การจัดทำฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ในจังหวัดนครสวรรค์

แบบเสนอโครงการ
การจัดทำฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ในจังหวัดนครสวรรค์

1. ชื่อโครงการ

การจัดทำฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ในจังหวัดนครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหิดลโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครสรรค์กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติจังหวัดนครสวรรค์ มูลนิธิการจัดการความรู้เครือข่ายโรงเรียนชาวนา จังหวัดนครสวรรค์ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ชุมชนเป้าหมายหลัก: วิสาหกิจชุมชน ตำบลปางสวรรค์ ชุมชนเป้าหมายรอง: เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ในจังหวัดนครสวรรค์รศ. ดร. วรรณา ประยุกต์วงศ์มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ 402/1 ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 601300816571743อ. ดร. สมสุข พวงดี มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
อ. ดร. เปล่งสุรีย์ เที่ยงน้อย มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
อ. ธนากร เที่ยงน้อย มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
อ. ดร. วีรวัฒน์ ฉายา มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
นครสวรรค์ ชุมแสง เกยไชย ชนบท
นครสวรรค์ หนองบัว วังบ่อ ชนบท
นครสวรรค์ ไพศาลี วังน้ำลัด ชนบท
นครสวรรค์ ท่าตะโก พนมรอก ชนบท
นครสวรรค์ ลาดยาว หนองยาว ชนบท
นครสวรรค์ เมืองนครสวรรค์ ปากนำ้โพ อื่น ๆ
นครสวรรค์ ชุมตาบง ชนบท

