โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่าการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบบูรณาการในพื้นที่ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างยั่งยืน

แบบเสนอโครงการ
โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่าการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบบูรณาการในพื้นที่ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างยั่งยืน

1. ชื่อโครงการ

โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่าการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบบูรณาการในพื้นที่ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างยั่งยืนมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ, คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, คณะบริหารศาสตร์, สำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาฬสินธุ์, เทศบาลตำบลบัวบาน, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามบัวบาน1, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามลำปาวจำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ 1) บ้านโคกก่อง และ 2) บ้านโพธิ์ชัย ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กีรวิชญ์ เพชรจุลคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000087 2327465, e-mail:pkeravit@yahoo.com1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อนงนาถ โรจนกร วังคำหาญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
2. อาจารย์จังหวัด เจริญสุข สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อำภาศรี พ่อค้า คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
4. อาจารย์ ดร. ณัฎพงศ์ เจนวิพากษ์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
5. นายนรินทร์ มีวงศ์ ประมงจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
6. นางสาวเพลินพิศ ธารีเธียร นักวิชาการประมง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
7. นายยุทธการ ภูกาบเงิน เจ้าหน้าประมง เทศบาลตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
8. นายวีรชาติ ภูโปร่ง เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามบัวบาน1 ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
9. นายวิชิต จวงจันทร์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามลำปาว ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
รายชื่อนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ
1. นายวิรยุทธ แดงสาย ID 1100201392833 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีการเกษตร
2. นางสาวดวงกมล ศรีวังไพร ID 1309801303714 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการอาหาร ชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีการเกษตร
3. นางสาวนันทนิด เดชประเสริฐ ID 1469900501432 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการตลาด ชั้นปีที่ 1 คณะบริหารศาสตร์
4. นางสาวอุไรศิลป์ พลทองเดิม ID 1450800144583 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการตลาด ชั้นปีที่ 1 คณะบริหารศาสตร์
5. นางสาวเสาวลักษณ์อุทานิตย์ ID 1461000192548 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ
6. นางสาวอติพรศรีบัวID 1461000185421 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ
7. นายอัศวินพิณรัตน์ ID 1469900466530 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล(เทียบโอน) ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
8. นายอภิสิทธิ์ไสยกิจ ID 1409901851275 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล(เทียบโอน) ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ยางตลาด บัวบาน

3. รายละเอียดชุมชน

จังหวัดกาฬสินธุ์มีเนื้อที่ทั้งหมด 4,341,716 ไร่ พื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร 2,325,095 คิดเป็นร้อยละ 53.55 ของพื้นที่จังหวัดและคนในจังหวัดส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร มีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งทิวเขาจนถึงที่ราบลุ่ม และยังมีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม มีเอกลักษณ์แต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไป จึงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประเพณีวัฒนธรรม สิ่งก่อสร้าง วิธีชีวิต และผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

จากข้อมูลของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product, GDP) เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ในปี พ.ศ. 2542 ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเท่ากับ 4,789,827 ล้านบาท ในขณะที่จังหวัดกาฬสินธุ์มีเพียง 14,901 ล้านบาท ส่วนในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 15,405,474 ล้านบาท ในขณะที่จังหวัดกาฬสินธุ์มีค่าเท่ากับ 15,978 ล้านบาท นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบจากผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศต่อหัวพบว่า ในปี พ.ศ. 2542 ประเทศไทยมีค่าเท่ากับ 77,799 บาทต่อปี ในขณะที่จังหวัดกาฬสินธุ์มีค่าเท่ากับ 15,978 บาทต่อปี ในขณะปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศต่อหัวเพิ่มขึ้นเป็น 228,382 บาทต่อปี ในขณะที่จังหวัดกาฬสินธุ์มีเพียง 61,266 บาทต่อปี จากข้อมูลจะเห็นว่าระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาจังหวัดกาฬสินธุ์มีการพัฒนาน้อยมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาตามเพื่อตอบสนองในการแก้ไขปัญหาความยากจน ประกอบกับรายงานการประมวลผลผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2560 รายงานเกี่ยวกับจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (GPP) อยู่ใน 5 ลำดับต่ำสุด คือ หนองบัวลำภู ยโสธร กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ และนราธิวาส ตามลำดับ โดยจังหวัดกาฬสินธุ์อยู่อันดับที่ 75 ของประเทศจากทั้งหมด 77 จังหวัด และอยู่ลำดับที่ 18 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากที่นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ประกาศเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเน้น 3 แนวทางคือ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์จึงได้ดำเนินการโครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หรือ Kalasin Happiness Model ซึ่งวางเป้าหมายในปี 2561 มีรายได้ครัวเรือนของคนกาฬสินธุ์เพิ่มขึ้นจาก 51,000 บาท เป็น 54,570 บาท (ร้อยละ 7) และ ปี 2562 จะมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 หรือ 56,100 บาท

ประวัติความเป็นมา ตำบลบัวบาน
ตำบลบัวบานเดิมขึ้นตรงอยู่กับตำบลเว่อได้แยกออกมาตั้งเป็นตำบลบัวบานโดยมีนายขุนชินฤทธิ์เป็นกำนันคนแรกซึ่งเป็นชาวบ้านบ้านโคกใหญ่หมู่ที่ 1
เหตุที่ตั้งชื่อตำบลว่า “ตำบลบัวบาน”เพราะสถานที่ตั้งของตำบลมีบึงบัวขนาดใหญ่พื้นที่ 295 ไร่ 3 งานซึ่งบึงแห่งนี้ตั้งอยู่กึ่งกลางของตำบลมีหมู่บ้านตั้งอยู่โดยรอบบึง ลักษณะเดิมของบึงแห่งนี้คือมีบัวหลวงขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ประชาชนใช้เป็นแหล่งหากินตามธรรมชาตินอกจากนี้ยังมีนกเป็ดน้ำมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 30 มีนาคมพ.ศ. 2539 ตำบลบัวบาน ได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบัวบาน และใน วันที่ 18 กรกฏาคม พ.ศ. 2551 ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลบัวบานมีหมู่บ้านในเขตการปกครอง 23 หมู่บ้าน ที่ตั้งของสำนักงานเทศบาลตำบลบัวบานตั้งอยู่ที่บ้านโคกใหญ่หมู่ที่ 1 ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลตำบลบัวบานเป็นเขตการปกครองของอำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดกาฬสินธุ์ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 15 กิโลเมตรและอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอยางตลาดห่างจากที่ว่าการอำเภอยางตลาด 11 กิโลเมตร เทศบาลตำบลบัวบานมีพื้นที่โดยประมาณ 82 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต
1.1 ทิศเหนือติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือกและองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระนอนอำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์
1.2 ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขามอำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์
1.3 ทิศตะวันออกติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำพานอำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์
1.4 ทิศใต้ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนสมบูรณ์อำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์

พื้นที่
เทศบาลตำบลบัวบานมีพื้นที่โดยประมาณ 82 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลบัวบานมีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มพื้นที่ทั้งหมดตั้งอยู่ใต้เขื่อนลำปาวแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 23 หมู่บ้าน เทศบาลตำบลบัวบานทั้ง 23 หมู่บ้านสามารถรับน้ำจากเขื่อนได้ตลอดปีพื้นที่เหมาะสมกับการเกษตร ประมง นากุ้ง และการทำนาสามารถทำการเกษตรและทำนาได้ตลอดปี

ประชากรและการประกอบอาชีพ
ในปี 2552 เทศบาลตำบลบัวบานมีประชากรรวมทั้งสิ้น 13,154 คนมีจำนวนครัวเรือน 3,743 ครัวเรือน ประชากรส่วนมากประกอบอาชีพทำนารองลงมาคือการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามซึ่งมีหมู่บ้านที่ทำการเลี้ยงมากคือบ้านตูมหมู่ที่ 4 , 19 บ้านเชียงงาม หมู่ที่ 6 , 22 บ้านโคกก่องหมู่ที่ 7 , 21 บ้านโปร่งแคหมู่ที่ 8 บ้านโนนแดงหมู่ที่ 20 บ้านโพธิ์ศรี , โพธิ์ชัย ม.10 , 23 นอกจากนี้ประชากรบางส่วนยังประกอบอาชีพปลูกผักกะเฉดน้ำ ปลูกพริกเอาเมล็ดเนื่องจากพื้นที่ส่วนมากเป็นที่ราบลุ่มและมีคลอง ชลประทานผ่านดังนั้นประชากรส่วนมากร้อยละ 90 จึงประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรซึ่งสามารถทำได้ตลอดปี แหล่งข้อมูล :(ข้อมูลจากสำนักทะเบียนอำเภอยางตลาด, 2556)

อาชีพของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลบัวบาน
ส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม โดยทำนาเป็นอาชีพหลัก และปลูกผักบางฤดูกาล อาชีพที่สร้างรายได้กับเกษตรกรเป็นจำนวนมาก คือ การเลี้ยงกุ้งของประชากรในหมู่บ้าน

พื้นที่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดกาฬสินธุ์
พื้นที่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีทั้งหมด 7 อำเภอ จำนวน 1,295 ราย แบ่งเป็นพื้นที่การเลี้ยง 6,220 ไร่ ได้แก่
1. อำเภอยางตลาด
2. อำเภอเมือง
3. อำเภอสหัสขันธ์
4. อำเภอสามชัย
5. อำเภอห้วยผึ้ง
6. อำเภอกุฉินารายณ์
7. อำเภอกมลาไสย
(แหล่งที่มา : สำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์ ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2556)
กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii de Man) เป็นกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะเพศผู้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากมีความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศจำหน่าย ได้ในราคาสูงในปี 2560 ประมาณการผลผลิตกุ้งก้ามกรามจากการเพาะเลี้ยงมีปริมาณ 16,693 ตัน มีมูลค่า 5,133 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมามีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และ 9.6 ตามลำดับ เนื้อที่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามทั้งประเทศมีประมาณ 78,632 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ผลผลิตเฉลี่ย 212 กิโลกรัมต่อไร่ (จันทิมา เพียรผล, 2560)

ในปี 2560 ประมาณการผลผลิตกุ้งก้ามกรามจากการเพาะเลี้ยงมีปริมาณ 16,693 ตัน มีมูลค่า 5,133 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมามีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และ 9.6 ตามลำดับ เนื้อที่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามทั้งประเทศมีประมาณ 78,632 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ผลผลิตเฉลี่ย 212 กิโลกรัมต่อไร่ (จันทิมา เพียรผล, 2560) โดยมีแหล่งเลี้ยงที่สำคัญอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรีและนครปฐม เป็นต้น สำหรับประมาณการจำนวนฟาร์มเลี้ยง ในปี 2560 จำนวนมีทั้งสิ้น 5,545 ฟาร์ม ในจำนวนนี้เป็นฟาร์มที่ได้รับรองมาตรฐาน GAP ณ เดือนกันยายน 2560 มีจำนวน 1.277 ฟาร์ม คิดเป็นร้อยละ 23.00 ของจำนวนฟาร์มทั้งหมด และส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดนครปฐม 511 ฟาร์ม ราชบุรี 450 ฟาร์ม และสุพรรณบุรี 116 ฟาร์ม คิดเป็นร้อยละ 40.00, 35.20 และ 9.10 ตามลำดับ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 15.70 กระจายอยู่ตามจังหวัดในภาคอื่นๆ ได้แก่ กาฬสินธุ์ ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี พิษณุโลก ชลบุรี เพชรบุรี สมุทรปราการและลพบุรี เป็นต้น (ที่มา : จันทิมา เพียรผล, 2560)

ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรมากขึ้นความต้องการพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยและกิจกรรมต่างๆ จึงมีความจำเป็นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์น้ำจึงขยายตัวได้ยากและมีแนวโน้มลดลงตลอด การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของเกษตรกรไทยนิยมเลี้ยงในบ่อดินขนาด 3-9 ไร่ เนื่องจากกุ้งก้ามกรามมีพฤติกรรมหวงถิ่น ด้วยเหตุนี้จึงต้องใช้พื้นที่ดินและน้ำในปริมาณมากทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง ในขณะเดียวกันยังพบปัญหากุ้งที่เลี้ยงโตไม่เท่ากัน กุ้งกินกันเอง และกุ้งเป็นโรค กุ้งที่เลี้ยงได้มีขนาดเล็ก ผลผลิตกุ้งก้ามกรามในบ่อดินจะมีขนาด 40-50 ตัวต่อกิโลกรัม ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ ขนาด 20-30 ตัวต่อกิโลกรัม ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และขนาด 10-15 ตัวต่อกิโลกรัม ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์การเลี้ยงในบ่อดินใช้เวลานานขึ้นเท่าใด ยิ่งทำให้พื้นบ่อมีการสะสมของเสียมากขึ้นก่อให้เกิดการเน่าเสียของพื้นบ่อ และปัญหาที่สำคัญก็คือเกษตรกรยังไม่สามารถเลี้ยงให้กุ้งก้ามกรามให้มีขนาดใหญ่คือขนาดตัวละ 200-300 กรัม (ขนาด 3-5 ตัวต่อกิโลกรัม) ซึ่งมีราคาสูงกว่ากุ้งขนาดเล็กถึง 5-6 เท่า กุ้งขนาดใหญ่นี้มักเรียกว่ากุ้งแม่น้ำเนื่องจากมีขนาดใหญ่น่ารับประทาน ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 600-800 บาทปัจจุบันผลผลิตกุ้งก้ามกรามที่จับได้จากธรรมชาติมีไม่มากและขนาดใหญ่ก็มีน้อยลงมาก ผลผลิตกุ้งก้ามกรามของไทย 70 เปอร์เซ็นต์ บริโภคภายในประเทศและส่งออกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ จากข้อมูลการส่งออกกุ้งก้ามกรามแช่แข็งในปี พ.ศ. 2560มีการส่งออกทั้งสิ้น 1,499 ตัน มูลค่า 398.2 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาปริมาณและมูลค่าเพิ่มมากขึ้นถึง 1.5 และ 1.6 เท่าตัว (จันทิมา เพียรผล, 2560)ประเทศผู้ซื้อ ได้แก่ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา จีน เมียนมาร์ ฮ่องกง และประเทศอื่นๆ

ในสินค้ากุ้งก้ามกรามจากประเทศไทยจะพบปัญหาสารตกค้างและยาปฏิชีวนะในกุ้งก้ามกราม ปัญหาเหล่านี้ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการขยายตลาดการส่งออกกุ้งก้ามกรามของไทย และมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคตเนื่องจากผู้บริโภคเริ่มหันมาใส่ใจต่อสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น จึงเริ่มดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกุ้งก้ามกรามให้ได้ขนาดใหญ่เพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ได้ผลผลิตกุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ประมาณ 200-300 กรัมต่อตัว (หรือ 3-5 ตัวต่อกิโลกรัม) โดยเน้นคุณภาพกุ้งปลอดสารและปลอดยาปฏิชีวนะหรือเรียกว่า การผลิตกุ้งก้ามกรามมาตรฐาน (GAP/Good Aquaculture Practice) เป็นการผลิตกุ้งก้ามกรามให้มีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำให้ถูกสุขลักษณะที่ดีของฟาร์มเลี้ยงกุ้งน้ำจืด ป้องกันการใช้ยาและสารเคมีในการเลี้ยงไม่ให้มีสารตกค้างในเนื้อกุ้ง พร้อมกับการพัฒนาระบบการเลี้ยงแบบชีวภาพตามแนวทาง Code of Conduct (CoC) เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และเป็นการเลี้ยงที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่เกษตรกรมีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อการค้าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งโดยส่วนใหญ่สายพันธุ์กุ้งก้ามกรามที่นำมาเลี้ยงจะเป็นสายพันธุ์กุ้งก้ามกรามก้ามทองและกุ้งก้ามกรามก้ามฟ้า (กีรวิชญ์ และมณีรัตน์, 2559) โดยมีพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงส่วนมากจะนิยมเลี้ยงกันพื้นที่ในเขตชลประทานซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยางตลาด อำเภอเมือง และอำเภอห้วยเม็ก มีจำนวนฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามประมาณ 1,147 ราย มีพื้นที่การเลี้ยง 8,325.85 ไร่ ผลผลิต 1,670 ตันต่อปี ราคาจำหน่ายที่ปากบ่อ 250-300 บาทต่อกิโลกรัม รวมมูลค่า 415 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้เนื่องจากมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ได้รับน้ำจากเขื่อนลำปาวและมีระบบชลประทานที่ดี สภาพแวดล้อมและภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามอีกทั้งแรงงานในจังหวัดมีจำนวนมากลดการอพยพไปทำงานในเมืองหลวง สามารถหาแรงงานได้ง่ายและราคาค่าจ้างแรงงานค่อนข้างถูก ซึ่งจังหวัดกาฬสินธุ์ได้มีประวัติการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมายาวนานกว่า 20 ปี

