สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

งานบริหาร โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้

ประชุมวิพากษ์สรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 122 พฤศจิกายน 2561
22
พฤศจิกายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วราภรณ์
circle
วัตถุประสงค์

วิพากษ์สรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมวิพากษ์สรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการหารือแนวทางการดำเนินงาน ร่วมระดมความรู้ และข้อเสนอแนะในการพัฒนางานในระยะต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมวิพากษ์สรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1
ในระหว่างวันที่ 22 - 23 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป
ณ ห้องประชุมโรงแรมวัฒนาวิลเลจ รีสอร์ท อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตามที่ได้มีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานปัญหาและอุปสรรคของโรงพยาบาลภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์อภิปรายผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ขยายผลสู่ชุมชน ตลอดจนวางแผนแนวทางการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2562 เมื่อระหว่างวันที่ 12 – 13 พฤศจิกายน 2561 ณ ณ ห้องประชุม ดีบูดี รีสอร์ท และห้องประชุมโรงพยาบาลยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ผลจากการประชุมฯข้างต้นจึงเป็นที่มาของการประชุมวิพากษ์สรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการหารือแนวทางการดำเนินงาน ร่วมระดมความรู้ และข้อเสนอแนะในการพัฒนางานในระยะต่อไป โดยมีข้อสรุปที่สำคัญในการประชุมดังต่อไปนี้ 1.ผลการประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 1.1โรงพยาบาลเทพา จังหวดสงขลา       โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโรงพยาบาลได้เก็บข้อมูลสถานะสุขภาพของประชากรในพื้นที่อำเภอเทพา พบว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว โรงพยาบาลได้พัฒนาระบบบริการสุขภาพของผู้ป่วยระยะสุดท้าย                ผ่านการจัดอบรมบุคลากร เจ้าหน้าที่ ใช้หลักการศาสนาบูรณาการร่วมกับกระบวนการรักษาทางการแพทย์ “บูรณาการวิถีพุทธและวิถีมุสลิม รุ่นที่ 1” จากผลการดำเนินงาน มีบุคลากรและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการอบรมคิดเป็นร้อยละ 83.5 ผู้เข้าอบรมเข้าใจในหลักการแนวคิดและหลักการศาสนาเพื่อนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รวมทั้งมีความตื่นตัวในการทำงานเชิงรุก นำเอาวิถีชุมชนมาปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วย ทั้งนี้การประเมินผลและติดตามใช้วิธีการถอดบทเรียนผ่านกระบวนการ Care Process ซึ่งระบบการประเมินผลและติดตามแต่เดิมนั้นเน้นการประเมินทางด้านร่างกายซึ่งแตกต่างจากระบวนการ Care Process
                          ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่าบุคลากรยังขาดองค์ความรู้ ขาดประสบการณ์ วิสัยทัศน์ในการมองประเด็นปัญหาที่ไม่ครอบคลุมต้องอาศัยการจัดอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง
      แนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 ดำเนินการรวบรวมข้อมูลปัญหาและอุปสรรคในปีที่ผ่านมาทำเป็นคู่มือการพัฒนาระบบการบริการผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เก็บข้อมูล            เชิงลึกจากผู้ปฏิบัติงาน ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย รวมทั้งวางแนวทางขยายผลการดำเนินงานลงสู่พื้นที่ชุมชน
1.2โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล     โรงพยาบาลสตูลเป็นโรงพยาบาลนำร่องภายใต้โครงการของสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจ.รส.มอ.) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา มีกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รวมทั้งสิ้น 11 โครงการ
      ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา นำแนวคิดและหลักการศาสนามาปรับใช้กับระบบการบริการสุขภาพ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย บุคลากรและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล อาทิ ศาสนาอิสลาม                มีการเปิดเสียงอาซานให้ผู้ป่วยสามารถได้ยินชัดเจนเมื่อถึงเวลาปฏิบัติศาสนกิจ มีห้องละหมาด ในช่วงเดือนรอมฎอนจะมีการบอกเวลาละหมาด/ละศีลอด ขายอาหารซะโฮร์ จัดให้มีอาสาสมัครอ่านยาซีนเพื่อสร้างความสงบและสบายใจให้แก่ผู้ป่วยรวมถึงญาติผู้ป่วย ฯลฯ ในส่วนการดำเนินงานของศาสนาพุทธ ทางโรงพยาบาลได้ทำการนิมนต์พระภิกษุเพื่ออ่านพระสูติให้ผู้ป่วยฟังสร้างความสงบและสบายใจ การตักบาตรในตึกอาคารผู้ป่วยใน เป็นต้น เป็นแนวทางการดำเนินงานที่เน้นรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจควบคู่กับสภาพร่างกาย ในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตทางโรงพยาบาลมีการแจกผ้าขาวห่อศพ ผ้าแพรคลุมศพ ตลอดจนส่งตัวแทนเจ้าหน้าที่เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา            มีชมรมศาสนาพุทธและชมรมศาสนาอิสลามของโรงพยาบาล อำนวยความสะดวกในการประสานงาน
        แนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 ขยายผลการดำเนินงานสู่ชุมชน ดำเนินโครงการอบรมเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลให้มีองค์ความรู้ในการดำเนินงานบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมรุ่นที่ 2 จัดระบบการประเมินผลและตัวชี้วัดของโครงการให้มีรูปแบบที่ชัดเจน จัดทำสื่อสาธารณะประชาสัมพันธ์กิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเข้ามาพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
1.3 โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
      ดำเนินกิจกรรม 1.จัดเวทีชุมชน 2.อบรมหลักธรรม และ 3.Smart Kids ผลการดำเนินงาน ที่ผ่านมา ลงพื้นที่จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ได้ผลสรุป คือ ประชาชนต้องการบริการที่เน้นการดูแลที่เข้าถึงชาวบ้าน เป็นกันเอง ให้เกียรติและมีทัศนคติ การบริการเชิงบวก จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างผู้รับบริการ บุคลากร และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาทิ กิจกรรมการกวนอาซูรอ ซึ่งจัดให้มีการทำร่วมกันทุกปี ในปีนี้จะมีนักศึกษาจากอินโดนีเซียเข้าร่วมการกวนอาซูรอด้วย ด้านการเข้าถึงการบริการ โรงพยาบาลจัดระบบการบริการแบบ One Stop Service โดยมีช่องทางพิเศษเพื่อให้บริการแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการเข้ารับบัตรคิวให้มีช่วงระยะเวลาเพิ่มขึ้น การให้บริการผู้ป่วยดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพของเจ้าหน้าที่ “แนวคิดนางฟ้าพยาบาล” บริการด้วยรอยยิ้ม สวัสดีทักทายให้สลาม บริการดี มีความสุข มีจิตอาสาในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ให้แก่ผู้เข้ารับการบริการ รวมถึงจัดทำช่องทางการสื่อสารความเสี่ยง ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย จัดทำสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ในประเด็นสถานการณ์ระบบสุขภาพในพื้นที่ การแพร่ระบาดของโรค และประเด็นสิ่งแวดล้อมกับระบบสุขภาวะ
      แนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจ จัดเวทีสำรวจความคิดเห็นเพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงาน รับฟังเสียงสะท้อนจากชาวบ้าน ผู้รับบริการ และนำมาปรับปรุงต่อยอดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่พหุวัฒนธรรมอำเภอยะหริ่ง
1.4 โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา
      ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เน้นจัดระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม เชื่อมโยงให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการนำเสนอและกำหนดนโยบายการดำเนินงาน โดยจัดกิจกรรมประชุมคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรมที่ประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ตัวแทนภาคประชาสังคม ตัวแทนภาคการศึกษา และชาวบ้านเข้าร่วม จัดกิจกรรมอำเภอยิ้ม จัดกิจกรรมอบรมและพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กแก้ไขปัญหาพัฒนาการไม่สมวัยซึ่งเป็นปัญหาที่โรงพยาบาลต้องเร่งแก้ไข อบรมและถอดบทเรียนการดูแลสุขภาพเด็กตาดีกา พัฒนาระบบสุขภาวะและพัฒนาการสมวัยตามแนวทางศาสนา “กิน เล่น สอน กวดขัน และปฏิบัติ” ดำเนินการผ่านภาคีเครือข่ายผู้นำศาสนา รวมถึงอบรมผู้ปกครองให้มีความรู้ มีทักษะการดูแลสุขภาพควบคู่กับการนำแนวทางศาสนาเข้ามาปรับใช้              ด้านการเข้าถึงการบริการ พัฒนาระบบทันตสุขภาพ โภชนการ และเสริมความรู้ผู้ปกครอง โดยมีตัวชี้วัดเด็กผ่านเกณฑ์              การพัฒนาสุขภาพร้อยละ 80 ผู้ปกครองมีทัศนคติการดูแลสุขภาพในการดูแลบุตรหลาน มุมมองต่อการดูแลสุขภาพตามหลักการศาสนาเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาวะภายใต้บริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม ในกลุ่มประชากรที่เป็นเยาวชนวัยเรียน ดำเนินงานผ่านคณะกรรมการสภาพหุวัฒนธรรมจัดอบรมความรู้การดูแลสุขภาพ รวมถึงหลักการสร้างครอบครัว สำหรับนักเรียนมัธยมปลายในสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนา และสถานบันการศึกษาปอเนาะ
                ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบปัญหาการเชื่อมโยงการทำงานกับพื้นที่ยังขาดความ ทำให้ผลลัพธ์ยังไม่เกิดเป็นรูปธรรมชัดเจน การติดตามและประเมินผลยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จำเป็นต้องมีระบบการติดตามและประเมินผลเชิงลึกที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
      การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 เติมเต็มการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก จัดระบบการติดตามและประเมินผลเชิงลึกในพื้นที่ โดยเน้นความครอบคลุมและทั่วถึงเป็นสำคัญ จัดระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลตามแผนกต่างๆให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่พหุวัฒนธรรม เพื่ออำนวยความสะดวก และจัดบริการที่สอดคล้องกับหลักการศาสนา
1.5 โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส       ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จัดโครงการอบรมแกนนำบุคลากรสาธารณสุข เพื่ออบรม        สุขภาวะตามแนวทางวิถีมุสลิมและวิถีพุทธ เชิญผู้นำศาสนาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินงาน                การขับเคลื่อนประเด็นอนามัยแม่และเด็ก ANC โครงการอบรมโรงเรียนพ่อแม่เพื่อการดูลูกหลังคลอด โดยการนำวิถีชุมชนแนวทางความเชื่อมาประยุกต์การวิถีทางการแพทย์ อาทิ การดูแลเด็กหลังคลอดของโต๊ะบีแดประยุกต์กับวิธีการทางการแพทย์สมัยใหม่ ประเมินผลด้วยตัวชี้วัดแบบสอบถามสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม ด้านการเข้าถึงบริการ จัดกิจกรรม 3อ2ส เน้นการบริการที่คำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการให้บริการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่ชุมชนเพื่อสร้างต้นแบบสุขภาวะวิถีชุมชน ตลอดจนมีการประเมินภาวะอารมณ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้บริการตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานจนถึงสิ้นสุดการดำเนินงานในแต่ละวัน เพื่อเป็นการนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขกระบวนการให้บริการแก่ประชาชนต่อไป 2.ผลการวิพากษ์ 2.1 ควรมีการพัฒนาระบบการให้บริการเพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว โดยการลดขั้นตอนการให้บริการ เช่น การจัดให้มีบริการแบบ one stop service โดยการอาศัยการช่องทางแงความเป็นพหุวัฒนธรรมเป็นตัวเชื่อมการให้บริการทั้งเชิงรูปธรรมและนามธรรมเชิงประจักษ์ 2.2 ควรพัฒนารูปแบบหรือจัดทำแนวทาง เพื่อให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการ รวมทั้งจัดหาสื่อที่จำเป็น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น ความรู้เรื่องไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ                  ให้เป็นสื่อที่เข้าใจจ่ายและเหมาะสมทุกช่วงวัย
2.3 ปรับปรุงการชี้แจงขั้นตอนการให้บริการในโรงพยาบาล โดยจัดทำขั้นตอนการให้บริการ                ที่ชัดเจน จัดทำป้ายบ่งชี้ห้องต่างๆ ในการให้บริการและมีประชาสัมพันธ์ในโรงพยาบาลในการให้คำแนะนำต่างๆ      แก่ผู้รับบริการ (ภาษามาลายูท้องถิ่น) 2.4 พัฒนารูปแบบการประเมินความพึงพอใจ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและรวดเร็ว โดยจัดสถานที่ในการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ เพื่อให้ผู้รับบริการตอบหลังจากเสร็จสิ้นการรับบริการตรวจสุขภาพ 2.5 มีข้อเสนอแนะให้โรงพยาบาลเครือข่ายจัดกิจกรรมโดยให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของโครงการฯ 2.6 ควรดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน เช่น ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม ฯลฯ เพื่อให้เกิดการบริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้ตรงความต้องการของบริบทในแต่ละพื้นที่
2.7 ควรมีรูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการฯที่เป็นมาตรฐาน และเป็นลายลักษณ์อักษรเชิงวิชาการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 7 คน
ประกอบด้วย
  1. นายสุเทพ  วัชรปิยานันทน์  อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
    1. นายประเวศ  หมีดเส็น  ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12
    2. นางสาววราภรณ์  เส็นสมมาตร  นักวิชาการสาธารณสุข  สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 สงขลา
    3. นายพัสสน  หนูบวช  นักวิชาการคอมพิวเตอร์  ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลา
    4. นายธีรพงศ์  งามพร้อมวงษ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์  ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลา
    5. นางสาวพิชญ์สินี  บุญยอด นักวิชาการสาธารณสุข ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี