รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม ประเมินผลภายใน การจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม
ภายใต้โครงการ งานประเมินผลภายใน
รหัสโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 105,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสตูล อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี อำเภอธารโต จังหวัดยะลา อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด
งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2563 28 ก.พ. 2564 75,000.00
2 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 30,000.00
รวมงบประมาณ 105,000.00

ข้อมูลในการดำเนินโครงการ

สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

ความมั่นคงด้านสุขภาพเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะ จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีความเป็นพหุสังคม การสร้างความมั่นคงทางสุขภาพจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประยุกต์แนวคิดการแพทย์พหุวัฒนธรรมลงสู่การปฏิบัติ ได้แก่ องค์ความรู้ที่สำคัญ นวตกรรมด้านสุขภาพและสังคม สมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เอื้ออำนวย กระบวนการและเครือข่ายทางสังคม การประเมินผลกระทบช่วยให้เกิดหนุนเสริมเชิงวิชาการ เสริมพลังให้กับผู้ปฏิบัติ และสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายซึ่งช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการนำนโยบายการแพทย์เชิงพหุวัฒนธรรมลงสู่ปฏิบัติ นับตั้งแต่มีการดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมาพบว่า ทุกโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการได้ขับเคลื่อนการแพทย์เชิงพหุวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในภาพรวมส่วนใหญ่มุ่งให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีเจตคติที่ดีต่อการดำเนินงาน เช่น การพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส การพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี หรือ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในพหุวัฒนธรรมของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นต้น ซึ่งในขั้นตอนต่อไปจะต้องขับเคลื่อนการดำเนินงานในหลากหลายมิติให้บรรลุเป้าหมายนำนโยบายการแพทย์เชิงพหุวัฒนธรรมลงสู่ปฏิบัติ ภายใต้ตัวชี้วัด คือ เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาขีดความสามารถของคนและเครือข่าย มีการสร้างสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่เอื้อต่อการดำเนินงาน เกิดกระบวนการชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง เกิดนโยบายสาธารณะ และเกิดคุณค่าทางจิตวิญญาณ เป็นต้น การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจะเป็นปัจจัยหนุนเสริมให้การขับเคลื่่อนบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม

กรอบแนวคิด

กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินผลการนำระบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมไปใช้สร้างเสริมสุขภาพชุมชน

รายงานผลการประเมินจำนวน 2 ครั้ง

0.00
2 เพื่อเสริมพลังผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ

กิจกรรมเยี่ยมนิเทศพื้นที่โครงการจำนวน 5 ครั้ง

0.00
3 เพื่อหนุนเสริมเชิงวิชาการและสร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายการทำงานสร้างเสริมสุขภาพชุมชนในบริบทพหุวัฒนธรรม

เวทีพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้้อย่างน้อย 5 ครั้ง

0.00

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

การดำเนินงาน/กิจกรรม

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
23 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 การกลั่นกรอง (screening) และการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน (scoping) ครั้งที่ 1 ศบสต 5.00 2,000.00 -
23 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 การกลั่นกรอง (screening) และการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน (scoping) ครั้งที่ 2 5.00 9,300.00 -
23 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 การกลั่นกรอง (screening) และการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน (scoping) ครั้งที่ 3 5.00 12,000.00 -
23 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 การกลั่นกรอง (screening) และการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน (scoping) ครั้งที่ 4 5.00 10,500.00 -
23 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 การกลั่นกรอง (screening) และการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน (scoping) ครั้งที่ 5 5.00 11,500.00 -
23 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 การกลั่นกรอง (screening) และการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน (scoping) ครั้งที่ 6 5.00 13,000.00 -
1 ก.ย. 63 - 28 ก.พ. 64 การประเมินผลกระทบ ครั้งที่ 1 (เทพา สตูล) 10.00 16,100.00 -
1 ก.ย. 63 - 28 ก.พ. 64 การประเมินผลกระทบ ครั้งที่ 2 (ยะหริ่ง ธารโต รือเสาะ) 15.00 17,800.00 -
1 มี.ค. 64 - 31 พ.ค. 64 การทบทวนรายงานและผลักดันสู่การตัดสินใจ 30.00 2,800.00 -
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 การติดตามประเมินผล 30.00 10,000.00 -
รวม 115 105,000.00 0 0.00
วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม)

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.บทเรียนรู้เชิงพื้นที่การนำระบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพชุมชน
2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการขยายผลระบบการแพทย์พหุวัฒนธรรม

เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบโดย PPI_Admin PPI_Admin เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 17:18 น.