นวัตกรรมการเตรียมดินมีชีวิต เพื่อเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรในการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ณ บ้านโคกกลาง ต.จุมจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์

แบบเสนอโครงการ
นวัตกรรมการเตรียมดินมีชีวิต เพื่อเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรในการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ณ บ้านโคกกลาง ต.จุมจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์

1. ชื่อโครงการ

นวัตกรรมการเตรียมดินมีชีวิต เพื่อเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรในการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ณ บ้านโคกกลาง ต.จุมจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร 59/5 หมู่ 1 ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร 47000องค์การบริหารส่วนตำบลจุ่มจังบ้านโคกกลาง หมู่ 6 ต.จุมจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ดร.แพรทองเหลาภาภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร 59/5 หมู่ 1 ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร 47000089-1406143ผศ.ดร.สุภาพกัญญาคำ

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ กุฉินารายณ์ จุมจัง ชนบท

3. รายละเอียดชุมชน

บ้านโคกกลาง หมู่ 6 ต.จุมจัง อ.กุฉินารายณ์ จ. กาฬสินธุ์ เป็นหมู่บ้านที่จัดว่าประชากรมีความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาคุณภาพชีวิตในชุมชนเป็นอย่างมาก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีการใช้ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช และยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้มีต้นทุนในการเพาะปลูกสูง ขายสินค้าเกษตรได้ในราคาถูก ดังนั้นเกษตรกรจึงประสพปัญหาขาดทุนและรายได้จึงต่ำไปด้วย อีกทั้งการใช้สารเคมีและสารเคมีกำจัดยังส่งผลต่อสุขภาพของเกษตรกรอีกด้วย ดังนั้นการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมการเตรียมดินมีชีวิตสารพัดประโยชน์ จะทำให้ประชาชนบ้านโคกกลาง สามารถสร้างดินให้อุดมสมบูรณ์และปุ๋ยด้วยตนเอง จากวัสดุอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ถ่าน น้ำหมักจากขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เพื่อใช้สำหรับการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งน่าจะช่วยลดต้นทุนการเพาะปลูกพืช ลดการใช้สารเคมีที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาคุณภาพชีวิตในชุมชนอย่างยั่งยืนได้วัดป่านาคำมีศักยภาพพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่เกษตรกรได้เกษตรกรในพื้นที่ขาดความรู้ในการทำเกษตรแบบอินทรีย์แบบมั่นคงและยั่งยืน ด้วยการสร้างดินให้อุดมสมบูรณ์และปุ๋ยด้วยตัวเองโดยใช้วัสดุอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ถ่าน น้ำหมักขยะอินทรีย์ในครัวเรือนเกษตรกรต้องการความรู้ในการทำเกษตรแบบอินทรีย์แบบมั่นคงและยั่งยืน ด้วยการสร้างดินให้อุดมสมบูรณ์และปุ๋ยด้วยตัวเองโดยใช้วัสดุอินทรีย์ที่มีในบ้านตนเอง

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากพืชแบบอินทรีย์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนโดยทั่วไปให้ความสำคัญกับสุขภาพของตนเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนความกังวลในเรื่องปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดจากการใช้สารเคมี ส่งผลให้ความนิยมในผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติแบบอินทรีย์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการจะได้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติแบบอินทรีย์นั้น จำเป็นต้องได้จากการทำเกษตรอินทรีย์ การทำเกษตรแบบอินทรีย์ให้ได้รับรองมาตรฐานอนุญาตให้ใช้เฉพาะปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด เท่านั้น ระบบการผลิตพืชปลอดจากการใช้สารเคมีทุกชนิดทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนสังเคราะห์ เป็นต้น รวมถึงมีการจัดพื้นที่ปลูกพืชไม่ให้ปนเปื้อนกับแปลงปลูกพืชแบบเคมี และห่างไกลจากแหล่งมลภาวะ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมหรือถนนหลัก อีกทั้งยังมีการจัดการระบบน้ำและการใช้น้ำที่ไม่ปนกับแหล่งน้ำธรรมชาติที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีและสารต้องห้ามอื่นๆ เป็นต้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทำเกษตรอินทรีย์จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติ อาศัยการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ต่างๆ ได้แก่ จุลินทรีย์ EM สารเร่ง พ.ด. 1 และ 2 จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จุลินทรีย์หน่อกล้วยและจุลินทรีย์จาวปลวก เป็นต้น โดยเฉพาะจุลินทรีย์จาวปลวก และจุลินทรีย์หน่อกล้วย[1,2] มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากจัดว่าเป็นจุลินทรีย์ท้องถิ่นหรือจุลินทรีย์พื้นบ้านที่อยู่ในดินตามธรรมชาติ มีความแข็งแรงทนทาน หาได้ง่ายและราคาถูก
จุลินทรีย์จาวปลวก เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินจาวปลวก ประกอบด้วยแบคทีเรียหลายชนิด อาทิเช่น แบคทีเรียกลุ่ม Bacillus sereus SPt, Bacillus sp. KDT140 และ Serratia marcescens SPt360 แบคทีเรียกลุ่มนี้จะส่งเสริมการเจริญเติบโตพืช และช่วยลดความรุนแรงของโรคที่ระบบรากไม่ว่าจะเป็น โรครากเน่า รากขาว รากปม ทำให้ต้นไม้แคระแกร็น ใบเหลือง ใบร่วง และตาย ดังนั้นจึงมีการนำจุลินทรีย์จากจาวปลวกมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมกันอย่างแพร่หลาย [3-7]
จุลินทรีย์หน่อกล้วยเป็นจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินรอบๆ รากกล้วย ทำให้ดินบริเวณกอกล้วยมีความร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี เมื่อนำมาขยายเชื้อให้มีจำนวนมาก สามารถนำไปใช้ปรับปรุงดินบริเวณอื่นๆ ได้ นอกจากนี้หน่อกล้วยยังมีน้ำยางฝาดหรือสารแทนนินปริมาณมาก เมื่อหมักหน่อกล้วยจะได้ทั้งสารอาหารและแทนนิน ซึ่งสามารถทำให้พืชเจริญเติบโตและควบคุมการเกิดโรคพืชบางอย่างได้ อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ปรับปรุงสภาพน้ำที่เน่าเสียให้ฟื้นสภาพกลับดีได้อีกด้วย
นอกจากการใช้น้ำหมักชีวภาพในการทำเกษตรอินทรีย์แล้วยังมีผู้พยายามพัฒนาวิธีหรือวัสดุอื่นๆ สำหรับปรับปรุงคุณภาพดิน เช่น รศ.อรสา สุกสว่าง ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน [8] มีการประยุกต์ชีวมวลจากกิ่งไม้ให้เป็นไบโอชาร์ แล้วนำไบโอชาร์ไปปรับปรุงคุณภาพดิน ส่งผลทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดี รักษาความชุ่มชื้นได้นาน ซึ่งไบโอชาร์นี้ก็คือ ถ่านกัมมันต์ (Activated Charcoal) คือถ่านที่อยู่ในรูปคาร์บอนอสัณฐาน (Amorphous Carbon) ชนิดหนึ่งที่ผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษโดยผ่านการกระตุ้น (Activation) เพื่อทำให้ถ่านมีความเป็นรูพรุนและมีพื้นที่ผิวที่สูง (~1,000 m2/g) มีความสามารถในการดูดซับสารต่าง ๆได้ดี ถ่านกัมมันต์ประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน เป็นส่วนใหญ่ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 87-97 โดยน้ำหนักและอาจมีองค์ประกอบอื่นอยู่บ้าง เช่น ออกซิเจน ไฮโดรเจน กำมะถัน และไนโตรเจน เป็นต้น แต่ธาตุเหล่านี้รวมกันไม่เกินร้อยละ 20 ขององค์ประกอบทั้งหมด [8-10]
จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้ประดิษฐ์พบว่าการใช้จุลินทรีย์จาวปลวก และจุลินทรีย์หน่อกล้วยร่วมกัน ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “จุลินทรีย์ท้องถิ่นคู่แฝดสารพัดประโยชน์ (Utilizes Twin Local micro-organism)” มีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้เพียงชนิดเดียว [11] และจุลินทรีย์ที่ได้จากน้ำหมักอีเอ็ม หรือ พ.ด. สูตรต่างๆ ในแง่ของความรวดเร็วในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ความคงทนของเชื้อจุลินทรีย์ อินทรียวัตถุที่หมักไม่มีกลิ่นเหม็นรบกวน ทำให้พืชเจริญเติบโตและสามารถควบคุมการเกิดโรคพืชบางอย่างได้ อีกทั้งผู้ประดิษฐ์ยังพบว่าการใช้จุลินทรีย์จาวปลวกและจุลินทรีย์หน่อกล้วยร่วมกันในการหมักดินลูกรังร่วมกับอินทรียวัตถุต่างๆสามารถเปลี่ยนดินลูกรังให้เป็นดินร่วนได้ภายในเวลา 1 เดือน อย่างไรก็ตามจุลินทรีย์จาวปลวกและหน่อกล้วยหรือจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ จะต้องเก็บไว้ในที่เย็นเสมอ เช่น เก็บไว้ใต้ร่มไม้ ไม่ควรถูกแสงแดดเพราะจะส่งผลให้มีความร้อนเกิดขึ้นจุลินทรีย์สามารถตายได้ ดังจะเห็นได้จากการหมักปุ๋ยชีวภาพต่างๆ มักถูกแนะนำให้หมักในถังพลาสติกดำเก็บไว้ในที่ร่ม อีกทั้งจุลินทรีย์ท้องถิ่นคู่แฝดนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ทึบแสง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นอุปสรรคต่อการนำเชื้อจุลินทรีย์ไปใช้งานย่อยสลายอินทรียวัตถุในพื้นที่โล่งแจ้งแดดส่องถึง ดังนั้นผู้ประดิษฐ์จึงคิดค้นหาวิธีเก็บรักษาจุลินทรีย์เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปขยายเชื้อและสะดวกต่อการขนส่ง ดังนั้นผู้ประดิษฐ์จึงมีความสนใจนำถ่านกัมมันต์มาใช้ร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่นคู่แฝดสารพัดประโยชน์ เนื่องจากถ่านกัมมันต์ซึ่งมีรูพรุนสูง เมื่อนำไปปรับปรุงดินแล้วทำให้ดินอุ้มน้ำรักษาความชุ่มชื้นได้ อีกทั้งยังมีสีดำทึบแสงจึงใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นอาหารของจุลินทรีย์จากทั้งสองแหล่งได้อีกด้วย ส่งผลทำให้จุลินทรีย์มีอายุยาวนานมากกว่า 1 ปีในพื้นที่โล่งแจ้งแดดส่องถึง สำหรับเตรียมให้เป็นดินที่มีชีวิต (biooogy soil: bio soil) เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานสามารถนำไปใช้เป็นได้ทั้งปุ๋ยและดิน ในรูปผงหรืออัดเม็ดสำหรับปลูกพืชทุกชนิด และสามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียและขยะมูลฝอยทั้งซากพืชและซากสัตว์ได้ และลดกลิ่นเหม็นอันไม่พึงประสงค์
ดินมีชีวิตหรือไบโอซอยด์ ที่เตรียมได้มีลักษณะผงสีน้ำตาลดำ สามารถอัดเป็นเม็ดได้ มีส่วนผสมของดินหมัก มูลสัตว์ น้ำหมักชีวภาพ ถ่านกัมมันต์ และหัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่นคู่แฝด ดินมีชีวิตที่เตรียมได้มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) 7.7207 ± 0.2381 ค่าการนำไฟฟ้า 0.8123 ± 0.7544 dS/m ซึ่งแสดงว่าไม่เค็ม พืชเจริญเติบโตได้ ความชื้น (water content) 35.90 % อินทรียวัตถุ (Soil Organic Matter) 62.09 % และฟอสฟอรัส 4.57 %
ตัวอย่างการพัฒนาดินลูกรังให้เป็นดินมีชีวิต แล้วนำไปใช้ทำเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่ดินลูกรัง ณ สวนพุทธรรม 180 บ้านโนนเบน ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร ซึ่งเมื่อก่อนไม่สามารถปลูกอะไรได้ ได้ผลดังนี้
1) การนำดินมีชีวิตทดลองปลูกขมิ้นชัน เมื่อนำเหง้าขมิ้นชันที่ปลูกได้อายุ 9 เดือน ตรวจสารออกฤทธิ์สำคัญเคอคูมินอยด์และน้ำมันหอมระเหยตามวิธีมาตรฐานสมุนไพรพบว่ามีปริมาณสูงถึง 55.3453 ± 0.4177 % w/w และ 6.27 ±0.3724 %v/w ตามลำดับ เปรียบเทียบกับเหง้าพันธ์ขมิ้นชันจากบ้านเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่ามีเคอคูมินอยด์ 11.61 ± 0.4715 % w/w และ น้ำมันหอมระเหย 6.10 ± 0.1412 %v/w ซึ่งผลการวิเคราะห์นี้สอดคล้องกับรายงานของ รศ.ดร. วิเชียร กีรตินิจการ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่พบเคอร์คูมินอยด์ 11-12 % w/w ในขมิ้นชันจากแหล่งปลูกนี้ และตั้งชื่อขมิ้นชันสายพันธ์นี้ว่า “แดงสยาม” จากกรณีทดลองปลูกขมิ้นชันสายพันธ์แดงสยามทำให้ผู้ประดิษฐ์เชื่อว่าดินมีชีวิตนี้น่าจะใช้ปลูกพืชสมุนไพรหรือพืชอื่นๆ เพื่อให้มีสารออกฤทธิ์สำคัญตามที่ต้องการได้
2) การใช้ดินมีชีวิตปลูกมะละกอให้ออกผลใน 4 เดือน
4) การใช้ดินมีชีวิตปลูกไผ่ตงลืมแล้ง ข้าวไรเบอรี่ เป็นต้น
จากประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเตรียมดินมีชีวิตสารพัดประโยชน์ดังได้แสดงไว้ข้างต้น ผู้ประดิษฐ์นวัตกรรมจึงสนใจนำกระบวนการเตรียมดินมีชีวิตสารพัดประโยชน์นี้ไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร ต.จุ่มจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ได้เรียนรู้ แล้วสามารถสร้างดินและปุ๋ยด้วยตนเอง นำไปใช้ปลูกพืชเพื่อลดต้นทุนการซื้อ ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง เกษตรกรสามารถปลูกพืชแบบอินทรีย์ได้อย่างมีคุณภาพ ขายสินค้าได้ราคาสูง ไม่เสี่ยงต่อการใช้สารเคมีและได้รับประทานอาหารปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคมะเร็ง เบาหวาน ไขมัน ความดัน ซึ่งจะช่วยลดภาระในด้านสาธารณะสุขแก่ประเทศชาติได้อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง
[1] http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=766813
[2] https://www.youtube.com/watch?v=JC2XkkTk2qw
[3] มะนัดละม้ายศรี,2555, ไผ่ : พืชพลังงานทดแทนไร้ขีดจำกัดคาร์บอน (เพชรดา) มูลค่า 4 แสนล้านบาท, น.สร้างเงินสร้างงาน 8(92): 65-71. ถ่านกัมมันต์ (activated carbon) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำวัตถุดิบธรรมชาติหรืออินทรียวัตถุที่มีคาร์บอนเป็น
[4] https://www.ku.ac.th/e-magazine/jan52/agri/agri2.htm
[5] http://www.thairath.co.th/content/454927
[6] https://www.youtube.com/watch?v=1V1PWGcE9ik
[7] http://www.bansuanporpeang.com/node/28697
[8] https://www.soils.org/files/am/ecosystems/kinght.pdf
[9]Lillo-Rodenas, M.A., Fletcher, A.J., Thomas, K.M., Cazoria-Amoros, D. and linares-Solano, A.(2006). Competitive adsorption of a benzene-toluene mixture on activated carbons at low concentration. Carbon 44:1455-1463.
[10]Qiao, W.M., Korai, Y., Hori, Y. and Maeda, T. (2001). Preparation of an activated carbon artifact: factors influencing strength when using a thermoplastic polymer as binder. Carbon 39(15): 2355-2368.
[11]Hayashi, J., Yamamoto, N. and Horikawa, T.(2005). Preparation and characterization of high specific surface-area activated carbon from K2CO3-treated waste polyurethane. J of Colloid Interface Sci. 281(2): 437-443.
[12]http://www.conference.forest.ku.ac.th/iDocument/FORCON_20160415_210805.pdf
[13] https://www.youtube.com/watch?v=SHJ6CZ6R3k4
[14] https://www.youtube.com/watch?v=t7ETDOtQyRI

