โครงการการสำรวจและจัดทำแผนพัฒนาชุมชน ภายใต้แผนงานยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา หมู่บ้านประจำรักษ์ ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก

แบบเสนอโครงการ
โครงการการสำรวจและจัดทำแผนพัฒนาชุมชน ภายใต้แผนงานยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา หมู่บ้านประจำรักษ์ ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก

1. ชื่อโครงการ

โครงการการสำรวจและจัดทำแผนพัฒนาชุมชน ภายใต้แผนงานยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา หมู่บ้านประจำรักษ์ ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตากหมู่บ้านประจำรักษ์ ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตากนางสาวซินเนียรัติภัทร์41 ถนน พหลโยธิน ตำบล ไม้งาม อำเภอเมืองตาก ตาก 63000081-8817961

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ตาก เมืองตาก วังหิน

3. รายละเอียดชุมชน

หมู่บ้านประจำรักษ์ หมู่ที่ 10 เป็นหมู่บ้านหนึ่งในจำนวน 11 หมู่บ้านของตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองตากไปทางทิศใต้ การเดินทางไปหมู่บ้านสามารถใช้ได้ 2 เส้นทาง คือ จากถนนพหลโยธิน เส้นทางสายตาก – กำแพงเพชร เป็นระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร หรือ สามารถใช้เส้นทางริมแม่น้ำปิงผ่านไปทางบ้านท่าแค มีจำนวนครัวเรือน 67 ครัวเรือน รวมประชากรทั้งสิ้น 237 คน บ้านประจำรักษ์มีเขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 4 คุ้ม คือ คุ้มบุษราคัม คุ้มศิลาหยก คุ้มเพชรน้ำหนึ่ง และคุ้มทองนพเก้า และมีเขตติดต่อทางด้านทิศเหนือติดกับบ้านไร่ หมู่ที่ 2 ทิศใต้ติดกับบ้านหนองบัว หมู่ที่ 10 ทิศตะวันออกติดกับป่าสงวนประจำรักษ์ และทิศตะวันตกติดกับแม่น้ำปิง อาชีพของคนในชุมชน ส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ประกอบไปด้วยการทำนา เกษตรผสมผสาน แปลงผักปลอดภัย และทำสวน เช่น กล้วย มะม่วง เป็นต้น รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่ คือ เลี้ยงโค และปลา นอกจากนี้ยังมีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น การแปรรูปมะม่วง (ทำส้มลิ้ม ส้มแผ่น) การแปรรูปหัตถกรรม เช่น ไม้ไผ่ เครื่องจักสาน กะลามะพร้าว สำหรับแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรและการประกอบอาชีพต่าง ๆ หมู่บ้านประจำรักษ์มีแม่น้ำปิงไหลผ่าน มีสระน้ำ สระสาธารณะสำหรับเก็บกักน้ำไว้เลี้ยงปลาและใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน สภาพภูมิประเทศของหมู่บ้าน ด้านหลังหมู่บ้านมีภูเขา และป่าไม้อุดมสมบูรณ์ อันเป็นแหล่งไม่ไผ่เพื่อการจักสาน อาหารป่า และเห็ดนานาชนิดของหมู่บ้านพื้นที่ป่าชุมชนมีเนื้อที่กว่า 34 ไร่ มีพื้นที่ทำนาจำนวนมาก และสามารถเป็นแหล่งเมล็ดพันธุ์ข้าวประจำตำบล ส่วนเรื่องศาสนา ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ และมียึดเหนี่ยว หมู่บ้านประจำรักษ์มีวัดเขาลาน้ำเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน และเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม พื้นที่ภูเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดเป็นป่าอุดมสมบูรณ์

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจ จัดทำฐานข้อมูลชุมชนและแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วมของบ้านประจำรักษ์

ร้อยละของความสำเร็จของแผนชุมชนบ้านประจำรักษ์แบบมีส่วนร่วม

0.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
-ชาวบ้านประจำรักษ์ 20
-นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจฯและคณะวิศวกรรมศาสตร์ 15

