โครงการพัฒนาคู่มือและปฏิทินการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา

แบบเสนอโครงการ
โครงการพัฒนาคู่มือและปฏิทินการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา

1. ชื่อโครงการ

โครงการพัฒนาคู่มือและปฏิทินการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลามหาวิทยาลัยฟาฏอนีคณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์คณะศิปลศาสตร์และสังคมศาสตร์เทศบาลนครนครยะลาผศ. ดร. อิดริส ดาราไก่มหาวิทยาลัยฟาฏอนีย์ 135/8 ม. 3 ต. เขาตูม อ. ยะรัง จ. ปัตตานี 941600887647690อาจารย์ผู้ร่วมโครงการ
1. อาจารย์ นิอับดุลเลาะนิตยรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาซารีอะฮ์ คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์
2. ดร.มูหะมัด คอยาอาจารย์ประจำสาขาวิชาอิสลามศึกษา คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์
นักศึกษาร่วมโครงการ
1. นายอนิรุธ เชื้อสง่า สาขาวิชาซารีอะฮ์ คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
2. นายซัลมาน หมุดเด็น สาขาวิชาซารีอะฮ์ คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
3. นางสาวอิสเราะ ยูโซ๊ะ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
4. นางสาวซูฮาดาร์ ยามัน สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
5. นางสาวซากีย๊ะฮีรีม สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
6. นางสาวอาลินา กาแว สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
7. นางสาว ฟูดัยละห์ บือราเฮง สาขาวิชาอิสลามศึกษา คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
8. นางสาว รูไวดา หะยีลาเปะ สาขาวิชาอิสลามศึกษา คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
9. นางสาว ซามีเราะห์ หะตีมอ สาขาวิชาอิสลามศึกษา คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
10. นางสาว ศศิธร สาระโสภณ สาขาวิชาอิสลามศึกษา คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ยะลา เมืองยะลา

3. รายละเอียดชุมชน

ยะลา เป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่นับว่าใต้สุดของประเทศไทย เพราะอำเภอเบตงของยะลาเป็นชายแดนใต้สุด ติดต่อกับสหพันธรัฐมาเลเซีย ยะลาเป็นเมืองใหญ่ตัวเมืองโอ่อ่าวางผังเมืองไว้อย่างดีเยี่ยม ถนนหนทางกว้างขวางมีศูนย์ราชกาลอันใหญ่โต และเป็นเมืองแห่งพระพุทธไสยาสน์สมัยศรีวัชัย นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ 1 ใน 3 ของภาคใต้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าเที่ยมเป็นอันมาก เป็นจังหวัดที่ห่างจากกรุงเทพฯ ตามทางรถยนต์ถึง 1,084 กิโลเมตร เศรษฐกิจการค้าขึ้นอยู่กับราคายางพาราเป็นสำคัญ ยะลามีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขาจึงมีฝนตกชุกมาก มีแม่น้ำลำคลองหลายสายที่สำคัญคือ แม่น้ำปัตตานี ซึ่งต้นน้ำเกิดจากป่าเขาในจังหวัดยะลา มีฝนตกถึงปีละประมาณ 9 เดือนมีเนื้อที่ทั้งหมด 4,521 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองยะลา อำเภอเบตง อำเภอบันนังสตา อำเภอรามัน อำเภอยะหา อำเภอธารโต และกิ่งอำเภอกรงปีนัง1. ประวัติความเป็นมา
อำเภอเมืองเป็นอำเภอหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดยะลา มีฐานะเป็นเมืองเรียกว่า “เมืองยะลา”เหตุที่เรียกว่า“เมืองยะลา” เพราะพระยาเมืองคนแรกได้ตั้งที่ทำการขึ้นที่บ้านยะลา คำว่า “ยะลา” เป็นชื่อเรียกสำเนียงภาษามาลายูพื้นเมือง มาจากคำว่า “ยาลอ” แปลว่า “แห” แต่ตามประวัติศาสตร์ซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยเจ็ดหัวเมือง โดยเจ้าผู้ครองเมืองเดิม ได้เขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์เป็นภาษามาลายูว่า “เมืองยะลา” เป็นสำเนียงภาษาอาหรับ โดยชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบริเวณเจ็ดหัว เมือง ซึ่งอยู่ในแหลมมลายูเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองไว้

