สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

งานบริหาร โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้

จัดประชุม เตรียมความพร้อมการดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเตรียมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 25621 พฤษภาคม 2562
1
พฤษภาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย วราภรณ์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเตรียมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2562 2.ร่วมพิจารณาการเตรียมความพร้อมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 ประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ : ระบบสุขภาพ - พหุวัฒนธรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมเฟื่องฟ้า ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) นำโดยนายประเวศ  หมีดเส็น ผช.ลธ.ศอ.บต.(สธ.)/ผช.ผตร.12/รอง ผอ.ศบ.สต. จัดประชุมเตรียมความพร้อมการดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเตรียมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 โดยมีนายสุเทพ  วัชรปิยานันทน์  อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นประธานในการประชุมฯ พร้อมด้วยนายวราวุธ  สุรพฤกษ์  อดีตนักวิชาการ ร่วมวิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบงานศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ สสจ. ผู้รับผิดชอบงานพัมนาระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมโรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และผู้แทนจากมูลนิธีสุขภาพภาคใต้ จำนวนร่วม 40 คน เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเตรียมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. การดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1.1 สถานการณ์ปัญหาของประเด็น     จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีพื้นที่การปกครอง 56 อำเภอ 411 ตำบล และ 2,816 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้นจำนวน 3,748,287 คน แบ่งเป็นประชากรที่นับถือศาสนาศาสนาอิสลาม จำนวน 2,871,937 คน (ร้อยละ 76.62) และประชากรที่นับถือพุทธ จำนวน 682,564 คน (ร้อยละ 18.21) อยู่อย่างกระจัดกระจายทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ชนบท มีศาสนสถานทั้งหมดจำนวน 3,400 แห่ง ประกอบด้วย วัด จำนวน 788 แห่ง มัสยิด จำนวน 2,362 แห่ง และสถาบันการศึกษาปอเนาะ จำนวน 229 แห่ง จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษทางสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างจากพื้นที่อื่นของประเทศ เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและนิยมใช้ภาษามาลายูท้องถิ่นในชีวิตประจำวัน จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงมีลักษณะที่มีอัตลักษณ์เฉพาะและมีประวัติศาสตร์ของตนเอง สถานการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2547 ต่อเนื่องเป็นต้นมา ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่โดยรวม ทั้งในด้านความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต รวมถึงระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ที่ไม่อาจหลีกพ้นจากเหตุการณ์และผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการลอบวางเพลิงสถานีอนามัย การลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นกำลังที่สำคัญในการนำการพัฒนาสุขภาพไปสู่ชุมชนก็ได้รับบาดเจ็บและสูญเสียเฉกเช่นเดียวกับชะตากรรมของผู้คนในพื้นที่ ส่งผลให้ระบบบริการสุขภาพซึ่งต้องจัดระบบบริการเพื่อรองรับภาวะวิกฤตที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความแตกต่างกับพื้นที่อื่น โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่มีมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นเป็นพิเศษ มีการดำรงชีวิตตามความเชื่อความศรัทธา ประเพณีและวัฒนธรรมตามวิถีมุสลิมและวิถีพุทธ ซึ่งมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับหลักการตามศาสนาจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เช่น หลักการศาสนาได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการดำรงชีวิตไว้ทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านเศรษฐกิจการเมือง สังคมและสุขภาพ เป็นต้น ดังนั้นวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับหลักการทางศาสนา การนำจุดแข็งที่สำคัญอันนี้สู่การขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นธงนำในการจัดบริการที่ใส่ใจในทุกบริบทของวัฒนธรรมจึงเป็นหลักการสำคัญในการดำเนินงานดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมแห่งนี้ ปัจจุบันสถานบริการสุขภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้บางพื้นที่ได้มีการดำเนินการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปบ้างแล้ว ภายใต้การผลักดันของศูนย์บริการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) เช่น การให้การดูแลหรือตรวจร่างกายผู้ป่วยสตรีชาวมุสลิมที่มีความละเอียดอ่อนต้องมีการปฏิบัติที่จำเพาะเป็นพิเศษ การดูแลอนามัยแม่และเด็ก การดูแลผู้ป่วยขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาลในช่วงเดือนรอมฎอน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย การจัดให้มีนักการศาสนาในโรงพยาบาล การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง                      การเข้าสุนัต การพัฒนาโรงครัวโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย (ฮาลาลและตอยยิบ) การจัดสถานที่สำหรับปฏิบัติศาสนกิจในโรงพยาบาล (ศาลาละหมาดและห้องปฏิบัติธรรม) และยังมีการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน เช่น การส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์ การพัฒนาศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพและศูนย์เรียนรู้ระบบสุขภาพตามวิถีชุมชน เป็นต้น ในการนี้ ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) จึงจัดโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจต่อบุคลากรสาธารณสุขในหลักการและวิถีทางศาสนาต่อการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนที่ถูกต้อง โดยริเริ่มดำเนินการจากโรงพยาบาลนำร่องในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 1 แห่ง ประกอบด้วย 1)โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา 2)โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล 3)โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 4)โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา 5)โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับการจัดบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งมีการถอดบทเรียนขยายแนวทางการปฏิบัติไปสู่โรงพยาบาลอื่นๆในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
1.2 ศักยภาพและการขยายเครือข่าย       ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำเนินการจัดโครงการปรับปรุงและพัฒนาสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อความศรัทธาของประชาชนใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยดำเนินการจัดสถานที่พัฒนาศาลาละหมาดและสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมให้ผ่านมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นสัดส่วนและถูกสุขลักษณะ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับชุมชน รวมทั้งเป็นสถานที่สำหรับการทำกิจกรรมร่วมกันของผู้ให้บริการและผู้มารับบริการ (ศาสนสถาน                มีชีวิต)
ผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมาเกิดสิ่งดีงามมากมายในพื้นที่ เช่น มีพื้นที่กลางในการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และชุมชน เป็นต้น เป็นแหล่งให้ความรู้ทั้งด้านศาสนาและสุขภาพพัฒนาสู่การสร้างสุขภาวะที่ดี ตลอดจนลดช่องว่างระหว่างผู้ให้บริการและประชาชนโดยเน้นความเป็นพหุวัฒนธรรมเพิ่มศักยภาพแก่บุคลากรสาธารณสุขในหลักการและวิถีทางศาสนาต่อการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน (วิถีพุทธเข้าใจมุสลิม วิถีมุสลิมเข้าใจพุทธ) เกิดกิจกรรมการบิณฑบาตบนหอผู้ป่วยร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย มีการเชิญอิหม่าม/ผู้รู้ศาสนามาให้ความรู้และกล่าวดุอาร์บนผู้ป่วย มีกิจกรรมสุนัตหมู่โดยการดำเนินงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและประชาชน เป็นต้น อีกทั้ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) จัดโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจต่อบุคลากรสาธารณสุขในหลักการและวิถีทางศาสนาต่อการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนที่ถูกต้อง โดยริเริ่มดำเนินการจากโรงพยาบาลนำร่องในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 1 แห่ง ประกอบด้วย 1)โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา 2)โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล 3)โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 4)โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา 5)โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับการจัดบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งมีการถอดบทเรียนขยายแนวทางการปฏิบัติไปสู่โรงพยาบาลอื่นๆในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้พัฒนาต่อยอดพื้นที่ต้นแบบเพิ่มขึ้น จังหวัดละ 2 แห่ง โดยให้โรงพยาบาลนำร่อง 5 โรงพยาบาล ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้การสนับสนุนโรงพยาบาลใหม่ที่เข้าร่วมโครงการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย 1)โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงพยาบาลสะบ้าย้อยและโรงพยาบาลจะนะ 2)โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงพยาบาลทุ่งหว้าและโรงพยาบาลควนกาหลง 3)โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงพยาบาลกะพ้อและโรงพยาบาลมายอ 4)โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงพยาบาลกรงปินังและโรงพยาบาลพระยุพราชยะหา และ 