โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนด้วยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร บ้านแม่แวน หมู่ที่ 5 ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

แบบเสนอโครงการ
โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนด้วยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร บ้านแม่แวน หมู่ที่ 5 ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

1. ชื่อโครงการ

โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนด้วยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร บ้านแม่แวน หมู่ที่ 5 ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาบ้านแม่แวน หมู่ที่ 5 ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ผศ.ดร.พินิจ เนื่องภิรมย์128 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300E-mail: hs5qab@hotmail.com โทรศัพท์ 089 55522662.1 ดร.ปริดา จิ๋วปัญญา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ตาก
2.2 ดร.ไกรลาศ ดอนชัย สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์
2.3 ดร.ศิรประภา ชัยเนตร สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์
2.4 อ.สุพจน์ ใหม่กันทะ สาขาการออกแบบสิ่งพิมพ์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
เชียงใหม่ พร้าว แม่แวน

3. รายละเอียดชุมชน

ต.แม่แวนเป็นชื่อที่ถูกเรียกขานตามชื่อของลำน้ำแม่แวน ลำน้ำแม่แวนมีกำเนิดมาจากดอยขุนแจ๋ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ไหลหล่อเลี้ยง เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ใช้อุปโภคบริโภค และไหลลงสู่แม่น้ำงัด ในบริเวณพื้นที่หมู่ที่ 6ตำบลแม่แวนประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านล้อง หมู่ที่ 2 บ้านแม่เหียะ หมู่ที่ 3 บ้านเหล่า หมู่ที่ 4 บ้านป่าแขมหมู่ที่ 5 บ้านแม่แวน หมู่ที่ 6 บ้านหนองบัว หมู่ที่ 7 บ้านแม่พวก หมู่ที่ 8 บ้านดอยขุนแจ๋ หมู่ที่ 9 บ้านไชยงาม หมู่ที่ 10 บ้านสหกรณ์ร่มเกล้า หมู่ที่ 11 บ้านสามลี่ มีเนื้อรวมทั้งตำบลประมาณ 180.03 ตร.กม. หรือประมาณ 112,524 ไร่ ทิศเหนือ ติดกับ ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ทิศใต้ ติดกับ ต.แม่ปั้ว อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ป่างิ้ว อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และทิศตะวันตก ติดกับ ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ประชากรในตำบลบางส่วนเป็นคนพื้นเพเดิม อีกบางส่วนย้ายถิ่นฐานมาจาก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ พื้นที่การปกครองของ ต.แม่แวน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. พื้นที่ราบลุ่ม (คนพื้นเมือง) 2. พื้นที่สูง (ซึ่งประกอบไปด้วยชนชาวเขา เผ่าลีซู อาข่า กะเหรี่ยง มูเซอ) ได้แก่ หมู่ที่ 8 บ้านขุนแจ๋ และบ้านสามลี่ หมู่ที่ 11
จากการลงพื้นที่สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชม พบว่า ในพื้นที่ของหมู่บ้านแม่แวน หมู่ที่ 5 ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพหลัก ได้แก่ การทำนา ทำสวน ได้แก่ มะม่วง ลำใย กระท้อน ลิ้นจี่ ขนุน มะขาม และผักต่างๆ การทำไร่ ได้แก่ ยาสูบ ข้าวโพด มัน ถั่ว พริก อ้อย ข่า การเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร ไก่ กบ และ ปลา ส่วนอาชีพเสริม ได้แก่ การค้าขาย เช่น ของชำ อาหาร พืชไร่ พืชสวน อาชีพรับจ้าง เช่น งานก่อสร้าง งานรับจ้างทั่วไป นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาชีพต่างๆที่เกิดขึ้น เช่นกลุ่มอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า และ กลุ่มอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์ แต่จากการสอบถามกลุ่มเกษตรกรผู้นำในชุมชน นายสถาพร คิดไชย ผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ไร่นาแบบสวนผสม บนพื้นที่กว่า 13 ไร่ 2 งาน สำหรับเปิดโอกาสให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และพัฒนาทักษะฝีมือ ของชาวบ้านในชุมชน ให้มีความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร พบว่าจากผลของการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ และสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านในชุมชน ยังพบปัญหา และจุดที่ต้องการการพัฒนาอีกหลายด้านดังนี้ 1) การกำจัดเศษวัชพืชในบ่อปลา จำพวกผักตบชวา หรือใบไม้ชนิดต่างๆ ที่มีการร่วงหล่นภายในสวน ก่อให้เกิดเป็นเศษขยะ ซึ่งต้องใช้เวลาในการเก็บกวาดต่อวันหลายชั่วโมง และการแก้ปัญหาในการนำใบไม้ไปเป็นปุ๋ย ก็ไม่สามารถกระทำได้ทุกวัน ตามปริมาณของเศษใบไม้ที่เกิดขึ้นต่อวัน จึงมีความต้องการที่จะสร้างผลประโยชน์จากใบไม้และวัชพืชเหล่านั้น 2) การนำใบไม้ ใบตอง หรือผักตบชวา ฯลฯ มาแปรรูป จำเป็นต้องผ่านกระบวนการอบแห้งเพื่อไล่ความชื้น รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตรที่เกิดขึ้นในชุมชนโดยเฉพาะผลไม้ชนิดต่างๆ มีปริมาณมาก ไม่สามารถจำหน่ายออกไปได้ทันและการจำหน่ายที่ปริมาณมากๆ ส่งผลให้มูลค่าของสินค้าลดลง จึงมีความต้องการเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการอบแห้งเพื่อแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเหล่านั้นด้วย 3) ภายในศูนย์การเรียนมีผลผลิตทางการเกษตรที่พัฒนาเป็นผลผลิตภัณฑ์วางจำหน่าย เช่น น้ำส้มควันไม้ แต่ยังพบปัญหาเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่สร้างความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเอง รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ยังมีความต้องการผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มาถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนในด้านนี้
เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และพัฒนาทักษะฝีมือ ของชาวบ้านในชุมชน ให้มีความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร1) การกำจัดเศษวัชพืชในบ่อปลา จำพวกผักตบชวา หรือใบไม้ชนิดต่างๆ ที่มีการร่วงหล่นภายในสวน ก่อให้เกิดเป็นเศษขยะ ซึ่งต้องใช้เวลาในการเก็บกวาดต่อวันหลายชั่วโมง และการแก้ปัญหาในการนำใบไม้ไปเป็นปุ๋ย ก็ไม่สามารถกระทำได้ทุกวัน ตามปริมาณของเศษใบไม้ที่เกิดขึ้นต่อวัน จึงมีความต้องการที่จะสร้างผลประโยชน์จากใบไม้และวัชพืชเหล่านั้น 2) การนำใบไม้ ใบตอง หรือผักตบชวา ฯลฯ มาแปรรูป จำเป็นต้องผ่านกระบวนการอบแห้งเพื่อไล่ความชื้น รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตรที่เกิดขึ้นในชุมชนโดยเฉพาะผลไม้ชนิดต่างๆ มีปริมาณมาก ไม่สามารถจำหน่ายออกไปได้ทันและการจำหน่ายที่ปริมาณมากๆ ส่งผลให้มูลค่าของสินค้าลดลง จึงมีความต้องการเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการอบแห้งเพื่อแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเหล่านั้นด้วย 3) ภายในศูนย์การเรียนมีผลผลิตทางการเกษตรที่พัฒนาเป็นผลผลิตภัณฑ์วางจำหน่าย เช่น น้ำส้มควันไม้ แต่ยังพบปัญหาเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่สร้างความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเอง รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ยังมีความต้องการผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มาถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนในด้านนี้) ออกแบบและพัฒนาเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นด้วยระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) สำหรับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร 2) ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการแปรรูปใบไม้ชนิดต่างๆ เพื่อขึ้นรูปเป็นภาชนะประเภทจาน ด้วยเครื่องขึ้นรูปจานจากใบไม้ที่พัฒนาขึ้นในโครงการนี้และศึกษาผลกระทบด้านโภชนาการและสิ่งแวดล้อมที่ได้จากการแปรรูปใบไม้ชนิดต่างๆ เป็นจานใส่อาหาร และ 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และเพิ่มยอดจำหน่ายของสินค้า

