อาสาประชารัฐเรียนรู้สู่ชุมชน บ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

แบบเสนอโครงการ
อาสาประชารัฐเรียนรู้สู่ชุมชน บ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

1. ชื่อโครงการ

อาสาประชารัฐเรียนรู้สู่ชุมชน บ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่านสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาบ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่านนางสาววรรณิดา ชินบุตร59 หมู่ 13 ต.ฝายแก้ว อ.ภูเพียง จ.น่าน 55000วรรณิดา 089-1910821, อริยะ 084-97982181. นายอริยะแสนทวีสุข / สาขา วิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อมรชัยลิ้มทองคำ / สาขา ประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะนุชรสเครือ / สาขา เทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
น่าน ปัว อวน พื้นที่เฉพาะ:พื้นที่สูง

3. รายละเอียดชุมชน

การศึกษาในปัจจุบัน นอกจากการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาที่ทันสมัย สอดคล้อง และทันต่อสถานการณ์ทางธุรกิจในปัจจุบัน และอนาคตแล้วนั้น การที่นักศึกษาจะจบการศึกษา เพื่อเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตามที่สถานประกอบการต้องการนั้น กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ดี มีความสำคัญในการผลิตบัณฑิตเป็นอย่างมาก ซึ่งจากการประเมิลผลความพึงพอใจจากผู้ใช้บัณฑิต ผู้ประกอบการต้องการบัณฑิตที่มีความพร้อมในการทำงานด้านบริหารธุรกิจ คือมีประสบการณ์ในการทำงานพอที่สถานประกอบการไม่ต้องสอนงานมาก สามารถปรับตัวและทำงานได้เลย กล่าวคือ การจัดรูปแบบการเรียนการสอนเฉพาะในห้องเรียน จึงไม่อาจเพียบพอต่อการผลิตบัณฑิตให้ตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงาน ดังนั้น การจัดกิจกรรมเสริมให้ นำความรู้สู้การปฏิบัติจริง สามารถค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคมที่หลากหลาย มีจิตสาธารณะ และใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะฝึกฝนให้รู้จักการกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ปัญหา และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และอนาคต จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้นักศึกษาจบมาเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติบัณฑิต ตามบริบทสังคมในศตวรรษที่ 21ซึ่งได้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา น่าน
ชุมชนบ้านห้วยหาด ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เชิงเขาของยอดดอยภูคา ลักษณะพื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและเนินเขา เฉลี่ยสูงกว่าระดับน้าทะเล 1,500 เมตร มีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2,500 ไร่ เป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย 1,495 ไร่ เป็นป่าชุมชน 756 ไร่ ในอดีตนั้นเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์โดยเป็นฐานที่ตั้งของผู้ก่อการร้ายพรรคคอมมิวนิสต์ (ผกค.) หมู่บ้านห้วยหาด เป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีประชากรเพียง 128 คน 37 ครัวเรือน ช่วงอายุของประชากรส่วนใหญ่ อายุระหว่าง 36-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 40 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ จบประถมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 23.43 การประกอบอาชีพ เกษตรกร ถึง 30 ครัวเรือน คิดเป็นร้อนละ 81.08 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจะเห็นได้ว่า บ้านห้วยหาด เป็นหมู่บ้านที่ห่างไกล ขาดโอกาส และเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา เทคโนโลยี อาชีพ จนถึงรายได้