3. รายละเอียดชุมชน

เนื่องจากชุมชนเป้าหมายหลักโครงการนี้คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลปางสวรรค์ อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเดิมในเขตพื้นที่อำเภอชุมตาบงเป็นที่ป่าไม้ (ป่าแม่วงก์-แม่เปิน) ได้มีราษฎรเข้าไปทำประโยชน์ทางการเกษตร ต่อมาสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ ได้ประกาศเขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวในปี 2537 เพื่อจัดสรรให้แก่เกษตรกรทำการเกษตร โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นหลัก ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีการทำปศุสัตว์ ได้แก่ เลี้ยงโคเนื้อ กระบือ สุกร เป็ด ไก่ และการประมงเป็นบางส่วน ต่อมาสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ ได้สนับสนุนองค์ความรู้ ปัจจัยการผลิต ในการปรับเปลี่ยนการผลิตเกษตรสู่เกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่ ทำให้เกษตรกรบางส่วนสามารถปรับเปลี่ยนเกษตรเชิงเดี่ยว สู่ระบบเกษตรอินทรีย์ สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ชุมชน จากการรวมตัวจัดตั้งกลุ่มผักปลอดภัย และพัฒนาต่อเนื่องจนสามารถจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ตำบลปางสวรรค์ ภายใต้ชื่อ “กลุ่มเกษตรกรโครงการปลูกข้าวและพืชผักปลอดภัยและพลังงานทดแทนพร้อมทั้งแปรรูปสมุนไพรพร้อมทั้งจำหน่าย”วิสาหกิจชุมชน ตำบลปางสวรรค์ มีประธานกลุ่มชื่อ นางชลาลัย ทับสิงห์ และมีสมาชิกจำนวน 40 คน ซึ่งเป็นเกษตรกรปลูกข้าว พืชผัก และเลี้ยงสัตว์ตามระบบเกษตรอินทรีย์ คือ 1) หลักสุขภาพ สุขภาพของดิน เกษตรกร และผู้บริโภค 2) หลักของระบบนิเวศ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงจุลินทรีย์และป่า ที่มีความสัมพันธ์เกื้อกูลกัน 3) หลักความเป็นธรรม การคำนึงถึงความเป็นธรรมของผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานและความเป็นธรรมของสรรพสิ่งในการดำรงชีวิตอย่างมีความสัมพันธ์เกื้อกูลกัน 4) หลักของการมีสำนึกที่ดี ของเกษตรกรสมาชิกในการผลิตที่ไม่เสี่ยงต่อการทำลายสุขภาพในระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักการดังกล่าว ทำให้สมาชิกสามารถปรับเปลี่ยนการผลิตจนได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขั้นพื้นฐานของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (The International Federation of Organic Agriculture Movements หรือ IFOAM) จำนวน 5 ราย และสมาชิกโดยส่วนใหญ่ได้รับการรับรองในระบบอื่น ๆ เช่น การรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee System หรือ PGS ) จากสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท) การผลิตที่รับการรับรองตามแนวทางการปฏิบัติเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice หรือ GAP) ของสำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น อีกทั้งวิสาหกิจชุมชนนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน ให้กับเกษตรกรในการทำเกษตรในรูปแบบของกลุ่ม โดยวิสาหกิจชุมชน ตำบลปางสวรรค์ เป็นผู้รวบรวมผลผลิตจำหน่ายให้กับคนกลางผู้รับซื้อผลผลิต จากบริษัทเอกชนต่าง ๆ เพื่อทำให้สมาชิกกลุ่มและเครือข่ายมีตลาดรับซื้อผลผลิตที่แน่นอนแม้ว่า วิสาหกิจชุมชน ตำบลปางสวรรค์ สามารถปรับเปลี่ยนการผลิตสู่เกษตรอินทรีย์ จนสามารถจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลางโดยตรง ได้แต่ก็ยังประสบปัญหาในการติดต่อเจรจา เพื่อส่งมอบผลผลิต อีกทั้งยังได้พบการนำผลผลิตที่ไม่ได้รับมาตรฐานอินทรีย์นำส่งรวมไปกับผลผลิตของกลุ่มตน ทำให้ไม่สามารถนำหลักความเป็นธรรม มาใข้ในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ได้ นอกเหนือไปจากปัญหาการขาดแคลนน้ำ และความแห้งแล้ง อันเป็นภาวะโลกร้อนที่กำลังเผชิญอยู่ปัญหาการจัดการและการส่งมอบผลผลิตที่ได้มาตรฐานและปราศจากการปลอมปน เป็นปัญหาสำคัญที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลปางสวรรค์ เผชิญอยู่มีสาเหตุจากพฤติกรรมของพ่อค้าคนกลาง แต่การแก้ปัญหาเพียงแค่การเจรจาต่อรอง เป็นเพียงการแก้ปัญหาแบบครั้งคราว และภายใต้หลักการทั้งสี่หลักการของวิสาหกิจชุมชน ตำบลปางสวรรค์ ทำให้พวกเขามิได้มองเห็นเฉพาะประโยชน์ส่วนตนหรือประโยชน์กลุ่ม หากยังคำนึงความเป็นธรรม ในสิทธิของเกษตรกรที่สามารถปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตเกษตรเชิงเดี่ยวสู่วิถีการผลิตระบบอินทรีย์ได้จากการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ และสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมทางวิสาหกิจชุมชน ตำบลปางสวรรค์จึงต้องการเห็นข้อมูลการทำเกษตรในระบบนี้ในจังหวัดนครสวรรค์ ทั้งในเรื่องการผลิตและการตลาด อันเป็นฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้วิสาหกิจชุมชน ตำบลปางสวรรค์ ได้นำมาใช้ในการบริหารเครือข่าย และเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจของเกษตรกรที่สนใจต้องการปรับเปลี่ยนการผลิต อันเป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุคือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจของเกษตรกรไทยที่ผ่านมา อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยในปัจจุบัน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้ที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน มาจากสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ในด้านการบริหารจัดการ และโลจิกส์ติก ตลอดห่วงโซ่คุณค่าระบบเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ นับตั้งแต่ต้นน้ำ ข้อมูลเกษตรกร แปลงพื้นที่ รูปแบบการผลิต กลางน้ำ ผลผลิต และการจัดจำหน่าย กลุ่มพ่อค้า และปลายน้ำ ตลาดที่จำหน่ายผลผลิต และกลุ่มผู้บริโภค เป็นต้น และในการเก็บข้อมูลนี้เป็นการเก็บข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็น Application ที่ใช้กันในโทรศัพท์มือถือ เช่น Agriconnect หรือ APP ของ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT) ฯลฯ เป็นต้น อันเป็นนวัตกรรมดิจิตอลเทคโนโลยี ที่ช่วยทำให้เกิดการช่วยให้เกษตรกรมีความคุ้นเคยและสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ภายใต้การช่วยเหลือของนักศึกษาในโครงการ

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดนครสวรรค์

ฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานฯ ที่สามารถนำไปใช้งานได้

1.00 0.00
2 2. เพื่อนำองค์ความรู้ด้านห่วงโซ่อุปทานมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมระบบเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และนวัตกรรมดิจิตัลเทคโนโลยีด้านการเกษตร มาเผยแพร่ให้กับเกษตรกรได้ใช้ประโยชน์

นักศึกษา เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ และสามารถใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมในการจัดเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบและวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนนำไปใช้ได้

0.00 0.00
3 3. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้องค์ความรู้ในข้อ 2 จากกระบวนการลงมือทำจริงในพื้นที่ และได้ฝึกปฏิบัติการทำงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในสถานการณ์ชีวิตจริง ตลอดจนการฝึกรวบรวมข้อมูล การสังเกต การสะท้อนผลการเรียนรู้ และการวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำเสนอข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้อง