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

- เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นด้วยระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) จำนวน 1 เครื่อง
- เครื่องขึ้นรูปจาน จากวัสดุประเภทใบไม้ จำนวน 1 เครื่อง
- บรรจุภัณฑ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน หมู่ที่ 5 บ้านแม่แวน สำหรับการส่งเสริมการขาย 3 รายการสินค้า
- ศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรกรรมสมัยใหม่แบบครบวงจร จำนวน 1 ศูนย์

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรด้วยการแปรรูปอาหารด้วยเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นด้วยระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT)

 

0.00
2 เพื่อเพิ่มมูลค่าของใบไม้ด้วยการแปรรูปเป็นภาชนะประเภทจาน ด้วยเครื่องขึ้นรูปจาน

 

0.00
3 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านการทำเกษตรกรรม และการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สำหรับการเพิ่มยอดจำหน่ายของสินค้า

 

0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การประดิษฐ์คิดค้น และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรด้วยเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์

ชื่อกิจกรรม
การประดิษฐ์คิดค้น และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรด้วยเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรด้วยการแปรรูปอาหารด้วยเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นด้วยระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT)
รายละเอียดกิจกรรม
1.วางแผนการดำเนินการ(P) ประชุมระดมความคิดระหว่างทีมงานและชุมชนในการวางแผนดำเนินการและกำหนดขอบเขตของนวัตกรรม
2.การดำเนินการจัดโครงการ(D)
- ออกแบบและสร้างเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
- ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างเตาอบ
- ทดสอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ด้วยเตาอบ
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน
3.การติดตามประเมินผล(C)
- แบบประเมินโครงการ
4.การปรับปรุง/พัฒนา/แก้ไขจากผล การติดตาม(A)
- ติดตามผลหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมและทำการปรับปรุงการดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ(Output)
- มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์อย่างถูกต้อง
- มีการถ่ายทอดองค์ความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ (กล้วยอบ)อย่างถูกต้อง
2.ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ (Outcome)
- ได้ผลิตภัณฑ์เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
- ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

- ค่าตอบแทนวิทยากร ภายใน 8 ชั่วโมง/วัน * 300 บาท * 3 ครั้ง

8 คน 300 3 7,200
ค่าตอบแทนวิทยากร

- ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก 8 ชั่วโมง/วัน * 1200 บาท * 1 ครั้ง

8 คน 1,200 1 9,600
ค่าอาหาร 30 คน 80 4 9,600
ค่าอาหาร 30 คน 25 8 6,000
อื่น ๆ

ค่าเบี้ยเลี้ยงคณะทำงาน 4 คน * 160บาท * 4 วัน

4 คน 160 4 2,560
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 2 เที่ยว 392 4 3,136
อื่น ๆ

- ค่าจ้างเหมาการปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้ (ป้าย บอร์ดให้ความรู้ ไวนิลต่างๆ)

1 ชิ้น 10,000 1 10,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ชุด 50,000 1 50,000
รวมค่าใช้จ่าย 98,096

