สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการถอดบทเรียนการบริการสุขภาพในพหุวัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ถอดบทเรียนการระบบสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรม: ระบบบริการสุขภาพวิถีพุทธ9 พฤษภาคม 2560
9
พฤษภาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Syuwari
circle
วัตถุประสงค์

-

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • สัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลผู้ให้บริการในระบบสุขภาพพยาบาลวิชาชีพ
  • สัมภาษณ์เชิงลึกการจัดบริการสุขภาพวิถีพุทธกับนักวิชาการด้านการพยาบาลพหุวัฒนธรรม
  • สนทนากลุ่มย่อย ผู้รับบริการ ในการจัดบริการสุขภาพวิถีพุทธ
  • สนทนากลุ่มผู้นำศาสนาพุทธ ในการจัดระบบดูแลสุขภาพวิถีพุทธ
  • สัมภาษณ์เชิงลึกการจัดบริการสุขภาพวิถีพุทธในพื้นที่พหุวัฒนธรรมเจ้าหน้าที่วิชาการสาธารณสุข

ระหว่างวันที่ 4 ตค. - 6 พย. 2559

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output)
- เกิดกิจกรรมวงคุยรายบุคลและรายกลุ่ม จำนวน 4 ครั้ง

ผลลัพธ์ (Outcome)
- ข้อมูลการประยุกต์วิถีพุทธในการดูแลสุขภาพระดับ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 1 ชุด เครือข่ายนักปฏิบัติการสุขภาพที่ประยุกต์วิถีพุทธในการดูแลสุขภาพ 1 เครือข่าย สาระสำคัญของการประยุกต์ใช้พบว่า เป็นการใช้ระดับบุคคลที่มีความสนใจ และเชี่ยวชาญเฉพาะ การยกระดับวิถีพุทธเข้าสู่ระบบโรงพยาบาลที่เป็นนโยบายการปฏิบัติยังไม่ชัดเจนและไม่พบแนวปฏิบัติการดูแลวิถีพุทธในระบบสุขภาพ ที่ชัดเจนแต่บุคคลากรและชุมชนพุทธอยากให้นำแนวคิดนี้มาใช้อย่างจริงจังเพื่อส่งเสริมสุขภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการ

ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
- มีพื้นที่ให้บริการที่สนใจพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพที่ประยุกต์วิถีพุทธไปใช้ในระบบสุขภาพ ระดับโรงพยาบาลชุมชน 2 พื้นที่ ระดับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล 2 แห่ง
- บุคคลากรสาธารณสุขอยากให้มีการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมและสมรรถนะการดูแลผู้รับบริการวิถีพุทธ
- พื้นที่นำร่องการขับเคลื่อนระบบสุขภาพพหุวัฒนธรรมระดับต่างๆ อย่างชัดเจนในพื้นที่นำร่อง
- กลุ่มบุคคลทั่วไปบางกลุ่มยังมีความไม่เข้าใจเป้าหมายการขับเคลื่อนของระบบสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมว่าเป็นการเพิ่มอัตลักษณ์ชาวพุทธในพื้นที่อาจถูกหยิบยกเป็นเครื่องมือสร้างความแตกแยกในพื้นที่ จำเป็นต้องมีการรณรงค์สาธารณะทุกภาคส่วนในสังคมให้เข้าใจ
- สมรรถนะภิกษุในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการแพทย์พหุวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพยังไม่มีข้อมูลพื้นฐานที่ชัดเจน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การประสานงานระหว่างทีม สวสต และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ (คณะทำงานจากคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี) ไม่ชัดเจน ในเรื่องความต้องการของแหล่งทุน เป้าหมายการขับเคลื่อนงาน การส่งมอบงานและงบประมาณ ทำให้เกิดการล่าช้า (ประมาณ 4 เดือน) ในการดำเนินงาน ส่งผลให้ไม่สามารถวางแผนงานที่ชัดเจน การเร่งรัดทำงานในช่วงท้ายทำให้ผลงานที่ได้มาจึงขาดความชัดเจน
  • ระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณ
    ดังนั้น การทำงานในระยะต่อไปควรเชิญภาคีที่รับผิดชอบ มาทำควาามเข้าใจเป้าหมายของการขับเคลื่อนงาน ตัวชี้วัด ผลลัพธ์ ผลผลิตที่ต้งอการ รวมไปถึง การจัดการเอกสารการเงิน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • สร้างสื่อรณรงค์สาธารณะเรื่องการแพทย์พหุวัฒนธรรม
  • มีเวทีขับเคลื่อน ให้ประเด็นการแพทย์พหุวัฒนธรรม ในประเด็นพุทธ นี้ไม่นำไปสู่การใช้เพื่อสร้างความแตกแยกในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
  • การยกระดับให้คุณค่า กับพื้นที่รูปธรรมที่ใช้การแพทย์พหุวัฒนธรรมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ที่ประสบความสำเร็จ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • การเตรียมความพร้อมทีมทำงาน ก่อนลบงมือปฏิบัติงาน เนื่องจากคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี เป็นภาคีใหม่