สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้

ลงพื้นที่โรงพยาบาล.รือเสาะ ครั้งที่14 ตุลาคม 2561
4
ตุลาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย นักศึกษาฝีกงาน
circle
วัตถุประสงค์

เยี่ยมการนำแนวคิดระบบบริการสุขภาพไปใช้ในชุมชนไทยุพุทธ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลรือเสาะ โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เยี่ยมชนชุมชนไทยพุทธบ้านไทยสุข

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ปัจจัยนำเข้า ด้านคน โรงพยาบาลรือเสาะมีต้นทุนด้านคนที่สำคัญคือ 1) ผู้บริหารโรงพยาบาลที่มีความเป็นนักวิชาการและนักพัฒนาที่เข้าใจการทำงานขับเคลื่อนสังคม จากการรับฟังข้อมูลพบว่า เมื่อเข้ามารับราชการโรงพยาบาลรือเสาะใหม่ๆ และเห็นความซับซ้อนของปัญหาทั้งระบบจึงเริ่มจากพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลเป็นอันดับแรกเพื่อเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนต่อโรงพยาบาลและสร้างขวัญกำลังใจแก่สมาชิกทีมงานของโรงพยาบาลและต่อมาเริ่มขยับงานสู่การขับเคลื่อนชุมชนและสังคม 2) ทีมงานบุคลากรโรงพยาบาลที่มีประสบการณ์ทำงานก้าวข้ามความยากลำบากมาด้วยกันในช่วงวิกฤตพื้นที่และวิกฤตศรัทธา มีความภาคภูมิใจ มีความมุ่งมั่น มีจิตอาสาที่จะขยับงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ นอกจากนี้ทีมบุคลากรส่วนใหญ่ของโรงพยาบาลเป็นคนพื้นถิ่นที่เข้าใจวัฒนธรรม 3) ต้นทุนเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ ชุมชนบ้านไทยสุขซึ่งมีผลการทำงานเชิงพัฒนาต้นแบบวิถีพุทธ เป็นชุมชนตัวอย่างที่พร้อมเป็นแกนนำในการทำงานเพื่อขยายบทเรียนรู้สู่ชุมชนชาวไทยมุสลิมโดยใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน 4) ผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชน มัสยิดต้นแบบขับเคลื่อนสุขภาพ การพบปะผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ทำธรรมนูญสุขภาวะมัสยิดพบว่า โต๊ะอิหม่ามและทีมงานมีความสนใจเรื่องสุขภาพและประพฤติตนเป็นแบบอย่างด้านสุขภาพ สนใจนำบทเรียนรู้จากบ้านไทยสุขมาสู่การปฏิบัติในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง

ด้านทรัพยากร การรับฟังการถอดบทเรียนการทำงานของทีมงานโรงพยาบาลรือเสาะ มีประเด็นการใช้ทรัพยากรที่น่าสนใจดังนี้ 1) ทีมคณะผู้บริหารโรงพยาบาลรือเสาะมีศักยภาพในการหาทุนสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย มีบางอาคารที่ได้รับงบประมาณการปรับปรุงจากเทศบาล มีการวางแผนแสวงหาแหล่งทุนอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง 2) การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เน้นการตกแต่ง ปรับเปลี่ยนภายในอาคารแทนการสร้างอาคารใหม่ที่ใช้งบประมาณสูง สถานบริการออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเอื้ออำนวยต่อการเยียวยา 3) มีการงบเชิงบูรณาการงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่า 1 ด้าน จากการรับฟังการขับเคลื่อนงานพัฒนาเชิงพหุวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่องพบว่าผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลไม่ติดลบ สะท้อนความเป็นมืออาชีพในการบริหารทรัพยากร ทุนองค์กร เมื่อพิจารณาทุนของโรงพยาบาลรือเสาะก็จะพบว่า โรงพยาบาลรือเสาะมีทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเองก็ได้นำวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่นมาสร้างการเรียนรู้ในองค์กรโดยเน้นการบริการทางการแพทย์เชิงรุก แก้ปัญหาที่ต้นเหตุของสุขภาพ ให้คนในชุมชนมีความตระหนัก ซึ่งได้วางวัตถุประสงค์ความสำเร็จไว้เพียง 2 ประเด็นคือ 1)ให้ชุมชนเปิดใจคุยกับทางโรงพยาบาล 2)คนในชุมชนเริ่มที่จะเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อปรับเปลี่ยนการบริการของโรงพยาบาลให้มีความเป็น “บารอกัต” เหล่านี้จะแก้ปัญหาข้อร้องเรียนต่างๆจากผู้มารับบริการได้ การดำเนินการให้มีความเป็นบารอกัต จะต้องเข้าใจ เข้าถึง วัฒนธรรม ภูมิปัญญาวิธีคิด เศรษฐกิจ และทรัพยากร ของชุมชนที่ส่งผลต่อการอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมนั้นๆ
แม้พื้นที่อำเภอรือเสาะจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในพื้นที่แต่ยังเป็นพื้นที่มีจุดขายและสร้างมูลค่าเพราะมีประสบการณ์แก้ปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน สามารถยกระดับเป็นแม่ข่ายการพัฒนาพื้นที่อื่นที่มีบริบทใกล้เคียงทั้งในและต่างประเทศ กระบวนการ การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้บูรณาการอยู่ในประเด็นยุทธศาสตร์และแผนงานของโรงพยาบาลดังนี้คือ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพการบริหาร บริการ และวิชาการขององค์กร อยู่ภายใต้แผนงานสร้างทักษะบุคลากรสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมและแผนงานพัฒนาบริการโดยใช้เครื่องมือ happynomitor และแผนงานเสริมสร้างสุขภาพวิถีธรรม งบประมาณจากเงินบำรุงโรงพยาบาล ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมสุขภาพให้คนรือเสาะมีสุขภาวะตามบริบททางสังคม ประเด็นท้าทายเกี่ยวกับการทำงานเชิงรุกภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่โดยการพัฒนาระบบการเข้าถึงและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพตามกลุ่มวัยและบริบททางสังคม ภายใต้การดำเนินงาน 3 แผนคือ 1) แผนงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง NCD 2) แผนงานระบบ EMS/pre hospital care โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่าย และ3) แผนงานการพัฒนาสื่อสุขภาวะ งบประมาณจากเงินกองทุนตำบล/หลักประกันสุขภาพ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหาร จัดการระบบสุขภาพให้มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการจัดบริการทางสุขภาพ แผนงานพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านจัดการสุขภาพ (ศาสนสถานต้นแบบการจัดการสุขภาพและชมรมสุขภาพต้นแบบ) จากบริบทโรงพยาบาลและแผนยุทธศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นการขับเคลื่อนระบบสุขภาพที่คำนึงถึงมิติทางวัฒนธรรมที่มีมาก่อนการสนับสนุนโครงการการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมไปลงมือปฏิบัติ จากการเยี่ยมพื้นที่ระบบบริการที่โรงพยาบาลดำเนินการอยู่มีการปรับเปลี่ยน ได้รับการยกระดับในเชิงโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริการที่ถูกปรับเปลี่ยนเพื่อเอื้ออำนวยให้ตอบโจทย์ความต้องการตามวิถีชีวิต และความเชื่อของประชาชน ผลการดำเนินงานที่กล่าวมาข้างต้นถอดบทเรียนได้สาระสำคัญ 2 ประเด็น 1. การคงไว้ซึ่งการบริการที่ตอบสนองความต้องการผู้รับบริการในบริบทพหุวัฒนธรรม