โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยด้วยสมุนไพรบำบัดและการตรวจคัดกรองสุขภาพของผู้สูงอายุกับภาวะเสี่ยงต่อโรคหลงลืม (อัลไซเมอร์)

แบบเสนอโครงการ
โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยด้วยสมุนไพรบำบัดและการตรวจคัดกรองสุขภาพของผู้สูงอายุกับภาวะเสี่ยงต่อโรคหลงลืม (อัลไซเมอร์)

1. ชื่อโครงการ

โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยด้วยสมุนไพรบำบัดและการตรวจคัดกรองสุขภาพของผู้สูงอายุกับภาวะเสี่ยงต่อโรคหลงลืม (อัลไซเมอร์)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนครคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ นิสิตในรายวิชา อนามัยชุมชน และ วิชาประชากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนครกลุ่มผู้ผลิต แปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพร พื้นที่เขตตำบลนาโก อำเภอกุสินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์นายวุธิพงศ์ภักดีกุลคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร59 หมู่ 1 ตำบลเชียงเครืออำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร081 708 1908

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ กุฉินารายณ์

3. รายละเอียดชุมชน

ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ซึ่งประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์หลัก โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักว่าด้วยการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ พัฒนาคนทุกช่วงวัยเพื่อให้คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีระเบียบวินัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะการพัฒนาและดูแลผู้สูงอายุที่จะมีสัดส่วนสูงขึ้นในสังคมสูงวัยทั้งการสร้างงานที่เหมาะสม การฟื้นฟูและดูแลสุขภาพเพื่อชะลอความทุพพลภาพและโรคเรื้อรัง การสร้างสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมที่เอื้อต่อสังคมสูงวัย มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพคนเพื่อเป็นฐานการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและรองรับการลดลงของขนาดกำลังแรงงาน โดยการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ การป้องกันและควบคุมปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี การสร้างความอยู่ดีมีสุขให้ครอบครัวไทย รวมทั้งการเสริมสร้างบทบาทของสถาบันทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสังคม
จากยุทธศาสตร์นี้เห็นได้ชัดว่าเราต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพและสุขภาพของคนโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งแนวโน้มสังคมไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นในทุก ๆ ปี และปัจจุบันกระแสความตื่นตัวในเรื่องของการใช้สมุนไพรกับการดูแลสุขภาพพบมากขึ้น จัดเป็นยาในการแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) ทั้งนี้ สมุนไพร คือ พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ นี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า "ยา" (พระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522) รัฐบาลให้ความสนใจและให้ความสำคัญเรื่องสมุนไพรเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการผลิตเป็นยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง ช่วยให้ประเทศชาติประหยัดเงินตราในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากต่างประเทศ
ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น และปัญหาส่วนใหญ่ของผู้สูงวัยคือเรื่องของสุขภาพ นอกจากสภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัว ชุมชนเองที่พ่อ แม่ ลูก หลานต้องคอยดูแล เอาใจใส่ และหารายได้เพื่อมาดูแล เยียวยา หน่วยงานภาครัฐเอง แนวโน้มด้านงบประมาณทึ่ต้องมาสนับสนุนด้านสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุก็มากขึ้นในแต่ละปี และหนึ่งในปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุคือสมรรถภาพด้านการรับรู้ หรือพัฒนาการทางด้านสมองและความจำลดลง แต่ด้วยองค์ความรู้จากปราชญ์ชุมชนเรื่องสมุนไพร และหน่วยงานภาคการศึกษาที่ต่อยอดนำมาพัฒนา แปรรูปเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อบำบัดอาการทางสุขภาพดังกล่าวของผู้สูงวัย และอีกทางเพื่อให้มีการหันมาศึกษาต่อยอดภูมิปัญญาด้านสมุนไพร ของชุมชนมากยิ่งขึ้นต้องการ การสนับสนุนด้านคุณภาพ ราคา ตลาดของวัตถุดิบสมุนไพรและการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยด้วยสมุนไพรจากชุมชน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

นวัดกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร เสริมพัฒนาการด้านสมองและความจำ

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรบำบัดและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสมุนไพรในกลุ่มผู้สูงอายุ 2) เพื่อตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุกับภาวะเสี่ยงต่ออาการหลงลืม (อัลไซเมอร์)

ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เชิงปริมาณ - กลุ่มชุมชนผู้สูงอายุต้นแบบในการบำบัดดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาด้านสมุนไพร(10 ชุมชุน) - จำนวนผู้สูงอายุที่ร่วมโครงการและตรวจคัดกรองสภาวะสุขภาพ (200 คน) เชิงคุณภาพ - มีความยินดีและพึงพอใจในการรับรู้ และใช้สมุนไพรเพื่อบำบัด ดูแลสุขภาพ ร้อยละ 80 เชิงเวลา - ร้อยละของงานที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ร้อยละ 100 เชิงค่าใช้จ่าย - ร้อยละการเบิกจ่ายเป็นไปตามแผนการใช้ง่ายเงินงบประมาณ ร้อยละ 100

