สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ (จริยธรรมสื่อ)

ประชุมติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในโครงการ ศวนส.15 ธันวาคม 2563
15
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
  • สรุปรายงานการประชุมวันที่ 14-15 ธ.ค.63.docx
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงเป้าหมายและตัวชี้วัดโครงการ ศวนส.
  2. นำเสนอความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการในระยะที่ 1

- ประเด็นความมั่นงทางสุขภาพ - ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร - ประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์ - ประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - การจัดการระบบสร้างเสริมสุขภาพแบบพหุวัฒนธรรม - ประเด็นสื่อสาธารณะเพื่อสุขภาวะ 3. แบ่งกลุ่มตามราบประเด็นเพื่อวางแผนการขับเคลื่อนงานระยะที่ 2
4. นำเสนอรูปแบบ การสื่อสารเพื่อการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายไปสู่การปฏิบัติทั้ง 6 ประเด็น 5. นำเสนอแผนการดำเนินงานระยะที่ 2 ทั้ง 4 ประเด็น 6. การายงานกิจกรรม และรายงานการเงินแบบออนไลน์ และการบริหารจัดการโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีพื้นที่เป้าหมายการทำงานจะครอบคลุมตามประเด็น

- ความมั่นคงทางอาหาร ระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช นราธิวาส - ความมั่นคงทางมนุษย์ ที่มีกลไก 8 พื้นที่ มีชุมพร ระนอง พังงา ตรัง พัทลุง นราธิวาส - การท่องเที่ยวโดยชุมชน อยู่ฝั่งอันดามัน สตูล ตรัง กระบี่ ภูเก็ต พังงา ระนอง - การแพทย์พหุวัฒนธรรม 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง และ 4 อำเภอของสงขลา สตูลบางส่วน - การจัดการภัยพิบัติ คือ 6 จังหวัดอันดามัน และนราธิวาส 2. ได้ชี้แจงการดำเนินงานเรื่องการสื่อสารการขับเคลื่อนประเด็นหลัก4ประเด็นโดยใช้เครือข่ายสื่อ 14 จังหวัด ทั้งเครือข่ายสื่อเดิมและเครือข่ายใหม่ ทำงาน 2 ระดับ กับประเด็นที่ขับเคลื่อนมองถึงวิธีการทำงานร่วมกันโดยจัดรูปแบบเป็นกองบก.ย่อย
3. การถอดบทเรียนการทำงานของเครือข่ายสื่อ ที่ผ่านมาทั้งเฟส 1 และเฟส 2 โดยมีทีมติดตามประเมินผลมาช่วยให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะต่างๆ สำหรับสิ่งที่ต้องทำเพื่อการขับเคลื่อนไปข้างหน้าจำเป็นต้องเชิญเครือข่าย 4. ประเด็นงานที่ขับเคลื่อนโดยแบ่งตามโซนจังหวัด  3 โซน  อันดามัน ใต้บน ใต้ล่าง รับผิดชอบงานสื่อสารตามประเด็นที่แต่ละพื้นที่ขับเคลื่อนอยู่ เช่น อันดามัน มีประเด็นภัยพิบัติ และ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นประเด็น สุขภาวะด้านสิ่งแวดล้อม จับคู่กับเครือข่ายสื่อพังงา คุณ ทวีศักดิ์ และคุณนิตยา เป็นผู้ผลิตคอนเทนต์การสื่อสาร โซนใต้บน คือชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง มีประเด็นความมั่นคงทางอาหาร รับผิดชอบ โดยเครือข่ายสื่อชุมพร คุณศาสนะ กลับดี และคุณศิลาพร มะหมัดเหม โซนจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส ขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะชายแดนใต้ การแพทย์พหุวัฒนธรรม และความมั่นคงทางอาหาร รับผิดชอบโดยเครือข่ายสื่อสงขลาคุณนิพนธ์ รัตนาคม ส่วนภาคจังหวัดภาคใต้ตอนกลาง พื้นที่ นครศรีธรรมราช  สุราษฎร์ธานีบางส่วน รับผิดชอบโดย สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช โดยเครือข่ายสื่อแต่ละโซนนำข้อมูลจากการปฏิบัติการกลุ่มไปทำแผนการสื่อสารและคิดคอนเทนต์ ให้ตรงสอดคล้องกับความต้องการของประเด็นงาน 5. การประชุมเน้นให้แต่ละเครือข่ายชี้แจงและยืนยันแผนงานให้มีความเข้าใจตรงกันอีกครั้งเนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสื่อสารเพื่อให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้กระบวนการทำงานของการขับเคลื่อนงาน จะต้องมี เนื้อหา รูปแบบ และช่องทางการสื่อสาร ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับแผนการขับเคลื่อนประเด็นงานในแต่ละช่วงเวลา
6. ทีมสื่อจะต้อง ใช้เครื่องมือการสื่อสาร เป็นทั้งการแจ้งข้อมูลและการกระจายข้อมูล เราชูเรื่องของการสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง ออกแบบเพื่อสื่อให้เห็นว่ากระบวนการขับเคลื่อนที่สำเร็จเป็นอย่างไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานได้จริง
7. การคิดคอนเทนต์ต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่เราจะสื่อสารว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องในระดับใด ข้อมูลที่ได้รับจากการสื่อสารไปแล้วนั้นสามารถกระตุ้น ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติที่ในส่วนของภาคีหลัก และภาคียุทธศาสตร์ หรือแม้แต่กลุ่มองค์กร ประชาชนเกษตรกร

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่