จากการเริ่มดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี หมู่บ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 ถึง 2562 เป็นต้นมานั้น คณะทำงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ได้เข้าไปช่วยให้ความรู้ให้ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การสร้างเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อสนับสนุนการแปรรูปให้มีความสะดวก สะอาด ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเลี้ยงกบ เพาะเลี้ยงปลามัน เพื่อบริโภคในครัวเรือน จนถึงการแปรรูปกบเพื่อนำไปขายเป็นสินค้าของหมู่บ้าน อีกทั้งยังเข้าไปส่งเสริมและให้ความรู้ด้านการตลาด พร้อมทั้งสนับสนุนและผลักดันการเป็นหมูบ้านท่องเที่ยว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้กำลังดำเนินการไปได้อย่างดี อย่างไรก็ตามแนวปฏิบัติของโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม นั้น จะทำต่อเนื่องในกลุ่มเป้าหมายเดิมเพียง 3 ปี เท่านั้น เพื่อให้การ ดำเนินต่อไปให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น และยังยืน ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ก็คอยผลักดันให้กิจกรรมต่างๆ ดำเนินต่อไป
ดังนั้นทางคณะทำงานจึงได้การดำเนินงานสนับสนุนความยั่งยืน และติดตามความต่อเนื่องของโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ช่วยลดปัญหาด้านความยากจน ความเหลื่อมล้า และปัญหาคุณภาพชีวิต โดยการสร้างหรือนำองค์ความรู้ที่หลากหลายในสถาบันอุดมศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาบูรณาการในการแก้ปัญหา โดยจัดทำโครงการอาสาเรียนรู้สู่ชุมชน บ้านห้วยหาด โดยนำมีการบูรณาการร่วมกันระหว่าง นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน โดยนำศาสตร์ความรู้ทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาที่ตรงต่อความต้องการของชุมชนร่วมกัน อย่างเป็นระบบ ชุมชนได้องค์ความรู้ หรือนวัตกรรม ที่สามารถแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถ พึ่งพาตนเอง และจัดการตนเองได้
1. ชุมชนบ้านห้วยหาด เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เชิงเขาของยอดดอยภูคา ลักษณะพื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและเนินเขา เฉลี่ยสูงกว่าระดับน้าทะเล 1,500 เมตร มีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2,500 ไร่ เป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย 1,495 ไร่ เป็นป่าชุมชน 756 ไร่ มีแหล่งต้นน้ำ และทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ ทิวทัศน์สวยงาม
2. ผู้นำ และชุมชนมีความเข้มเเข็งสามัคคี โดยเฉพาะในด้านการอนุรักษ์ผืนป่า โดยในปี พ.ศ. 2561 หมู่บ้านห้วยหาด ได้รับรางวัลหมู่บ้านลูกโลกสีเขียว ชนะเลิศระดับประเทศด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชน (การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย (ปตท.))
ปัญหาที่สำคัญ คือ
1. ขาดความรู้และประสบการณ์ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน
2. ขาดเครื่องมือ เครื่องจักรที่เหมาะสมในการแปรรูปอาหาร
3. ขาดการบริหารจัดการที่ดี ในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวสและการใช้ประโยชน์จาก ป่าชุมชน
4. การขาดแคลนแหล่งอาหาร ทั้งด้านประมง และปศุสัตว์
1. การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถรองรับมาตราฐาน ด้านการผลิตอาหาร
2. การมีเครื่องมือ เครื่องจักรที่เหมาะสมในการแปรรูปอาหาร
3. แนวทางการบริหารจัดการ ในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวส และการใช้ประโยชน์จาก ป่าชุมชน
4. การสร้างแหล่งอาหารที่เหมาะสม ตามสภาพพื้นที่ ทั้งด้านประมง และปศุสัตว์

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. องค์ความรู้ด้านการแปรรูปอาหาร โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้ต้องมีมาตราฐานเทียบเท่า GHP, อย.
2. องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยการออกแบบและสร้างเครื่องมือ เครื่องจักรที่เหมาะสมในกระบวนการแปรรูปอาหารโดยสอดคล้องกับ ข้อที่ 1
3. องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ ในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวส การบัญชี และการตลาด
4. องค์ความรู้ด้านการสร้างแหล่งอาหารที่เหมาะสม ตามสภาพพื้นที่ เน้นทางด้านประมง โดยต้องเป็นสัตว์ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี หรือเป็นสัตว์ที่มีแหล่งกำเนิดในพื้นถิ่นและการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการบริโภคในพื้นที่