ปัจจุบันในเขตอำเภอยางตลาดมีจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม จำนวน 784 ราย พื้นที่รวม 3,050 ไร่ ได้ผลผลิตรวมประมาณ 1,200 – 1,300 ตันต่อปี สร้างรายได้เข้าจังหวัดประมาณปีละ 260 ล้านบาท (ข้อมูลจากสำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์, 2558) บ้านโพธิ์ชัย หมู่ที่ 23 ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นหนึ่งพื้นที่ที่มีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามกันมาก มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 158 ครัวเรือนจำนวนประชากร 555 คน (ข้อมูลจากสำนักทะเบียนอำเภอยางตลาด, 2558) ประชากรส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม โดยทำนาเป็นอาชีพหลัก และปลูกพืชผักบ้างในบางฤดูกาลหลังจากการทำนา และมีอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นจำนวนมาก คือ การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ประชากรในหมู่บ้านส่วนมากจะแปลงพื้นที่ทำนามาเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสภาพทำเลเหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพราะอยู่ต้นน้ำของพื้นที่เขื่อนลำปาวคุณภาพน้ำเหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ประกอบกับราคากุ้งก้ามกรามมีราคาที่สูงและทำรายได้ให้กับเกษตรกรกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก จึงทำให้กลุ่มเกษตรกรหันมาเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพิ่มมากขึ้น มีเกษตรกรจำนวน 27 ครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนเลี้ยงกุ้งก้ามกราม มีพื้นที่เลี้ยงกุ้งก้ามกราม 217.75 ไร่ (ข้อมูลจากสำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์, 2558) นอกจากนี้ยังมีบ้านโพธิ์ศรี หมู่ 10 บ้านตูม หมู่ 19 ตำบลบัวบาน และบ้านนาเชือก หมู่ 9 และ13 ของอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีอาชีพการเลี้ยงกุ้งเป็นจำนวนมากและทำรายได้ให้กับเกษตรกรในชุมชนเป็นจำนวนมาก แต่ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ปัญหาพันธุ์กุ้งก้ามกรามที่ทำให้ผลผลิตลดลง น้ำไม่เพียงพอ ราคาอาหารกุ้งดังนั้นจำเป็นต้องมีโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปพัฒนา ได้แก่ พัฒนาเทคนิคการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม การจัดการฟาร์ม การตลาดตลอดจนวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตกุ้งก้ามกราม และปัญหาเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามยังไม่มีกลุ่มสหกรณ์หรือสมาพันธ์ผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามจังหวัดกาฬสินธุ์ที่เป็นหลักแหล่งและแน่นอน ทำให้เกิดปัญหาราคาลูกกุ้งที่ซื้อจากพ่อค้าคนกลางหรือบริษัทจำหน่ายลูกกุ้งราคากุ้งที่จับขายและราคาอาหารกุ้งก้ามกรามไม่แน่นอนมีอัตราการผันแปรสูงมากทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามประสบปัญหาขาดทุนรายได้ไม่คุ้มรายจ่ายต้องล้มเลิกกิจการไปจำนวนหลายราย
ปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดกาฬสินธุ์
1. กุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงในจังหวัดกาฬสินธุ์นำมาออกจำหน่ายในตลาดมีขนาดเล็ก(น้ำหนัก 25-30 ตัวต่อกิโลกรัม) ซึ่งยังไม่เป็นที่พอใจของผู้บริโภคทั่วไป
2. ปัญหาราคาลูกกุ้งก้ามกรามมีราคาสูง ราคาไม่แน่นอน และเกษตรกรอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามมีอัตราการรอดตายต่ำ เนื่องจากการเตรียมบ่ออนุบาล และการจัดการคุณภาพน้ำในระบบอนุบาลไม่ดี
3. ปัญหาสายพันธุ์ลูกกุ้งก้ามกรามไม่ได้รับการการปรับปรุงพันธุ์ พ่อแม่พันธุ์มีการผสมพันธุ์กันเองแบบ Family selections ทำให้การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามขนาดตลาดไม่โต กุ้งแคระเกร็น เนื่องมาจากสายพันธุ์ไม่ดี
4. อัตราของกุ้งก้ามกรามเพศเมียในบ่อเลี้ยงมีมากกว่าเพศผู้ทำให้การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามไม่โต ตัวเมียจะออกไข่ไม่โต และมีกุ้งจิ๊กโก๋มากในบ่อ
5. ลูกกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงมีอัตราการตายสูงเนื่องจากการขนส่งลูกกุ้งระยะทางไกลต้องใช้ระยะเวลาขนส่งนาน ลูกกุ้งอ่อนแอ การติดเชื้อโรคและคุณภาพน้ำในบ่อไม่เหมาะสม การน๊อคตายของกุ้งก้ามกรามเนื่องจากภาวะวิกฤตในช่วงหน้าหนาวและหน้าฝน หรือมีวาตะภัยและอุทกภัย
6. ปริมาณน้ำจะมีปัญหาในช่วงหน้าแล้งที่มีการปิดน้ำของชลประทานเขื่อนลำปาว พื้นที่เลี้ยงการกุ้งก้ามกรามบริเวณรับน้ำจากชลประทานจะมีปัญหา
7. คุณภาพน้ำจากเขื่อนลำปาวมีปริมาณค่า Alkalinity และค่า Hardness ต่ำ ทำให้ต้องปรับคุณภาพน้ำให้เหมาะสมก่อนมีการเลี้ยงโดยจะมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตและอัตราการลอกคราบของกุ้งก้ามกราม
8. ราคาอาหารกุ้งก้ามกรามมีราคาแพงทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง เนื่องจากต้นทุนการผลิตประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าอาหารกุ้งก้ามกราม
9. เกษตรกรขาดการจัดการระบบการเลี้ยง ระบบการตลาดระบบโลจิสติกส์การจัดการหลังเก็บเกี่ยว และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ขาดการทำงานรวมกลุ่มในระบบสหกรณ์และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทำให้มีข้อต่อรองทางการค้ากับพ่อค้าคนกลางได้น้อย
10. เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามส่วนใหญ่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ขาดองค์ความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม การจัดการระบบการเลี้ยง และการนำข้อมูลการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่ถูกต้องไปใช้ในฟาร์ม
จากการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีรายได้ล้าหลังติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศ แต่ในขณะที่จังหวัดกาฬสินธุ์มีศักยภาพทั้งในด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และด้านเศรษฐกิจทั้งในด้านการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์และประมง พบว่าตั้งแต่ปี 2555-2559 จังหวัดกาฬสินธุ์มีการจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเฉลี่ย 7,556.27 ล้านกิโลกรัม มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ทำรายได้ให้แก่จังหวัด เช่น กุ้งก้ามกราม และปลากระชัง โดยเฉลี่ย 3,642.88 ล้านกิโลกรัม โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม จังหวัดกาฬสินธุ์มีจุดแข็งคือเป็นแหล่งการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะที่อำเภอยางตลาด การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามสร้างรายได้ให้กับคนกาฬสินธุ์มากว่า 10 ปี และเกิดการรวมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันมีการเลี้ยงกันมากในเขตพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอยางตลาด และอำเภอห้วยเม็ก ซึ่งมีความเหมาะสมเชิงพื้นที่ด้วยอาศัยน้ำจากโครงการชลประทานเขื่อนลำปาวเป็นหลัก ณ ปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้ยงกุ้งก้ามกรามทั้งสิ้น 1,147 ราย และมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 8,329 ไร่ ข้อมูลเชิงเศรษฐกิจเบื้องต้น ชี้ว่าเกษตรกรผู้ผลิตกุ้งก้ามกรามของเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ มีส่วนช่วยสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนทั้งที่ยึดเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม สร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจให้กับท้องถิ่น จากรายงานสำนักงานสถิติจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี พ.ศ. 2559 พบว่าผลผลิตกุ้งของจังหวัดกาฬสินธุ์มีปริมาณ 1,585.5 ตัน โดยแยกเป็นอำเภอเมือง 5.6 ตัน อำเภอยางตลาด 1,420.6 ตัน อำเภอห้วยเม็ก 158.6 ตัน และอำเภอสหัสขันธ์ 1.2 ตัน จากการรายงานของกลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กรมประมง พบว่าในปี พ.ศ. 2560 ผลผลิตกุ้งก้ามกรามจากการเพาะเลี้ยงมีปริมาณ 16,693 ตัน และมูลค่า 5,133 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาพบว่ามีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และ 9.6 ตามลำดับ ราคาขายส่งกุ้งก้ามกรามมีชีวิตเฉลี่ย ณ ตลาดไท ในปี พ.ศ. 2560 จำแนกตามขนาดกุ้ง โดยขนาด 13-14 ตัว/กก. 15-16 ตัว/กก. และ 20 ตัวขึ้นไป/กก. ราคากิโลกรัมละ 526 385 และ 266 บาท ตามลำดับ ซึ่งทุกขนาดมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.2 0.3 และ 1.9 ตามลำดับ การส่งออกกุ้งก้ามกรามของไทยไปยังตลาดต่างประเทศในปี พ.ศ. 2560 มีปริมาณ 16,693 ตัน มูลค่า 1,533 ล้านบาท