นักศึกษามีความเข้าใจและนำเสนอผลการเรียนรู้สู่สาธารณะได้

0.00 0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1. เกษตรกรที่ทำเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ 100
2. ผู้จำหน่ายผลผลิตเกษตรปลอดภัยสู่อินทรีย์ 30
3. นักศึกษา สาขาวิชาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง 8
4. นักศึกษา จากคณะต่าง ๆ มหาวิทยาลัยมหิดล 12

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การลงนามความร่วมมือจัดทำฐานข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
การลงนามความร่วมมือจัดทำฐานข้อมูล
วัตถุประสงค์
  1. 1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดนครสวรรค์
รายละเอียดกิจกรรม
การลงนามความร่วมมือจัดทำฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานร่วมโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พ.ค. 2563 ถึง 15 พ.ค. 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ความร่วมมือการสนับสนุนข้อมูลและทรัพยากรร่วม
ทรัพยากรอื่น ๆ
บุคลากรช่วยในการติดต่อประสานงาน
ภาคีร่วมสนับสนุน
บุคลากรช่วยในการติดต่อประสานงานจากสถาบันหลัก
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมลงนามความร่วมมือ

25 คน 40 1 1,000
รวมค่าใช้จ่าย 2,000

กิจกรรมที่ 2 การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ

ชื่อกิจกรรม
การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ
วัตถุประสงค์
  1. 1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดนครสวรรค์
รายละเอียดกิจกรรม
การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานร่วมที่สนับสนุนเกษตรกรในแนวทางเกษตรปลอดภัยสู่อินทรีย์
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พ.ค. 2563 ถึง 31 พ.ค. 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ข้อมูลทุติยภูมิที่เป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล
ทรัพยากรอื่น ๆ
คอมพิวเตอร์
ภาคีร่วมสนับสนุน
สปก. กษ สสจ พาณิชย์ โรงเรียนขาวนา และหอการค้า
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
รวมค่าใช้จ่าย 0

กิจกรรมที่ 3 การทดสอบการใช้งาน App

ชื่อกิจกรรม
การทดสอบการใช้งาน App
วัตถุประสงค์
  1. 1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดนครสวรรค์
  2. 2. เพื่อนำองค์ความรู้ด้านห่วงโซ่อุปทานมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมระบบเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และนวัตกรรมดิจิตัลเทคโนโลยีด้านการเกษตร มาเผยแพร่ให้กับเกษตรกรได้ใช้ประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม
การรวบรวม App และทดสอบการใช้งาน App ในการเก็บข้อมูล
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
App ที่เหมาะสมในการจัดทำ0ฐานข้อมูล
ทรัพยากรอื่น ๆ
App
ภาคีร่วมสนับสนุน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
รวมค่าใช้จ่าย 0

กิจกรรมที่ 4 การจัดการเรียนรู้เรื่องห่วงโซ่คุณค่าในระบบเกษตรและ Application การจัดทำฐานข้อมูลฯ

ชื่อกิจกรรม
การจัดการเรียนรู้เรื่องห่วงโซ่คุณค่าในระบบเกษตรและ Application การจัดทำฐานข้อมูลฯ
วัตถุประสงค์
  1. 2. เพื่อนำองค์ความรู้ด้านห่วงโซ่อุปทานมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมระบบเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และนวัตกรรมดิจิตัลเทคโนโลยีด้านการเกษตร มาเผยแพร่ให้กับเกษตรกรได้ใช้ประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม
การจัดการเรียนรู้เรื่องห่วงโซ่คุณค่าในระบบเกษตรและ Application การจัดทำฐานข้อมูลฯ ในกลุ่มเป้าหมาย นักศึกษา
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
นักศึกษาได้องค์ความรู้และเข้าใจการใช้ App ในการเก็บข้อมูล
ทรัพยากรอื่น ๆ
เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน
ภาคีร่วมสนับสนุน
สปก. กษ สสจ พาณิชย์ โรงเรียนขาวนา และหอการค้า
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าตอบแทนวิทยากรในการจัดการเรียนรู็ในหัวข้อนี้

1 คน 4,000 1 4,000
รวมค่าใช้จ่าย 4,000

กิจกรรมที่ 5 การจัดเก็บข้อมูลฐานข้อมูลฯ

ชื่อกิจกรรม
การจัดเก็บข้อมูลฐานข้อมูลฯ
วัตถุประสงค์
  1. 1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดนครสวรรค์
  2. 3. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้องค์ความรู้ในข้อ 2 จากกระบวนการลงมือทำจริงในพื้นที่ และได้ฝึกปฏิบัติการทำงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในสถานการณ์ชีวิตจริง ตลอดจนการฝึกรวบรวมข้อมูล การสังเกต การสะท้อนผลการเรียนรู้ และการวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำเสนอข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม
การจัดเก็บข้อมูลฐานข้อมูลฯ เกษตรกรในกลุ่มต่าง ๆ และผู้เกี่ยวข้อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 มิถุนายน 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ข้อมูลนำเข้าในระบบฐานข้อมูล ด้วย App
ทรัพยากรอื่น ๆ
ไม่มี
ภาคีร่วมสนับสนุน
สปก. กษ สสจ พาณิชย์ โรงเรียนขาวนา และหอการค้า
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าเช่ารถ