2. สภาพทั่วไป
ที่ตั้งอำเภอเมืองยะลา ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของศาลากลางจังหวัดยะลา อยู่ห่างจากศาลากลางประมาณ ๑๐๐ เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถไฟ ประมาณ ๑,๐๓๙ กิโลเมตร หรือทางรถยนต์ตามเส้นทางถนนเพชรเกษม (สายเก่า) ประมาณ ๑,๓๙๕ กิโลเมตร เนื้อที่ อำเภอเมืองยะลา มีเนื้อที่ประมาณ๒๖๔.๒๔ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๖๕,๒๒๒ ไร่ ความหนาแน่นของประชากร ๖๑๕.๐๘ คน/ตร.กม. (พื้นที่เทศบาลนครยะลา) สภาพภูมิอากาศ โดยทั่วไป อยู่ในเขตมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อากาศเป็นแบบร้อนชื้น มี ๒ ฤดู คือ ฤดูร้อน และ ฤดูฝน
3. ข้อมูลศักยภาพทางการท่องเที่ยว
3.1 อำเภอเมืองยะลาเป็นแหล่งทางการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่สำคัญ มีการอยู่ร่วมกันอยุ่เป็นพหุสังคม มีความหลายกหลายทางวัฒนธรรมและวิถีความเป็นอยุ่ของประชาชน ซึ่งประกอบไปด้วย คนมุสลิม พุทธ และจีน
3.2 มีผังเมืองที่มีความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย อลังการตระการตาทั่วโลก
3.3 มีแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของศาสนาต่างๆ เช่น มัสยิดกลาง วัด ศาลหลักเมือง หอนาฬิกา และสนามช้างเผือก ฯลฯ
3.4 แหล่งรวมอาหารนานาชนิด
อำเภอเมืองจังหวัดยะลามีอำเภอที่มีศักยภาพพอในการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เนื่องจากมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีการผสมประสานอยู่กลมกลืน ในปัจจุบันการพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองจังหวัดยะลา ยังขาดการประชาสัมพันธ์ การผลิตคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยว และปฏิทินทางวัฒนธรรมที่สำคัญหรือกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างในเขตอำเภอเมืองจังหวัดยะลา การผลิตคู่มือ และปฏิทินทางวัฒนธรรมการท่องเที่ยวเป็นการประชาสัมพันธ์ชุมชนต่างๆ ที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดยะลา ให้แก่นักท่องเที่ยวทราบถึงกิจกรรมทางวัฒนธรรมของชุมชน โดยชุมชนต่างๆ ในเขตอำเภอเมืองจะเป็นผู้กำหนดจุดที่สำคัญทางวัฒนธรรมของชุมชน และเส้นทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ เพื่อเปิดประตูการท่องเที่ยวอย่างมีศักยภาพ เป็นการเพิ่มรายได้ผ่านการท่องเที่ยวให้กับประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลาต่อไป1. กำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมือง จังหวัดยะลา (sightseeing) โดยผลิตเป็นคู่มือและกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยว
2. สร้างเครื่องข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชนในการจัดทำปฏิทินทางวัฒนธรรมของชุมชน ในการบรรจุเป็นกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
3. สร้างภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ โดยแต่ละชุมชนกำหนดการท่องเที่ยวด้วยตนเอง

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

o พัฒนาแนวทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมร่วมกับสถาบันการศึกษา ให้มีความทันสมัย ตรงกับแนวโน้มและความต้องการของภาคธุรกิจ ให้เข้ากับพฤติกรรมลูกค้าและทิศทางของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
o ส่งเสริมให้มีการปรับฐานความรู้ ( Reskill ) สำหรับประชาชนในพื้นที่ เพื่อเข้าสู้ตลาดการท่องเที่ยวอย่างมีศักยภาพ และสนับสนุนให้มีการยกระดับความรู้ ( Upskill) ให้กับประชาชนเขาสู่ตลาดการท่องเที่ยว และต้องการพัฒนาทักษะในด้านบริการสำหรับการท่องเที่ยวแก่ชุมชน
o สนับสนุนผู้ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวสามารถปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งในด้านรูปแบบธุรกิจ ( Business Model ) สมัยใหม่ นวัตกรรมด้านสินค้า การตลาด การบริหารงานภายในองค์กรและการบริการลูกค้า
o สร้างผู้ประกอบการยุคใหม่ให้เป็น Smart Tourism Entrepreneur ที่มีทักษะที่หลากหลาย มีความคิดสร้างสรรค์ มีความยืดหยุ่นและมีความพร้อมต่อนวัตกรรม ทั้งเพื่อการกลับไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน และเพื่อการร่วมกันยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้เป็นผู้นำในระดับโลก

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยละา

ร้อยละ 50 ของชุมชนในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา

10.00 10.00
2 เพื่อผลิตคู่มือและปฏิทินการท่องเทียวเชิงวัฒนธรรม

ร้อยละ 50 ของจำนวนประชากรในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

10.00 10.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1. ประชากรชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา 1,000
2. บุคคลากรทางการสนับสนุนการท่องเที่ยว 50
4. ร้านค้า และร้านอาหาร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะล 100
ู3. ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยง 50

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 สำรวจสภาพชุมชนเข้าร่วมโครงการท่องเที่ยวเขิงวัฒนธรรม

