สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้

ประชุมคณะทำงาน1 ธันวาคม 2561
1
ธันวาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย นักศึกษาฝีกงาน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามและรายงานความก้าวหน้าโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปรึกษาสรุปข้อคิดเห็นการถอดบทเรียน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ด้านผลผลิต/ด้านผลลัพธ์/ด้านผลกระทบ การทดลองใช้รูปแบบการบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติงานเป็นรูปแบบกว้าง ๆ ไม่ได้กำหนดเป้าหมายร่วมกัน เมื่อสอบถามทีมงานแต่ละฝ่ายยังไม่มั่นใจที่จะนำเสนอว่าหากใช้รูปแบบการจัดระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้อย่างไร ทำให้ยังไม่เห็นตัวชี้วัดร่วมของรูปแบบการปฏิบัติครั้งนี้ จากการลงพื้นที่รับฟังพบข้อมูลที่เป็นประโยชน์น่าจะช่วยให้เห็นผลของการนำแนวคิดเชิงพหุวัฒนธรรมไปใช้และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคลากร ผู้ป่วย ญาติ และสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ดังนี้ ด้านผลผลิต: จากการตรวจเยี่ยมพบตัวชี้วัดเชิงผลผลิตที่ควรนำมาใช้ในการขับเคลื่อนระยะต่อไปดังต่อไปนี้ 1. การจัดกิจกรรมได้ตามองค์ประกอบที่ปรากฏในรูปแบบระบบบริการสุขภาพ (ครอบคลุม/ไม่คลุม)
2. ความพึงพอใจต่อกิจกรรมบริการ/การอบรม 3. ความรู้ ทัศนคติ ความมั่นใจ และทักษะของบุคลากรในโรงพยาบาล/กลุ่มจิตอาสาต่อบริการที่จัดหรือกิจกรรมที่เข้าร่วม 4. ต้นแบบการดูแลผู้ป่วยกรณีเลือกสรร ie. การดูแลแบบประคับประคอง. การป้องการภาวะติดเชื้อ การป้องกันภาวะตกเลือดโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน/การประยุกต์หลักศาสนา การรณรงค์ฉีดวัคซีน
5. ต้นแบบการดูแลสุขภาพ ie.ธรรมนูญมัสยิดสุขภาวะ ธรรมนูญวัดสุขภาวะ 6. คู่มือ/สื่อสุขศึกษา คู่มือการจัดระบบบริการที่เอื้อต่อการปฏิบัติศาสนากิจกิจตามความเชื่อ ด้านผลลัพธ์ ตารางที่ 17 แสดงตัวชี้วัดผลลัพธ์การนำแนวคิดระบบบริการสุขภาพมาทดลองปฏิบัติการในพื้นที่ ด้านผู้รับบริการ ด้านผู้ให้บริการ ด้านสังคม 1. จำนวนผู้ป่วยได้รับการดูแลตามมาตรฐาน 2. จำนวนผู้ป่วยที่มีการควบคุมระดับน้ำตาลเป็นไปตามเกณฑ์ช่วงถือศีลอด 3. อัตราการติดเชื้อภายหลังทำสุหนัต 4. จำนวนมารดาหลังคลอดที่ตกเลือด 5. ความเป็นพันธมิตร 6. อัตราการรับวัคซีนของเด็ก 7. โต๊ะบีดาพอใจบทบาทตนเองที่ถูกปรับเปลี่ยน 1. ระดับความสุขของบุคลากร 2. ความภาคภูมิ 3. เกิดแรงบันดาลใจ 4. เกิดความคิดริเริ่มในการพัฒนางานต่อไป 5. รู้สึกสบายใจไม่อึดอัดใจ 1.เครือข่ายพหุวัฒนธรรม 2.สายใยสังคม/ความผูกพัน 3.ความไว้วางใจ 4.ความเป็นภาคีด้านสุขภาพ