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การสำรวจและจัดทำแผนพัฒนาชุมชน ภายใต้แผนงานยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา หมู่บ้านประจำรักษ์ ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก

ชื่อกิจกรรม
การสำรวจและจัดทำแผนพัฒนาชุมชน ภายใต้แผนงานยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา หมู่บ้านประจำรักษ์ ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. ประชุมวางแผนงานร่วมกันระหว่างคณะทำงาน ผู้นำ ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    2. ดำเนินการเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลของชุมชน โดยศึกษาแนวคิดและทฤษฎีชุมชน สร้างเครื่องมือที่มีความเหมาะสม และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิหรือข้อมูลภาคสนาม ตรวจสอบ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูล
    3. ดำเนินการจัดเวทีวินิจฉัยชุมชน เพื่อจัดทำแผนพัฒนาชุมชนบ้านประจำรักษ์
    4. จัดการประชุมประชาพิจารณ์ร่วมกันระหว่างคณะทำงาน ผู้นำ ชุมชน ชาวบ้าน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    5. จัดทำการประเมินผลและรายงานผลการศึกษาชุมชน
    6. นำผลที่ได้จากการประเมินความพึงพอใจมาใช้สำหรับปรับปรุง/พัฒนา และแก้ไข
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    ถึง
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    1. ผลผลิตที่คาดว่าจะได้ (Output)
    (1.1) ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
    - มีชาวบ้านในชุมชนเข้าร่วมโครงการ อย่างน้อย 20 คน มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 15 คน มี หน่วยงานในพื้นที่เข้าร่วม อย่างน้อย 3 หน่วยงาน
    (1.2) ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
    - ได้แผนชุมชนบ้านประจำรักษ์แบบมีส่วนร่วม ระยะเวลา 3 ปี และมีผลประเมินความพึงพอใจของโครงการอย่างน้อยอยู่ในระดับดี
    - ได้ฐานข้อมูลชุมชนอย่างมีส่วนร่วม (Village Profile) จากการทำ SWOT ร่วมกัน
    - ได้แผนชุมชนบ้านประจำรักษ์ที่มีกิจกรรมในด้านการนำเทคโนโลยีที่มาใช้สำหรับการผลิตที่ตรงกับความต้องการของชุมชน
    2. ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ (Outcome)
    - เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ที่จะสามารถกำหนดแผนในการลดรายจ่ายจากหรือเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนจากการนำเทคโนโลยีไปใช้สำหรับการผลิต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ในปีที่ผ่านมา
    - ชุมชนกลุ่มเป้าหมายเข้าใจกระบวนการบูรณาการการวางแผนงานร่วมกัน
    - เกิดกระบวนการกลุ่มอาชีพอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
    3. ผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับ (Impact)
    - กลุ่มเป้าหมายมีบริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ เข้าใจถึงการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มผลผลิต มีแผนที่จะเพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายอย่างเป็นระบบ มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    1. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใต้
    2. พัฒนาชุมชน ตำบลหนองบัวใต้
    3. เกษตรจังหวัดตาก กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 6,000 2 12,000
    ค่าอาหาร 40 คน 130 3 15,600
    ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ชุด 7,850 1 7,850
    ค่าถ่ายเอกสาร 1 ชุด 4,500 1 4,500
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 2 เที่ยว 525 5 5,250
    อื่น ๆ 1 ครั้ง 4,800 1 4,800
    รวมค่าใช้จ่าย 50,000

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 50,000.00 บาท

    ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 12,000.00 25,350.00 7,850.00 4,800.00 50,000.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 24.00% 50.70% 15.70% 9.60% 100.00%

    11. งบประมาณ

    50,000.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output)
    ผลลัพธ์ (Outcome)
    ผลกระทบ (Impact)
    นำเข้าสู่ระบบโดย kriengkrai sriprasert kriengkrai sriprasert เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 16:38 น.