การเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรด้วยการแปรรูป โดยการทำเบเกอรี่ขั้นพื้นฐาน

แบบเสนอโครงการ
การเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรด้วยการแปรรูป โดยการทำเบเกอรี่ขั้นพื้นฐาน

1. ชื่อโครงการ

การเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรด้วยการแปรรูป โดยการทำเบเกอรี่ขั้นพื้นฐานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการลำสามแก้วดร.มาโนช พรหมปัญโญมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 109000980151007อาจารย์ณัฐกฤตา นันทะสิ
ดร.ทัศตะวัน ด่วนตระกูลศิลป์
ดร.นครินทร์ ทั่งทอง
อาจารย์ชญาณิศา วงษ์พันธุ์
อาจารย์สละ แย้มมีกลิ่น

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปทุมธานี ลำลูกกา คูคด

3. รายละเอียดชุมชน

ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมา
เทศบาลเมืองลำสามแก้ว ตั้งอยู่บริเวณชุมชนลำสามแก้ว คลองซอยที่ 1, 2 และ 3 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี มีเนื้อที่ 12.5 ตารางกิโลเมตร ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลคูคต เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 ชุมชนลำสามแก้วเคยมีลำน้ำจากนครนายกไหลผ่านพื้นที่ไปลงแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านวัดอ้อมแก้ว ต่อมาวัดดังกล่าวได้รื้อไปสร้างวัดกลางคลองสี่ (พระอาจารย์ทองอินทร์) และวัดสายไหม(พระอาจารย์ทองใบ) ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า “บ้านลำสามแก้ว” (บันทึกระทรวงมหาดไทย) ชุมชนลำสามแก้ว เป็นอาณาบริเวณที่ผ่าประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงกายภาพและวัฒนธรรมที่เข้มข้นและกว้างขวางมากยิ่งกว่าอาณาบริเวณ อื่น ๆ ในประเทศไทย
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณชุมชนลำสามแก้ว เริ่มขึ้นเมื่อมีการขุดคลองรังสิตประยูรศักดิ์ โดยบริษัทขุดคลองแลคูนาสยามจำกัด ใน พ.ศ. 2420 ซึ่งมีผลทำให้บริเวณชุมชนลำสามแก้ว ที่ก่อนหน้านั้นเคยเป็นเพียงพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ปราศจากการใช้ประโยชน์ ไม่มีชุมชนหรือผู้คนตั้งหลักแหล่งอาศัยทำกินพื้นที่ทั้งหมดเป็นป่าดงรกชัฏ ที่ลุ่ม หนองบึง เต็มไปด้วยสิงห์สาราสัตว์ ทั้งสัตว์ใหญ่ สัตว์เล็ก สัตว์ปีก สัตว์น้ำและพืชพันธุ์ไม้นานาชนิด เปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่ของการเพาะปลูก ข้าวนาลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากที่มีการสร้างระบบชลประทานสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่แล้ว การเพาะปลูกข้าวในบริเวณชุมชนลำสามแก้วก็ดำเนินไปอย่างเข้มข้น และชุมชนลำสามแก้วก็เริ่มมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อภาคเศรษฐกิจ การส่งออกของข้าวไทยมีการเคลื่อนย้ายอพยพประชากรจากที่ต่างๆ ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และภูมิหลังทางสังคม เข้ามาตั้งหลักแหล่งบุกเบิกที่ดินเป็นพื้นนาสร้างชุมชนทางการเกษตรและการค้า หลังจากนั้นบางส่วนของชุมชน ลำสามแก้ว ได้กลายเป็นที่สวนและไร่ ใช้เพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ พร้อมกับการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรสมัยใหม่ในรูปแบบต่างๆ ภายหลัง พ.ศ. 2504 เมื่อมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตก็เริ่มขยายเข้ามาในบริเวณชุมชนลำสามแก้ว จังหวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบริเวณที่เกี่ยวเนื่องกับชุมชนลำสามแก้ว ดำเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้ทุนขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีระดับสูง ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ การขยายตัวของประชากรและชุมชนที่อยู่อาศัย สถาบันการศึกษาขั้นสูง ศูนย์ธุรกิจ การพาณิชย์สมัยใหม่ และแหล่งพักผ่อนในรูปแบบต่างๆ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้อาณาบริเวณชุมชนลำสามแก้วในปัจจุบันเป็นทั้งเขตอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญที่สุดเขตหนึ่งระบบเศรษฐกิจของไทย เป็นอาณาบริเวณที่มีอัตราการขยายตัวของชุมชนที่พักอาศัยสูงที่สุดบริเวณหนึ่ง จนบางส่วนกลายเป็นเขตที่อยู่อาศัยชานเมืองของกรุงเทพมหานครไป โดยปริยายแต่พื้นที่ส่วนใหญ่ของอาณาบริเวณชุมชนลำสามแก้วก็ยังคงดำรงภาคการผลิตทางการเกษตรอย่างเข้มข้นต่อไปบนพื้นฐานของเทคโนโลยีและการตลาดแบบใหม่
จากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณชุมชนลำสามแก้ว ดังกล่าว ทำให้คลองชุมชนลำสามแก้ว กลายเป็นคลองชลประทานในอดีตที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งกำเนิดของชีวิตคนริมคลองที่มีความเป็นอยู่ อาชีพ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ความเชื่อที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีโบราณสถาน โบราณวัตถุเกิดขึ้นบริเวณริมคลองมากมาย และควรได้มีการอนุรักษ์คลองชุมชนลำสามแก้วไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ชื่นชม และภาคภูมิใจกับมรดกของชาติ นอกจากคลองชุมชนลำสามแก้ว ยังเป็นคลองที่มีความเหมาะสมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งการที่จะทำให้แนวความคิดดังกล่าวประสบความสำเร็จได้นั้น บุคลากรในท้องถิ่นต้องมีความรู้ ความเข้าใจและมีองค์ความรู้ในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้ ซึ่งเด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชนลำสามแก้ว ถือเป็นบุคคลสำคัญจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นอย่างชัดเจน

