แบบเสนอโครงการ
การกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซีสแบบเร็ว

1. ชื่อโครงการ

การกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซีสแบบเร็วกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาดดร.เกยูร ดวงอุปมาสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 62/1 ถ.เกษตรสมบูรณ์ ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 460000933272292 k_duanguppama@hotmail.comนายวันพิชิต สุมาลา 1459900660484 นศ. อส.บ. เทคโนโลยีเครื่องกล
นายภาณุวัฒน์ บุญสงค์ 1469900396779 นศ. อส.บ. เทคโนโลยีเครื่องกล
นายชาญณรงค์ บุดดา 1450700262436 นศ. อส.บ. เทคโนโลยีเครื่องกล
นายอรรถชัย หนองทุ่ม 1450200209463 นศ. อส.บ. เทคโนโลยีเครื่องกล
นายณัฐวุฒิ คำศรีพล 1460600153392 นศ. วท.บ.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
นางสาววารุณี ถนอมไสว 1469900456771 นศ. วท.บ.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
นางสาวไอรดา อินธิสร 1469900412201 นศ. บธ.บ.บริหารธุระกิจ (สาขาวิชาการจัดการ)
นางสาวปัญจพร ภูถอดใจ 1469900361088 นศ. บธ.บ.บริหารธุระกิจ (สาขาวิชาการจัดการ)
ดร.สถิตพงศ์ เสงี่ยมศักดิ์ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ดร.สุพัตรา บุไธสง อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
นายพงศกร ชาวเชียงตุง อาจารย์สาขาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ
ผศ.สุกัญญา ดวงอุปมา อาจารย์สาขาวิชาบริหารธุระกิจ

