สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ประเมินผลภายใน การจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม

Screening 5 สัมภาษณ์ถอดเทป วิเคราะห์ 5 รพ26 เมษายน 2564
26
เมษายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ปรียา แก้วพิมล
  • 4.โครงการวิจัยHIA ร่างรายงานรอบที่ 1.docx
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การติดตามหนุนเสริมการนำแนวปฏิบัติการดูแบบพหุวัฒนธรรมสู่ระบบสุขภาพ 5 จวต.                     บทสัมภาษณ์นางนูรฮายาตี นิมาซา ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลรือเสาะ จ.นราธิวาส สัมภาษณ์เมื่อ26-4-64(13:42น.) ในปีที่แล้วมีโครงการทำอะไรบ้าง? • สำหรับโรงพยาบาลรือเสาะ จริงๆ แล้วเรามีการ ดำเนินการ เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยอยู่แล้วเจาะจงส่วนใหญ่จะเป็นของมุสลิมเยอะกว่าไทยพุทธ เพราะว่าที่โรงพยาบาลรือเสาะจะมีชุมชนมุสลิมอยู่ 97% ไทยพุท 3% และจะมีพม่าเข้ามา ในส่วนของพหุวัฒนธรรมจะเป็นการดูแลมุสลิม ซะส่วนใหญ่ จะเป็นแนวทาง การดูแล คนไข้ที่เป็นมุสลิม คู่มือที่ใช้มาจะเป็นคู่มือที่ที่จะจัดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่พยาบาลของเราเพื่อให้สอดคล้องตามวิถีชุมชนในชุมชนนั้นๆไม่ว่าจะเป็นจากสู้ตีห้องคลอดผู้ป่วยในจะมีแนวทางในการดูแลคนไข้เพื่อตอบสนองของชุมชนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษาการสื่อสารจะเชื่อมโยงหมดกับคู่มือ ล่าสุดที่ได้ทำโครงการการพัฒนาศักยภาพแกนนำในพื้นที่พหุวัฒนธรรมของชายแดนใต้ โรงพยาบาลรือเสาะเราได้มีการพัฒนาศักยภาพแกนนำในพื้นที่ ของพหุวัฒนธรรมโดยเรามีการอบรมแกนนำพหุวัฒนธรรม ในโรงพยาบาล ในสสอ.และก็ไปยังชุมชนทั้งหมด ในโรงพยาบาลเราจะมีคู่มือประกอบที่ทาง สจรส.ให้มา เกี่ยวกับการสัมผัสการถูกต้องผิวของเพศตรงข้าม มีเกี่ยวกับกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพชุมชนในท้องถิ่น และมีเกี่ยวกับเรื่องอาหาร มีการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งแต่ละหัวข้อ เป็นคู่มือทีสจรส.เอามาให้เราดู เพื่อดูว่าพหุวัฒนธรรมของโรงพยาบาลมีคู่มือนั้นดูแลรึเปล่าแต่บางอย่างทางโรงพยาบาลจะมีมากกว่าทางสจรส. ให้เราให้เรา  อย่างน้อย  คู่มือสามารถเป็นไกด์ให้เราได้คู่มือที่อาจารย์จัดมาสามารถปรับปรุงทางโรงพยาบาลได้มากขึ้นมาตรฐานในคู่มือ ในเรื่องเกี่ยวกับวิชาการ  ที่สอดคล้องกับบริบทในชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทในชุมชน ถ้าได้คู่มือมาทางโรงพยาบาลจะมีการขับเคลื่อนอย่างไร? • มีการใช้คู่มือ ร่วมกับสธและไปสู่ชุมชนด้วยเหมือนที่ผ่านมาโครงการที่ทำเราได้มีการพัฒนาแกนนำที่อยู่ในโรงพยาบาล เป็นแกนนำหลักเพื่อกระจายไปยังทุกจุดโอพีดีแอลอาร์พีอาร์คนไข้ที่มาหาในการดูแล ตามพหุวัฒนธรรม เราต้องดูแลอย่างไรเพื่อให้เขาเกิดความพึงพอใจไม่เกิดการร้องเรียนขึ้นมาเพื่อที่จะรักษาสิทธิที่เขาควรจะได้รับจากเราได้ดีที่สุด • ในการขับเคลื่อนเราเริ่มจากโรงพยาบาลก่อนแล้วไปยังรพ.สต.ต่อ โรงพยาบาลจะมีการใช้คู่มือที่คิดว่าจะเอาคู่มือมาใช้ทุกจุดที่มีที่เกี่ยวข้องกับจุดนั้นๆไม่ว่าจะเป็นโอพีดีพีที่เราจะต้องตอบโจทย์ว่าเราจะมีเรื่องอะไรบ้างในเรื่องคู่มือเหล่านี้ที่ทำ ในปีที่แล้วจะมีการพัฒนาแกนนำที่อยู่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และก็จะเป็นอสมเข้ามาร่วมในกิจกรรมของเราด้วย โดยเราจะมีการ พูดคุยในชุมชนของเขาเขาอยากให้เกิดอะไรขึ้น ที่นี่มันจะไปตอบโจทย์ในเรื่องธรรมนูญสุขภาวะเกิดขึ้นโดยใช้หลักสุขภาพดีวิถีเอามาใช้ของกระทรวงสาธารณสุข 3ส. 3อ. 1น. มาใช้ในชุมชนที่เป็นวัด มัสยิด ซึ่งก่อนนี้ที่ทำเป็นชุมชนที่เป็นวัด1ที่ และเป็นชุมชน ต.ลาโละที่เป็นมัสยิด 5ที่