วิถีชีวิตชุมชนลำสามแก้ว
คลอง คือ หัวใจสำคัญในการพัฒนาชุมชนลำสามแก้วให้มีสภาพ เป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้านที่ทยอยกันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะบริเวณสองฝั่งคลอง จะมีบ้านเรือนของชาวบ้านตั้งเรียงรายกันเป็นระยะ ๆ มีทั้งเป็นเพิงและบ้านทรงหน้าจั่วธรรมดา ที่ทำด้วยไม้ หลังคามุงจาก รอบ ๆ บริเวณบ้านจะปลูกพืชผลต่าง ๆ เช่น กล้วย อ้อย มะยม ขนุน และพืชผักสวนครัวประเภท ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เป็นต้น ใต้ถุนบ้านและชายน้ำจะเลี้ยงเป็ดและไก่ ที่ชายคลองหน้าบ้านจะปลูกผักบุ้งลอย เป็นแพดูสวยงาม ชาวบ้านได้อาศัยสายน้ำในคลองเพื่ออุปโภคและบริโภค เริ่มตั้งแต่ใช้ดื่มกิน หุงต้มข้าวปลาอาหาร อาบน้ำชำระร่างกาย ซักเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มต่างๆ ทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ นอกจากนี้ยังเป็นลมหายใจของเกษตรกรที่ต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเลี้ยงสัตว์นานาชนิด น้ำเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด คลองชุมชนลำสามแก้ว ซึ่งมีสายน้ำที่ใสสะอาดและพืชพันธุ์ไม้ธรรมชาติ จึงเป็นที่อยู่ของกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ชาวบ้านจะจับสัตว์น้ำนานาชนิดด้วยเครื่องมือประเภทต่างๆ เช่น สวิง แห อวน ยอ ลอบ ข่ายและเบ็ด เพื่อนำไปเป็นอาหาร เหลือจากนั้นจะนำไปขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้ ชาวบ้านยังใช้คลองเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งเพื่อสัญจรไปมา ค้าขาย ไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน จับจ่ายซื้อข้าวของที่ตลาด ซึ่งตลาดที่มีชื่อเสียงของคลองรังสิต คือ ตลาดรังสิตเพราะมีของขายนานาชนิด อีกทั้งช่วยทำให้ชาวบ้านไม่ต้องเสียเวลาไปจ่ายของที่ตลาดซึ่งอยู่ไกลบ้าน สำหรับพาหนะที่ใช้ในคลอง คือ เรือ ซึ่งเรือที่นิยมใช้ประจำวัน คือ เรือบด เพราะมีขนาดเล็กกะทัดรัด นั่ง 2 คน ถ้าจะขนส่งข้าวและพืชผลต่างๆ จำนวนมาก จะใช้เรือขนาดใหญ่กว่าเรือบด คือ เรือมาด เรือชะล่า และเรือสำปั้นจ้าง ซึ่งต้องใช้แจวและถ่อเป็นอุปกรณ์เพราะมีน้ำหนักมาก แต่ถ้าชาวบ้านจะไปจ่ายของที่ตลาดรังสิต หรือตัวเมืองจะมีเรือรับจ้าง เรียกว่าเรือเมล์ หรือเรือแท็กซี่ เป็นเรือที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำ
และนอกจากนี้ ชาวมอญสามโคกยังใช้คลองลำสามแก้วเป็นเส้นทางค้าขายโดยนำเครื่องปั้นดินเผา เช่น ตุ่มสามโคก อ่าง กระถาง หม้อ ฯลฯ บรรทุกเรือมาขายที่คลองลำสามแก้วอีกด้วย
คลอง นอกจากจะมีประโยชน์ในด้านอุปโภคบริโภคและการคมนาคมแล้ว ยังเป็นแหล่งวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตชาวบ้านริมคลองได้อย่างชัดเจน เพราะกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของชาวบ้านตั้งแต่เช้าถึงค่ำ เกิดในบริเวณคลองชุมชนลำสามแก้วแทบทั้งสิ้น