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ฆ้องชัย ชนบท

3. รายละเอียดชุมชน

ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มี 12 หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือนในพื้นที่ 1,829 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 7,586 คน แยกเป็น ชาย 3,704 คน และหญิง 3,882 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยจำนวน 238 คน/ตารางกิโลเมตร ประชากรร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นอกจากนี้ประชากรส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเสริม คือ คัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ จนปัจจุบันการประกอบอาชีพเสริมนี้สร้างปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในชุมชน เพราะการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ แม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานเข้าไปให้ความรู้แนะนำวิธีการ แต่ชุมชนก็ยังปฏิบัติงานตามรูปแบบที่ตนถนัด ยกตัวอย่างเช่น หลังการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์จะมีสายไฟจำนวนหนึ่งที่เหลือจากการคัดแยก ชุมชนจะนำสายไฟนี้ไปเผาเพื่อนำเอาลวดทองแดงที่เหลือไปจำหน่าย จึงสร้างปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากควันที่เกิดจากการเผาสายไฟ ซึ่งที่ผ่านมามีหน่วยงานนำเครื่องปลอกสายไฟเข้าไปแนะนำให้ชุมชนใช้งาน แต่ชุมชนก็ไม่ได้นำมาใช้ปฏิบัติงานด้วยเหตุผล คือ ชุมชนต้องการความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน แม้ปัจจุบันผู้นำท้องถิ่นจะขอความร่วมมือให้คนในชุมชนเลิกเผาสายไฟแต่ก็ยังมีการลักลอบเผาอย่างต่อเนื่องตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีครัวเรือนที่ประกอบอาชีพคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ 154 แห่ง แบ่งเป็น เครื่องยนต์ 217 ตันต่อเดือนเครื่องใช้ไฟฟ้า 214 ตันต่อเดือน เศษวัสดุก่อสร้าง 265 ตันต่อเดือน และวัสดุรีไซเคิล 324 ตันต่อเดือน โดยหลังจากการคัดแยดขยะดังกล่าวจะเหลือขยะที่นำไปทิ้งในบ่อขยะของ อบต.โคกสะอาด เดือนละ 24 ตัน ประกอบด้วย โฟมเดือนละ 9 ตัน ยางรถยนต์เดือนละ 4 ตัน เศษอุปกรณ์ไฟฟ้าเดือนละ 5 ตัน และวัสดุอื่น ๆ เดือนละ 6 ตันขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นปัญหาวาระแห่งชาติของประเทศไทย ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากคนในชุมชนยังยึดติดกับแนวปฏิบัติเดิมที่ตนเองถนัดไม่ยอมเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติใหม่ตามคำแนะนำที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเท่าที่ควร ยกตัวอย่างเช่น การคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเหลือเศษพลาสติกและสายไฟ คนในชุมชนจะนำวัสดุส่วนที่เหลือนี้ไปเผาเพื่อนำเอาลวดทองแดงที่เหลือไปจำหน่าย เพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว แต่การเผาเศษพลาสติกและสายไฟก่อให้เกิดปัญหาควันพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในชุมชน แม้ว่าปัจจุบันผู้นำท้องถิ่นจะรณรงค์ให้คนในชุมชนเลิกการเผาดังกล่าว แต่ก็ยังมีคนในชุมชนลักลอบเผาเพราะต้องการรายได้จากการจำหน่ายลวดทองแดงมาใช้จ่ายภายในครอบครัว
เมื่อพิจารณาพฤติกรรมของคนในชุมชนจะเห็นว่าไม่ยอมเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ หากต้องการแนะนำแนวปฏิบัติที่ปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกเทคโนโลยีและวิธีการที่สะดวกปลอดภัย โดยเทคโนโลยีไพโรไลซีสเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการกำจัดขยะพลาสติกและสายไฟที่เหลือจากการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเหมาะสม เพราะว่าเทคโนโลยีนี้เป็นประบวนการปฏิกิริยาทางเคมีความร้อนที่ปราศจากการเผาไหม้ มีระบบควบคุมแก๊สหรือควันที่เกิดจากการสลายตัวทางความร้อนของขยะพลาสติกหรือสายไฟอย่างแม่นยำแล้วควบแน่นให้กลายเป็นของเหลว โดยของเหลวที่ได้นี้มีสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันเชื้อพลิงปิโตรเลียม ส่วนแก๊สที่เหลือจากการควบแน่นสามารถนำมาเผาไหม้เพื่อให้ความร้อนกับระบบอีกครั้ง
การไพโรไลซีส คือ กระบวนการทางเคมีความร้อนที่ปราศจากออกซิเจนมีอุณหภูมิปฏิกิริยาประมาณ 400-600 องศาเซลเซียส เมื่อนำวัตถุดิบเข้าไปในกระบวนการจะทำให้เกิดการสลายตัวกลายเป็นไออย่างรวดเร็ว จากนั้นควบแน่นไอนี้ให้กลายเป็นของเหลวหรือน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนไอที่ไม่สามารถควบแน่นได้สามารถนำไปเป็นแก๊สเชื้อเพลิงเพราะมีสมบัติติดไฟง่ายเหมือนแก๊สแอลพีจี แต่ในการสร้างเครื่องไพโรไลซีสต้องเลือกวัสดุที่มีคุณภาพและทนต่อการกัดกร่อนได้สูง เช่น เหล็กกล้าไร้สนิม การปฏิบัติงานเมือนำเทคโนโลยีนี้มาใช้งานไม่ยุ่งยาก เพราะคนในชุมชนสามารถนำขยะพลาสติกหรือสายไฟที่มีลวดทองแดงเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ จากนั้นปิดฝาเครื่องแล้วให้ความร้อนที่อุณหภูมิอยู่ในช่วง 400-600 องศาเซลเซียส ประมาณ 1 ชั่วโมง ขยะพลาสติกหรือสายไฟจะสลายตัวกลายเป็นไอแล้วถูกควบแน่นจนหมด ส่วนภายในเครื่องปฏิกรณ์จะเหลือลวดทองแดงที่ปราศจากฉนวนหุ้มสามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้ อีกทั้งเทคโนโลยีนี้ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะไม่ปล่อยควันพิษออกจากกระบวนการ ส่วนของเหลวหรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้ยังสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตรช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้อีก
ดังนั้น โครงการนี้จึงมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกของชุมชนด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซีสเพื่อแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง และเพิ่มรายได้ของคนในชุมชนจากการจำหน่ายลวดทองแดงที่เหลือจากการกำจัดฉนวนห้อมสายไฟ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของคนในชุมชน รักษาสภาพแวดล้อม และสุขภาพของคนในชุมชน
เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับกำจัดขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

