โครงการศึกษาเส้นทางกางท่องเที่ยว เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีศึกษาตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

แบบเสนอโครงการ
โครงการศึกษาเส้นทางกางท่องเที่ยว เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีศึกษาตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

1. ชื่อโครงการ

โครงการศึกษาเส้นทางกางท่องเที่ยว เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีศึกษาตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลาผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์อาคารสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ ตำบลคอหงส์ อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ 074-28-9450 – 66เจ้าหน้าที่จากศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม
นักศึกษาจำนวน 10 คน (อยู่ระหว่างการลงเบียนเรียนในรายวิชาในภาคการศึกษาที่ 2)

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา กระแสสินธุ์ เชิงแส

3. รายละเอียดชุมชน

ตำบลเชิงแส ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน มีประชากร 3,087 คน เป็นชาย 1,481 คน เป็นหญิง 1,579 คน 1,036 ครัวเรือน มีลักษณะภูมิประเทศพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีภูเขาเล็กๆ ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลสาบสงขลา คาบสมุทรสทิงพระ มีสภาพภูมิอากาศหลักเอื้อต่อการเกิดฝนตกหนักถึงหนักมากเนื่องจากมีร่องความกดอากาศต่ำ (Low Pressure Trough) หย่อมความกดอากาศต่ำพายุหมุนเขตร้อนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลทำให้มีฝนตกชุกมีฤดูฝนที่ยาวนาน มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยสูง ลักษณะทางสังคมเป็นชุมชนชนบทที่มีผู้สูงอายุและเด็กอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเนื่องจากวัยหนุ่มสาวได้ออกไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา เกษตรผสมผสาน เลี้ยงสัตว์ทำการประมงชายฝั่ง เป็นต้นเป็นตำบลที่มีพื้นที่ทางการเกษตรจำนวนมาก
มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ภูเขา ป่าพรุ สระบัว ทุ่งนา
เป็นชุมชนที่ติดทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำตามธรรมชาติที่สำคัญ
มีลำคลองตามธรรมชาติ
มีพื้นที่ป่าชายเลน เหมาะแก่การทำประมงชายฝั่ง
เป็นแหล่งผลิตทางการเกษตร เช่น การปลูกข้าว ลูกตาลโตนด น้ำผึงร่วงตาลโตนด
มีกลุ่มอาชีพหลากหลาย เช่น กลุ่มเลี้ยงวัว กลุ่มเกษตรทำนา กลุ่มเลี้ยงหมู่ กลุ่มออมทรัพย์
เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง ประชาชนมีความร่วมมือกันในการทำกิจกรรมต่างๆ
แกนนำชุมชนมีความเข้มแข็ง
ยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้องการศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน แต่ละจุดมีความโดดเด่น และสามารถพัฒนา เพื่อให้สามารถยกระดับให้สามารถเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน จัดทำเป็นข้อมูล ประชาสัมพันธ์ต่อบุคคลภายนอก และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนได้

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

เรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
เรื่องระดับคุณภาพชีวิตโดยการท่องเที่ยวโดยชุมชน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนในตำบลเชิงแส

มีข้อมูลเรื่องเส้นทางการท่องเที่ยวในตำบลเชิงแส

70.00 50.00
2 เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน

มีการจัดทำแผนการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ

30.00 20.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนในตำบลเชิงแส
รายละเอียดกิจกรรม
1. ปฐมนิเทศนักศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมในการลงพื้นที่ ได้แก่ เรื่องระบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเรื่องการเก็บข้อมูลเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน (ระยะเวลา 2 วัน)
งบประมาณที่ใช้
- ค่าอาหาร (150 บาท x 50 คน x 2 วัน = 15,000 บาท)
- ค่าตอบแทนวิทยากร 5,000 บาท

2. นักศึกษาลงไปศึกษาการท่องเที่ยวในชุมชน โดยการแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน เพื่อไปศึกษาเส้นทางธรรมชาติแต่ละสายในชุมชน (3 วัน)
งบประมาณที่ใช้
- ค่าอาหาร (150 บาท x 50 คน x 3 วัน = 22,500 บาท)
- ค่าตอบแทนวิทยากร/ไกด์ในชุมชน 10,000 บาท
- ค่าที่พัก (500 บาท x 50 คน x 2 คืน) = 50,000 บาท

3. วิเคราะห์และสรุปข้อมูล โดยเชิญแกนนำชุมชน นักวิชาการ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปข้อมูล เพื่อทำเป็นข้อมูลเรื่องเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงแส (ระยะเวลา 1 วัน)
งบประมาณที่ใช้
- ค่าอาหาร (150 บาท x 50 คน x 2 วัน = 15,000 บาท)
- ค่าอุปกรณ์ 5,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 January 2020 ถึง 28 February 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
output
1. มีข้อมูลเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน
2. นักศึกษาเรียนรู้เรื่องกรจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการวิเคราะห์ข้อมูล
outcome
1. คนในชุมชนสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการจัดการท่องเที่ยวต่อไป
2. คนในชุมชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
เทศบาลตำบลเชิงแส
อำเภอกระแสสินธุ์
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 5 คน 2,000 2 20,000
ค่าเช่ารถ 2 เที่ยว 15,000 2 60,000
ค่าอาหาร 100 ชุด 150 3 45,000
ค่าที่พักตามจริง 50 คน 300 2 30,000
รวมค่าใช้จ่าย 155,000

กิจกรรมที่ 2 เผยแพร่และประชาสัมพันธ์เรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์เรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
1. จัดทำเอกสารเพื่อประชาสัมธ์ในรูปแบบต่าง ได้แก่ แผ้นพับ โปสเตอร์ และไวนิล
โดยให้มอบหมายให้นักศึกษาร่วมกันออกแบบการทำประชาสัมพันธ์และส่งมอบให้กับแกนนำชุมชน
งบประมาณที่ใช้
- ค่าจัดทำสื่อการประชาสัมพันธ์ 30,000 บาท

2. จัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน เพื่อคืนข้อมูลที่จัดทำเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนอและถอดบทเรียนโครงการ
- ค่าเดินทาง 15,000 บาท
- ค่าอาหาร (150 บาท x 50 คน x 1 วัน = 7,500 บาท)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 March 2020 ถึง 30 April 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
output
1. มีสื่อในการประชาสัมพันธ์ในการท่องเที่ยวโดยชุมชน
2. มีแผนการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอก

outcome
1. แกนนำชุมชนมีการประชาสัมพันธ์ให้บุคคล และเกิดการพัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 300 ชิ้น 100 1 30,000
ค่าเช่ารถ 2 เที่ยว 15,000 1 30,000
รวมค่าใช้จ่าย 60,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 215,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 20,000.00 30,000.00 165,000.00 215,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 9.30% 13.95% 76.74% 100.00%

11. งบประมาณ

215,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) 1. ชุมชนมีข้อมูลเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน
2. ชุมชนมีสื่อในการประชาสัมพันธ์ในการท่องเที่ยวโดยชุมชน
1. นักศึกษามีทักษะในการเรียนรู้ชุมชน การวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูล
2. นักศึกษามีทักษะในการออกแบบกิจกรรม/การเรียนรู้ในชุมชน
3. นักศึกษามีความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
4. นักศึกษาเรียนรู้เรื่องการทำงานร่วมกัน
ผลลัพธ์ (Outcome) 1. แกนนำชุมชนมีการประชาสัมพันธ์ให้บุคคล และเกิดการพัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน
2. คนในชุมชนมีความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวโดยชุมชน
1. นักศึกษานำทักษะหรือความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียน การใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมได้
2. นักศึกษามีจิตอาสาในการทำงานเพื่อส่วนร่วมมากขึ้น
ผลกระทบ (Impact) คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริมจัดการท่องโดยชุมชน นักศึกษามีทักษะในการเรียนรู้และสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน
นำเข้าสู่ระบบโดย waeameenoh waeameenoh เมื่อวันที่ 30 October 2019 10:48 น.