รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม ประเมินผลภายใน ประเด็นตำบลบูรณาการระบบอาหาร
ภายใต้โครงการ งานประเมินผลภายใน
รหัสโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.ธนเทพ วณิชยากร, ผศ.ดร.ชุมพล แก้วสม, ดร.เกวลิน อังคณานนท์, ดร.อนิรุต หนูปลอด, ผศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และนางสาวอิสรา มิตรช่วยรอด
พี่เลี้ยงโครงการ นายทวีวีตร เครือสาย
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ดำเนินงานใน 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช และนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด
งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2563 28 ก.พ. 2564 84,000.00
2 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 36,000.00
3 0.00
รวมงบประมาณ 120,000.00

ข้อมูลในการดำเนินโครงการ

สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

การเกษตรมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงของเศรษฐกิจในประเทศไทย รวมทั้งยังเป็นวิถีชีวิตของแหล่งภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่สืบต่อมายาวนาน ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยังคงให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ มาประยุกต์ใช้ โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสนับสนุน เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้และพัฒนาภาคการเกษตรให้ยั่งยืน
ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรช่วยกันในการวางแผน อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร สร้างแนวทางที่เหมาะสมด้านความมั่นคงทางอาหารของประชาชน การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment – HIA) เอช ไอ เอ เป็นเครื่องมือการประเมินรูปแบบหนึ่งที่มีความมุ่งหวังเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และเสริมพลังอํานาจของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ทั้งผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการ กลุ่มภาคีเครือข่ายที่ร่วมดําเนินงาน กลุ่มนักวิชาการที่มาช่วยในการขับเคลื่อนงาน เป็นการประเมินแบบมีส่วนร่วมที่ทําให้ทุกฝ่ายร่วมกําหนดทิศทางและเป้าหมายในการขับเคลื่อนงานร่วมกันและใช้ประโยชน์จากการประเมินในการยกระดับหรือเพิ่มผลกระทบทางบวกและปรับปรุงหรือลดผลกระทบทางลบของโครงการ ข้อเสนอแนะจากการประเมินจะถูกใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงโครงการในระยะต่อไป ในขั้นตอนการประเมินจะมีการประยุกต์ใช้แนวทางและเครื่องมือที่หลากหลายร่วมกันในการระบุ คาดการณ์ และพิจารณาถึงผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชน หรือกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การกลั่นกรอง (Screening) 2) การกําหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Scoping) 3) การประเมินผลกระทบ (Assessing) 4) การจัดทาํและทบทวนร่างรายงาน (Reviewing) 5) การผลักดันสู่การตัดสินใจ (Decision making) 6) ขั้นตอนการติดตามและประเมินผล (Monitoring and Evaluation)

กรอบแนวคิด

กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อยกระดับงานด้านความมั่นคงทางอาหารสู่แผนงาน/นโยบาย

เกิดแผนโครงการด้านระบบอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย) ในหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างน้อย 80 โครงการ

0.00

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

การดำเนินงาน/กิจกรรม

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 สร้างความร่วมมือกับท้องถิ่นจังหวัดและกลไกพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อคัดเลือกทีมวิชาการหรือพี่เลี้ยงกองทุนในการพัฒนาแผนงานโครงการบูรณาการระบบอาหาร 100.00 42,000.00 -
1 ส.ค. 63 - 1 ต.ค. 63 พัฒนาศักยภาพการบูรณาการระบบอาหารตำบล ให้กับทีมพี่เลี้ยงและผู้ที่เกี่ยวข้อง 70.00 42,000.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 เม.ย. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินงานตำบลบูรณการระบบอาหารในระดับพื้นที่ 130.00 20,000.00 -
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดเวทีนโยบายประเด็นบูรณาการระบบอาหารระดับภาค โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม วิชาการ เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายระบบอาหารภาคใต้ 130.00 16,000.00 -
รวม 430 120,000.00 0 0.00
วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม)
  1. การกลั่นกรองโครงการและการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน โดยทีมประเมินทบทวนรายละเอียดข้อเสนอโครงการ เป้าหมายวัตถุประสงค์ กิจกรรม ตัวชี้วัด ของโครงการ ฯ เพื่อเป็นข้อมูล input ในการทำ scoping และทบทวนเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดขอบเขตเชิงเนื้อหา จากนั้นประชุมกลุ่มย่อยเพื่อกำหนดขอบเขตการประเมินร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ผู้รับผิดชอบโครงการ
  2. การประเมินผลกระทบ โดยทีมประเมินเก็บรวบรวมข้อมูล ประเมินจากการสังเคราะห์เอกสารการถอดบทเรียน และการประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์
  3. ทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ และผลักดันสู่การตัดสินใจ โดยทีมประเมินเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องของทุกกิจกรรมเข้าร่วมเวทีรับฟังผลการประเมินและร่วมตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูล และให้ความเห็นต่อแนวทางการพัฒนาโครงการในระยะต่อไป และทีมประเมินนำเสนอร่างรายงานเพื่อรับฟังความเห็นและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
  4. การติดตามและประเมินผล โดยทีมประเมินประชุมกลุ่มย่อย/สัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบการสังเกตุในพื้นที่ และตรวจสอบจากเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกิดแผนโครงการด้านระบบอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย) ในหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างน้อย 80 โครงการ

เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบโดย PPI_Admin PPI_Admin เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 17:17 น.