เทคโนโลยีไพโรไลซีสแบบเร็ว
กระบวนการไพโรไลซีสแบบเร็ว คือ การย่อยสลายทางเคมีความร้อนแบบเร็ว ที่มีอุณหภูมิปฏิกิริยาอยู่ในช่วง 400-600 องศาเซลเซียส ซึ่งวัตถุดิบที่นำมาใช้ในกระบวนการไพโรไลซีสส่วนใหญ่จะรูปในของของแข็ง เช่น ชีวมวล ถ่านหิน และพลาสติก เป็นต้น โดยปัจจัยหลักของกระบวนการไพโรไลซีสแบบเร็ว คือ เครื่องปฏิกรณ์ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 7 ชนิดประกอบด้วย ฟลูอิไดซ์เบด (Fluidised-bed) ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียน (Circulating fluidised-bed) แบบตกอิสระ (Entrained flow) แบบไซโคลน (Cyclone) แบบจานความร้อน (Ablative) แบบสกรู (Augur, Screw) และแบบสูญญากาศ (Vacuum) ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์ทั้ง 7 ชนิดที่กล่าวมาแบบฟลูอิไดซ์เบดได้รับการยอมรับว่าสามารถไพโรไลซีสวัตถุดิบแข็งให้เป็นของเหลวได้สูงถึงร้อยละ 70 โดยน้ำหนัก เพราะมีอัตราแรกเปลี่ยนความร้อนสูง อีกทั้งเครื่องปฏิกรณ์ชนิดนี้ยังมีข้อดี คือ ออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตง่ายรวมทั้งหากต้องการเพิ่มกำลังการผลิตก็สามารถปรับเพิ่มขนาดได้ง่าย
การไพโรไลซีสแบบเร็วในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบด คือ ภายในเครื่องปฏิกรณ์จะบรรจุตัวกลางถ่ายโอนความร้อนที่อยู่ในลักษณะของแข็ง เช่น ทราย จากนั้นทรายจะถูกให้ความร้อนในรูปแบบต่างๆ เช่น การเผาด้วยแก๊ส การให้ความร้อนด้วยอินฟาเรด และการให้ความร้อนด้วยขดลวดความร้อน เป็นต้น หลังจากทรายได้รับความร้อนก็จะสะสมความร้อนนั้นไว้ตามอุณหภูมิที่เรากำหนดอยู่ในช่วง 400-600 องศาเซลเซียส เมื่อป้อนวัตถุดิบเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ที่ตำแหน่งทรายร้อนจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างวัตถุดิบและทรายทำให้วัตถุดิบเกิดการสลายตัวกลายเป็นควันหรือเรียกว่า “ไอไพโรไลซีส” จากนั้นควันจะถูกพาออกจากเครื่องปฏิกรณ์เพื่อไปผ่านชุดคัดแยกของแข็ง (ถ่านชาร์) 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ไซโคลน และชุดที่ 2 ชุดกรองไอร้อน แล้วควันที่ผ่านการคัดแยกของแข็งจะถูกควบแน่นเป็นของเหลวด้วยชุดควบแน่นต่อไป ขณะที่แก๊สที่ไม่สามารถควบแน่นได้ยังสามารถนำไปใช้เป็นแก๊สเชื้อเพลิงหรือนำกลับมาใช้เป็นแก๊สพาให้กับกระบวนการได้อีกครัง