ชื่อกิจกรรม
สำรวจสภาพชุมชนเข้าร่วมโครงการท่องเที่ยวเขิงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยละา
รายละเอียดกิจกรรม
ศึกษาสภาพแวดล้อมของชุมชนที่สามารถส่งเสริมการท่องเทียวเชิงวัฒนธรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ทราบจำนวนชุมชนและสภาพแวดล้อมทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยละา
ทรัพยากรอื่น ๆ
1. เอกสารทางการท่องเที่ยว
2. สภาพแวดล้อมของชุมชน
3. บันทึกในแบบสำรวจ
ภาคีร่วมสนับสนุน
ชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนการประสานงาน 13 คน 1,000 1 13,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 5 เที่ยว 2,000 1 10,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ชุด 5,000 1 5,000
ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน 1,000 1 5,000
อื่น ๆ

เบี้ยเลียงนักศึกษาลงพื้นที่สำรวจ

10 คน 500 5 25,000
รวมค่าใช้จ่าย 58,000

กิจกรรมที่ 2 ระดมความคิดในการกำหนดแนวทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ชื่อกิจกรรม
ระดมความคิดในการกำหนดแนวทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยละา
รายละเอียดกิจกรรม
จัดเวทีระดมความคิดเห็นจากประชาชนในกำหนดแผนกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ทราบแนวทางการพัฒนาการท่องเทียวเชิงวัฒธรรมของชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 10 คน 1,000 2 20,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน 5 ครั้ง 1,000 1 5,000
ค่าเช่าสถานที่ 5 ครั้ง 2,000 5 50,000
ค่าอาหาร 1,200 คน 200 1 240,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 5 ครั้ง 1,000 1 5,000
อื่น ๆ

ค่าจ้างนักศึกษช่วยงาน

10 คน 500 5 25,000
อื่น ๆ

ค่าเชาอุปกรณ์บันทึกภาพและเสียง

1 คน 20,000 1 20,000
รวมค่าใช้จ่าย 365,000

กิจกรรมที่ 3 จัดทำคู่มือและปฏิทินการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ชื่อกิจกรรม
จัดทำคู่มือและปฏิทินการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    สร้างคู่มือ ปฏิทิน และเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ระบุกิจกรรม สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ร้านของที่ระลึก ร้านอาหาร ร้านของฝาก และระบตำแหน่งการเช็คอิน แลนด์มาร์คที่สำคัญทางการท่องเที่ยว หน่วยงานบริการการท่องเที่ยว
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    1 พ.ค. 2563 ถึง
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ได้คู่มือและปฏิทินการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดยะลา
    เทศบาบนครนครยะลา
    องค์กรทางศาสนา
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน 1,000 1 5,000
    อื่น ๆ

    จัดพิมพ์คู่มือและปฏิบินการท่องเที่ยว

    500 ชุด 100 1 50,000
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    ค่าออกแบบคู่มือและปฏิทินการท่องเที่ยว

    1 คน 7,000 1 7,000
    รวมค่าใช้จ่าย 62,000

    กิจกรรมที่ 4 สรุปและนำเสนองานวิจัยสมบูรณ์

    ชื่อกิจกรรม
    สรุปและนำเสนองานวิจัยสมบูรณ์
    วัตถุประสงค์
      รายละเอียดกิจกรรม
      รวมรวมข้อมูลทางเอกสารจัดทำรูปเล่มงานวิจัยสมบูรณ์
      ระยะเวลาดำเนินงาน
      1 สิงหาคม 2563 ถึง
      ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
      ได้งานวิจัยที่สมบูรณ์ในการนำเสนอกับหน่วงงานต้นสังกัด
      ทรัพยากรอื่น ๆ
      ภาคีร่วมสนับสนุน
      รายละเอียดงบประมาณ
      ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
      อื่น ๆ

      จัดพิมพ์วิจัยฉบับสมบูรณ์

      1 ชุด 5,000 1 5,000
      อื่น ๆ

      ค่าตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล

      1 คน 10,000 1 10,000
      รวมค่าใช้จ่าย 15,000

      รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

      ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
      ค่าใช้จ่าย (บาท) 55,000.00 305,000.00 5,000.00 135,000.00 500,000.00
      เปอร์เซ็นต์ (%) 11.00% 61.00% 1.00% 27.00% 100.00%

      11. งบประมาณ

      500,000.00บาท

      12. การติดตามประเมินผล

      ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
      ผลผลิต (Output) ชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นำความรู้ประยุกต์การส่งเสริมชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว
      ผลลัพธ์ (Outcome) สร้างแนวคิดการท่องเทียวอย่างยั่งยืน ศึกษาสภาพชุมชนและเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาชุมชนตนเอง
      ผลกระทบ (Impact) สร้างรายได้จากการท่องเที่ยงให้แก่ชุมชน สร้างแนวคิดการจัดการบริหารการท่องเที่ยวเพื่อก่อให้เกิดรายได้
      นำเข้าสู่ระบบโดย ida_dara ida_dara เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 12:48 น.