กิจกรรมที่ 2 การประดิษฐ์คิดค้นและถ่ายทอดเทคโนโลยีในการขึ้นรูปจานจากวัสดุใบไม้แบบต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม
การประดิษฐ์คิดค้นและถ่ายทอดเทคโนโลยีในการขึ้นรูปจานจากวัสดุใบไม้แบบต่าง ๆ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเพิ่มมูลค่าของใบไม้ด้วยการแปรรูปเป็นภาชนะประเภทจาน ด้วยเครื่องขึ้นรูปจาน
รายละเอียดกิจกรรม
1.วางแผนการดำเนินการ(P)
ประชุมระดมความคิดระหว่างทีมงานและชุมชนในการวางแผนดำเนินการและกำหนดขอบเขตของนวัตกรรม
2.การดำเนินการจัดโครงการ(D)
- ออกแบบและสร้างเครื่องขึ้นรูปจานจากวัสดุใบไม้
- ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างเครื่องขึ้นรูปจาน
- ทดสอบการขึ้นรูปจานจากวัสดุใบไม้ชนิดต่างๆ
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน
3.การติดตามประเมินผล(C)
- แบบประเมินโครงการ
4.การปรับปรุง/พัฒนา/แก้ไขจากผล
การติดตาม(A)
- ติดตามผลหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมและทำการปรับปรุงการดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ(Output)
- มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาเครื่องขึ้นรูปจานจากใบไม้อย่างถูกต้อง
- มีการถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์จานจากใบไม้สำหรับเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชน
2. ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ (Outcome)
- ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องขึ้นรูปจานจากใบไม้
- ได้ผลิตภัณฑ์จานจากใบไม้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

- ค่าตอบแทนวิทยากร ภายใน 8 ชั่วโมง/วัน * 300 บาท * 3 ครั้ง

8 คน 300 3 7,200
ค่าตอบแทนวิทยากร

- ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก 8 ชั่วโมง/วัน * 1200 บาท * 1 ครั้ง

8 คน 1,200 1 9,600
ค่าอาหาร

- ค่าอาหารกลางวัน 30 คน * 80 บาท * 4 ครั้ง

30 คน 80 4 9,600
ค่าอาหาร

- ค่าอาหารว่าง 30 คน * 25 บาท * 2 มื้อ * 4 ครั้ง

30 คน 25 8 6,000
อื่น ๆ

- ค่าเบี้ยเลี้ยงคณะทำงาน 4 คน * 160บาท * 4 วัน

4 คน 160 4 2,560
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

- ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนตัว 98 ก.ม. * 4 บาท * 2เที่ยว ไป-กลับ * 4 ครั้ง

2 เที่ยว 392 4 3,136
อื่น ๆ

- ค่าเอกสารประกอบการอบรมเล่มละ 150 บาท * 25เล่ม

25 ชุด 150 1 3,750
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างเครื่องขึ้นรูปจานจากใบไม้

1 ชุด 70,000 1 70,000
รวมค่าใช้จ่าย 111,846

กิจกรรมที่ 3 การถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ในการบรรจุผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

ชื่อกิจกรรม
การถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ในการบรรจุผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านการทำเกษตรกรรม และการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สำหรับการเพิ่มยอดจำหน่ายของสินค้า
รายละเอียดกิจกรรม
1.วางแผนการดำเนินการ(P)
ประชุมวางแผนการดำเนินกิจกรรม
2.การดำเนินการจัดโครงการ(D)
- ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบบรรจุผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
- ประกวดแนวคิดการออกแบบโลโก้ บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
3.การติดตามประเมินผล(C)
- แบบประเมินโครงการ
4.การปรับปรุง/พัฒนา/แก้ไขจากผล
การติดตาม(A)
- ติดตามผลหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมและทำการปรับปรุงการดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ(Output)
- สร้างอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
2. ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ (Outcome)
- รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่คาดว่าจะพัฒนาขึ้นในอนาคต
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