5)โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงพยาบาลจะแนะและโรงพยาบาลศรีสาคร 1.3 รูปธรรมพื้นที่ต้นแบบ รวบรวมและวิเคราะห์แนวปฏิบัติในการจัดระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม จากการศึกษาวิจัยของสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) ที่ดำเนินการถอดบทเรียนผ่านการปฏิบัติงานโดยโรงพยาบาลนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 1 แห่ง ประกอบด้วย 1)โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา 2)โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล 3)โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 4)โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา 5)โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 – เดือนมีนาคม 2562 ภายใต้การสนับสนุนการดำเนินงานจากศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (สวสต.) สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) ตามข้อตกลงเลขที่ 60-ข-086 บัดนี้การดำเนินงานโครงการการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เสร็จสิ้นแล้ว ภายใต้กระบวนการถอดบทเรียนผ่านการปฏิบัติงานโดยโรงพยาบาลนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ 2. เตรียมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 2.1 รูปแบบงานสร้างสุขภาคใต้ ปี 2562       - ธีมการจัดงาน : “สานพลังก้าวข้ามขีดจำกัดเพื่อภาคใต้แห่งความสุข” มีโจทย์สำคัญ 5 ข้อหลักในการจัดงาน คือ 1) นำเสนอชุดความรู้ – นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น 2) การสร้าง – พัฒนาศักยภาพ และการขยายกลุ่มเครือข่าย 3) พื้นที่ต้นแบบและการขยายผล 4) การยกระดับเชิงพื้นที่และเชิงนโยบาย และ 5) ก้าวข้ามขีดจำกัดในประเด็นใด อย่างไร
      - รูปแบบการจัดงาน “โชว์ แชร์ เชื่อม” บูรณาการร่วมกันกับการพัฒนาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาธารณะ โดยมีกลุ่มเครือข่ายร่วมจัดงาน
      - ช่วงเวลาจัดงาน ระหว่างวันที่ 5 – 7 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรมนิภาการ์เด้น จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2.2 ประเด็นห้องย่อยในงานสร้างสุข       มีทั้งหมด 12 ห้อง (4 ประเด็นหลัก 12 ประเด็นย่อย) ใช้งบประมาณของ สสส. และ สช. ประเด็นละ 70,000 บาท ให้เครือข่ายได้ขับเคลื่อนกระบวนการในพื้นที่ก่อนวันงาน และนำเสนอชุดความรู้ในวันงาน โดยกระทรวงสาธารณสุข นำโดยนายประเวศ  หมีดเส็น รับผิดชอบห้องย่อยประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ ทั้งนี้ได้มีการหาร่วมแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน โดยมีมติจาการประชุม ดังนี้       - กลุ่มเป้าหมาย : 100 คน ประกอบด้วย ศูนย์เรียนรู้ระบบสุขภาพตามวิถีชุมชนต้นแบบ จำนวน 7 แห่ง, โรงพยาบาลนำร่องโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับพหุวัฒนธรรม ปีงบประมาณ 2561 และ โรงพยาบาลต่อยอดโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับพหุวัฒนธรรม ปีงบประมาณ 2562       - แนวทางการดำเนินงาน : 1) เอกสารทางวิชาการ (จัดกระบวนการในพื้นที่ เพื่อรวบรวมและสังเคราะห์ให้เป็นเอกสารเชิงวิชาการ) และ 2) จัดนิทรรศการ (นำข้อมูลจากเอกสารเชิงวิชาการมานำเสนอผ่านนิทรรศการ)       - การนำเสนอผลงาน 1) การจัดนิทรรศการ ประกอบด้วย 1.1)มัสยิดบ้านเขานา ต.คลองทราย อ.นาทวี จ.สงขลา 1.2) ปอเนาะอะฮ์มาดียะห์บ่อแพ ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา และ 1.3) วัดคงคาสวัสดิ์ ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา 2) นำเสนอผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วย 2.1) มัสยิดอัลฮีดายะห์(บ้านเลสุ) ต.กาลูปัง อ.รามัน จ.ยะลา 2.2) วัดชนาราม ต.ลาโละ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส 2.3) ปอเนาะวาตอนียะห์ ต.ดุซงญอ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส และ 2.4) วัดเกาะสวาด ต.ไพรวัน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ทั้งนี้ ภายหลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการการเขียนบทความเชิงวิชาการ และการประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อเตรียมจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ประจำปี 2562 ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 2 – 3 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมโรงแรมนิภาการ์เด้น จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะนำข้อสรุปจากการประชุมสื่อสารกลับไปยังผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าและแนวทางในการดำเนินงานต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 43 คน จากที่ตั้งไว้ 43 คน
ประกอบด้วย

1.ผู้รับผิดชอบงานศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ สสจ. .ในพื้นที่ จชต. 2.ผู้รับผิดชอบงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ 2561 และ 2562 3.ผู้แทนจากมูลนิธิสุขภาพภาคใต้ 4.คณะผู้จัดการประชุม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี