โครงการเมล็ดพันธุ์เพื่อชุมชนและสังคมบ้านไทรขึง ตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

แบบเสนอโครงการ
โครงการเมล็ดพันธุ์เพื่อชุมชนและสังคมบ้านไทรขึง ตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

1. ชื่อโครงการ

โครงการเมล็ดพันธุ์เพื่อชุมชนและสังคมบ้านไทรขึง ตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่องมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีธนาคารเมล็ดพันธุ์ ร้านมากันนะ คณะหน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลจะนะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา วิทยาลัยเทคนิคจะนะบ้านไทรขึง หมู่ที่ 7 ตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลานายณรงค์ฤทธิ์ บุตรมาตาสถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ ตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาโทรศัพท์ 089-8782898 อีเมลล์ narongit.b@psu.ac.thผศ.ดร.จรีรัตน์ รวมเจริญ
นางสาวภาวีนี ไชยภาค
นายณรงค์ฤทธิ์ บุตรมาตา
นางจิตตหรา มุสิการัตน์
นายณรงค์ ประทุมสินธุ์
นางติ๋ว ภูมิพัฒน์
นางมาเรียนา แนกาบาร์
นางมีน๊ะ แฉะ
นายนิเลาะ นิมะ
นายสมศักดิ์ เพชรสีนวล
นางสาวปวีณา บัวหนู

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา จะนะ คลองเปียะ ชนบท

3. รายละเอียดชุมชน

ตำบลคลองเปียะอำเภอจะนะ แบ่งเขตการปกครองในระดับหมู่บ้านเป็น 11 หมู่บ้านซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองเปียะเต็มพื้นที่ทั้ง 11หมู่บ้าน โดยชุมชนบ้านไทรขึงคือหมู่ที่ 7 มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่ม ล้อมรอบด้วยมีสวนยาง นาข้าว และสวนผลไม้ ชาวบ้านมีการปลูกบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น โดยมีครัวเรือนทั้งสิ้น 167 ครัวเรือน มีประชากร 636 คน เป็นเพศชาย 302 คน และเพศหญิง 334 คน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำงานเกษตร ทำนา ทำสวนยาง ค้าขายและรับราชการ หมู่บ้านไทรขึงมีคนที่เป็นมะเร็งกว่า 10 คน เป็นความดัน มากกว่า 100 ครัวเรือน นอกจากนั้นเป็นเบาหวาน โรคไต เส้นเลือดสมองตีบ ซึ่งโรคเหล่านี้แก้ได้ด้วยพฤติกรรมการกิน และเป็นการกินอาหารที่ปลอดภัย แต่เนื่องจากในตลาด ไม่สามารถรู้ได้ 100% ว่าผักปลอดภัยจริง หลายครอบครัวจึงหันมาปลูกเองกินเองมีเหลือก็ขาย และไม่ใช้สารเคมีในการปลูก มีกลุ่มผู้ผลิตผักปลอดสารเคมี ตั้งแต่ต้นทางคือ มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองได้ และแบ่งปันกับคนในชุมชน จนสามารถพึ่งตัวเองได้ในด้านอาหาร มีการบริหารจัดการ ผักเมล็ดพันธุ์ จนสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกได้ด้วย ประชากรส่วนใหญ่ของบ้านไทรขึงจะมีการเก็บเมล็ดพันธุ์ผักไว้ใช้เอง มีการปลูกผักปลอดภัย เพื่อนำมาบริโภคและนำไปขายที่ตลาดนัดควนมิตรเป็นประจำ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนได้เป็นอย่างดี แต่การบริการจัดการยังไม่เป็นระบบและยังขาดองค์ความรู้ในบางประการ จึงจำเป็นที่จะต้องจัดการองค์ความรู้เหล่านี้ เพื่อเก็บเป็ยข้อมูลองค์ความรู้และสามารถเผยแพร่ให้กับชุมชนอื่นๆได้ด้วย อันจะทำให้ชุมชนและสังคมมีความปลอดภัยในเรื่องของอาหารและสามารถอธิบายหลักการสำคัญคือ การกินอย่างรู้ที่มา นั้นเองชุมชนบ้านไทรขึง หมู่ที่7ตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น....647... คน จำนวน167ครัวเรือน มีชาวบ้านปลูกผักไว้รับประทานเองตามบริเวณบ้านและพื้นที่สาธารณต่างๆไม่ต่ำกว่า 50ครัวเรือน และพื้นที่ที่เจ้าของพื่นที่อนุญาตให้ปลูกได้ ส่วนใหญ่จะเป็นผักสวนครัว เช่น พริก มะเขือ หรือ จำพวกผักบุ้ง ผักกินยอดและใบ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งผักที่ปลูกได้จะนำมาบริโภคส่วนที่เหลือจะนำไปขาย มีแปลงที่พร้อมให้เพื่อนไปเรียนรู้ได้ 12 แปลง มีน้ำผักผลไม้ปั่นที่จากแปลงปลูกเองเป็นนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ มีหมู่บ้านใกล้เคียงให้ความสนใจ มีคนต้องการผักปลอดสารเคมีของกลุ่ม อาทิ ร้านอาหารกลุ่มผู้ป่วย ตลอดจนกลุ่มผู้บริโภครักสุขภาพ ชุมชนจึงพัฒนาเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค และเป็นโอกาสให้ผู้ผลิตได้มีรายได้ พึ่งตัวเองได้ ด้วยการขยายแนวคิดการปลูกผักปลอดสารเคมีให้กว้างออกไป โดยให้ผู้ผลิตเก็บเมล็ดพันธุ์เองได้ตั้งแต่ต้นทาง เป็นการลดต้นทุนการผลิต และมีผู้บริโภคเป็นผู้สนับสนุน แบบรับซื้อล่วงหน้า มีการสร้างตลาดอาหารสุขภาพของชุมชน ให้เกิดการแลกเปลี่ยน ซื้อขายกันได้แบบชุมชนร่วมรับรอง ทำให้ผู้บริโภคร่วมเป็นเจ้าของ ผู้ผลิตสามารถพึ่งตัวเองได้ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป้าหมายหรือการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ คือการที่ชุมชนรู้จักการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกวิธี เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ได้ยาวนาน และมีการแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ให้กับคนในชุมชนได้นำไปปลูกต่อ เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ปลอดสารเคมี กระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ คนวัยทำงาน และผู้สูงอายุ กระหนักถึงอันตรายในการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีและหันมาเก็บเมล็ดพันธุ์ผักไว้ปลูกพืชผักปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือน เกิดกลไกการผลิตพืชผักเพื่อปริโภคและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ และพัฒนาไปสู่ความมั่นคงทางด้านอาหารและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนหมู่บ้านไทรขึงมีคนที่เป็น 10 คน เป็นความดัน มากกว่า 100 ครัวเรือน นอกจากนั้นเป็นเบาหวาน โรคไต เส้นเลือดสมองตีบ ซึ่งโรคเหล่านี้แก้ได้ด้วยพฤติกรรมการกิน และเป็นการกินอาหารที่ปลอดภัย แต่เนื่องจากในตลาด ไม่สามารถรู้ได้ 100% ว่าผักปลอดภัยจริง หลายครอบครัวจึงหันมาปลูกเองกินเองมีเหลือก็ขาย และไม่ใช้สารเคมีในการปลูก มีกลุ่มผู้ผลิตผักปลอดสารเคมี ตั้งแต่ต้นทางคือ มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองได้ และแบ่งปันกับคนในชุมชน จนสามารถพึ่งตัวเองได้ในด้านอาหาร มีการบริหารจัดการ ผักเมล็ดพันธุ์ จนสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกได้ด้วยชุมชนบ้านไทรขึง หมู่ที่7 มีความต้องการเป็นพื้นที่ของอาหารปลอดภัย ที่คนทั้งชุมชนหันมาให้ความสำคัญกับการเก็บเมล็ดพันธ์ุ การปลูกผักปลอดภัย การบริโภคและจำหน่ายอาหารปลอดภัย แบบครบวงจร สามารถสร้างกลไลการปลูก แบ่งปัน จำหน่ายให้กับผู้บริโภค ให้ผู้บริโภครู้ว่าพืชผักที่จะบริโภคมาจากที่ใด ใครเป็นคนปลูก ปลูกโดยวิธีใด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และต้องการอนุรักษ์ทรัพยากร พืชพันธ์ุและวิถีชีวิตแบบพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้ด้านการเก็บเมล็ดพันธ์ุพืชผักผลไม้
องค์ความรู้ด้านการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และการทดสอบการงอก
องค์ความรู้ด้านการปลูกพืชผักโดยเมล็ดพันธุ์ชนิดต่างๆและเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต
องค์ความรู้ด้านการพัฒนากลุ่มสมาชิกเพื่อตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเมล็ดพันธุ์

มีงานนำองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดไปใช้ในชีวิตประจำวัน

4.00 1.00
2 เพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิต

ประชาชนมีรายได้จาการจำหน่ายผักผลไม้ปลอดภัย

1000.00 1.00
3 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถในการปรับต้วเข้ากับสังคมและเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ชุมชน

มีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม

8.00 1.00
4 เพื่อนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่มีอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้

จำนวนองค์ความรู้

4.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถในการปรับต้วเข้ากับสังคมและเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน เพื่อตั้งคณะทำงาน และระดมความคิดวางแผนการทำงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 31 มกราคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้คณะทำงานและแผนงานโครงการ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ห้องประชุม
ภาคีร่วมสนับสนุน
สถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าอาหาร 20 คน 180 1 3,600
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 3,500 1 3,500
ค่าเช่ารถ 2 ครั้ง 1,000 1 2,000
ค่าถ่ายเอกสาร 1 ครั้ง 500 1 500
รวมค่าใช้จ่าย 9,600

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 คณะทำงานสำรวจเก็บข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 คณะทำงานสำรวจเก็บข้อมูล
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถในการปรับต้วเข้ากับสังคมและเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
คณะทำงานสำรวจเก็บข้อมูลพื้นฐานชุมชน/ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้ข้อมูลของชุมชนและประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ
ทรัพยากรอื่น ๆ
พื้นที่ชุมชนบ้านไทรขึง
ภาคีร่วมสนับสนุน
ร้านมากันนะ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าอาหาร 10 คน 180 10 18,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน 10 คน 200 10 20,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
ค่าเช่ารถ 2 ครั้ง 1,000 10 20,000
ค่าถ่ายเอกสาร 1 ครั้ง 500 1 500
รวมค่าใช้จ่าย 59,500

กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะทำงานและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถในการปรับต้วเข้ากับสังคมและเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและชุมชนรวมถึงผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ชุมชนได้รู้จักคณะทำงาน ทราบวัตถุประสงค์ของโครงการ และได้คณะทำงานร่วมกับชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ศาลาประชาคม
ภาคีร่วมสนับสนุน
ชุมชนบ้านไทรขึง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าอาหาร 50 คน 180 1 9,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน 1 ครั้ง 500 1 500
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 3,000 1 3,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
ค่าเช่ารถ 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,000 1 1,000
รวมค่าใช้จ่าย 15,500

กิจกรรมที่ 4 ถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ การเก็บเมล็ดพันธุ์

ชื่อกิจกรรม
ถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ การเก็บเมล็ดพันธุ์
วัตถุประสงค์
  1. 1) เพื่อนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเมล็ดพันธุ์
รายละเอียดกิจกรรม
กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ การเก็บเมล็ดพันธุ์จากพืชชนิดต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญด้านเมล็ดพันธ์ุ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้องค์ความรู้ด้านการเก็บเมล็ดพันธุ์จากพืชชนิดต่างๆ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ต้นพืชผักและผลไม้
ภาคีร่วมสนับสนุน
ธนาคารเมล็ดพันธ์ุ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 7,200 1 14,400
ค่าอาหาร 50 คน 180 2 18,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 2 ครั้ง 500 2 2,000
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 1,500 2 3,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 7,000 1 7,000
ค่าเช่ารถ 2 ครั้ง 1,000 1 2,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ครั้ง 40,000 1 40,000
ค่าถ่ายเอกสาร 1 ครั้ง 500 1 500
ค่าตอบแทนการประสานงาน 1 ครั้ง 500 1 500
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,000 1 1,000
รวมค่าใช้จ่าย 88,400

กิจกรรมที่ 5 ถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และการทดสอบการงอก

ชื่อกิจกรรม
ถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และการทดสอบการงอก
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่มีอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้
รายละเอียดกิจกรรม
กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และการทดสอบการงอก เพื่ออธิบายวิธีการรักษาเมล็ดพันธุ์ให้ยาวนานและการนำเมล็ดพันธ์ุต่างๆที่เก็บไว้มาผ่านกระบวนการทดสอบการงอก หาเปอร์เซนต์การงอกของเมล็ดพันธ์ุ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้องค์ความรู้เรื่องการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และการทดสอบการงอก
ทรัพยากรอื่น ๆ
เมล็ดพันธ์ุ
ภาคีร่วมสนับสนุน
ร่านมากันนะและธนาคารเมล็ดพันธ์ุ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 3,600 1 7,200
ค่าอาหาร 50 คน 180 1 9,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 2 คน 1,000 1 2,000
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 3,000 1 3,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 6,000 1 6,000
ค่าเช่ารถ 1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,000 1 1,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ครั้ง 40,000 1 40,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน 1 ครั้ง 500 1 500
ค่าถ่ายเอกสาร 1 ครั้ง 500 1 500
รวมค่าใช้จ่าย 71,200

กิจกรรมที่ 6 ถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการการปลูกพืชผักโดยเมล็ดพันธุ์ชนิดต่างๆ