ชีวิตชีวาของคลองเริ่มต้นพร้อมๆ กับชีวิตของชาวบ้าน ที่ต้องตื่นแต่เช้ามืดเพื่อออกไปทำมาหากินในช่วงเวลาประมาณตีสี่ตีห้า ภายในคลองจะมีเรือพายและเรือแจวพายสวนขึ้นล่องไปมาพร้อมกันมีเสียงร้องทักทายกันฉันท์ญาติพี่น้อง เพราะชาวบ้านส่วนมากจะรู้จักมักคุ้นกันตามลักษณะอุปนิสัยของคนไทยในชนบท ต่อมาประมาณหกโมงเช้าจะมีพระสงฆ์จากวัดสายไหม วัดลาดสนุ่นและวัดโพสพผลเจริญ พายเรือออกบิณฑบาตในขณะที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจะจัดเตรียมอาหารหวาน คาว ใส่ถาดออกมานั่งรอใส่บาตรที่หัวสะพานหน้าบ้าน ซึ่งทำด้วยไม่ไผ่ที่ทอด ยื่นยาวออกไปจากตัวบ้านถึงท่าน้ำช่วงสาย ๆ ประมาณสาม สี่โมง ช่วงบ่ายโมงถึงบ่ายสามโมงจะมีเรือพ่อค้า แม่ค้านำของกินประเภทต่างๆ พายเรือขายขึ้นล่องไปมาของกินที่มีขายเป็นประจำและชาวบ้านนิยมซื้อได้แก่ น้ำแข็งใส น้ำแข็งกดไอติม(ไอศกรีม) กาแฟ สำหรับเรือขายกาแฟนั้นจะมีขนมแห้ง ๆ ขายเพื่อกินกับกาแฟด้วย เช่น ขนมถั่วทุบ(ตุ๊บตั๊บ) ขนมโก๋ ขนมงา พ่อค้าขายกาแฟ มีวิธีการเรียกลูกค้าโดยไม่ต้องใช้เสียงตะโกนขายของเหมือนพ่อค้า แม่ค้าอื่นๆ แต่จะใช้แตรบีบเป็นจังหวะ ๆ เสียงดังป๊อด ๆๆ เด็ก ๆ เมื่อได้ยินเสียงแตร จะวิ่งไปบอกผู้ใหญ่พร้อมกับร้องตะโกนว่า “เจ๊กขายกาแฟมาแล้ว” นอกจากนี้ยังมีก๋วยเตี๋ยวเรือซึ่งเป็นของกินที่ชาวบ้านนิยมกินกันแทบทุกครัวเรือน เนื่องจากก๋วยเตี๋ยวเรือมีรสชาติอร่อยจนเป็นที่เลื่องลือ ชื่อเสียงของก๋วยเตี๋ยวเรือจึงโด่งดังไปทั่วประเทศจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะ “ก๋วยเตี๋ยวเรือโกฮับ” มีชื่อเสียงมานาน กว่า 80 ปี ในอดีตเมื่อไปต่างจังหวัด บางจังหวัดบริเวณหน้าร้านจะขึ้นป้ายโฆษณาว่า “ก๋วยเตี๋ยวเรือโกฮับเจ้าเก่า”
“ก๋วยเตี๋ยวเรือหลานโกฮับ” “ก๋วยเตี๋ยวเรือสูตรโกฮับ” เป็นต้น ก๋วยเตี๋ยวเรือของโกฮับได้สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศ ในฐานะ “ก๋วยเตี๋ยวเรือ” ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า “คลองเป็นถิ่นกำเนินก๋วยเตี๋ยวเรือที่อร่อยที่สุดในประเทศไทย” ปัจจุบันก๋วยเตี๋ยวเรือ ได้รับยกย่องให้เป็นอาหารพื้นบ้านของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งทางหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนนิยมใช้เป็นอาหารในการจัดเลี้ยงแขกบ้านแขกเมืองของจังหวัดปทุมธานี นอกจากนี้ ในเทศกาลสำคัญ ๆ คลองยังเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมตามประเพณีของชาวบ้านและชุมชนอีกด้วย เช่น ประเพณีปล่อยปลา การเล่นสาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์ ประเพณีแข่งเรือในเทศกาลทอดกฐิน ประเพณีลอยกระทงในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นต้น มนุษย์เรานั้น ชีวิตและร่างกายดำรงคงอยู่ได้ก็เพราะน้ำ เลือดที่หล่อเลี้ยงการทำงานของหัวใจและอวัยวะต่างๆ ก็มีน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ก็ต้องการน้ำในการหล่อเลี้ยง แม้แต่ผิวหนังยังต้องการน้ำเพื่อช่วยให้ผิวพรรณแลดูเปล่งปลั่ง เต่งตึง สดใสให้ชวนมอง ดังนั้นถ้าจะเปรียบสายน้ำที่ใสสะอาดในคลองชุมชนลำสามแก้ว คือสายโลหิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวบ้าน ก็คงจะไม่ห่างไกลเกินความเป็นจริงนัก
เมื่อความเจริญจากกรุงเทพมหานครแผ่กระจายสู่ปริมณฑล ซึ่งรวมถึงบริเวณคลองด้วยแล้วถนนหนทางหลายสายตัดผ่าน บ้านจัดสรรผุดขึ้นราวดอกเห็ด วิถีชีวิตของชาวบ้านที่ต้องพึงพาอาศัยคลองเสมือนเป็นสายน้ำแห่งชีวิต จึงเป็นเพียงตำนานที่เล่าขานจากปากผู้เฒ่าผู้แก่ วิถีชีวิตชาวชุมชนลำสามแก้วปัจจุบันกล่าวได้ว่าไม่แตกต่างจากวิถีชีวิตชาวกรุงเท่าใดนัก