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรใน บ้านโคกกลาง ต.จุ่มจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์นารายณ์ได้เรียนรู้กระบวนการเตรียมดินมีชีวิต สามารถสร้างดินและปุ๋ย เพื่อนำไปใช้ทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนผลิต ลดการใช้สารเคมีอันตราย และได้รับประทานอาหารปลอดภัย
  1. เกษตรกรเข้าร่วมการอบรมอย่างน้อย จำนวน 100 คน
  2. เกษตรกรที่เข้าร่วมอบรม อย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถสร้างดินและปุ๋ยด้วยตนเองได้
100.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร เข้าร่วมเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดนวัตกรรมแก่เกษตรกร

จำนวน 8-10 คน

10.00 8.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
หมู่6 ต.จุ่มจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ 100

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเตรียมดินมีชีวิตสารพัดประโยชน์ เพื่อปลูกพืชแบบอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเตรียมดินมีชีวิตสารพัดประโยชน์ เพื่อปลูกพืชแบบอินทรีย์
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้เกษตรกรใน บ้านโคกกลาง ต.จุ่มจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์นารายณ์ได้เรียนรู้กระบวนการเตรียมดินมีชีวิต สามารถสร้างดินและปุ๋ย เพื่อนำไปใช้ทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนผลิต ลดการใช้สารเคมีอันตราย และได้รับประทานอาหารปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการและติดตามการอบรมกระบวนการเตรียมดินมีชีวิตสารพัดประโยชน์ไปใช้เพื่อปลูกพืชแบบอินทรีย์ ที่ วัดป่านาคำ บ้านโคกกลาง หมู่ 6 ต.จุ่มจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์นารายณ์ เป็นเวลา 4 เดือน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต: 1. ประชาชนบ้านโคกกลาง หมู่ 6 ต.จุ่มจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์นารายณ์ เข้าร่วมอบรมอบรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการเตรียมดินมีชีวิตสารพัดประโยชน์
2. นิสิตของวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เข้าร่วมโครงการเป็นผู้ช่วยวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการเตรียมดินมีชีวิตสารพัดประโยชน์
ผลลัพธ์:
1. ประชาชนเข้าร่วมอบรมไม่น้อยกว่า 100 คน
2. ประชาชนที่เข้าร่วมอบรมสามารถสร้างดินและปุ๋ยด้วยตนเองได้อย่างน้อย ร้อยละ 80
3. นิสิตเข้าร่วมไม่น้อยกว่าจำนวน 8 คน
4. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าระดับ 4
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากร (1000บาท x 6 ชั่วโมง x 2 วัน x 5คน)

5 คน 6,000 5 150,000
ค่าเช่ารถ

2500 บาท x วัน

2 เที่ยว 2,500 16 80,000
ค่าเช่าสถานที่

2500 บาท x 2 วัน

1 ครั้ง 2,500 2 5,000
ค่าอาหาร

1. ค่าอาหารกลางวันของผู้รับการอบรมและทีมงาน (150บาท x 115คน x 2 วัน) 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (35บาท x 115คน x 2 มื้อ x 2วัน)

120 คน 185 2 44,400
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

100 คน x 1 ชุด x 1500 บาท

100 ชิ้น 1,500 1 150,000
ค่าที่พักตามจริง

800 บาท x 6 คืน x 10 คน

10 คน 800 6 48,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน

2 คน x 2 วัน x 2000 บาท

2 คน 2,000 2 8,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

10 ชิ้น x 500 บาท

5 ชิ้น 500 1 2,500
ค่าวัสดุสำนักงาน

52 ชิ้น x 50 บาท

52 ชิ้น 50 1 2,600
อื่น ๆ

100 ชุด x 50 บาท

100 ชุด 50 1 5,000
ค่าถ่ายเอกสาร

100 ชุด x 45 บาท

100 ชุด 45 1 4,500
รวมค่าใช้จ่าย 500,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 158,000.00 2,500.00 181,900.00 152,600.00 5,000.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 31.60% 0.50% 36.38% 30.52% 1.00% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) เกษตรกรบ้านโคกกลาง หมู่ 6 ต.จุ่มจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เข้าร่วม 100 คน นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ 8-10 คน สามารถถ่ายทอดนวัตกรรมการเตรียมดินมีชีวิตสารพัดประโยชน์ เพื่อใช้งานด้านเกษตรอินทรีย์ให้แก่ เกษตรกรบ้านโคกกลาง หมู่ 6 ต.จุมจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ได้
ผลลัพธ์ (Outcome) เกษตรกรที่เข้าอบรม อย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถสร้างดินและปุ๋ยด้วยตนเองได้ 8 คน
ผลกระทบ (Impact) เกษตรกรมีความเข้าใจสามารถเอาไปใช้พัฒนาและปรับปรุงดินให้สามารถปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ได้ สามารถลดต้นทุนการเพาะปลูกพืช ลดการใช้สารเคมีที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งจะช่วยทำให้แก้ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาคุณภาพชีวิตในชุมชนในระยะยาวอย่างยั่งยืน นิสิตมีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ ได้ฝึกประสพการณ์การทำงานจริง
นำเข้าสู่ระบบโดย paethong paethong เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 01:51 น.