สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ชุมพร

เวทีปรึกษาหารือการจัดทำยุทธศาสตร์ของคณะทำงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง2 ธันวาคม 2563
2
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
  • แผนดำเนินงานยุทธศาสตร์ระบบอาหารชุมพร 4 ปี.doc
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานคณะทำงานจัดประชุมเพื่อยกร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดร่างแผนยุทธศาสตร์เพื่อนำเข้าเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพรให้กลุ่มเครือข่ายได้รับฟังและเพิ่มเติมข้อมูลด้านระบบอาหารตามรายละเอียด ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๑ ผลักดันมาตรฐานสินค้าอาหารปลอดภัย ( GAP) ที่เหมาะสมให้เป็นภาคบังคับทางกฎหมาย และเป็นข้อตกลงของชุมชนโดยเน้นระบบตลาดภายในจังหวัด ตลาดในห้างสรรพสินค้า และตลาดส่งออก ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๒ มีการคุ้มครองพื้นที่การเกษตรกรรมยั่งยืน (เกษตรสุขภาพ)
    ๒.๑ ส่งเสริมการปลูกข้าวให้เพียงพอในการบริโภค และสนับสนุนรักษาพันธุกรรมข้าวพื้นบ้าน จัดตั้งธนาคารอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นบ้าน     ๒.๒ ใช้พระราชกำหนดการประมงบังคับใช้ พ.ศ. ๒๕๕๘  และ การทำประมงผิดกฎหมาย (Illegal Unreported and Un-regulated Fishing: IUU)     ๒.๓ สร้างเขตอนุรักษ์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ จัดทำธนาคารสัตว์น้ำ     ๒.๔ สร้างกติกาหรือธรรมนูญว่าด้วยการอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานอาหารครอบครัวและชุมชน รวมถึงการพัฒนารูปแบบที่มีความสมดุลระหว่างการผลิต พืชอาหารและพืชพลังงาน       ๑) สร้างข้อตกลงร่วมของชุมชน ท้องถิ่นและภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน ทั้งการปรับสวนยางพาราและเกษตรเชิงเดี่ยวอื่น ๆ โดยเฉพาะพืชพลังงาน ทั้งนี้เพื่อให้มีพืชพันธุ์ที่หลากหลาย ตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานเพื่อการพึ่งตนเองได้       ๒) สนับสนุนการสร้างข้อตกลงร่วมหรือธรรมนูญชุมชน ว่าด้วยความมั่นคงทางอาหารในระดับพื้นที่ ระดับตำบล       ๓) สร้างพื้นที่ครัวชุมชนในพื้นที่ว่างหรือพื้นที่สาธารณะในชุมชน ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๓ ชุมชนพึ่งตนเองด้านอาหารในระดับชุมชน ครอบครัว     ๓.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมี การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นบ้าน และจัดตั้งธนาคารอาหารชุมชน เช่น พันธุ์ข้าว ธนาคารเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้านหรือผักสวนครัว พืชสมุนไพร ผลไม้
๑) การรวบรวมพันธุกรรมพื้นบ้าน ๒) สร้างเครือข่ายและพัฒนาทักษะชุมชนในการเพาะพันธุ์ ๓) จัดตั้งธนาคารพันธุ์ข้าวนำร่อง ๔) จัดตั้งธนาคารพันธุกรรม พืชพื้นบ้าน
    ๓.๒ สร้างศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์บกและสัตว์น้ำในชุมชนแบบบูรณาการ           ๑) การรวบรวมพันธุ์พื้นบ้านสัตว์บกและสัตว์น้ำในชุมชน           ๒) สร้างเครือข่ายและพัฒนาทักษะชุมชนในการเพาะพันธุ์           ๓) จัดตั้งศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์บก สัตว์น้ำจืด และสัตว์ทะเล           ๔) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคและการค้าเชิงพาณิชย์     ๓.๓ การจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรอาหารชุมชน เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรอาหารของชุมชน ๑) สำรวจและทำฐานข้อมูลทรัพยากรอาหารที่มีอยู่ในชุมชน นำร่องอำเภอละ 1 ตำบล ๒) สร้างกระบวนการเรียนรู้กับ หน่วยงาน กลุ่ม ภาคีที่เกี่ยวข้องในชุมชน ๓) ผลักดันให้เกิดการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรอาหารที่มีอยู่ในชุมชน ๔) บูรณาการแผนการจัดการทรัพยากรอาหารกับแผนชุมชน     ๓.๕ การพัฒนาศักยภาพชุมชนในแต่ละอาชีพให้สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต และสร้างนวัตกรรมสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
๑) พัฒนากลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะการรวมกลุ่มอาชีพเกษตร
