรับผู้ปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ด้านองค์ประกอบสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติศาสนากิจของญาติและผู้ป่วย พบว่ามีศาลาละหมาดและห้องพระครบ แต่ศาลาละหมาดน่าจะมีการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องและทั่วถึงทั้งส่วนของบุคลากรและผู้ป่วย/ญาติ ส่วนกิจกรรมในห้องพระยังไม่ชัดเจนอาจเนื่องจากลักษณะการปฏิบัติศาสนกิจของบุคลากรหรือผู้ป่วยช่วยพุทธที่มีความแตกต่างหลากหลาย ยังจำเป็นต้องมีการพูดคุยทบทวนหาแนวปฏิบัติกลางร่วมกันเพื่อสามารถให้สถานที่และทรัพยากรที่กำหนดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะการส่งเสริมให้ปฏิบัติศาสนกิจในแต่ละศาสนาจะก่อให้เกิดผลดีต่อบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ภายหลังจากการขับเคลื่อนระบบบริการมีกิจกรรมติดตามเพื่อประเมินผลคือ การทำกิจกรรมพบปะยามเช้า จัดกิจกรรมเดือนละ 1 ครั้ง พูดคุยปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานนำหลักศาสนามาเป็นแนวทางในการจัดการ การทำงานขับเคลื่อนส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
ทีมงานโรงพยาบาลยะหริ่งเลือกกิจกรรมการดูแลเด็กยะหริ่ง smart kid ด้วยวิธีชุมชน เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการการจัดบริการสุขภาพ มีแนวทางในการดำเนินการดังนี้ 1. การจัดเวทีประชาพิจารณ์ชุมชนรับฟังความคิดเห็นเรียนรู้วิถีชุมชนสู่งานบริการสาธารณสุขบนพื้นฐานพหุวัฒนธรรมและจัดรูปแบบบริการให้สอดคล้องกับวิถีมุสลิมและพุทธ 2. การอบรมหลักธรรมทางศาสนากับการบริการที่มีคุณภาพตามวิถีชุมชนและทบทวนแนวทางการดูแลผู้รับบริการ กระบวนการทำงาน จัดทำคู่มือ/แนวทาง/วิธีปฏิบัติตามหลักศาสนาเทียบเคียงให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน 3. การดูแลเด็กยะหริ่ง smart kid ด้วยวิถีชุมชน 4. การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อจัดบริการภายในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์สุขภาพชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 5. การพัฒนาคุณภาพการบริการตามวิถีชุมชนโดยกระบวนการ CQI, R2R และนวตกรรมการดูแล 6. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดบริการพหุวัฒนธรรมร่วมกับเครือข่าย ผลผลิต 1. ได้ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดทำคู่มือ/แนวทางตามวิถีชีวิตชุมชน 2. ความพึงพอใจร้อยละ 90
3. อื่น ๆ วิจัย CQI ผลลัพธ์และผลกระทบ
ไม่ชัดเจน สิ่งที่ต้องพัฒนาและความท้าทายที่ต้องทำต่อ 1. การสื่อสารองค์กร จากการพบปะพูดคุยกับทีมแกนนำพบว่า การรับรู้ของบุคลากรในโรงพยาบาลยังไม่ตรงกัน รวมถึงการสื่อสารชุมชนเกี่ยวกับนโยบายการให้บริการที่คำนึงถึงมิติเชิงวัฒนธรรมอย่างทั่งถึง หากมีการสื่อสารที่ชัดเจนน่าจะทำให้งานสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม 2. กระบวนการขับเคลื่อนมีแผนงานที่ชัดเจน เน้นย้ำให้เป็นนโยบายองค์กรมากกว่าให้บุคลากรทำตามความสนใจส่วนบุคคลจะช่วยให้เห็นผลลัพธ์การดำเนินงานได้อย่างชัดเจน เกิดผลกระทบต่อการแก้ปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่ 3. การมองภาพความเป็นพหุวัฒนธรรมที่มากกว่าความแตกต่างในศาสนาน่าจะเป็นทางออกในการแก้ปัญหาสาธารณสุขหน้างานได้มากขึ้น เช่น
ก. การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของผู้รับบริการที่เกิดจากความจำกัดของสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
ข. การมีความไวต่อประเด็นพหุวัฒนธรรมของบุคลากรทุกระดับทั้งในระบบบริการของโรงพยาบาลยะหริ่งและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลในพื้นที่ 4. การขับเคลื่อนการบริการพหุวัฒนธรรมเพื่อตอบโจทย์ตัวชี้วัดด้านสุขภาพควบคู่กับการได้ทำตามความเชื่อเชิงศาสนาทำให้เห็นภาพความเป็นพหุวัฒนธรรมที่มีส่วนช่วยให้เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพและส่งเสริมมาตรฐานการบริการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

เจ้าหน้าที่และบุคลากร ใน รพ.ยะหริ่งที่รับผิดชอบงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ทีมงานโรงพยาบาลไม่สะดวกในการนำเสนอผลการดำเนินงานและการพบปะเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จึงสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบงานหลักจำนวน 3 ท่านและสังเกตการณ์ให้บริการในแต่ละแผนก

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-