จากที่เกริ่นนำต้นว่าโรงพยาบาลรือเสาะได้พยายามปรับเปลี่ยนการจัดบริการที่คำนึงถึงความเป็นพหุวัฒนธรรมมาก่อนช่วงรอยต่อการเกิดสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ทำให้องค์ประกอบจำเป็นจากรูปแบบการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้มีอยู่ในระบบบริการสุขภาพปกติของโรงพยาบาลแล้วส่วนหนึ่ง เช่น การจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังช่วงถือศีลอด การดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด การบริการแพทย์ทางเลือกที่สอดคล้องกับหลักศาสนา การส่งเสริมการปฏิบัติศาสนกิจของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลมีโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข อย่างไรก็ตามหากมองตามแนวทางที่โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้การจัดองค์ประกอบการให้บริการที่เอื้ออำนวยสำหรับผู้รับบริการชาวพุทธต้องดำเนินการเพิ่มเติม สถานที่อาจไม่สะดวกต่อผู้มาใช้บริการ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารโรงพยาบาลมีความตระหนักและให้ความสำคัญ มีแนวทางที่จะดำเนินการต่อในอนาคต 2. การขยายระบบบริการที่ใช้ฐานคิดความเป็นพหุวัฒนธรรมขับเคลื่อนสู่ชุมชน อยู่ในระหว่างริเริ่มดำเนินการ กลยุทธ์การทำงานผู้อำนวยโรงพยาบาลเริ่มขยับงานจากหมู่บ้านไทยสุขซึ่งเป็นชุมชนไทยพุทธมีศูนย์กลางกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่วัดชนาราม เป็นชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมสุขภาพโดยเฉพาะการขับเคลื่อนการแพทย์วิถีธรรม จากการเยี่ยมชมกิจกรรมของชุมชนพบว่ามีความโดดเด่นได้รับรางวัลจากการเข้าประกวดนวตกรรมด้านสุขภาพ เริ่มจากต้นทุนชุมชนที่ประสบความสำเร็จขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมประชาพิจารณ์เป็นธรรมนูญสุขภาวะวัดชนารามทีมีสาระสำคัญการนำหลักคำสอนพุทธศาสนามาใช้ในการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ จากนั้นได้นำต้นแบบงานสุขภาพจากวัดชนารามมาขับเคลื่อนสู่ต้นแบบมัสยิดเป็นต้นแบบการส่งเสริมสุขภาพ ทีมงานได้เลือกใช้พื้นที่ชุมชนมุสลิมที่ผู้นำศาสนามีความสนใจเข้ามาเป็นภาคีเครือข่าย และพื้นที่นำร่องมีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคเรื้อรังที่พบบ่อย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและตีบตัน และสมาชิกชุมชนยังมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ
แผนในการดำเนินการทางผู้อำนวยการเกี่ยวกับการจัดการสุขภาวะทางการแพทย์พหุ วัฒนธรรมในโรงพยาบาลและชุมชน จะเน้นสุขภาวะผ่านกรอบกิจกรรมคุณภาพชีวิต 5 ด้าน ได้แก่
1) ด้านปกป้องจิตวิญญาณ เป็นกิจกรรม 3ส. (สวดมนต์/ดุอา, สมาธิ/อีหม่าน, สนทนาธรรม/นาศีฮัต) มีการจัดมุมธรรมะ เพื่อสุขภาพ อ่านหนังสือ จัดทำสื่อ รวมถึงมีนักสื่อสารด้านจิตวิญญาณ ซึ่งจะพัฒนาทักษะบุคลากรด้านการดูแลผู้ป่วยมิติจิตวิญญาณ 2) ด้านปกป้องชีวิต เป็นกิจกรรม 3อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) โดยใช้นาฬิกาชีวิต นั่นคือแบบแผนการจัดการชีวิตตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งมีลานสุขภาวะ เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งยังมีการจัดอุปกรณ์เพื่อการออกกำลังกาย 3) ด้านปกป้องสติปัญญา เป็นกิจกรรมแนวทางการจัดการความรู้ให้รู้เท่าทันโรค มีการสื่อสารข่าวทางด้านสุขภาพผ่านช่องทางการกระจายข่าวสาร 4) ด้านปกป้องครอบครัว เป็นกิจกรรมดูแลสมาชิกในบ้านตามกลุ่มวัย (เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ) เพื่อนบ้าน ศาลาสุขภาพใกล้บ้าน รวมถึงมีเวทีเด็กและเยาวชน
