สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต

สรุปการประเมินผลท่องเที่ยวโดยชุมชนและสร้างเครือข่ายของตำบลกมลา29 กันยายน 2563
29
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย Syuwari
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมครั้งที่ 4  สรุปการประเมินผลท่องเที่ยวโดยชุมชนและสร้างเครือข่ายของตำบลกมลา มีการประสานงานกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายและสรุปประเมินผลทอดบทเรียนร่วมกับนักวิจัย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่ได้รับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 UNWTO ได้ประกาศให้เป็นปีการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนา ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวโน้มการท่องเที่ยวในปัจจุบัน ที่ผู้คนนิยมท่องเที่ยวในแบบวิถีชุมชน จึงนำการท่องเที่ยวเข้ามาสู่ชุมชนเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนบ้านกมลา ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรม อีกทั้งยังได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวมุสลิม เนื่องด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ยังสามารถดึงความสนใจนักท่องเที่ยวได้จากหลายกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาเยือน ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในชุมชนกมลาที่นำเสนอให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือนชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้และผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้จะเน้นในเรื่องของสินค้าที่แสดงเอกลักษณ์ที่แท้จริงของชุมชนกมลา ซึ่งส้มควายเป็นพืชพื้นเมืองภูเก็ตที่สามารถนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น ส้มความตากแห้ง น้ำส้มควาย สบู่ และแชมพู นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของอาหารท้องถิ่น และผ้ามัดย้อมลายสโนติก ที่สร้างเอกลักษณ์ให้ชุมชน ในส่วนผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้เช่น ความเชื่อ ศาสนา วิถีชีวิต และวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวสามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกเพลิดเพลิน ทำให้สามารถเข้าถึงประสบการณ์การท่องเที่ยวชุมชนกมลาอย่างลึกซึ้งและสร้างความประทับใจระหว่างโปรแกรมการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ชุมชนจะต้องมีการสร้างเครือข่ายเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับสมาชิกของชุมชนในการจัดการและสร้างทีมทำงานเพื่อให้เกิดเครือข่ายในนามเครือข่ายของตำบลกมลา ทีมนักวิจัย ยกตัวอย่างและทอดบทเรียนการทำเครือข่ายและสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน show cased study เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนโซนอันดามัน เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจบทบาทและวิธีการขับเคลื่อนเครือข่ายของกลุ่มเกิดความคิดเห็นและหาแนวทางในการสร้างเครือข่ายร่วมกัน จากการทำกิจกรรมครั้งนี้ ได้ทำการสรุปผลการศึกษา ทำให้สมาชิกมีการนำเสนอและมีการพิจารณาผู้นำ แกนนำ สมาชิกตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านมาเป็นคณะกรรมการในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนงานเครือข่ายให้ชัดเจนและทำงานได้จริง ซึ่ง นักวิจัยและวิทยากรถอดบทเรียนให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการฝึกอบรมในการหาแนวร่วมและสร้างจุดร่วมในการทำงานเป็นทีม เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในอนาคตหากเกิดปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน การมีเครือข่ายจะช่วยให้การตัดสินใจร่วมกันได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