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักศึกษา และคณาจารย์ เกิดการเรียนรู้ โดยการนำความรู้สู้การปฏิบัติจริง สามารถค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคมที่หลากหลาย มีจิตสาธารณะ และใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
  1. ปฏิรูปรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสม กับลักษณะผู้เรียน และบริบทสังคมในศตวรรษที่ 21
  2. สร้างบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานได้จริง มีความสามารถในการค้นคว้าคิด วิเคราะห์ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถออกแบบระบบงาน มีความฉลาดในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่หลากหลายวัฒนธรรม และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอมีความใฝ่รู้ อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีสานึกในความเป็นธรรม และมีจิตสาธารณะ
1.00 1.00
2 เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน ในมิติต่างๆ โดยบูรณาการองค์ความรู้หลากหลายสาขา จากสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาแก้ปัญหา
  1. สามารถแก้ไขปัญหาในมิติต่างๆ ของชุมชนกรณีศึกษาจากการนำองค์ความรู้ที่หลากหลาย ในสถาบันอุดมศึกษา มาบูรณาการ โดยพิจารณาจากดัชนีบ่งชี้ปัญหาของชุมชน ที่ลดลงอันเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนอุดมศึกษาระยะยาว และแผนปฏิรูประบบการอุดมศึกษาของประเทศ
1.00 1.00
3 เพื่อให้ นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชนร่วมกัน ตั้งแต่ ศึกษาปัญหา หาแนวทางแก้ไข ลงมือปฏิบัติ สรุปผลการดำเนินงาน
  1. นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชนร่วมกัน และได้ข้อมูล ปัญหา และอุปสรรค์ ของชุมชน เพื่อนำมาพิจารณา ซึ่งวิธีแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ชุมชนอย่างแท้จริง
1.00 1.00
4 เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ จากการวิจัย และการสร้างนวัตกรรมสังคม เพื่อใช้พัฒนาประเทศ

เกิดผลงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรมสังคมที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติต่อไป

1.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ชุมชน บ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน 128

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 1. วางแผนการดำเนินการ (P)

ชื่อกิจกรรม
1. วางแผนการดำเนินการ (P)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้นักศึกษา และคณาจารย์ เกิดการเรียนรู้ โดยการนำความรู้สู้การปฏิบัติจริง สามารถค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคมที่หลากหลาย มีจิตสาธารณะ และใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
รายละเอียดกิจกรรม
เพื่อให้นักศึกษา และคณาจารย์ เกิดการเรียนรู้ โดยการนำความรู้สู้การปฏิบัติจริง สามารถค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคมที่หลากหลาย มีจิตสาธารณะ และใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 November 2019 ถึง 29 February 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
เพื่อให้ได้งบประมาณและข้อมูล ความร่วมมือจากพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
1. องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
2. องค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดน่าน
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าอาหาร

ค่าอาหาร ผู้เข้าร่วมประชุม (จำนวน 30 คนๆ ละ 15 มื้อๆ ละ 80 บาท)

30 คน 80 15 36,000
ค่าอาหาร

- ค่าอาหารว่าง ผู้เข้าร่วมประชุม (จำนวน 30 คนๆ ละ 30 มื้อๆ ละ 25 บาท)

30 คน 25 30 22,500
รวมค่าใช้จ่าย 58,500

กิจกรรมที่ 2 2. การดำเนินการจัดโครงการ (D)