๒) ส่งเสริมการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร
๓) พัฒนาให้เกิดศูนย์เรียนรู้ แหล่งเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง โดยอาจจัดรูปแบบเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ๔) สนับสนุนการศึกษาวิจัยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในด้านการเพิ่มผลผลิต ๕) พัฒนาศักยภาพชุมชนในการเพิ่งตนเองด้านปัจจัยการผลิตในเรื่องอาหารฯ ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๔ การฟื้นฟูภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นบ้าน ขนมพื้นบ้าน อาหารและสมุนไพรเป็นยา     ๔.๑ สนับสนุนให้มีการรวบรวมภูมิปัญญาและฝึกอบรมตำรับอาหารพื้นบ้านภาคใต้ฯ
    ๔.๒ ส่งเสริมให้มีแหล่งจำหน่าย ตำรับอาหารพื้นบ้านภาคใต้ในชุมชน ร้านอาหาร และห้างสรรพสินค้า     ๔.๓ ส่งเสริมให้มีการใช้และบริโภคตำรับอาหารพื้นบ้านภาคใต้ ในหน่วยงานราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา และครัวเรือน     ๔.๔ พัฒนา ยกระดับอาหารพื้นบ้าน ขนมพื้นบ้าน สมุนไพรที่ใช้เป็นยาไปสู่เศรษฐกิจชุมชนฯ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ยกระดับ เพิ่มมูลค่าอาหารไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ     ๕.๑ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างฐานทรัพยากรทางอาหารในการแปรรูปอาหารของชุมชน     ๕.๓ ส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้ในการยกระดับการแปรรูปอาหาร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ       ๕.๒ ส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารพื้นบ้าน สมุนไพรพื้นบ้าน ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๖ บูรณาการเรื่องอาหารพื้นบ้าน สมุนไพรพื้นบ้าน ให้อยู่ในแผนการท่องเที่ยวของจังหวัดและแผนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์/แผนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน     ๖.๑ ปรับปรุง ทบทวน แผนการท่องเที่ยวของจังหวัดและแผนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ/แผนการท่องเที่ยวเชิงเกษตร     ๖.๒ สร้างกระแสเรื่องความมั่นคงทางอาหารในเทศกาลอาหารของจังหวัด     ๖.๓ สร้างความร่วมมือกับร้านอาหาร ในการจัดทำร้านอาหารต้นแบบที่มีคุณภาพและถูกหลักโภชนาการ
ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๗ จัดตั้งเป็น “ศูนย์การจัดการฐานทรัพยากรเพื่อความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย” ขึ้นทั้งในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น     ๗.๑ ให้จังหวัดดำเนินการจัดตั้งระบบสารสนเทศการจัดการฐานทรัพยากรเรื่องความมั่นคงทางอาหารในระดับจังหวัด     ๗.๒ ให้ท้องถิ่นทุกแห่งมีระบบสารสนเทศฐานทรัพยากรอาหารในชุมชน     ๗.๓ ส่งเสริมศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)     ๗.๔ ส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    ๗.๕ พัฒนาเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในทุกด้าน (coaching) ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๘ จัดระบบเพื่อรองรับความมั่นคงด้านอาหารในภาวะวิกฤต     ๘.๑ พัฒนาแนวทางและกลไกในการบริหารจัดการความมั่นคงด้านอาหารในภาวะวิกฤติ เช่น ภาวะอุทกภัย ภาวะภัยแล้ง     ๘.๒ วางแผนป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบอาหารและอาหารสัตว์ที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าสูงอย่างเหมาะสม     ๘.๓ มีการจัดการทางด้านสายพันธุ์ด้านพืช สัตว์ ประมง และคลังอาหารชุมชน     ๘.๔ จัดทำธนาคารอาหาร จัดทำโครงการการแปรรูปอาหาร การถนอมอาหาร เพื่อเป็นอาหารสำรองในยามเกิดภัยพิบัติ

ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๙ จัดระบบการสื่อสารสาธารณะทั้งภายในและภายนอกในการรณรงค์และขยายผลความมั่นคงทางอาหาร     ๙.๑ พัฒนาแผนการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผ่านสื่อในทุกช่องทาง     ๙.๒ การให้ความรู้เรื่องความมั่นคงทางอาหาร และการสร้างค่านิยมการบริโภคอาหาร     ๙.๓ สนับสนุนการพัฒนาการจัดทำสื่อและการเผยแพร่โดยชุมชนในทุกรูปแบบ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่