สรุปกิจกรรมครั้งที่ 1 – 3  พบว่า การท่องเที่ยวชุมชนกมลาเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดภูเก็ตที่มีทรัพยากรอันหลากหลายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว  ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน  โดยได้มีการพัฒนาเป็นแหล่งพื้นที่ในการรับรองนักลงทุนเพื่อรองรับการขยายตัวจากด้านธุรกิจการท่องเที่ยว  การควบคุมพื้นที่การเจริญเติบโตของกมลาที่เปลี่ยนจากผังเมืองชนบทและเกษตรกรรมมาเป็นที่อาศัยหนาแน่นน้อยและที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางทำให้การควบคุมเป็นไปได้ยาก  ทำให้ส่งผลของพื้นที่ชุมชนจากข้อมูลกรมโยธาและผังเมือง  สามารถแบ่งบริเวณกมลาออกได้เป็น  3  กลุ่มคือ  กลุ่มประมง  กลุ่มเกษตรกรรมและกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวเนื่องด้านการท่องเที่ยว  สถานประกอบการส่วนใหญ่แบบโรงแรมและภัตตาคารถึงร้อยละ  52.56  รองลงมาได้แก่  ร้านค้าปลีก  การขนส่งทางบก  และตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวตามลำดับ ความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชาวบ้านชุมชนกมลาเป็นสิ่งที่งดงาม ทั้งด้านการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ รัชกาลที่ 9 และการเป็นอยู่แบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังมีงานฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน อาทิเช่น กรีช ,ผ้าปาเต๊ะ และ หนังตะลุง ดังนั้นจึงเกิดแนวความคิดที่จะพัฒนาศูนย์ชุมชนกมลาให้เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ นักท่องเที่ยวและผู้คนในชุมชน เพื่อจะได้ช่วยกันอนุรักษ์และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวและ มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ปัจจุบันศูนย์ชุมชนนั้นตั้งอยู่ใจกลางกมลา นักท่องเที่ยวผ่านไปมาเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นสถานที่ด้านหน้าติดทะเลและด้านหลังมองเห็นภูเขา ดังนั้นผู้จัดทำจึงเล็งเห็นว่า การพัฒนาศูนย์ชุมชน เป็นก้าวแรกที่สำคัญและ ยังเป็นประตูบานแรกให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในกมลา และยังคิดพัฒนา ผลิตภัณฑ์ รูปแบบต่างๆให้กับชุมชน
เส้นทางในการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีส่วนในการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ในการศึกษานั้นต้องการให้ชุมชนในแต่ละชุมชนเกิดความร่วมมือกันระหว่างชุมชนและสร้างจุดเชื่อมโยงเส้นทางรูปแบบในการท่องเที่ยวที่ได้เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนกมลา โดยให้การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาทำให้เกิดรายได้แก่ชุมชน ให้ชุมชนมีอาชีพที่มั่นคงเป็นรายได้หลัก  ยืนได้ด้วยลำแข็งของตนเอง ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติส่วนใหญ่ก็จะมาท่องเที่ยวตามแหล่งที่มีชื่อเสียงในกมลา เช่น ภูเก็ตแฟนตาซี ทะเลรอบกมลา โดยชุมชนกมลาก็เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีวัฒนธรรมที่อันเป็นเอกลักษณ์ และมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานแต่ในปัจจุบันก็ยังเป็นที่ไม่รู้จักจากนักท่องเที่ยวอยู่พอสมควร เนื่องจากยังขาดปัจจัยในการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนในการนำเสนอจุดที่น่าสนใจของชุมชนกมลา อีกทั้งความพร้อมในด้านเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชนก็ยังเป็นการริเริ่มต้นเท่านั้น จึงอาจทำให้เกิดอุปสรรคและปัญหาในด้านการจัดการอยู่พอสมควร ดังนั้นการจัดการเส้นทางในการท่องเที่ยวของชุมชนกมลาควรจะมีเส้นทางในการเดินทางแต่ละจุดภายในพื้นที่ 3 ส่วนหลักดังนี้ 1. ให้ความรู้ความเป็นมาของกมลา
2. วิถีชีวิตของชุมชน 3. การท่องเที่ยวธรรมชาติ 1. ส่วนของการให้ความรู้ความเป็นมาของกมลา ส่วนนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวซึ่งมีความสนใจและมาเยือนยังชุมชนกมลาแห่งนี้ ทางผู้นำชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะบอกเล่าประวัติความเป็นมาในเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมพื้นถิ่น ประเพณีวิถีชีวิตชุมชน ความเชื่อ ซึ่งหลังจากการที่ได้มาทัศนศึกษาในการลงพื้นที่ศึกษาจริงได้พบว่าในปัจจุบันส่วนพื้นที่จุดนี้ยังทำได้ไม่ค่อยดีนัก โดยปัญหาที่จากการทัศนศึกษาสามารถจับใจความของปัญหาได้ดังนี้ 1.1 ความเตรียมพร้อมสำหรับการบริการนักท่องเที่ยว อาจจะเกิดจากการที่ชุมชนพึ่งริเริ่มในการจัดการทำให้ยังขาดลักษณะการจัดการที่เป็นระบบด้านการวางแผน ความเตรียมพร้อมสำหรับนักท่องเที่ยวในกรณีที่นักท่องเที่ยวหมู่มากที่สนใจที่จะท่องเที่ยว ถ้าเกิดกรณีที่มีการจัดการการเตรียมพร้อมไม่ดีพอทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความไม่พอใจและไม่สนใจ อาจทำให้นักท่องเที่ยวไปสนใจจุดอื่นที่มีความเตรียมพร้อมมากกว่าก็เป็นได้ 1.2 ด้านภาษาและการสื่อสาร ความเตรียมพร้อมในทางด้านภาษาต่างชาตินั้นก็เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของกมลา ซึ่งหากเกิดในกรณีที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความสนใจในประวัติความเป็นมาของชุมชนกมลาแต่ หากทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือชุมชนที่ให้ข้อมูลไม่มีความรู้พื้นฐาน หรือทักษะทางภาษาที่ชัดเจนก็อาจจะทำให้บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของกมลาได้อย่างไม่ถูกต้อง ทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกว่าชุมชนกมลาไม่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากที่จะท่องเที่ยวในชุมชนก็เป็นได้ 2. ส่วนของวิถีชีวิตของคนในชุมชน ส่วนนี้จะเป็นการพานักท่องเที่ยวทัศนศึกษา เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน โดยผ่านการนำเสนอจากชุมชนในพื้นที่อย่างแท้จริงหรือผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุมชน แต่จากการที่ทางผู้เขียนได้ไปทัศนศึกษาสถานที่จริงของชุมชนได้สัมผัสถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ดังนั้นทางผู้เขียนได้จับใจความได้ มีดังนี้ 2.1 ด้านผลิตภัณฑ์ของชุมชน ต้องการให้ชุมชนกมลานำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดนนำเสนอจากการร่วมประชุมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีความรู้ให้นำเสนอรูปแบบแนวทางของผลิตภัณฑ์ของชุมชน เช่น การทำการเกษตรเพราะปลูกกินเองภายในบ้านหรือชุมชนใกล้เคียง การทำแหในรูปแบบดั้งเดิมไว้สำหรับการทำประมง การทำมีดโบราณที่สืบทอดต่อกันมา ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทำกันเป็นลักษณะชีวิตประจำวันของผู้คนในชุมชนอยู่แล้ว ดั้งนั้นถ้าเรานำสิ่งนั้นมาพัฒนาหรือส่งเสริมในรูปแบบใหม่ให้เกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้นโดยมีการจัดสรรปันส่วน การให้ความรู้เพิ่มเติมแก่นักท่องเที่ยวอย่างเช่น การมีป้ายอธิบายถึงคุณลักษณะและประโยชน์พืชผักที่ปลูกไว้โดยอธิบายเป็นลักษณะที่เข้าใจง่าย การโชว์การถักแหและให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำ การโชว์การผลิตและแกะสลักมีด การนำเสนออาหารพื้นบ้านที่สืบทอดกันในแต่ละรุ่นให้นักท่องเที่ยวได้ลิ้มลองรถชาติพร้อมกันอธิบายประวัติความเป็นมาว่าคืออะไร ที่ประวัติความเป็นมาอย่างไร 2.2 ด้านอาคารสถานที่ของชุมชน ในส่วนนี้อาจจะให้มีการวางแผนกับผู้นำชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดอาคารสถานที่ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และบอกเล่าเรื่องราวให้นักท่องเที่ยวฟังถึงประวัติความเป็นมาของอาคารสถานแห่งนี้ เช่น วัด มัสยิด ศาลาชุมชนหรือแม้แต่อาคารบ้านเรือนภายในชุมชนพร้อมทั้งอธิบายว่า ทำไมต้องเป็นลักษณะนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร มีความเกี่ยวข้องกับชุมชนอย่างไร และจะอนุรักษ์รักษาต่อไปได้อย่างไร 3. ส่วนของการท่องเที่ยวธรรมชาติ ส่วนนี้ก็จะเป็นการนำนักท่องเที่ยวเดินเข้าป่าเพื่อชื่นชมกับธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ของชุมชนกมลานี้ มีทั้งสวนพืชพรรณหลากหลายชนิดและน้ำตกอันสวยงามที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นการเดินทางท่องเที่ยวธรรมชาติสามารถจับใจความได้ดังนี้ 3.1 ด้านความปลอดภัยและจุดแวะพักสำหรับการเดินทาง ควรจะมีการขึงเชือกไว้เพื่อเป็นการนำทางและป้องกันอุบัติเหตุจากพื้นที่ โดยทำการการทำจุดแวะพักเป็นระยะให้แก่นักท่องเที่ยว การเขียนป้ายเตือนที่มีสีสันโดดเด่นให้ระมัดระวังสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตรายได้ มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่มีวิทยุสื่อสารและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นคอยดูแลความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา และนอกจากนี้ก็จะเป็นการปรับพื้นที่ควรจะทางเดินที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยอาจจะใช้วัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่ายและไม่เกิดอันตรายเวลาฝนตก อีกทั้งยังให้มีความสวยงามเพื่อเป็นจุดถ่ายรูป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่