ชื่อกิจกรรม
2. การดำเนินการจัดโครงการ (D)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้นักศึกษา และคณาจารย์ เกิดการเรียนรู้ โดยการนำความรู้สู้การปฏิบัติจริง สามารถค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคมที่หลากหลาย มีจิตสาธารณะ และใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน ในมิติต่างๆ โดยบูรณาการองค์ความรู้หลากหลายสาขา จากสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาแก้ปัญหา
  3. เพื่อให้ นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชนร่วมกัน ตั้งแต่ ศึกษาปัญหา หาแนวทางแก้ไข ลงมือปฏิบัติ สรุปผลการดำเนินงาน
  4. เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ จากการวิจัย และการสร้างนวัตกรรมสังคม เพื่อใช้พัฒนาประเทศ
รายละเอียดกิจกรรม
1) จัดประชุมร่วมกับชุมชนเป้าหมาย เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
2) ออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลโดยมีหัวข้อต่อไปนี้
- ข้อมูลทั่วไป(ประวัติความเป็นมา ลักษณะภูมิศาสตร์ วิถีชีวิต ประชากรศาสตร์ สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน แผ่นที่หมู่บ้าน)
- ข้อมูลการเมืองการปรกครอง(ผู้นำหมู่บ้าน อดีต-ปัจจุบัน ข้อมูลกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้าน พร้อมด้วยประวัติจัดตั้งกลุ่ม วัตถุประสงค์กลุ่ม วิธีการดำเนินงาน และ SWOT)
- ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ(อาชีพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ข้อมูลแรงงาน รายได้ สวัสดิการภาครัฐ รายจ่ายในครัวเรือน หนี้สิน การชำระหนี้สิน องค์กรการเงินชุมชน)
- ด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในหมู่บ้าน และเทคโนโลยีที่ขาด และจำเป็นต้องพัฒนา
- ปัญหาเร่งด่วนที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน สามารถช่วยเหลือได้
3) ลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยเก็บเป็นรายครัวเรือน และรายกลุ่ม เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลงของชุมชนอย่างแท้จริง
4) วิเคราะห์รวบรวม
5) จัดประชุมเพื่อสรุปผลและยืนยันข้อมูลที่ถูกต้อง ต่อชุมชน
6) นำข้อมูลที่ได้หาปัญหาจากชุมชน เพื่อให้ได้ปัญหาที่แท้จริง และปัญหาเร่งด่วน ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน สามารถช่วยเหลือได้ มาหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน ระหว่าง นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน ดังนี้
- จัดเรียงความสำคัญของปัญหา ความเร่งด่วนของปัญหา ความยากง่ายในการแก้ปัญหา ทรัพยากรที่ใช้แก้ปัญหา เงินทุนที่ใช้แก้ปัญหา ความสามารถของชุมชนในการแก้ปัญหา ภาคีเครือข่ายที่สามารถช่วยแก้ปัญหา
- จัดประชาคม เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน นำศาสตร์ความรู้หลากหลายศาสตร์ จากนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา และภูมิปัญญาชาวบ้าน มาแก้ปัญหา เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุด
- ประสานภาคีเครือข่าย และชุมชน ที่มีความเกี่ยวข้องกันการแก้ปัญหานั้นๆ
- ลงมือปฏิบัติการแก้ปัญหาร่วมกัน
- ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
7) จัดทำรายงานรูปเล่ม และรายงานต่อมหาวิทยาลัยต่อไป
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 March 2020 ถึง 30 June 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ต่อชุมชน
- ได้ข้อมูลเชิงลึกและได้ทราบปัญหาในชุมชนอย่างแท้จริงของหมู่บ้าน จำนวน 1 ชุดข้อมูล
- ได้สรุปกระบวนการแก้ปัญหาแบบบูรณาการหลายศาสตร์ จำนวน 1 ชุดข้อมูล
- ได้มีการเรียนรู้วัฒนธรรม วิธีชีวิต ต่างชุมชน อย่างน้อย จำนวน 3 เรื่อง
- ได้องค์ความรู้ หรือนวัตกรรมใหม่ เพื่อใช้แก้ปัญหาชุมชนอย่างแท้จริง อย่างน้อย จำนวน 2 เรื่อง