5) ด้านปกป้องทรัพยากร เป็นกิจกรรมสัจจะหมู่บ้าน ป้องกันการกู้ยืมนอกระบบ และกองทุนขยะชุมชน ดังนั้นโรงพยาบาลรือเสาะมีการสร้างเสริมสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพดีตามบริบททางสังคมและสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สุขภาพ ผ่านกิจกรรม 3ส. (สวดมนต์/ดุอา, สมาธิ/อีหม่าน, สนทนาธรรม/นาศีฮัต) 3อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) และ 1น. (นาฬิกาชีวิต วิถีสุนนะห์ 24 ชั่วโมง) พร้อมกันนั้นนี้ ชุมชนเองก็ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลในการสร้าง “ธรรมนูญสุขภาวะมัสยิด และธรรมนูญสุขภาวะวัดชนาราม” จะเห็นได้ว่าการนำแนวคิดการแพทย์พหุวัฒนธรรมมาใช้จำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชุมชนเพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม กำหนดเป็นวิธีการดำเนินงานร่วมกันผลักดันให้เกิดนโยบายที่เป็นรูปธรรมสู่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพวิถีการแพทย์พหุวัฒนธรรม
กิจกรรมการขับเคลื่อนงานระดับชุมชนโดยโรงพยาบาลรือเสาะและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอยู่ในช่วงเริ่มต้นโดยการกำหนดให้ทีมงานจากหมู่บ้านไทยสุขเป็นต้นแบบการขับเคลื่อน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมงานวัดต้นแบบด้านสุขภาพและทีมงานมัสยิดต้นแบบ มีการทำประชาพิจารณ์เกิดธรรมนูญสุขภาวะมัสยิดและธรรมนูญสุขภาวะวัดชนาราม สาระสำคัญของธรรมนูญสุขภาวะมัสยิดและวัดชนารามมีทั้งหมด 6 หมวด คือ ด้านความมั่งคงปลอดภัยในชีวิต ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านการครอบครัวและสังคม ด้านทรัพย์สิน เศรษฐกิจ และทรัพยากรชุมชน ด้านการขับเคลื่อนธรรมนูญสู่การปฏิบัติ รายละเอียดภายใต้ธรรมนูญนี้สะท้อนภาพการทำงานที่อาศัยความร่วมมือของสมาชิกในชุมชน มีการนำหลักการศาสนาของสมาชิกในชุมชนมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวม ส่งเสริมการทำนุบำรุงศาสนาที่สมาชิกชุมชนศรัทธา และสร้างเครือข่ายชุมชนที่มีความแตกต่างในหลักการปฏิบัติทางศาสนาให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สมาชิกจากชุมชนมุสลิมเกิดประเด็นว่าส่วนใหญ่แต่ละฝ่ายต่างก็ใช้ชีวิตในพื้นที่ ไม่ค่อยได้มีโอกาสไปมาหาสู่ เมื่อเริ่มกิจกรรมประชาพิจารณ์และวงคุยได้เห็นชุมชนชาวพุทธมีการใช้หลักศาสนาในการส่งเสริมสุขภาพ การสังเกตการณ์ปรับภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมพบว่า โรงพยาบาลรือเสาะไม่ได้ใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ (ภาษาไทยกลาง-ภาษามาลายู) เหมือนโรงพยาบาลอื่น ๆ ซักถามเบื้องต้นพบว่าประชาชนเองไม่ได้แสดงออกถึงความต้องการสิ่งเหล่านี้ แต่สิ่งที่ประชาชนต้องการเป็นเรื่องของคุณภาพการบริการที่ตอบโจทย์ด้านความเจ็บป่วยและมิติจิตใจและจิตวิญาณผ่านการส่งเสริมการประกอบศาสนกิจในระหว่างการดูแลที่ตามมารฐานการแพทย์และพยาบาล ทำให้เห็นภาพการขับเคลื่อนพหุวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการด้านคุณภาพชีวิตในเชิงลึก คุณค่าของการบริการที่เป็นลักษณะความเป็นสากล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

เจ้าหน้าที่และบุคลากร รพ.รือเสาะ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-