ด้านการศึกษา
เนื่องจากระยะแรก ๆ นั้น ชุมชน ลำสามแก้วยังตั้งถิ่นฐานในลักษณะชั่วคราวความจำเป็นที่จะต้องมีโรงเรียนยังไม่เกิดขึ้น และยังไม่มีกฎหมายบังคับ ต่อมา พ.ศ. 2463 พระราชบัญญัติประถมศึกษาได้ประกาศใช้ แต่ในพื้นที่ชนบทยังไม่ให้ความสำคัญมากนัก เมื่อชุมชนลำสามแก้วเริ่มมีประชาชนมากขึ้นจึงได้มีโรงเรียนเกิดขึ้น จากข้อมูลเบื้องต้นทราบว่าโรงเรียนที่มีอายุมากที่สุดบริเวณชุมชนคลองลำสามแก้ว คือโรงเรียนขจรเนติยุทธ(โรงเรียนเทศบาล 1) และต่อมาชุมชนหนาแน่นขึ้นจึงได้มีโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น

ที่ตั้ง/แผนที่
การเดินทางมา เทศบาลเมืองลำสามแก้ว สามารถใช้ถนน พหลโยธิน กรุงเทพ - รังสิต แยกไปทางอำเภอลำลูกกา ถ้ามาจากทางรังสิต จะพบสนามกีฬาธูปเตมีย์ เข้าทางปากทางไปอำเภอลำลูกกา เมื่อลงสะพานคลองสองบริเวณตลาดชัชวาลจะพบแยกไฟแดงให้เลี้ยวซ้ายบริเวณแยกไฟแดงเข้าสู่ถนนเส้นเสมาฟ้าคราม (คลอง2) ผ่านหมู่บ้านฟ้าครามนคร ผ่านตลาดนานาเจริญมาจนถึงปั๊มน้ำมันบางจากบริเวณข้างปั๊มน้ำมันบางจากจะมีซอยกำนันผู้ใหญ่บ้านให้เลี้ยวเข้าซอยดัง กล่าวแล้วตรงตามถนนคอนกรีตมา 500เมตรจะถึงอาคารสำนักงานเทศบาลเมืองลำสามแก้ว
สภาพทั่วไป

