โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้านชุมชนแบบมีส่วนร่วมกรณี หมู่บ้านโหล่งปง ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

แบบเสนอโครงการ
โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้านชุมชนแบบมีส่วนร่วมกรณี หมู่บ้านโหล่งปง ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

1. ชื่อโครงการ

โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้านชุมชนแบบมีส่วนร่วมกรณี หมู่บ้านโหล่งปง ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา1. มูลนิธินวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย2. สหกรณ์นิคมโหล่งปง3. บริษัทปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร5. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่หมู่บ้านโหล่งปง ตำบลกองแขกอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่นางสาวอัจฉรา จันทร์ผง128 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300โทรศัพท์ : 0 5392 1444 , โทรสาร : 0 5321 3183.1 คณะวิศวกรรมศาสตร์
1. นางสาวอัจฉรา จันทร์ผงตำแหน่ง อาจารย์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
โทรศัพท์ 089-7598846E-mail address : Aut_chara11@hotmail.com
2. นายศรีธร อุปคำ
3. ดร.ภาสวรรธ์ วัชรดำรงค์ศักดิ์
4. ผศ.สมเกียรติ วงษ์พาณิช
5.นายสมาน ดาวเวียงคำ
6.นายจิรศักดิ์ ปัญญา
7. นายกรวัฒน์ วุฒิกิจ
8. นายอนุวัตร ศรีนวล
9. นายทวีศักดิ์ มหาวรรณ์
10. นายกนก ภูคาม
11.นางสาวนิลวรรณ ไชยทนุ
12. นายเฉลิม ยาวิลาศ
13. นางสาวอัจฉรา ไชยยา
7.2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
1. ผศ.ดร.อรุณโสตถิกุล
2. ผศ.ดร.มาลีตั้งระเบียบ
3. ดร.อภิรยา เทพสุคนธ์
4. ผศ.ดร.ชินานาฎ วิทยาประภากร
5. ผศ.ดร.อภิชาติ ชิดบุรี
6. ผศ.ยุทธนา เขาสุเมรุ
7. ผศ.ดร.นิอร โฉมศรี
7.3 คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์
1. ดร.ไพรพันธ์ธนเลิศโศภิต
2. นายสุทัศน์ กุณา
3. นายอนวัช จิตต์ปรารพ

7.4 คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
1. นายภฤศพงศ์ เพชรบุล
2. นางสาวอรนุช คำแปน
3. นายพบสันต์ ติไชย
4. นางสาวจุรีพร เลือกหา
5. นายติร บัวใบ
6. นางสาวภัทราวดี ธงงาม
7. นายภัทรกร ออแก้ว
7.5 วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ
1. นายอลงกต สุคำวัง
2. นางสาวทิพยวรรณ ต้นอ้วน
3. นายธนากร นาเมืองรักษ์

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
เชียงใหม่ แม่แจ่ม

3. รายละเอียดชุมชน

หมู่บ้านโหล่งปงเป็นพื้นที่ในเขตความรับผิดชอบของสหกรณ์นิคมโหล่งปง ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกพืชผักเมืองหนาว เพราะมีสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสม เนื่องจากอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 900 - 1,000 เมตร จึงทำให้มีสภาพอากาศที่เย็นตลอดปีมีพื้นที่รวมกันกว่า 6,000 ไร่ ลักษณะของพื้นที่ไม่ลาดชัน เครื่องจักรสามารถเข้าทำงานได้ในอดีตที่ผ่านมาชุมชนได้ทำการเกษตรแบบใช้สารเคมี โดยมีการใช้สารเคมีหลากหลายชนิดเป็นปริมาณมากอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดอีกทั้งชุมชนยังขาดการจัดการในการบำรุงรักษาดินที่ถูกต้อง จึงเป็นเหตุให้บริเวณพื้นที่ในการทำเกษตรของชุมชนมีสภาพดินเสื่อมโทรม อีกทั้งชุมชนมีวิถีในการทำการเกษตรแบบเน้นการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตในปริมาณมากๆผลผลิตที่ได้จึงเป็นผลผลิตที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีในปริมาณสูง และมีคุณภาพไม่ดี ทั้งนี้เมื่อปริมาณของผลผลิตออกมาพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดสภาวะผลผลิตล้นตลาด นอกจากนี้ชุมชนยังมีการบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการขนส่งที่ไม่ได้มาตรฐาน จึงส่งผลให้ชุมชนมีหนี้สินจากการทำเกษตรในวิธีดังกล่าว ความเป็นอยู่ของชุมชนไม่สามารถยกระดับการครองชีพที่ดีกว่าเดิมได้ อีกทั้งยังส่งผลให้ผู้บริโภคและผู้จัดจำหน่ายในส่วนของการตลาดทั่วไปหรือห้างร้านต่างๆ ซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ที่รับผลผลิตจากชุมชนไปประสบกับปัญหาการปนเปื้อนของสารเคมีปริมาณสูงในผัก และผลไม้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับสุขภาพของตนเอง และให้ความสำคัญในการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้นทำให้เกษตรกรภายในชุมชนหลายครัวเรือนมีความต้องการผลิตผักอินทรีย์ แต่ด้วยพื้นที่มีการใช้สารเคมีเป็นเวลานานทำให้มีความเป็นไปได้ยากที่จะผลิตผักอินทรีย์ กลุ่มสหกรณ์นิคมโหล่งปงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความต้องการของการผลิตผักอินทรีย์ จึงได้ขอคำปรึกษาแก่มูลนิธินวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย (TOF) ในเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน ด้านความปลอดภัยในการบริโภคอาหารด้วยวิธีการลดการใช้สารเคมีที่ใช้ในการผลิตผัก จากนั้นทำให้ชุมชนเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตผัก จากเดิมที่ใช้สารเคมีในการผลิตผักเป็นการผลิตผักปลอดภัยจนกลายเป็นวิถีการผลิตผักของชุมชนเรื่อยมา อย่างไรก็ตามการผลิตผักปลอดภัยนั้นเป็นการผลิตผักที่ไม่ใช้สารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช แต่ไม่ได้เป็นการผลิตที่ปราศจากสารเคมีอย่าง 100% เพราะในขั้นตอนการผลิตนั้นยังมีการใช้ปุ๋ยเคมีอยู่ อีกทั้งยังใช้พืชที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม ในปัจจุบันชุมชนบางรายมีความต้องการผลิตผักอินทรีย์ ซึ่งการผลิตผักอินทรีย์นั้นเป็นวิธีการผลิตผักที่ไม่ใช้สารเคมี 100% ในทุกขั้นตอนการผลิต โดยจะปลูกผักตามฤดูกาลที่เหมาะสมของผักแต่ละชนิด เพื่อให้ผักเจริญงอกงามได้ดีตามธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี และใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมตามธรรมชาติ ไม่ใช่เมล็ดที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม อีกทั้งในกระบวนการขนส่งและจัดจำหน่ายผักอินทรีย์จะต้องมีความสดใหม่และปราศจากสารเคมี ด้วยกระบวนการผลิตที่พิถีพิถันและมีต้นทุนการผลิตสูง จึงเป็นผลให้ราคาของผักอินทรีย์สูงจากพื้นที่ทำเกษตรชุมชนหมู่บ้านโหล่งปงในปัจจุบันมีเกษตรกรบางรายที่มีความสนใจการผลิตผักอินทรีย์ โดยมีการบริหารจัดการรายได้ผ่านสหกรณ์นิคมโหล่งปงในการสร้างเป็นต้นแบบให้ชุมชนหันมาปลูกผักปลอดภัยและผักเกษตรอินทรีย์ ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งมีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความต้องการของชุมชน จึงได้เข้าร่วมรับฟังความต้องการของกลุ่มสหกรณ์นิคมโหล่งปง และมูลนิธินวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย (TOF) ในการสร้างแนวทางการดำเนินงานที่สามารถนำมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นการบริหารจัดการแปลงผักการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรที่ดี และการสร้างโรงเรือนสาธิตเป็นระบบปิดด้วยแผ่นระเหย (Cooling Pad) และระบบอัตโนมัติ ในการควบคุมการบริหารจัดการในแปลงผัก

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

โรงเรือนสาธิตเป็นระบบปิดด้วยแผ่นระเหย (Cooling Pad) และระบบอัตโนมัติ ในการควบคุมการบริหารจัดการในแปลงผัก

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 0.00 บาท

รวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 0.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 100.00%

11. งบประมาณ

300,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) 1)ได้ศูนย์เรียนรู้ด้านเทคโนโลยีต้นกล้าสำหรับโรงเรือน 1 โรงเรือน
2) ขยายกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักได้รับความรู้และความเข้าใจการปลูกผักปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5 ครอบเรือน
4) เกษตรกรมีรายได้เพิ่มจากเดิมคิดเป็นร้อยละ 80 (เมื่อเทียบกับพื้นที่ในการเพาะปลูก 150 ตารางเมตร)
5) ได้ภาคีเครือข่ายที่ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกของมหาวิทยาลัย
ไม่น้อยกว่า 5 แห่ง
นักศึกษามีความรู้ความสามารถและมีทักษะในเชิงวิชาการและการปฏิบัติ
ผลลัพธ์ (Outcome) 1) เกษตรกรมีความสนใจในการเปลี่ยนการใช้สารเคมีมาเป็นการปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์(ระบบปิด)
2) ลดปริมาณการใช้สารเคมีมาเป็นการปลูกผักปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 50 ไร่ต่อปี
3) กลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพิ่มจากการจำหน่ายผักมากขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 80 ราคาหน้าแปลงเพาะปลูก(เดิมราคา 8 บาท/กก. ปลุกผักอินทรีย์ 40 บาท/กก.)
4) สามารถบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยวให้มีการยืดอายุและคงคุณภาพของผัก
5) ได้บูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอน และการวิจัยของมหาวิทยาลัย
-สามารถบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอน ไม่น้อยกว่า 2 วิชา
-การวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ ไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง
6) สร้างภาคีเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกของมหาวิทยาลัย
การบูรณาการด้านการเรียนการสอน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ตนในชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
ผลกระทบ (Impact) 1) เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาวิจัยศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีโรงเรือนระบบปิด
2) เกิดผู้รู้ในชุมชนเพื่อเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกผักแบบปลอดภัยและผักอินทรีย์ให้กับเกษตรกรรายใหม่ๆได้
3) สามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกเพื่อยกระดับด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่หมู่บ้านโหล่งปงให้ดีขึ้น
4) ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ชาวบ้านโหลงปงสร้างมูลค่าเพิ่มจากการปลูกผัก ลดปริมาณการใช้สารเคมี
การพัฒนากำลังคนฐานรากทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษาในการสร้างองค์ความรู้ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สอดคล้องตามปรัชญามหาวิทยาลัย ในการเป็น “มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อชุมชน” และการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายรัฐบาล
นำเข้าสู่ระบบโดย kriengkrai sriprasert kriengkrai sriprasert เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 01:19 น.