- ค่าตอบแทนวิทยากร ภายใน 8 ชั่วโมง/วัน * 300 บาท * 1 ครั้ง

8 คน 300 1 2,400
ค่าอาหาร

- ค่าอาหารกลางวัน 50 คน * 80 บาท

50 คน 80 1 4,000
ค่าอาหาร

- ค่าอาหารว่าง 50 คน * 25 บาท * 2 มื้อ

50 คน 50 1 2,500
อื่น ๆ

- ค่าจ้างเหมาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ

1 ชิ้น 20,000 1 20,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

- ค่าวัสดุสำนักงาน

1 ชุด 11,158 1 11,158
รวมค่าใช้จ่าย 40,058

กิจกรรมที่ 4 การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ครบวงจร

ชื่อกิจกรรม
การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ครบวงจร
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านการทำเกษตรกรรม และการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สำหรับการเพิ่มยอดจำหน่ายของสินค้า
รายละเอียดกิจกรรม
1.วางแผนการดำเนินการ(P)
ประชุมวางแผนการดำเนินกิจกรรม
2.การดำเนินการจัดโครงการ(D)
-จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ครบวงจร
- ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้
- หาประสิทธิภาพทางการเรียนรู้
3.การติดตามประเมินผล(C)
- แบบประเมินโครงการ
4.การปรับปรุง/พัฒนา/แก้ไขจากผล
การติดตาม(A)
- ติดตามผลหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมและทำการปรับปรุงการดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ(Output)
- ศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ครบวงจร
2. ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ (Outcome)
- เกิดการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรในการทำเกษตรกรรมสมัยใหม่แบบครบวงจร
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

- ค่าตอบแทนวิทยากร ภายใน 8 ชั่วโมง/วัน * 300 บาท * 1 ครั้ง

8 คน 300 1 2,400
ค่าอาหาร

- ค่าอาหารกลางวัน 50 คน * 80 บาท

50 คน 80 1 4,000
ค่าอาหาร

- ค่าอาหารว่าง 50 คน * 25 บาท * 2 มื้อ

50 คน 50 1 2,500
อื่น ๆ

- ค่าจ้างเหมาการตกแต่งศูนย์การเรียนรู้

1 ชิ้น 35,000 1 35,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

- ค่าวัสดุสำนักงานจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์

1 ชิ้น 6,100 1 6,100
รวมค่าใช้จ่าย 50,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 300,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 38,400.00 6,100.00 50,472.00 131,158.00 73,870.00 300,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 12.80% 2.03% 16.82% 43.72% 24.62% 100.00%

11. งบประมาณ

300,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) - มีการพัฒนา เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นด้ว่ยระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT)
- มีการพัฒนาเครื่องขึ้นรูปจาน จากวัสดุประเภทใบไม้
- มีการคิดค้นบรรจุภัณฑ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน หมู่ที่ 5 บ้านแม่แวน สำหรับการส่งเสริมการขาย
นักศึกษามีความรู้ความสามารถและมีทักษะในเชิงวิชาการและการปฏิบัติ
ผลลัพธ์ (Outcome) - เกิดผลผลิตทางการเกษตร เช่น กล้วยอบ หรือ ชาสมุนไพรจากผักเชียงดา ฯลณ
- เกิด เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม สำหรับเพิ่มมูลค่าของใบไม้ ด้วยการขึ้นรูปเป็นจานจากใบไม้
- เกิดรายได้เพิ่มจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
การบูรณาการด้านการเรียนการสอน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ตนในชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
ผลกระทบ (Impact) - กระตุ้นการใช้นวัตกรรมพลังงานจากแสงอาทิตย์สำหรับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
- เกิดรายได้เพิ่มขึ้นจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อย่างน้อย ครัวเรือนละ 2,000 บาท / คน / ปี จำนวน 5 ครัวเรือน
การพัฒนากำลังคนฐานรากทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษาในการสร้างองค์ความรู้ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สอดคล้องตามปรัชญามหาวิทยาลัย ในการเป็น “มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อชุมชน” และการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายรัฐบาล
นำเข้าสู่ระบบโดย kriengkrai sriprasert kriengkrai sriprasert เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 00:48 น.