ต่อนักศึกษา
1) มีการนำกรณีศึกษาไปบูรณาการกับการเรียนการสอนและงานวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ อย่างน้อย ด้านละ 1 วิชา/เรื่อง โดยมีรายละเอียดดังนี้1) ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จะบูรณาการ การเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการ ในรายวิชา การการฝึกปฏิบัติพื้นฐานทางวิศวกรรม ระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีโรงเรือน การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลศาสตร์ยานยนต์ กลศาสตร์วิศวกรรม การควบคุมอัตโนมัติ วัสดุวิศวกรรม โครงงานทางวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพโดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 5 คน
2) คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ จะบูรณาการ การเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการ ในรายวิชา การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การเงินธุรกิจ หลักการตลาด การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ การบรรจุภัณฑ์ การจัดการห่วงโซ่อุปทานการตลาดสินค้าชุมชน สัมมนาการตลาด การตลาดธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว โดยจะดำเนินกิจกรรมการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนด้วยการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 5 คน
3) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จะบูรณาการ การเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการ ในรายวิชา ทักษะพื้นฐานอุตสาหกรรมเกษตรฝีกงานทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งแห้งบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตร การแปรรูปอาหารเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ทักษะวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โดยจะดำเนินกิจกรรม โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 5 คน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
1. องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
2. องค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดน่าน
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าอาหาร

- ค่าอาหารบุคลากร อาจารย์และนักศึกษา (จำนวน 12 คนๆ ละ 80 มื้อๆ ละ 80 บาท)

12 คน 80 80 76,800
ค่าอาหาร

- ค่าอาหารว่าง บุคลากร อาจารย์และนักศึกษา (จำนวน 12 คนๆ ละ 160 มื้อๆ ละ 25 บาท)

12 คน 25 160 48,000
ค่าที่พักตามจริง

- ค่าที่พักแบบเหมาจ่าย (หัวละ 200/คน 12 คน 80 วัน)

12 คน 200 80 192,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

- ค่าจ้างเหมาทำเครื่องจักร ชุดละ 35,000 จำนวน 1 ชุด

1 ชุด 35,000 1 35,000
ค่าตอบแทนวิทยากร

- ค่าตอบแทนวิทยากร (จำนวน 3 คนๆ ละ 3 วันๆ ละ 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท)

3 คน 3,600 3 32,400
ค่าตอบแทนวิทยากร

- ค่าพาหนะ (ระยะทาง ไป-กลับ 78 ก.ม.ๆ ละ 4 บาท จำนวน 16 เที่ยว)

78 เที่ยว 4 16 4,992
ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า

- ค้าจ้างเหมารถยนต์ วันละ 2,500 จำนวน 3 วัน

1 คน 2,500 3 7,500
รวมค่าใช้จ่าย 396,692

กิจกรรมที่ 3 3. การติดตามประเมินผล (C)

ชื่อกิจกรรม
3. การติดตามประเมินผล (C)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชนร่วมกัน ตั้งแต่ ศึกษาปัญหา หาแนวทางแก้ไข ลงมือปฏิบัติ สรุปผลการดำเนินงาน
  2. เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ จากการวิจัย และการสร้างนวัตกรรมสังคม เพื่อใช้พัฒนาประเทศ
รายละเอียดกิจกรรม
1) ลงพื้นที่เก็บข้อมูล หลังดำเนินงาน และเพื่อให้กิจกรรมมีความต่อเนื่อง และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
2) ตรวจสอบงานว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 July 2020 ถึง 31 July 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
- เป็นการตรวจสอบผลการดำเนินงาน แล้วเสร็จตามแผนงานหรือไม่ คิดเป็นร้อยละเท่าใด
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
1. องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
2. องค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดน่าน
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าวัสดุสำนักงาน

- กระดาษ A4 ดับเบิ้นA รีมละ 120 จำนวน 14 รีม - หมึกปริ้นเตอร์ ชุดละ 3,000 จำนวน 3 ชุด - ถุงดำ ขนาด 30*40 นิ้ว กิโลละ 60 จำนวน 6 กิโล - กระดาษพิมพ์อิงค์เจ็ทโฟโต้ A4 180g(100แผ่น) รีม ละ 280 จำนวน 2 รีม - กล่องพลาสติดใส่ของมีล้อ ใหญ่พิเศษ ใบละ 520 จำนวน 4 ใบ - กระดาษพลิปชาร์ทสีเทา(25แผ่น) ชุดละ 200 จำนวน 3 ชุด - กระดาษโปสเตอร์หน้าเดียวคละสี โหลละ 42*6 โหล - กรรไกร 7 นิ้ว อันละ 34*6 อัน - สติกเกอร์ A4 อิงค์เจ็ทโฟโต้ 115g(50แผ่น) รีมละ 215 * 6 รีม - คัทเตอร์ขนาดเล็ก ตราม้า (ซิลเวอร์) อันละ 28 * 5 อัน - เทปกาว 2 หน้า บาง 3M 1นิ้ว ม้วนละ 52*10 ม้วน - เทปโฟมกาว 2 หน้า 3M 3 เมต ม้วนละ 124*10 ม้วน - แผ่นโฟมอัด 5 มิล แผ่นละ 52*5 แผ่น - แผ่นพลาสติกลูกฟูก 65*122 ซ. 3 ม.ม. แผ่นละ 50*10 แผ่น - แก๊สกระป๋องแพค 3 แพคละ 150 * 10 แพค - ลิ้นชักพลาสติกตั้งพื้น 5 ชั้น ชุดละ 860*2 ชุด - เตาแก๊สกระป๋อง Lucky Flame รุ่น Lf-90s เครื่องละ 900*1 เครื่อง - เทปผ้ากาว 1 นิ้ว ม้วนละ 24*10 ม้วน - ปลั๊กจ่ายไฟ มีฟิวล์ 10 เมตร อันละ 280 จำนวน 4 อัน - ยางลบ ก้อนละ 5 จำนวน 35 ก้อน - ปากกาลูกลื่น แบบกด กล่องละ 251 จำนวน 1 กล่อง - ปากกาไวท์บอร์ด คละสี แท่งละ 18 บาท 12 แท่ง

1 คน 24,808 1 24,808
รวมค่าใช้จ่าย 24,808

กิจกรรมที่ 4 4. การปรับปรุง/พัฒนา/แก้ไขจากผลการติดตาม (A)

ชื่อกิจกรรม
4. การปรับปรุง/พัฒนา/แก้ไขจากผลการติดตาม (A)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชนร่วมกัน ตั้งแต่ ศึกษาปัญหา หาแนวทางแก้ไข ลงมือปฏิบัติ สรุปผลการดำเนินงาน
  2. เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ จากการวิจัย และการสร้างนวัตกรรมสังคม เพื่อใช้พัฒนาประเทศ
รายละเอียดกิจกรรม
1. ตรวจสอบผลการดำเนินการ แล้ววิเคราะห์เพื่อปรับปรุงผลการดำเนินงานตามแผนงานที่ได้ระบุรวมถึงใช้ในการพัฒนางานในขั้นต่อไป
2. มีการนำเสนอ เผยแพร่ผลงานในลักษณะนิทรรศการ ต่อสาธารณะ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 August 2020 ถึง 30 September 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ได้ข้อมูล ปัญหา และอุปสรรค์ ของชุมชน เพื่อนำมาพิจารณา ซึ่งวิธีแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ชุมชนอย่างแท้จริง อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล
2. ได้นำเสนอ และเผยแพร่ผลงานในลักษณะนิทรรศการ ต่อสาธารณะ อย่างน้อย 1 ครั้ง
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
1. องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
2. องค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดน่าน
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