ด้านผลกระทบ ภาพผลกระทบที่พบได้ในโรงพยาบาลนำร่องที่พบได้แก่ 1. จำนวนข้อร้องเรียนจากผู้มาใช้บริการลดลง 2. เห็นบรรยากาศของความร่วมมือระหว่างนักปฏิบัติการสุขภาพและตัวแทนจากชุมชน มีความรู้สึกเป็นหุ้นส่วนในการทำงาน บางพื้นที่โรงพยาบาลได้รับงบประมาณสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนงานการจัดระบบสุขภาพของโรงพยาบาล 3. ผลกระทบเชิงสันติภาพในบางพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวทางอุดมการณ์ทางการเมืองเห็นภาพชุมชนพุทธและชุมชนอิสลามหันมาสร้างความร่วมมือ เรียนรู้ร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพ มีการยอมรับซึ่งกันและกันมากขึ้น 4. พระเยี่ยมผู้ป่วยมุสลิมได้ ในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่ไม่เกี่ยวกับหลักการเชิงศาสนา (โรงพยาบาลธารโต) ปัญหาอุปสรรคการจัดบริการสุขภาพจากการปฏิบัติการนำร่อง
จากการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดการระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้โดยรวมไม่ได้มีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ไม่พบความขัดแย้งเห็นต่างในการนำรูปแบบระบบบริการสุขภาพไปทดลองใช้ โดยสรุปมีเพียง 2 ประเด็น คือ 1. ความไม่ชัดเจนในการสั่งการเชิงนโยบายของศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการนำแนวทางไปใช้ว่าให้ฝ่ายรับทุนของโรงพยาบาลนำร่องดำเนินการทั้งหมดตามแนวปฏิบัติ หรือเลือกสรรเฉพาะประเด็นที่ต้องการขับเคลื่อนในแต่ละโรงพยาบาล เมื่อติดตามถอดบทเรียนและรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินงานทำให้เห็นบรรยากาศที่มีการนำเสนอผลงานไม่ตรงตามความคาดหวัง การติดตามเยี่ยมโรงพยาบาลเพื่อถอดบทเรียนบางพื้นที่นำเสนอเฉพาะกิจกรรมชุมชนที่เลือกสรร ในขณะที่บางโรงพยาบาลจะนำเสนอทั้งส่วนการปรับระบบบริการสุขภาพทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน
2. การเตรียมความพร้อมทีมงานมีน้อย มีการขับเคลื่อนงานไปตามความเข้าใจ ความถนัด ควรมีการหนุนเสริมความรู้ กลยุทธ์การทำงานใหม่ๆ เพราะการขับเคลื่อนประเด็นพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ซึ่งมีความขัดแย้งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน องค์ความรู้ ตัวแบบใหม่ ๆ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักปฏิบัติการ

ข้อเสนอแนะเชิงพัฒนา 1. การทบทวนเป้าหมายร่วมของการขับเคลื่อนเพื่อจัดระบบบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อสามารถติดตามตัวชี้วัดในแต่ละระดับ และหนุนเสริมการทำงานเชิงนโยบายได้อย่างถูกต้อง สืบเนื่องจากจุดเริ่มต้นของรูปแบบมาจากการพยายามนำหลักการทางศาสนามาประยุกต์ใช้เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาในระบบสุขภาพ ทำให้รูปแบบมักมุ่งเน้นไปในแนวทางที่จะดูแลผู้ป่วย/ญาติขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวมถึงการวางแผนการดูแลเพื่อส่งต่อเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เป็นลักษณะรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากการแพทย์กระแสหลัก แต่แนวคิดเชิงศาสนาเป็นแนวคิดแบบองค์รวมเมื่อการขับเคลื่อนจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย ครอบคลุมความเป็นองค์รวมของบุคคล เมื่อทดลองใช้รูปแบบปรากฏผลสะเทือนระดับบุคคล กลุ่มคน องค์กร ชุมชน ดังนั้นเพื่อให้การขับเคลื่อนในระยะต่อไปมีทิศทางไปแนวเดียวกันในการขับเคลื่อนสังคมเวทีค้นหาเป้าหมายร่วมเพื่อการขับเคลื่อนงานควรนำไปสู่การสร้างพลังกลุ่ม ขยายขอบเขตการทำงานท้ายสุดน่าจะนำไปสู่การจัดระบบบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ 2. การใช้วิจัยเป็นเครื่องมือเพื่อตรวจสอบติดตามตัวชี้วัด ยกระดับกระบวนการทำงาน จากการติดตามถอดบทเรียนทีมงานนักปฏิบัติการสุขภาพรวมถึงคณะทำงานโดยรวมมีทัศนคติเชิงบวกต่อการนำรูปแบบการจัดบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมมาทดลองปฏิบัติงาน แต่เมื่อถามถึงผลลัพธ์หรือผลกระทบทีมงานยังไม่แน่ใจที่นำเสนอ อาจเกิดจากระยะเวลาในการทดลองปฏิบัติสั้นเพียงหกเดือน หรือกระบวนการในแต่ขั้นตอนยังไม่ได้ออกแบบให้สามารถวัดประเมินได้อย่างเป็นระบบ การส่งเสริมให้มีการพัฒนางาน ทำวิจัยจากหน้างานเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดมาตรฐานการทำงานน่าจะทำให้เห็นผลลัพธ์หรือผลกระทบที่มีความชัดเจน กระบวนการวิจัยจะช่วยให้นักปฏิบัติการได้ตรวจสอบองค์ความรู้ พัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นเชิงวัฒนธรรม 3. ในการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพระยะต่อไปควรการเติมเต็มความรู้และทักษะของบุคลากร การสร้างความเข้าใจเกี่ยวมนุษยวิทยาของผู้คน การขยายกรอบพหุวัฒนธรรมให้ก้าวพ้นเชิงศาสนาจะช่วยยกระดับระบบบริการสุขภาพได้ดีกว่า (ตัวอย่างโรงพยาบาลธารโตแก้ปัญหาวัคซีนได้มากกว่า ร้อย 90 และมีความยั่งยืน หรือ โรงพยาบาลสตูลที่สามารถแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็กได้ รวมทั้งการแก้ปัญหาการติดเชื้อหลังทำพิธีสุหนัตโดยหน่วยงานเอกชน)
4. การสื่อสารเชิงวัฒนธรรมยังเป็นงานที่ต้องศึกษาและวางแผนการทำงานต่อ ตัวอย่างประเด็น สื่อที่เหมาะสมกับพหุวัฒนธรรมคืออะไร คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่/แล้วคู่มือนี้ผู้ใช้บริการอ่านจริงไหม ต้องเป็นภาษามาลายูไหม ในความเป็นจริงพหุวัฒนธรรม การสื่อสารผ่านบุคคล นักปฏิบัติการได้ไปถึงจุดนั้นแค่ไหน แม้แต่ป้ายก็อาจไม่จำเป็น บางพื้นที่ประชาชนบอกไม่ได้สนใจว่าต้องเป็นภาษามาลายู แต่จะทำอย่างไรเมื่อเขามาในระบบความต้องการสุขภาพได้รับการตอบสนอง 5. การขยายงานในระยะต่อไปควรมีทิศทางแบบจุดร่วมและจุดเด่น กล่าวคือ 1.จุดร่วมน่าจะเป็นมาตรฐานกลางของแนวปฏิบัติในการจัดบริการสุขภาพที่ทดลองใช้ในระยะที่ผ่านมา ซึ่งโดยรวมทั้ง5 โรงพยาบาลนำร่องถือว่าสามารถดำเนินการได้และไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งเพราะสะท้อนภาพศาสนาคือความผาสุก สันติภาพ ทุกฝ่ายที่พยายามปฏิบัติในรอบการดำเนินงานที่ผ่านค่อนข้างได้ผล คลี่คลายความไม่รู้จักซึ่งกันและกัน เกิดการปรับตัวที่ยึดศาสนาเป็นกรอบแนวทางเพื่อแข็งขันทำสิ่งที่ดีงาม อย่างไรก็ตามมีบางโรงพยาบาลนำร่องที่ยังมีความไม่มั่นใจที่จะนำสู่การปฏิบัติ เช่น การแสดงระบบบริการเชิงสัญลักษณ์ที่เอื้ออำนวยทุกฝ่ายให้สามารถเข้าสู่ระบบอย่างเท่าเทียม (รพ.รือเสาะไม่ได้พยายามนำเสนอการมีพื้นที่สำหรับผู้รับบริการเชิงพุทธที่สามารถเข้าถึงและสะดวกกรณีการมีห้องพระ ต่างจากโรงพยาบาลธารโตที่นำเสนอภาพสองศาสนาและการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์เช่น ป้าย ที่นั่ง บริการต่างๆ สำหรับพระภิกษุอย่างชัดเจน ผลจากการดำเนินงานกลับทำให้แต่ละฝ่ายรู้จักกันเพิ่มขึ้น ผู้ให้บริการสบายใจเพราะมีระบบเส้นทางชัดเจน) การเลี่ยงการขับเคลื่อนประเด็นนี้ไม่แน่ใจว่าเกิดจากความไม่มั่นใจการสะท้อนกลับจากพื้นที่ขัดแย้งเชิงอุดมการณ์หรือการพยายามมองพหุวัฒนธรรมเป็นโรงพยาบาลที่มุ่งเน้นเชิงศาสนา) แต่ถ้าต้องการลดความแปลกของสังคมการทำให้คุ้นชินต่อความแตกต่างน่าจะช่วยส่งผลในระยะยาว และ2. จุดเน้นน่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกพื้นที่ขยายศักยภาพความชำนาญ การแก้ปัญหาในหน้างานที่มีความเฉพาะเจาะจง เพราะหากใช้เพียงกรอบหลักคิดเชิงศาสนาที่นำเสนอระยะแรกทำให้การแก้ปัญหาสุขภาพไม่สามารถเกิดได้ตามบริบทความต้องการ และต้นทุนแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน การส่งเสริมจุดเน้นทำให้กระบวนการขับเคลื่อนมีความยั่งยืน ตอบโจทย์ที่ท้าทายแต่ละพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

5

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-