สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

ประเมินผลภายใน ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร: เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ

ประชุมชี้แจง วางแผนงานขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร (อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช)

ประชุมชี้แจง วางแผนงานขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร (อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช)

15 กุมภาพันธ์ 2564
AitsaraAitsara
รายงานจากพื้นที่
Project owner
  • photo จุดลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุมจุดลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
  • photo บรรยากาศเวทีชี้แจงและปรึกษาหารือบรรยากาศเวทีชี้แจงและปรึกษาหารือ
  • photo บรรยากาศเวทีชี้แจงและปรึกษาหารือบรรยากาศเวทีชี้แจงและปรึกษาหารือ
  • photo บรรยากาศเวทีชี้แจงและปรึกษาหารือบรรยากาศเวทีชี้แจงและปรึกษาหารือ
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการผลักดันยุทธศาสตร์ระบบอาหาร จังหวัดนครศรีธรรมราชสู่การปฏิบัติ ประเด็นการพัฒนาตลาดอาหารปลอดภัยในหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พื้นที่ต้นแบบอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเชิญกลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช สาธารณสุขอำเภอหัวไทร โรงพยาบาลหัวไทร รพสต. เทศบาลตำบล อบต. โรงเรียน เกษตร ประมง ผู้ประกอบการ และประชาชน ร่วมปรึกษาหารือ และวางแผนการดำเนินงานตลาดปลอดภัย

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอต่างๆ ดังนี้ 1.สร้างกฎ/กติกา ข้อตกลงร่วมกันในการทำตลาดปลอดภัย เช่น สินค้าที่สามารถวางจำหน่ายได้ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ อย่างน้อย 1 มาตรฐาน (GMP) พ่อค้าแม่ค้าที่จะเข้ามาค้าขายในตลาดจะต้องมีการตรวจสุขภาพ สุขลักษณะของผู้จำหน่ายสินค้า เป็นต้น 2.ข้อมูลสนับสนุนของตลาดที่ได้รับมาตรฐาน เพื่อนำมาปรับใช้กับตลาดในอำเภอหัวไทร เช่น กฎ กติกา โครงสร้าง เป็นต้น 3.Mapping กลุ่มเป้าหมาย ฐานลูกค้า ที่มีกำลังซื้อและมีความต้องการหรือมีความรู้ความเข้าใจที่จะบริโภคอาหารปลอดภัย รวมทั้งบริบทพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะทำตลาด 4.ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มีหน่วยงานในพื้นที่เข้ามาช่วยเหลือในการทำความสะอาดตลาดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 5.กลไกสำคัญ คือ กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และ อปท. 6.โรงเรียนทำเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมมีการจำหน่ายและตลาด เช่น ผักบุ้ง ส่งร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ ด้วยเป็นสินค้าปลอดสารพิษ ซึ่งโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ ด้วย เช่น CP all และเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นๆ เข้ามาศึกษาดูงานและกลับไปพัฒนาโรงเรียนตนเอง
7.ขยายสู่ตลาด online ในอนาคต และเชื่อมโยงอาหารกับการท่องเที่ยว 8.เทศบาลตำบลหัวไทรเสนอเป็นศูนย์กลางการทำอาหารปลอดภัยของอำเภอ และเสนอให้เป็นวาระของอำเภอหัวไทร ในการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย พัฒนาตลาดและตลาดสดของเทศบาลตำบลหัวไทร

ปัญหาและอุปสรรค (ที่ผ่านมา)
1.ข้อจำกัดของการทำตลาด เช่น กลุ่มผู้บริโภค ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน 2.สินค้าที่จำหน่ายในตลาดส่วนใหญ่รับมาจากนอกพื้นที่ (ยกเว้น กุ้ง ปลา)
3.ปัญหาของมาตรฐานโรงฆ่าสัตว์สู้ราคาไม่ไหว ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง และการฆ่าสัตว์เล็กๆ กันเองในชุมชน
4.ท้องถิ่นไม่ได้ทำตามประกาศ กระทรวงสาสุข 2561 ….. เช่น การอบรมผู้ประกอบการ ผู้จำหน่าย การตรวจสุขภาพพ่อค้าแม่ค้าตามเกณฑ์มาตรฐานที่ถูกต้อง
5.ปัญหาของตลาดปลอดภัย คือ ทำอย่างไรให้อาหารปลอดภัยเชื่อมโยงถึงตัวผู้ผลิต ผู้ผลิตสู้ราคาได้ ทั้งราคาทุนและราคาขาย และการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับกลุ่มผู้บริโภค (อยากบริโภคแบบปลอดภัย ได้สินค้าที่ดีมีคุณภาพ เหมาะสมกับราคา) 6.โรงพยาบาลเคยทำตลาด green market แต่เกิดปัญหา คือ ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยในโรงพยาบาล 7.สินค้าประมงค่อนข้างราคาสูงส่งออกจำหน่ายนอกพื้นที่ให้ผู้บริโภคที่มีกำลัง คนในท้องถิ่นได้รับการบริโภคน้อย

รายงานการใช้เงิน
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆรวมรายจ่ายสถานะ
0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 lock_open