เทศบาลเมืองลำสามแก้ว
มีสำนักงานอยู่เลขที่199 หมู่ที่ 6 ถนนลำลูกกา – ธัญบุรี ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา
จังหวัดปทุมธานี หมายเลขโทรศัพท์ 0 – 2987 – 6001 – 4 โทรสาร 0 – 2987 – 6007 มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 12.5 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ราบลุ่ม ด้านฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และมีคลองชลประทานตัดผ่านในเขตพื้นที่ จำนวน 3 สาย โดยอยู่ห่างจากอำเภอลำลูกกาไปทางทิศตะวันตก ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือติดต่อกับเทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ทิศใต้ติดต่อกับเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
ทิศตะวันออกติดต่อกับเทศบาลเมืองลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันตกติดต่อกับเทศบาลเมืองคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
มีลักษณะการปกครอง มีดังนี้
- เขตการปกครองทั้งหมด6หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 6 , 7 , 12
- จำนวนหลังคาเรือน35,999หลังคาเรือน
- จำนวนประชากรทั้งสิ้น 60,832 คน ประกอบด้วย
ชาย 28,277 คนหญิง 32,555 คน
ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 4,866.56 คน/ตารางกิโลเมตร

สภาพทางเศรษฐกิจ
- อาชีพของประชาชนในตำบล
- อาชีพส่วนใหญ่ของประชาชนในตำบล ได้แก่พนักงานในบริษัทเอกชน, โรงงานอุตสาหกรรม, ข้าราชการ,
พนักงานรัฐวิสาหกิจและประกอบธุรกิจส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่
- ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพทางเกษตรมีจำนวน 52 ครัวเรือน เนื่องจากพื้นที่ทางการเกษตรมีเหลือเพียง 1,020 ไร่ แยกได้ดังนี้
- ทำนา 6 ครัวเรือนพื้นที่ 680 ไร่
- สวนไม้ดอกไม้ประดับ 8 ครัวเรือน พื้นที่ 70 ไร่
- สวนผลไม้ 25 ครัวเรือนพื้นที่ 270 ไร่
- ประกอบธุรกิจในเขตเทศบาลเมืองลำสามแก้ว ได้แก่
- ธนาคาร3แห่ง
- โรงแรม4แห่ง
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 6แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม6แห่ง
- โรงสีข้าว1แห่ง
สภาพทางสังคม
- การศึกษา
-เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน3 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา3 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง
- โรงเรียนอาชีวศึกษา-แห่ง
- โรงเรียน/สถาบันชั้นสูง - แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน1แห่ง
- ศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ 2 แห่ง
- มัสยิด- แห่ง
- ศาลเจ้า-แห่ง
- โบสถ์2 แห่ง
- การสาธารณสุข
- โรงพยาบาลของรัฐขนาด – เตียง - แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน2 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน2 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน10แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100%
- ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1 แห่ง

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 0.00 บาท

รวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 0.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 100.00%

11. งบประมาณ

0.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output)
ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลกระทบ (Impact)
นำเข้าสู่ระบบโดย drmanoch drmanoch เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 11:47 น.