จากการศึกษาของ กีรวิชญ์ และคณะ (2558) พบว่า การเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามประสบปัญหาผลผลิตต่อไร่นั้นลดลงอย่างมาก ซึ่งมีปัญหาจากระบบการเลี้ยงของเกษตรกรดังนี้
(1) แต่ละมีพื้นที่ทำฟาร์มกุ้งก้ามกรามเฉลี่ยรายละ 10 ไร่ ซึ่งสามารถทำบ่อเลี้ยงได้ 2-3 บ่อ จึงทำให้ไม่มีพื้นที่สำหรับการกักเก็บน้ำเพื่อให้เหมาะสมก่อนที่ปล่อยลงบ่อเลี้ยง
(2) ขณะที่การเลี้ยงเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมไม่สามารถจัดการเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรขาดการจัดการที่ดีส่งผลให้กุ้งอ่อนแอและก่อให้เกิดโรคตามมาทั้งระบบ
(3) ปัญหาเรื่องลูกพันธุ์กุ้งที่จำเป็นต้องซื้อจากแหล่งอื่นมาเลี้ยงเช่น สุพรรณบุรี นครปฐม เป็นต้น ทำให้คุณภาพไม่สม่ำเสมอส่งผลต่ออัตราการรอดตายและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และปัจจุบันเกษตรประสบกับปัญหาผลผลิตตกต่ำต่อเนื่อง
ซึ่งผลกระทบจากการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์มีดังนี้
(1) ด้านเศรษฐกิจการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ต้องอาศัยการลงทุนที่ค่อนข้างสูง เฉลี่ยครั้งละ 50,000-100,000 บาท เกษตรกรบางรายไม่มีเงินทุนเพียงพอ หรือบางครั้งกุ้งน๊อคอันเนื่องจากสภาพอากาศและน้ำไปเพียงพอ ต้องอาศัยการไปกู้ยืมเงินมาลงทุน ทั้งจากกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงเงินกู้นอกระบบ เกิดปัญหาหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ
(2) ด้านสิ่งแวดล้อม ในการระหว่างการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเกษตรกรมีการให้สารอาหารบำรุงทั้งดินและกุ้งเพื่อให้ทันต่อการเจริญเติบโต เมื่อเสร็จสิ้นการเลี้ยงจะทำการปล่อยน้ำที่เลี้ยงกุ้งลงสู่พื้นที่รอบข้าง ส่งผลให้เกิดสารเคมีตกค้างในดิน จากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกล่าวว่า ในระยะแรกอัตราการตายของกุ้งมีไม่มาก แต่ในระยะหลังประมาณ 2-3 ปี อัตราการตายของกุ้งเพิ่มมากขึ้น ด้วยสภาพดินที่ไม่ดีเหมือนเดิม เกษตรกรบางรายต้องไปเช่าพื้นที่นอกหมู่บ้านเพื่อทำบ่อกุ้งเพิ่มเติม
(3) ด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่ปัญหาสุขภาพร่างกายของเกษตรกรมักเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ในช่วงระหว่างการตกกุ้ง การบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย การบริโภคอาหารที่ไม่ปรุงสุก นอกจากนี้บางรายอาจมีโรคเครียดจากภาวะหนี้สินที่เกิดจากการลงทุนทำนากุ้งและไม่ได้ผลตอบแทนเท่าที่ควร แต่ก็พบว่าในชุมชนมีการรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ที่คอยช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อประสบปัญหาดังกล่าว
(4) ด้านสังคม เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งต้องอาศัยพื้นที่มาก คนส่วนใหญ่ในชุมชนจึงเปลี่ยนวิถีชีวิตจากนาข้าวเป็นนากุ้ง อีกทั้งกุ้งมีราคาแพง มีการลักขโมยเกิด ส่งผลให้เกษตรกรต้องออกไปนอนเฝ้านากุ้งมากกว่าการเข้ามาอยู่ในชุมชน ทำให้การมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ กับชุมชนมีค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและเด็กที่จะเป็นหลักในการทำกิจกรรมการพัฒนาของชุมชน
(5) ด้านการศึกษา โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนยังขาดพื้นที่เรียนรู้ หรือ ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ทำให้ใช้เวลาว่างไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ส่งผลกระทบด้านอื่นตามมา

โดยโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบบูรณาการในพื้นที่ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างยั่งยืนนี้ เป็นโครงการที่ต่อยอดจากโครงการวิจัย เรื่อง การคัดเลือกและการแยกจุลินทรีย์โปรไบโอติกเพื่อการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามระบบฟาร์มอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ และโครงการการหมู่บ้าวิทยาศาสตร์การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามลำปาว ซึ่งเป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้รับทุนสนับสนุนและความร่วมมือจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้งานคลินิคเทคโนโลยี หมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2561 (ระยะเวลา 5 ปี) โดยใช้แนวทาง “การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงพื้นที่ชุมชน โดยโครงการดังกล่าวได้เลือกพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาที่บ้านโพธิ์ชัย ต.บัวบาน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่นำร่องการพัฒนาโครงการหมู่วิทยาศาสตร์การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามลำปาว ดังนั้นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เล็งเห็นความสำคัญในการยกระดับความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ให้ดีขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์จะดำเนินการพัฒนาศักยภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบบูรณาการในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างยั่งยืน โดยการนำแนวทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย 5 กิจกรรม เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา
(1) การถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการยกระดับการผลิตกุ้งก้ามกราม เพื่อให้เกิดทิศทางในการแก้ปัญหาความถูกต้องและยั่งยืน
(2) การพัฒนาศักยภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามกุ้งก้ามกราม เพื่อเป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่มีคุณภาพ ตลอดจนเครื่องมือการยกระดับปริมาณ คุณภาพ และเป็นต้นแบบของการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียง

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

จากผลการวิจัย เรื่อง การคัดเลือกและแยกจุลินทรีย์โปรไบโอติกในดินโคลนจากบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของเกษตรกรในพื้นที่ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้มีการศึกษามาเรียบร้อยแล้วในปี พ.ศ. 2561-2561 พบว่า สามารถพบจุลินทรีย์โปรไบโอติกกระจายอยู่ในพื้นที่เลี้ยงกุ้งทั้ง 5 ตำบล 3 อำเภอ ได้แก่ 1. ตำบลเขาพระนอน 2. ตำบลนาเชือก 3. ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ 4. ตำบลลำคลอง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 5. ตำบลหัวหิน อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการวิจัยคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์ด้วยอาหาร NA โดยแยกได้จากการสังเกตสัณฐานวิทยาภายนอกของเชื้อจุลินทรีย์มีลักษณะที่แตกต่างกันและย้อมแกรมจุลินทรีย์ โดยพบกลุ่มจุลินทรีย์ สามารถคัดแยกได้ 7 ชนิด ได้แก่ กลุ่ม Bacillus spp.เป็นแกรมบวก 6 ชนิด และกลุ่ม Chromobacterum violaceumแกรมลบ 1 ชนิด และจากผลการวิเคราะห์พิสูจน์ชนิดโดยเอกลักษณ์ลำดับเบสวิธี 16S rDNAแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่ม Bacillus spp. และ Chromobacterum sp. ซึ่งกลุ่ม Bacillus spp. ที่พบมีจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ Bacillus marisflavi KS1, Bacillus aryabhattai KS2, Bacillus pseudomycoides KS3, Bacillus safensis KS4, Bacillus infantis KS5, Bacillus cereus KS6 และ Chromobacterum violaceum KS7โดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่จัดเป็นโปรไบโอติกที่เป็นประโยชน์มีจำนวน 3ชนิด ได้แก่ Bacillus marisflavi KS1, (Bernan et al., 1997; Ganguly & Mukhopadhayay, 2010; Austin & Austin, 2012) Bacillus aryabhattai KS2 (อรวรรณ์ บุตรดีและคณะ 2556b) และ Bacillus cereus KS6 (อรวรรณ์ บุตรดีและคณะ 2556a) สอดคล้องกับรายงานการวิจัยของ อรวรรณ์ บุตรดีและคณะ (2556a) ศึกษาที่แยกได้จากทางเดินอาหารของกุ้งก้ามกรามจากคลองธรรมชาติ ในจังหวัดนครปฐมจำแนกเชื้อโดยการวิเคราะห์ลำดับเบสในส่วนของยีน 16S rDNA พบว่า เชื้อทั้งหมด เป็นเชื้อที่อยู่ในสกุลบาซิลลัส ได้แก่ B. pumilus TSN33, B. pumilus LLBM499, B. subtilis TSM33, B. subtilis TSM262, B. subtilis LLBM241, B. subtilis TSN262, B. aryabhattai TSM362, B. amyloliquefaciens TSN63, B. amyloliquefaciens TSM499-4, B. cereus HMN142, B. cereus LLBM202, B. thuringiensis HMN151 และ B. licheniformis HMN152 เชื้อเหล่านี้ มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการคัดเลือกไปใช้เป็นโปรไบโอติกในการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามต่อไปได้และมีการศึกษาพบ Bacillus marisflavi ในลำไส้เล็กของปลาเทราท์สายรุ้ง ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านจุลินทรีย์ Listorella anguillarum (Bernan et al., 1997; Ganguly & Mukhopadhayay, 2010; Austin & Austin, 2012) และศึกษาพบ Bacillus aryabhattai พบในรากของพืชน้ำชนิดหนึ่ง เรียกว่า Lammna sp. เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปท่อน มีความสามารถในการเจริญเติบโตได้ในอุณหภูมิต่ำถึง 4 องศาเซลเซียส แต่ไม่ทนในอุณหภูมิมากกว่า 37 องศาเซลเซียส (Semanti et al., 2012) และได้มีการศึกษาพบจุลินทรีย์โปรไบโอติกทั้งหมดที่คัดแยกได้จากทางเดินอาหารของกุ้งก้ามกรามจากคลองธรรมชาติในจังหวัดนครปฐม เป็นโปรไบโอติกในกลุ่มบาซิลลัส ได้แก่ B. subtilis TSM33, B. subtilis TSM262, B. subtilis LLBM241, B. subtilis TSN262, B. aryabhattai TSM362, B. amyloliquefacian TSN63, B. amyloliquefacian TSM499-4 และ B. thuringiensis HMN151 เชื้อเหล่านี้ จึงมีคุณสมบัติเบื้องต้นในการคัดเลือกไปใช้เป็นโปรไบโอติกในการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามต่อไปได้ และยังสามารถยั้งยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้ 3 ชนิด คือ Aeromonas hydrophila, Vibrio harviyi และ E. coli แต่ไม่สามารถยับยั้งเชื้อ V. parahaemolyticus ได้ (อรวรรณ์ บุตรดี และคณะ, 2556b)

ดังนั้น โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่าการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบบูรณาการในพื้นที่ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างยั่งยืนนี้ มีจุดประสงค์เพื่อหาแนวทางการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในระบบพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยสามารถนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามก้ามกราม สามารถนำจุลินทรีย์โปรไบโอติกมาใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อการพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในระบบพัฒนาแบบอินทรีย์ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเติมออกซิเจนโดยใช้ระบบการพ่นลงในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม การแปรรูปผลิตภัณฑ์กุ้งก้ามกราม ตลอดจนการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการ การเขียนแผนการจัดการห่วงโซ่การผลิต (VCF) การเพิ่มมูลค่าการผลิต แผนการตลาด และห่วงโซ่การอุปทานการตลาดต่อไป

แหล่งน้ำและคุณภาพน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้ง
แหล่งน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มาจากพื้นที่เขื่อนลำปาว ซึ่งจำเป็นต้องทราบปริมาณน้ำเพียงพอที่จะใช้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้นานกี่เดือน เพื่อนำไปวางแผนเลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้เหมาะสมกับสถานการณ์การปิดน้ำของชลประทาน คุณภาพน้ำในเขื่อนก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เพราะว่ากุ้งก้ามกรามอาศัยอยู่ในน้ำซึ่งหากคุณภาพน้ำไม่ดีจะมีผลกระทบโดยตรงต่อกุ้งก้ามกรามที่อยู่ในบ่อเลี้ยงถ้าหากบ่อเลี้ยงใดที่มีคุณภาพน้ำดีกุ้งก้ามกรามก็จะเจริญเติบโตได้ดี รวดเร็ว ไม่เกิดโรคระบาด ผู้เลี้ยงก็จะประสบผลสำเร็จและได้กำไรมาก ถ้าหากคุณภาพน้ำไม่ดีกุ้งก้ามกรามจะเจริญเติบโตช้าหรือเป็นโรคได้ง่าย ทำให้กุ้งตายเป็นจำนวนมากผู้เลี้ยงต้องขาดทุน การตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้นและการป้องกันรักษาคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

ทำไมต้องตรวจคุณภาพน้ำ
กุ้งก้ามกรามจำเป็นต้องอาศัยน้ำในการดำรงชีวิตคุณสมบัติของน้ำจะแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมและที่แตกต่างกันเช่นแม่น้ำลำธารคลองจะมีคุณสมบัติของน้ำแตกต่างจากหนองบึงอ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นแหล่งน้ำนิ่งรวมถึงบาดาลที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากแหล่งน้ำผิวดินอื่นๆการตรวจวัดคุณภาพน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อที่จะได้ปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของกุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามให้ประสบความสำเร็จ

การรักษาคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้ง

ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากการสะสมของเสียที่กุ้งถ่ายออกมา รวมทั้งเศษอาหารตกค้างในบ่อและซากพืชน้ำ การสังเคราะห์แสงของพืชน้ำก็มีส่วนทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างเปลี่ยนแปลง ในช่วงบ่ายเวลาประมาณ 15.00-16.00 น. การสังเคราะห์แสงจะถึงจุดสูงสุด ทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างในน้ำสูงมาก แต่ในช่วงกลางคืนพืชน้ำต่างๆ จะหยุดสังเคราะห์แสงเนื่องจากไม่มีแสงแดดมีแต่การหายใจเพียงอย่างเดียวค่าความเป็นกรด-ด่างจะลดลงมาก ค่าความเป็นกรด-ด่างในบ่อกุ้งควรรักษาให้อยู่ในระดับ 7-9 และระดับที่เหมาะสมที่สุดคือ 7.5-8.5 ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกุ้งมากที่สุด กุ้งจะสามารถกินอาหารได้ดีด้วย ดังนั้นควรรักษาระดับค่าความเป็นกรด-ด่าง ให้อยู่ในช่วง 7.5-8.5 ถ้าสูงหรือต่ำกว่านี้ก็ควรรีบแก้ไข
ข้อเสนอแนะ
1. ค่าความเป็นกรด-ด่างสูงเกินไป จะทำให้แพลงก์ตอนพืชในน้ำเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแสดงว่าน้ำในบ่อ แสดงว่าน้ำในบ่อมีปุ๋ยหรือแร่ธาตุ มากเกินไปจะต้องถ่ายน้ำในบ่อออกแล้วนำน้ำใหม่เข้ามาเพื่อปรับค่าความเป็นกรด-ด่างให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าปล่อยให้ค่าความเป็นกรด-ด่างสูงจะทำให้พืชน้ำ เจริญเติบโตได้เร็วมากเมื่อตายลงจะทำให้น้ำเน่าเสีย
2. ค่าความเป็นกรด-ด่างต่ำเกินไป แสดงว่าน้ำขาดปุ๋ยหรือแร่ธาตุแพลงก์ตอนพืชจะเจริญเติบโตช้าหรือไม่เจริญเติบโตเลยการคายออกซิเจน จากการสังเคราะห์แสงก็จะน้อยลงไปด้วย ควรใส่ปูนขาวประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม/ไร่ เป็นเวลา 3-4 วัน

ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ
ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำจะลดลงเนื่องจากการใช้หายใจของกุ้ง และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในน้ำซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปค่าออก ซิเจนที่ละลายในน้ำจะต่ำที่สุดในช่วงเวลา 02.00 น.-05.00 น. ก่อนตะวันขึ้นค่าต่ำสุดที่กุ้งจะทนได้คือประมาณ 0.35-0.9 พีพีเอ็ม(ส่วนในล้าน)สำหรับ การ เลี้ยงแบบหนาแน่นในสภาพน้ำที่เขียวควรรักษาระดับออกซิเจนที่ละลายในน้ำให้สูงกว่า 3 พีพีเอ็ม ถ้าออกซิเจนละลายในน้ำไม่พอกุ้งจะว่ายบนผิวน้ำมี อาการลอย หัวและเกาะตามตลิ่งจะไม่ว่ายลงไปใต้น้ำ แม้ว่าจะมีคนเดินมาใกล้ก็ตามควรรีบเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือเปิดเครื่องตีน้ำให้เต็มที่ทันทีเพื่อเพิ่มค่าออกซิเจน ในน้ำ
ข้อเสนอแนะ
1. การขยายเพิ่มปริมาณของแพลงก์ตอนพืชในน้ำ เพื่อทำสีน้ำให้เขียวขึ้นในเวลากลางวันการสังเคราะห์แสงจะเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจน แต่ในเวลากลางคืนแพลงก์ตอนพืชไม่มีการสังเคราะห์แสง มีแต่การใช้ออกซิเจนในการหายใจถ้าหากมีแพลงก์ตอนพืชมากเกินไป ทำให้ออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ สำหรับกุ้ง ฉะนั้น จึงต้องมีการควบคุมปริมาณแพลงก์ตอนพืชให้มีความโปร่งใสของน้ำประมาณ 20-30 ซม. และอาจต้องใช้เครื่องตีน้ำช่วยเพิ่มออกซิเจนใน เวลากลางคืนด้วย
2.ต้องทำลายหรือขจัดสิ่งที่จะมาแย่งออกซิเจน เช่น ปลา ปู กุ้งฝอยเศษสกปรกที่สะสมอยู่ก้นบ่อซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่ต้องใช้ออกซิเจนในการ ย่อยสลายตัวโดยการถ่ายเปลี่ยนน้ำ
3. ในกรณีที่ใช้น้ำบาดาล ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำบาดาลมักต่ำแต่จะมีไนโตรเจนสูง ดังนั้น จะต้องพักน้ำบาดาลให้อยู่กลางแจ้งก่อนแสง แดดจะช่วยเพิ่มค่าออกซิเจนและสลายปริมาณไนโตรเจนในน้ำ ตลอดจนช่วยตกตะกอนเหล็กหรือโลหะต่างๆ
4. ในวันที่ฝนตก จำเป็นต้องใช้เครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เนื่องจากความกดอากาศต่ำจะทำให้ค่าออกซิเจนต่ำเช่นกัน
5. ในระหว่างกุ้งลอกคราบต้องการออกซิเจนมาก หากออกซิเจนไม่พอจะมีผลกระทบที่ไม่ดีต่อกุ้ง เราจึงต้องถ่ายน้ำและตีน้ำมากๆ เพื่อให้กุ้ง ได้ รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ

อุณหภูมิของน้ำ
อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมที่สุดในช่วง 25-30 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป อาจทำให่กุ้งอ่อนแอหรือตายได้
ข้อเสนอแนะ
1. ถ้าอุณหภูมิน้ำสูงเกินไปแสดงว่าระดับน้ำต่ำเกินไป ควรรีบเติมน้ำเข้าไปให้ระดับน้ำสูงขึ้นเป็น5-6 ฟุต และอย่าให้เครื่องตีน้ำตีน้ำลึกเกินไป เพราะจะทำให้น้ำชั้นล่างร้อนด้วย
2. ถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไปให้ดูดน้ำที่อุ่นกว่าเข้าผสมหรืออาจลดระดับน้ำให้ตื้นในช่วงเช้า เพื่อให้แสงแดดส่องและเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นในช่วง บ่าย

สีของน้ำ
น้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งควรเป็นสีเขียวอมน้ำตาลขึ้นอยู่กับชนิดของแพลงก์ตอน เพื่อป้องกันแสงแดดไม่ให้ส่องถึงก้นบ่อมาก เป็นการลดการเกิดขี้แดด และพืชน้ำอื่นๆ ถ้าขี้แดดในบ่อมีมากมันจะไปเกาะตัวกุ้งทำให้กุ้งไม่ลอกคราบ
ข้อเสนอแนะ
1. น้ำสีอ่อนหรือใสเกินไปแสดงว่าน้ำขาดธาตุอาหาร จึงต้องใส่ปุ๋ยในบ่อกุ้ง ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 3 กิโลกรัม/ไร่
2. น้ำมีสีเขียวจัดเกินไปต้องเติมน้ำหรือถ่ายน้ำเก่าออก แล้วเติมน้ำใหม่เข้าบ่อหรือหว่านปูนขาว อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ ละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ

ขี้แดด
บ่อที่แสงแดดส่องลงไปได้ลึก จะต้องทำให้แพลงก์ตอนพืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้น้ำขาดออกซิเจนและพืชน้ำเหล่านี้จะตายไปสะสม อยู่ก้นบ่อแลายเป็นขี้แดด
ข้อเสนอแนะ
ทำสีน้ำในบ่อให้คงที่ ไม่ใสหรือเข้มเกินไป

คุณภาพน้ำบอกอะไรกับเกษตรกร
1. อุณหภูมิน้ำ ควรอยู่ในช่วง23-32องศาเซลเซียสวิธีง่ายๆ คือสัมผัสด้วยมือน้ำจะต้องไม่ร้อยหรือเย็นจนเกินไปถ้าน้ำเย็นมากปลากินอาหารน้อยลงควรลดปริมาณน้ำในบ่อและลดปริมาณอาหารลง
2. ปริมาณออกซิเจน โดยเฉลี่ยปริมาณออกซิเจนในรอบวันไม่ควรต่ำกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตรถ้าต่ำกว่านี้อาจทำให้ปลาเจริญเติบโตไม่ดีหรือตายได้เมื่อปริมาณออซิเจนต่ำให้ใช้เครื่องตีน้ำหรือสูบพ่นน้ำไปในอากาศก็ได้เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณในน้ำโดยเฉพาะเวลากลางคืนและเช้ามืด
3. ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ควรอยู่ระหว่าง 6.5-9การเปลี่ยนแปลงของ pHที่เกิดขึ้นจะทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนไปและมีผลต่อความเป็นพิษของสารบางชนิดได้ เช่นความเป็นพิษของแอมโมโนเนียมากขึ้นหรือลดลงได้
4. ความกระด้าง น้ำอ่อนหรือน้ำที่กระด้างเกินไปถือว่าไม่มีความเหมาะสมถ้าน้ำอ่อนเมื่อทำการเพาะเลี้ยงจะต้องมีการเติมปูนขาวเพื่อที่จะทำให้น้ำมีค่าความกระด้างสูงขึ้นเกณฑ์ที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรมีค่าอยู่ระหว่าง75-300มิลลิกรัมต่อลิตรหากกระด้างจนเกินไปสามารถแก้ไขได้โดยวิธีการพักน้ำและติดตั้งเครื่องกรอง
5. ความเป็นด่าง เป็นตัวที่คอยควบคุมไม่ให้แหล่งน้ำมีการเปลี่ยนแปลงpH ควรมีค่าอยู่ในระหว่าง100-200มิลลิกรัมต่อลิตร
6. แอมโมเนีย เป็นแก๊สที่มีพิษต่อปลามากเกิดจากของเสียและมูลต่างๆที่สัตว์น้ำขับถ่ายออกมาถ้าปริมาณสูงจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำมาก
7. ความขุ่น ตะกอนดินที่แขวนลอยอยู่ในน้ำถ้าปริมาณมากเกินไปจะเป็นตัวขวางกั้นไม่ให้แสงสว่างลงไปได้ลึกทำให้พืชและแพลงก์ตอนไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ส่งผลให้ปริมาณอาหารธรรมชาติในบ่อลดลง
8. ความโปร่งใส ควรมีค่าระหว่าง30-60เซนติเมตรถ้าพบว่าในน้ำของบ่อเป็นสีเขียวจัดควรเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อลดความเข้มข้นของสีน้ำลงสำหรับบ่อที่มีน้ำใสควรเติมปุ๋ยลงในบ่อเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชและแพลงก์ตอนพืชให้สามารถเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้น

