สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

พืชร่วมยาง นราธิวาส

ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าและวางแผนการติดตามสนับสนุนการดำเนินงานเกษตรกรชาวสวนยาง21 มกราคม 2564
21
มกราคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย anat
  • เกษตรกรสวนยางนราธิวาส.docx
  • พืชร่วมยาง จ.นราธิวาส.ppt
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 8 คน ประกอบด้วย ทีมผู้ประสาน 2 คน กยท. 1 คน นักวิชาการ มนร. 1 คน เกษตรและสหกรณ์ 1 คน สภาเกษตร 2 คน โรงพยาบาลรือเสาะ 1 คน

  • เริ่มประชุม 10.00 น. โดย นพ.มาหะมะ เมาะมูลา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรือเสาะ เปิดการประชุม และได้แจ้งเรื่องงานสร้างสุขภาคใต้ที่จะจัดในเดือนพฤษภาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเชิญคณะทำงานในประเด็นพืชร่วมยางมาร่วมด้วย
  • อานัติ หวังกุหลำ ผู้ประสานงาน ชี้แจงวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทุกท่านรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงาน เพื่อช่วยกันกำหนดแผนหนุนเสริมเกษตรกร เก็บข้อมูล ถอดบทเรียน และบทบาทการทำงาน เพื่อหารือความร่วมมือกับทีมสื่อเพื่อสื่อสารกับภายนอก จากนั้นได้นำเสนอความก้าวหน้าของเกษตรกรในการดำเนินงานปลูกพืชร่วมยาง และคุณธนพล ดุลยกุล ผอ.กยท.สาขาเมืองนราธิวาส ช่วยเติมเต็มข้อมูล จากเกษตรกร 10 ราย พบว่า ปัจจุบันได้ปลูกไม้ยืนต้น ไม้แซม ไม้ผล และผักสวนครัวเพิ่มขึ้น 7 ราย ยังไม่ได้ปลูกเพิ่ม 3 ราย นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก 2 ราย พันธุ์ไม้ยืนต้นที่ปลูกเพิ่ม ได้แก่ ตะเคียน ยางนา ตำเสา มะฮอกกานี ไม้แซมยางที่นิยมปลูกคือ กล้วย ไม้ให้ผลที่นิยมปลูก ได้แก่ เงาะ มังคุด ทุเรียน สะตอ สัปปะรด ผักสวนครัว ได้แก่ พริก กระเจี๊ยบ มะเขือ เป็นต้น ซึ่งแต่ละแปลงปลูกไม่เท่ากันแตกต่างไปตามความสนใจและบริบทพื้นที่ ความตั้งใจหรือแผนของเกษตรกรที่จะเริ่มปลูก ได้แก่ ต้นกาแฟ ทุเรียน มังคุด มะม่วง สละพันธุ์สุมาลี และเลี้ยงปลาดุก ปลานิล (รายละเอียดเพิ่มเติมตามเอกสารแนบ)
  • คุณธนพล ได้เล่าสถานการณ์ปัญหาสำคัญของเกษตรชาวสวนยางว่า ตอนนี้ได้เกิดโรคระบาดในสวนยาง ทำให้ต้นยางใบแห้งร่วง ลำต้นไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้น้ำยางลดลง ในจังหวัดนราธิวาสโรคได้ระบาดไปประมาณ ร้อยละ 90 ของสวนยางทั้งหมด ประมาณ 7 แสนกว่าไร่ ซึ่งตอนนี้ยังไม่พบยารักษา ปัญหาอีกอย่างที่ผ่านมาที่ส่งผลต่อการปลูกพืชร่วมยางคือ น้ำท่วมในหลายพื้นที่ บางสวนต้นไม้ที่ปลูกเพิ่มในสวนยางตายหมด จึงต้องวางแผนปลูกใหม่ ในส่วนนี้ทาง กยท.เป็นที่ปรึกษาและหนุนเสริมเกษตรกรชาวสวนยางอย่างต่อเนื่อง
  • ด้านการติดตามเก็บข้อมูล ถอดบทเรียน และร่างโมเดลสวนพืชร่วมที่เหมาะสมของจังหวัดนราธิวาส ผศ.ดร.วุฒิชัย ได้พัฒนาเครื่องมือการเก็บข้อมูลมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะลงพื้นที่เก็บข้อมูลหลังจากนี้
  • ได้หารือกันเบื้องต้นในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบพืชร่วมยาง วนเกษตร ฯ จากแปลงต้นแบบของเกษตรกรที่มีการนำร่องนำรูปแบบไปใช้ เพื่อพัฒนารูปแบบ ฯ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย
  • ประเด็นความร่วมมือกับทีมสื่อเพื่อสื่อสาร ทุนคนในทีมเห็นด้วยว่าควรพาทีมสื่อลงพื้นที่ไปดูที่แปลงและพูดคุยกับเจ้าของสวน โดยทางคุณธนพล กยท. ช่วยคัดเลือกพื้นที่ว่าจะให้สื่อลงพื้นที่ไหน และจะแจ้งให้กับผู้ประสานงานอีกครั้ง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานทุกคนได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงาน ตามรายละเอียดเอกสารแนบ
  • ได้แผนการดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้น ได้แก่ ด้านการสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางปลูกพืชร่วมยางเพิ่มขึ้นเป็นบทบาทหลักของ กยท. ด้านการเก็บข้อมูลสนับสนุนเพื่อตอบตัวชี้วัดโครงการ การออกแบบโมเดลจากแปลงเกษตรของชาวสวนยาง การร่างข้อเสนอ ส่วนนี้อาจารย์วุฒิชัย เป็นผู้รับผิดชอบหลัก  ด้านการจัดเวทีแลกเปลี่ยนหลังจากได้ข้อมูลพื้นที่มาแล้ว เพื่อมาสรุปเป็นโมเดลและข้อเสนอแนะต่อไป  นอกจากนี้ได้แผนงานที่จะให้สื่อลงพื้นที่เพื่อสื่อสารต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่