ค่าเช่ารถรวมค่าน้ำมันเชื่อเพลิง

1 ครั้ง 2,500 20 50,000
อื่น ๆ

ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษาจำนวน 30 คน วันละ 240 บาทต่อคน-วัน

30 คน 240 20 144,000
รวมค่าใช้จ่าย 194,000

กิจกรรมที่ 6 การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล
วัตถุประสงค์
  1. 1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดนครสวรรค์
รายละเอียดกิจกรรม
การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล จากการรวบรวม เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลการวิเคราะห์สังเคราะห์
ทรัพยากรอื่น ๆ
คอมพิวเตอร์
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
ค่าถ่ายเอกสาร 1 ครั้ง 1,000 1 1,000
รวมค่าใช้จ่าย 2,000

กิจกรรมที่ 7 การนำเสนอฐานข้อมูลให้กับหน่วยงานร่วมสนับสนุน

ชื่อกิจกรรม
การนำเสนอฐานข้อมูลให้กับหน่วยงานร่วมสนับสนุน
วัตถุประสงค์
  1. 1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดนครสวรรค์
  2. 2. เพื่อนำองค์ความรู้ด้านห่วงโซ่อุปทานมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมระบบเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และนวัตกรรมดิจิตัลเทคโนโลยีด้านการเกษตร มาเผยแพร่ให้กับเกษตรกรได้ใช้ประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม
การนำเสนอฐานข้อมูลให้กับหน่วยงานร่วมจัดและผู้เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง 15 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ฐานข้อมูลที่ให้หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
สปก. กษ สสจ พาณิชย์ โรงเรียนขาวนา และหอการค้า
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวันผู้เข้าร่วม

25 คน 200 1 5,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 คน 1,000 1 1,000
รวมค่าใช้จ่าย 6,000

กิจกรรมที่ 8 การนำเสนอผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรูปแบบนิทรรศการดิจิตัล

ชื่อกิจกรรม
การนำเสนอผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรูปแบบนิทรรศการดิจิตัล
วัตถุประสงค์
  1. 2. เพื่อนำองค์ความรู้ด้านห่วงโซ่อุปทานมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมระบบเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และนวัตกรรมดิจิตัลเทคโนโลยีด้านการเกษตร มาเผยแพร่ให้กับเกษตรกรได้ใช้ประโยชน์
  2. 3. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้องค์ความรู้ในข้อ 2 จากกระบวนการลงมือทำจริงในพื้นที่ และได้ฝึกปฏิบัติการทำงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในสถานการณ์ชีวิตจริง ตลอดจนการฝึกรวบรวมข้อมูล การสังเกต การสะท้อนผลการเรียนรู้ และการวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำเสนอข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม
การนำเสนอผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรูปแบบนิทรรศการดิจิตัล ใน Social Media ต่าง ๆ
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กันยายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลการนำเสนอการเรียนรู้ในรูปแบบ Clip VDO
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
รวมค่าใช้จ่าย 0

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 208,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 4,000.00 2,000.00 57,000.00 1,000.00 144,000.00 208,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 1.92% 0.96% 27.40% 0.48% 69.23% 100.00%

11. งบประมาณ

208,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) ฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ในจังหวัดนครสวรรค์
เกษตรกรมีความสามารถในการใช้ App และเข้าถึงข้อมูลเพื่อการสื่อสารกับผู้รับซื้อและผู้บริโภคได้
นักศึกษาได้รับองค์ความรู้และทักษะการใช้ดิจิตัลเทคโนโลยีอย่างเต็มระบบ และสามารถเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล ตลอดจนการแสดงผลการเรียนรู้ในรูปแบบ Clip VDO
ผลลัพธ์ (Outcome) เกษตรกร หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาสังคม สามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้ฐานข้อมูลฯ เพื่อการตัดสินใจ นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานในสถานการณ์จริง ได้ฝึกทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้ใหญ่ และได้ประสบการณ์การเก็บข้อมูลของเกษตรกรในพื้นที่
ผลกระทบ (Impact) เกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลเพื่อการยกระดับสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ นักศึกษาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ อันเป็นการสร้างประโยชน์สุขให้กับสังคม
นำเข้าสู่ระบบโดย wanna.pry wanna.pry เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 22:22 น.