ชื่อกิจกรรม
ถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการการปลูกพืชผักโดยเมล็ดพันธุ์ชนิดต่างๆ
วัตถุประสงค์
  1. 1) เพื่อนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเมล็ดพันธุ์
รายละเอียดกิจกรรม
กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการการปลูกพืชผักโดยเมล็ดพันธุ์ชนิดต่างๆและเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต โดยการนำเมล็ดพันธ์ุแต่ละชนิดมาทดลองปลูกโดยวิธีต่างๆ เนื่องจาก เมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดมีวธีการปลูกและเติบโตต่างกัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้องค์ความรู้ด้านการปลูกพืชผักโดยเมล็ดพันธุ์ชนิดต่างๆและเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต
ทรัพยากรอื่น ๆ
แปลงปลูกผัก
ภาคีร่วมสนับสนุน
สถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะและร้านมากันนะ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 7,200 1 14,400
ค่าอาหาร 50 คน 180 2 18,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 2 คน 1,000 1 2,000
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 3,000 1 3,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 คน 7,000 1 7,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ครั้ง 40,000 1 40,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,000 1 1,000
ค่าถ่ายเอกสาร 1 คน 500 1 500
ค่าตอบแทนการประสานงาน 1 ครั้ง 500 1 500
ค่าเช่ารถ 1 ครั้ง 2,000 1 2,000
รวมค่าใช้จ่าย 88,400

กิจกรรมที่ 7 ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนากลุ่มสมาชิกเพื่อตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนากลุ่มสมาชิกเพื่อตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิต
รายละเอียดกิจกรรม
กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนากลุ่มสมาชิกเพื่อตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ โดยการสมัครสมาชิกและวางโครงสร้างการบริหารธนาคารเมล็ดพันธุ์เพื่อชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้กลุ่มสมาชิกเพื่อจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธ์ุเพื่อชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ห้องประชุม
ภาคีร่วมสนับสนุน
สถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าอาหาร 50 คน 180 1 9,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน 1 ครั้ง 500 1 500
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 3,000 1 3,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,000 1 1,000
ค่าเช่ารถ 1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
ค่าถ่ายเอกสาร 1 ครั้ง 500 1 500
รวมค่าใช้จ่าย 17,000

กิจกรรมที่ 8 การติดตามการนำองค์ความที่ถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
การติดตามการนำองค์ความที่ถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถในการปรับต้วเข้ากับสังคมและเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
ติดตามการนำองค์ความที่ถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและชุมชน ทุก 2 สัปดาห์ จำนวน 10 ครั้ง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้ข้อมูลการติดตามการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
พื้นที่ในชุมชน
ภาคีร่วมสนับสนุน
ชุมชนบ้านไทรขึง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 1,800 10 18,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน 1 ครั้ง 500 1 500
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,000 1 1,000
ค่าอาหาร 10 คน 180 10 18,000
ค่าเช่ารถ 1 คน 1,000 10 10,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
ค่าถ่ายเอกสาร 1 คน 500 1 500
รวมค่าใช้จ่าย 49,000

กิจกรรมที่ 9 ประชุมประเมินผลการดำเนินและสรุปผลการทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมประเมินผลการดำเนินและสรุปผลการทำงาน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่มีอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้
รายละเอียดกิจกรรม
กิจกรรมประชุมประเมินผลการดำเนินและสรุปผลการทำงานเพื่อพร้อมจัดทำรายงานผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้ผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการเพื่อเก็บรวบรวมจัดทำการรายงานผลการดำเนินงาน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ห้องประชุม
ภาคีร่วมสนับสนุน
สถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 7,200 1 14,400
ค่าตอบแทนการประสานงาน 1 ครั้ง 500 1 500
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,000 1 1,000
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 3,000 1 3,000
ค่าอาหาร 50 คน 180 1 9,000
รางวัลเพื่อการยกย่อง 5 ชิ้น 1,000 1 5,000
ค่าเช่ารถ 1 คน 2,000 1 2,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 5,000 1 5,000
ค่าถ่ายเอกสาร 1 ครั้ง 500 1 500
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 2 คน 1,000 1 2,000
รวมค่าใช้จ่าย 42,400

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 441,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 91,900.00 7,000.00 189,600.00 152,500.00 441,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 20.84% 1.59% 42.99% 34.58% 100.00%

11. งบประมาณ

441,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) ประชาชนในชุมชนได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่างๆที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและในชุมชน มีการสร้างหรือนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่หลากหลายในสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงาน ภายในกระทรวงการอุดมศึกษา ฯ มาบูรณาการในการแก้ปัญหา
ผลลัพธ์ (Outcome) ประชาชนในชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น มีรายได้และคุณภาพชีวิตดีขึ้น นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิดวิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน
ผลกระทบ (Impact) ประชาชนในชุมชนที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ สร้างอาชีพ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในกับตนเองและครอบครัว นักศึกษาได้รับการพัฒนาและสามารถปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ในสังคมและชุมชนได้ ตลอดจนเป็นผู้มีความฉลาดทางความคิด และนำความรู้และประสบการณ์ต่างๆมาใช้เพื่อแก้ปัญหาของตนเอง ชุมชนและสังคมได้
นำเข้าสู่ระบบโดย narongrit.b2529 narongrit.b2529 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 13:30 น.