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม

เพิ่มผลผลิตต่อไร่  ไม่น้อยกว่า 200 กิโลกรัมต่อไร่

80.00 1.00
2 เพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์จังหวัดกาฬสินธุ์ในการแก้ไขปัญหาการอยู่ดีกินดีของประชาชน และการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน

รายได้ของเกษตรสูงขึ้นกว่าเดิม

70.00 1.00
3 พัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อขยายสู่พื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดกาฬสินธุ์

ขยายหมู่บ้านลูกข่าย อย่างน้อย 3 หมู่บ้าน

60.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักวิชาการประมงและเจ้าหน้าที่ 3
นักศึกษาระดับปริญญาตรี 8
อาจารย์ผู้รับผิดชอบ 5
เกษตรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม 50

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ดำเนินจัดกิจกรรมจัดเวทีเสวนาร่วมกับนักวิจัย นักวิชาการประมง ผู้นำชุมชน ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน และตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินจัดกิจกรรมจัดเวทีเสวนาร่วมกับนักวิจัย นักวิชาการประมง ผู้นำชุมชน ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน และตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม
  2. เพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์จังหวัดกาฬสินธุ์ในการแก้ไขปัญหาการอยู่ดีกินดีของประชาชน และการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน
  3. พัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อขยายสู่พื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดกาฬสินธุ์
รายละเอียดกิจกรรม
โดยดำเนินการเสวนาในพื้นที่หมู่บ้านการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม บ้านโคกก่องและบ้านโพธิ์ชัย ต.บัวบาน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ในระหว่างวันที่ 1-15 ธันวาคม พ.ศ. 2562 รวมระยะเวลา 15 วัน โดยร่วมเสวนากับผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประธานกลุ่มวิสาหกิจ ผู้นำท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้านและตัวแทนผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม เพื่อหาแนวทางในการบริหาร จัดการการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในพื้นที่ของโครงการฯ จากการจัดเวทีเสวนาได้สรุปความต้องการ ปัญหา และอุปสรรค ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของเกษตรกร
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2563 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ได้เทคโนโลยีที่จะนำไปพัฒนาในการแก้ไขปัญหาของการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในพื้นที่หมู่บ้านที่ตรงกับความต้องการของชุมชน
2. นักศึกษาเทียบโอนรายวิชา ดังนี้
2.1 รายวิชา คุณภาพน้ำและการจัดการ 3(3-0-3) 1) นายวิรยุทธ แดงสาย ID 1100201392833 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีการเกษตร
2.2 รายวิชา ปริญญานิพนธ์3(3-0-3) 1) นางสาวเสาวลักษณ์ อุทานิตย์ ID 1461000192548 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ และ 2) นางสาวอติพร ศรีบัว ID 1461000185421 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
เทศบาลตำบลบัวบาน, ประมงจังหวัดกาฬสินธุ์, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ลงพื้นที่เสวนา 5 ครั้ง x 5 คน x 600 บาท = 15,000 บาท

5 คน 600 5 15,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชุด 5,000 1 5,000
ค่าอาหาร 20 คน 150 5 15,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่าง 20 คน x 2 มือ x 5 วัน

20 คน 70 5 7,000
ค่าพาหนะเดินทาง - อื่น ๆ

ค่าจ้างเหมารถ

1 เที่ยว 3,500 5 17,500
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่ากระดาษ แฟ้ม ปากกา ดินสอ รูปเล่มแนวทางการเสวนา

1 ชุด 5,000 5 25,000
รวมค่าใช้จ่าย 84,500

กิจกรรมที่ 2 เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบพัฒนาที่ได้มาตรฐานอย่างยั่งยืน

ชื่อกิจกรรม
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบพัฒนาที่ได้มาตรฐานอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม
  2. เพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์จังหวัดกาฬสินธุ์ในการแก้ไขปัญหาการอยู่ดีกินดีของประชาชน และการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน
  3. พัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อขยายสู่พื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดกาฬสินธุ์
รายละเอียดกิจกรรม
1. เก็บข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการ และปัญญาหาในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ของกลุ่มเกษตรกร
ผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
2. คัดเลือกกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามบ้านโคกก่องและบ้านโพธิ์ชัย ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อเป็นบ่อต้นแบบของการศึกษา
3. เตรียมบ่อเลี้ยงด้วยระบบฟาร์มแบบพัฒนาในด้านการเตรียมบ่อ การจัดหาลูกพันธุ์กุ้งก้ามกราม การเตรียมน้ำ อาหารกุ้ง การจัดการการเลี้ยง การดูแลระหว่างการเลี้ยง ระบบการให้อากาศ การใช้จุลินทรีย์โปรไบโอติก ตลอดจนเทคนิคต่างๆ ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำและโรคติดเชื้อ
4. ตรวจสอบอัตราการเจริญเติบโต การรอดตาย การติดโรคระบาด
5. บันทึกการเลี้ยงเป็นประจำทุกวัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ได้ระบบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบพัฒนาทีได้มาตรฐาน
2. ได้เทคโนโลยีที่จะนำไปพัฒนาในการแก้ไขปัญหาของการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในพื้นที่หมู่บ้านที่ตรงกับความต้องการของชุมชน
3. นักศึกษาเทียบโอนรายวิชา ดังนี้
3.1 รายวิชา คุณภาพน้ำและการจัดการ 3(2-3-5) 1) นายวิรยุทธ แดงสาย ID 1100201392833 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา
เทคโนโลยีชีวภาพ ชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีการเกษตร
3.2 รายวิชา ปัญหาพิเศษ 3(3-0-3) 1) นางสาวดวงกมลศรีวังไพร ID 1309801303714 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา
เทคโนโลยีอาหาร ชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีการเกษตร
3.3 รายวิชา ปริญญานิพนธ์ 3(3-0-3) 1) นางสาวเสาวลักษณ์ อุทานิตย์ ID 1461000192548 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ และ 2) นางสาวอติพร ศรีบัว ID 1461000185421 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
เทศบาลตำบลบัวบาน, ประมงจังหวัดกาฬสินธุ์, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ, สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 600 30 36,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าลูกพันธุ์กุ้งก้ามกราม อาหาร อุปกรณ์เครื่องตีน้ำ ค่าอุปกรณ์ระบบฟาร์มปราชเปรื่อง และเวชภัณฑ์อื่นๆ

1 ชุด 179,500 1 179,500
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าตอบแทนนักศึกษา 4 คน

4 คน 120 30 14,400
ค่าพาหนะเดินทาง - อื่น ๆ

ค่าจ้างเหมารถ

1 เที่ยว 3,500 10 35,000
รวมค่าใช้จ่าย 264,900

กิจกรรมที่ 3 นวัตกรรมระบบการเติมออกซิเจนโดยวิธีการพ่นอากาศลงในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม

ชื่อกิจกรรม
นวัตกรรมระบบการเติมออกซิเจนโดยวิธีการพ่นอากาศลงในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม
  2. เพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์จังหวัดกาฬสินธุ์ในการแก้ไขปัญหาการอยู่ดีกินดีของประชาชน และการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน
  3. พัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อขยายสู่พื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดกาฬสินธุ์
รายละเอียดกิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ได้นวัตกรรมใหม่ระบบเติมออกซิเจน / วิธีการพ่นอากาศลงในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม อย่างน้อย 1 นวัตกรรม
2. นักศึกษาเทียบโอน รายวิชาดังนี้
2.1 รายวิชา โครงงาน 3(3-0-3) 1) นายอัศวิน พิณรัตน์ ID 1469900466530 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล(เทียบโอน) ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และ 2) นายอภิสิทธิ์ ไสยกิจ ID 1409901851275 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล(เทียบโอน) ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
2.2 รายวิชา ปริญญานิพนธ์ 3(3-0-3) 1) นางสาวเสาวลักษณ์ อุทานิตย์ ID 1461000192548 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ และ 2) นางสาวอติพร ศรีบัว ID 1461000185421 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
เครื่องชุดเติมอากาศ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 600 20 12,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าตอบแทนนักศึกษา จำนวน 2 คน x 30 วัน

2 คน 120 30 7,200
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ค่าชุดเครื่องเติมอากาศและอุปกรณ์เสริม 1 ชุด

1 ชุด 30,000 1 30,000
รวมค่าใช้จ่าย 49,200

กิจกรรมที่ 4 เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑถ์กุ้งก้ามกรามเพื่อเพิ่มมูลค่า

ชื่อกิจกรรม
เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑถ์กุ้งก้ามกรามเพื่อเพิ่มมูลค่า
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม
  2. เพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์จังหวัดกาฬสินธุ์ในการแก้ไขปัญหาการอยู่ดีกินดีของประชาชน และการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน
  3. พัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อขยายสู่พื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดกาฬสินธุ์
รายละเอียดกิจกรรม
1. นำกุ้งก้ามกรามมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า
2. จัดทำผลิตภัณฑ์ OTOP ของหมู่บ้าน
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ได้ผลิตภัณฑ์จากผลผลิตกุ้งก้ามกราม / อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์
2. นักศึกษาเทียบโอนในรายวิชา
2.1 ปัญหาพิเศษ 3(3-0-3) นางสาวดวงกมล ศรีวังไพร ID 1309801303714 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการอาหาร ชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีการเกษตร
2.2 รายวิชา พฤติกรรมผู้บริโภค 3(3-0-3) 1) นางสาวนันทนิค เดชประเสริฐ ID 1469900501432 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา
การตลาด ชั้นปีที่ 2 คณะบริหารศาสตร์ และ 2) นางสาวอุไรศิลป์ พลทองเดิม ID 1450800144583 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา
การตลาด ชั้นปีที่ 2 คณะบริหารศาสตร์
ทรัพยากรอื่น ๆ
ผลิตภัณฑ์จากกุ้งก้ามกราม
ภาคีร่วมสนับสนุน
เทศบาลตำบลบัวบาน, ประมงจังหวัดกาฬสินธุ์, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 600 10 6,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ชุด 20,000 1 20,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าตอบแทนนักศึกษา 1 คน

1 คน 120 10 1,200
รวมค่าใช้จ่าย 27,200

กิจกรรมที่ 5 การบริหารจัดการต้นทุนการผลิต บัญชีฟาร์ม และระบบการตลาดกุ้งก้ามกราม

ชื่อกิจกรรม
การบริหารจัดการต้นทุนการผลิต บัญชีฟาร์ม และระบบการตลาดกุ้งก้ามกราม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม
  2. เพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์จังหวัดกาฬสินธุ์ในการแก้ไขปัญหาการอยู่ดีกินดีของประชาชน และการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน
  3. พัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อขยายสู่พื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดกาฬสินธุ์
รายละเอียดกิจกรรม
1. การบริหารจัดการระบบต้นทุนการผลิตกุ้งก้ามกราม
2. ถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดทำระบบบัญชีฟาร์ม
3. ศึกษาระบบการตลาด กลไก และห่วงโซ่อุปทานทางการตลาดกุ้งก้ามกราม
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ได้ระบบการบริหารจัดการต้นทุนการผลิต บัญชีฟาร์ม และระบบการตลาดกุ้งก้ามกราม / 2 หมู่บ้าน
2. นักศึกษาเทียบโอนรายวิชา ดังนี้
2.1 รายวิชา พฤติกรรมผู้บริโภค 3(3-0-3) 1) นางสาวนันทนิค เดชประเสริฐ ID 1469900501432 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา
การตลาด ชั้นปีที่ 2 คณะบริหารศาสตร์ และ 2) นางสาวอุไรศิลป์ พลทองเดิม ID 1450800144583 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา
การตลาด ชั้นปีที่ 2 คณะบริหารศาสตร์
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
เทศบาลตำบลบัวบาน, ประมงจังหวัดกาฬสินธุ์, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, คณะบริหารศาสตร์
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 600 10 12,000
ค่าตอบแทนการประสานงาน

ค่าตอบแทนนักศึกษา

2 คน 120 30 7,200
ค่าพาหนะเดินทาง - อื่น ๆ

ค่าจ้างเหมารถ

1 เที่ยว 3,500 10 35,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

ค่ากระดาษ ปากกา รูปเล่ม และค่าอื่นๆ

1 ชุด 20,000 1 20,000
รวมค่าใช้จ่าย 74,200

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 111,000.00 5,000.00 109,500.00 274,500.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 22.20% 1.00% 21.90% 54.90% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) 1. เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามมีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในระบบพัฒนาและสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้เพื่อแก้ปัญหาการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามต่อไป
2. เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 120 กก./ไร่ เป็น 200 กก./ไร่
3. เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามสามารถลดต้นทุนการผลิตจาก 230 บาท/กก. เหลือเพียง 190 บาท/กก.
4. เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามสามารถเพิ่มอัตราการรอดตายของลูกพันธุ์กุ้งจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 45
5. ขนาดของกุ้งก้ามกรามมีขนาดสม่ำเสมอ สามารถขายได้ทั้งบ่อพร้อมกัน
6. ได้ผลิตภัณฑ์จากกุ้งก้ามกรามอย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์
7. เกษตรกรสามารถเขียนแผนธุรกิจ วางแผนก่ารตลาด บริหารจัดการธุรกิจ และจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานได้
8. เป็นต้นแบบให้กับหมู่บ้านอื่นๆ ได้อีกอย่างน้อย 3 หมู่บ้าน
1. การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนดลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ
2. นักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการจริง ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของเกษตรกร
3. ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง การแก้ปัญหา และการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ชุมชน
ผลลัพธ์ (Outcome) 1. ร้อยละของเกษตรกรผู้นำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 80
2. ร้อยละความพึงพอใจของผู้ได้รับการถ่ายทอด ร้อยละ 80
3. เกษตรกรสามารถเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้ อย่างน้อย 5 ราย
4. ได้นวัตกรรมการเติมออกเจนลงในบ่อเลี้ยงกุ้งระบบเติมอากาศตรง อย่างน้อย 1 นวัตกรรม
1. การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สามารถเทียบโอนประสบการ์ณ เทียบเคียงการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ในรายวิชาต่างๆ ดังนี้
1.1 รายวิชาปัญหาพิเศษ 3(3-0-3)
1.2 รายวิชาโครงงาน 3(3-0-3)
1.3 รายวิชาคุณภาพน้ำและการจัดการ 3(2-3-5)
1.4 รายวิชาพฤติกรรมผู้บริโภค 3(3-0-3)
1.5 รายวิชาปริญญานิพนธ์ฺ3(3-0-3)
ผลกระทบ (Impact) 1. จำนวนผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี 50 คน
2. ผลผลิตและบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามระบบพัฒนาต้นแบบ จำนวนอย่างน้อย 4 ฟาร์ม
3. เป็นฟาร์มต้นแบบให้กับหมู่บ้านอื่นๆ ได้อีกอย่างน้อย 3 หมู่บ้าน
4. เป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในหมู่บ้าน อย่างน้อย 1 หมู่บ้าน
5. ได้นวัตกรรมการเติมออกเจนลงในบ่อเลี้ยงกุ้งระบบเติมอากาศตรง อย่างน้อย 1 นวัตกรรม
1. นักศึกษาสามารถนำไปประกอบอาชีพหรือธุรกิจการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของตัวเองได้
2. นักศึกษาหรือคนในพื้นที่ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ หันมาสนใจเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในหมู่บ้านมากขึ้น
3. นักศึกษาสามารถเป็น Start up ได้
4. นักศึกษาสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้เองได้
นำเข้าสู่ระบบโดย keeravit.pe keeravit.pe เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 23:01 น.