จะมีการขับเคลื่อนในพื้นที่ไหน? • พื้นที่ตำบลลาโละโดยใช้พื้นที่ที่มีชุมชนวัด1ที่มัสยิดทั้งหมด5ที่ที่อยู่ในตำบลลาโละทั้งหมดเลย เพราะเหตุใดทำไม ถึงสนใจเลือกโครงการนี้? • เมื่อก่อนโรงพยาบาลจะมีข้อร้องเรียนเยอะมากมีความพึงพอใจน้อยมากประมาณ60% มีประชาชนอีกหลายคน โดยเฉพาะชุมชนมุสลิม เพราะว่าเราไม่ได้ตอบสนองวิถีชุมชน ของเขาบางท่านไม่ยอมนอนโรงพยาบาลเพราะไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจ หากบังคับ ได้อย่างเช่น การละหมาด เป็นต้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราคิดว่า การดูแลพหุวัฒนธรรมจำเป็นแล้วที่เราต้องเข้าถึงและเข้าใจชุมชนตรงนี้ มีใคร ต้องการอะไรจากเรา ทำไมถึงไม่พอใจเรา สิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่ง ที่จุดประกายให้เราต้องมาคุยกับชุมชน ให้รู้สึกลึกซึ้ง ว่าพื้นที่ตรงนี้เขามีความต้องการอะไรมาก ซึ่งเป็นที่มาของการเกิด การบูรณาการในโรงพยาบาล รือเสาะ ไม่ว่าการดูแลคนไข้ ที่ต้องการละหมาด เรามีรถอาบน้ำละหมาดเคลื่อนที่ให้คุณ เรามีผงดิน ที่คุณจะเอาชัยอาบน้ำละหมาด เรามีมุมมีทิศทางที่จะบอกจุละหมาดได้ ส่วนไทยพุทธ คุณสามารถจะพาพระมาสวดในระยะสุดท้ายในบั้นปลายชีวิต จะมีการดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายการดูแลคนไข้ประกอบศาสนกิจ การดูแลมารดาหลังคลอด ที่อาบน้ำภาคบังคับก็จะมีคำสอน ให้ พอเริ่มมีสิ่งนี้เกิดขึ้น มา ทำให้ ความพอใจเพิ่มขึ้น83-90%  มีคำชมมากมาย ขอร้องเรียนลดลง เรามีการทำงานแบบภาคีเครือข่ายคือร่วมกับผู้นำศาสนาเรื่องอยากได้อะไรจากเราและเราก็ได้ตอบสนองเขา กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้คือใคร? • เมนหลักคือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในองค์กร คือต้องรู้ว่าทำอะไร เพื่ออะไร ทำแล้วได้ อะไร     แล้วส่งต่อเจ้าหน้าที่รพสต  ที่อยู่ในเครือข่าย ต้องรู้ว่าพหุวัฒนธรรมการดูแลพหุวัฒนธรรมมีความสำคัญอย่างไร ต้องทำอย่างไรให้บุคลากรของเรามีความรู้เกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมมากขึ้น หลังจากเรามีการพัฒนาเจ้าหน้าที่รพสตแล้ว อีกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มชุมชนที่จะเริ่ม คือ เริ่มที่วัด มัสยิดโดยใช้ศาสนสถานที่เป็นวัดมัสยิดเป็นแกนที่จะใช้มาขับเคลื่อน การพูดคุยของทีมงานได้เกิดขึ้นบ้างหรือยัง • ที่ผ่านมามีการคุยตลอดทีมงานนี้ไม่ใช่เฉพาะหมอที่เป็นประธาน และคุณระยะห้าปีที่เป็นเลขาแต่จะมีแกนนำที่เป็นหัวหน้า ที่เป็นผู้นำศาสนาในชุมชน เป็นเจ้าอาวาสที่อยู่ที่วัดโต๊ะอีหม่าม เพื่อที่จะมีการขับเคลื่อนโครงการนี้เพื่อที่จะมีการขับเคลื่อนโครงการนี้ กำหนดการประชุมครั้งหน้าเมื่อไหร่ถ้าอาจารย์ต้องการเข้าร่วมประชุมด้วยได้ไหม • โครงการที่คุณนูรฮายาตีรับผิดชอบเป็นโครงการที่ทำไปแล้วทำเมื่อปี60-61
หน้าที่ของคุณนูรฮายาตี คือ? • หน้าที่คือเป็นเลขาเก็บรวบรวมข้อมูลส่ง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การบูรณาการพหุวัฒนธรรมในชุมชน ธรรมนูญสุขภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่