- ค่าจ้างเหมาทำ เอ็กสแตน ชุดละ 1,000 จำนวน 10 ชุด

1 ชุด 1,000 10 10,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

- ค่าจ้างเหมาทำบูธออกงาน ชุดละ 10,000 จำนวน 1 ชุด

1 ชุด 10,000 1 10,000
รวมค่าใช้จ่าย 20,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 37,392.00 20,000.00 382,800.00 59,808.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 7.48% 4.00% 76.56% 11.96% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) 1. สามารถแก้ไขปัญหาในมิติต่างๆ ของชุมชนกรณีศึกษาจากการนำองค์ความรู้ที่หลากหลาย ในสถาบันอุดมศึกษา มาบูรณาการ โดยพิจารณาจากดัชนีบ่งชี้ปัญหาของชุมชน ที่ลดลงอันเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนอุดมศึกษาระยะยาว และแผนปฏิรูประบบการอุดมศึกษาของประเทศ
2. นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชนร่วมกัน
3. เกิดผลงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรมสังคมที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติต่อไป
1. ปฏิรูปรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสม กับลักษณะผู้เรียน และบริบทสังคมในศตวรรษที่ 21
2. สร้างบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานได้จริง มีความสามารถในการค้นคว้าคิด วิเคราะห์ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถออกแบบระบบงาน มีความฉลาดในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่หลากหลายวัฒนธรรม และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอมีความใฝ่รู้ อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีสานึกในความเป็นธรรม และมีจิตสาธารณะ
3. นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชนร่วมกัน
4. เกิดผลงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรมสังคมที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติต่อไป
ผลลัพธ์ (Outcome) 1. มีการแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชน และเรียนรู้ร่วมกันแบบบูรณาการหลายศาสตร์ ระหว่าง นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน อย่างเป็นระบบ
2. ได้ข้อมูล ปัญหา และอุปสรรค์ ของชุมชน เพื่อนำมาพิจารณา ซึ่งวิธีแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ชุมชนอย่างแท้จริง
3. ได้ผลงานวิจัย/โจทย์งานวิจัย/นวัตกรรม ที่สามารถพัฒนา หรือแก้ปัญหาชุมชนได้
1. ได้บัณฑิตตามบริบทสังคมในศตวรรษที่ 21 มีการคิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้าง ทำงานอย่างมีระบบ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่หลากหลายวัฒนธรรม และมีความใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต มีจิตสาธารณะ
2. มีการแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชน และเรียนรู้ร่วมกันแบบบูรณาการหลายศาสตร์ ระหว่าง นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน อย่างเป็นระบบ
3. ได้ผลงานวิจัย/โจทย์งานวิจัย/นวัตกรรม ที่สามารถพัฒนา หรือแก้ปัญหาชุมชนได้
ผลกระทบ (Impact) 1. นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนร่วมกัน ในมิติต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาด้านความยากจน ความเหลื่อมล้า และปัญหาคุณภาพชีวิต โดยการสร้างหรือนำองค์ความรู้ที่หลากหลายในสถาบันอุดมศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาบูรณาการในการแก้ปัญหา โดยสามารถลดปัญหาได้อย่างน้อย 1 เรื่อง
2. ชุมชนได้องค์ความรู้ หรือนวัตกรรม ที่สามารถแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถ พึ่งพาตนเอง และจัดการตนเองได้ อย่างน้อย 1 เรื่อง
1. นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนร่วมกัน ในมิติต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาด้านความยากจน ความเหลื่อมล้า และปัญหาคุณภาพชีวิต โดยการสร้างหรือนำองค์ความรู้ที่หลากหลายในสถาบันอุดมศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาบูรณาการในการแก้ปัญหา โดยสามารถลดปัญหาได้อย่างน้อย 1 เรื่อง
2. เกิดการบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ หรืองานวิจัย อย่างน้อย 2 วิชา
นำเข้าสู่ระบบโดย kwangtong kwangtong เมื่อวันที่ 31 October 2019 17:38 น.