200.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 1.การสำรวจชุมชนต้นแบบ การส่งเสริมความรู้และการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
1.การสำรวจชุมชนต้นแบบ การส่งเสริมความรู้และการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    -การอบรมส่งเสริมความรู้และการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และการสำรวจชุมชนต้นแบบของผู้สูงอายุด้านสูขภาพดีด้วยสมุนไพร
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    1 มกราคม 2563 ถึง
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    1) มีชุมชนต้นแบบของผู้สูงอายุที่ใช้สมุนไพรบำบัด ดูแลสุขภาพ
    2) สร้างมูลค่าจากพืชสมุนไพรในชุมชนสู่คุณภาพการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน
    3) เพิ่มผลิตภัณฑ์สินค้าจากชุมชนที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สู่ตลาด
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล สนับสนุนด้านบุคลากรและข้อมูลชุมชน
    -องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยประสานกลุ่มเป้าหมายและสถานที่ดำเนินการ
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    รวมค่าใช้จ่าย 0

    กิจกรรมที่ 2 2.การตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุและการใช้สมุนไพรบำบัด

    ชื่อกิจกรรม
    2.การตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุและการใช้สมุนไพรบำบัด
    วัตถุประสงค์
      รายละเอียดกิจกรรม
      ดำเนินการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุกับอาการเสี่ยงต่อโรงหลงลืม (อัลไซเมอร์) และการใช้สมุนไพรบำบัด
      ระยะเวลาดำเนินงาน
      1 มกราคม 2563 ถึง
      ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
      ผลผลิต - สร้างสุขภาวะที่ดีของกลุ่มผู้สูงอายุห่างไกลโรคหลงลืม ด้วยสมุนไพรบำบัด
      ผลลัพธ์
      1) ชุมชนผู้สูงอายุในพื้นที่โครงการสามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาจากสมุนไพร
      2) กลุ่มผู้สูงอายุสุขภาพดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมของส่วนรวม
      3) เสริมสร้างรายได้ให้ครอบครัว และชุมชน
      ทรัพยากรอื่น ๆ
      ภาคีร่วมสนับสนุน
      -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล สนับสนุนด้านบุคลากรและข้อมูลชุมชน
      -องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยประสานกลุ่มเป้าหมายและสถานที่ดำเนินการ
      รายละเอียดงบประมาณ
      ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
      รวมค่าใช้จ่าย 0

      กิจกรรมที่ 3 3.การตรวจติดตามและประเมินผลโครงการ

      ชื่อกิจกรรม
      3.การตรวจติดตามและประเมินผลโครงการ
      วัตถุประสงค์
        รายละเอียดกิจกรรม
        ดำเนินการตรวจติดตามและประเมินผลโครงการ
        ระยะเวลาดำเนินงาน
        ถึง
        ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
        มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมายโครงการเป็นผู้สู้อายุไม่น้อยกว่า 200 คน
        ทรัพยากรอื่น ๆ
        ภาคีร่วมสนับสนุน
        -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล สนับสนุนด้านบุคลากรและข้อมูลชุมชน
        -องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยประสานกลุ่มเป้าหมายและสถานที่ดำเนินการ
        รายละเอียดงบประมาณ
        ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
        รวมค่าใช้จ่าย 0

        รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

        รวมเงิน
        ค่าใช้จ่าย (บาท) 0.00
        เปอร์เซ็นต์ (%) 100.00%

        11. งบประมาณ

        500,000.00บาท

        12. การติดตามประเมินผล

        ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
        ผลผลิต (Output) 1) มีชุมชนต้นแบบของผู้สูงอายุที่ใช้สมุนไพรบำบัด ดูแลสุขภาพ
        2) สร้างมูลค่าจากพืชสมุนไพรในชุมชนสู่คุณภาพการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน
        3) เพิ่มผลิตภัณฑ์สินค้าจากชุมชนที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สู่ตลาด
        4) สร้างสุขภาวะที่ดีของกลุ่มผู้สูงอายุห่างไกลโรคหลงลืม ด้วยสมุนไพรบำบัด
        ผลลัพธ์ (Outcome) 1) ชุมชนผู้สูงอายุในพื้นที่โครงการสามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาจากสมุนไพร โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 200 คน
        2) กลุ่มผู้สูงอายุสุขภาพดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมของส่วนรวม มีระดับความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
        3) เสริมสร้างรายได้ให้ครอบครัว และชุมชน
        ผลกระทบ (Impact) ไม่มี
        นำเข้าสู่ระบบโดย Haikoonherb19 Haikoonherb19 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 11:58 น.