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซีสแบบเร็ว

ความสามารถในการกำจัดขยะ 100 กิโลกรัม/ครั้ง

1.00
2 เพื่อผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ

ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 30 โดยน้ำหนักของขยะที่ป้อนเข้าเครื่อง/ครั้ง

1.00
3 เพื่อศึกษาผลกระทบทางสภาพแวดล้อม

ปริมาณแก๊สพิษอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม

1.00
4 เพื่อสร้างรายได้จากการจำหน่ายโลหะที่เหลือจากกระบวนการ

คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7

1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 7,586

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 สร้างและติดตั้งหน่วยไพโรไลซีสแบบเร็ว

ชื่อกิจกรรม
สร้างและติดตั้งหน่วยไพโรไลซีสแบบเร็ว
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซีสแบบเร็ว
รายละเอียดกิจกรรม
นักศึกษาหลักสูตร อส.บ.เทคโนโลยีเครื่องกล ใช้ความรู้ทฤษฎีทางด้านวิศวกรรมเข้าไปออกแบบ สร้าง และติดตั้งเครื่องไพโรไลซีสแบบเร็วในพื้นที่ของโครงการที่ อบต.กำหนด โดยในขั้นตอนนี้นักศึกษาจะได้คะแนนภาคทฤษฎีและปฏิบัติของวิชาโครงงาน ซึ่งการออกแบบและสร้างเครื่องนอกจากนักศึกษาจะใช้ความรู้ที่เรียนมาเข้าไปสร้างงานจริงแล้ว นักศึกษายังต้องเข้าไปร่วมคิดและวางแผนร่วมกับชุมชนเพื่อให้นวัตกรรมที่สร้างเป็นไปตามหลักวิชาการและตอบโจทย์การใช้งานจริงในชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 December 2019 ถึง 31 December 2019
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
เครื่องไพโรไลซีสแบบเร็ว จำนวน 1 เครื่อง
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

- หมวดค่าวัสดุ ให้ระบุวัสดุที่ใช้ในการดำเนินโครงการวิจัย โดยชี้แจงรายละเอียดของวัสดุแต่ละรายการ โดยระบุ (จำนวน x ราคา) - สแตนเลสแผ่นหนา 5 มิลลิเมตร (5 แผ่น × 8,500 บาท) - ท่อกลมสแตนเลส 1 นิ้ว (10 เส้น × 3,200 บาท) - ข้อต่อสแตนเลสเกลียวใน 4 นิ้ว (20 อัน × 1,200 บาท) - ข้อต่อสแตนเลสเกลียวใน 1 นิ้ว (20 อัน × 1,000 บาท) - ปลั๊กอุดสแตนเลส 4 นิ้ว (10 อัน × 350 บาท) - ปลั๊กอุดสแตนเลส 1 นิ้ว (10 อัน × 250 บาท) - ศรแหลมสแตนเลส 2 นิ้ว (10 อัน × 110 บาท) - สแตนเลสกล่อง 1/4 นิ้ว (20 เส้น × 1,400 บาท) - สแตนเลสกล่องกล่อง 2 นิ้ว (20 เส้น × 2,500 บาท) - ลวดเชื่อม 2.6 มม. (10 ห่อ × 900 บาท) - เทอร์โมคัปเปิ้ล ย่านการวัด -50-1200°C (10 ตัว × 2,200 บาท) - Temp control ย่านการวัด -50-1200°C (10 ตัว × 3,200 บาท) - Magnetic Contactor (10 ตัว × 2,600 บาท) - ล้อเลื่อน 4 นิ้ว (4 ล้อ × 500 บาท) - Ethanol (95%) 20 ลิตร (20 แกลลอน × 1,300 บาท) - Acetone 10 ลิตร (20 ปิ๊บ × 1,500 บาท) - ถุงมือยาง (10 กล่อง × 200 บาท) - ถุงมือยางทนกรด (10 กล่อง × 700 บาท) - โซดาไฟ 25 kg (10 ถุง × 1200 บาท)

1 ชุด 371,600 1 371,600
รวมค่าใช้จ่าย 371,600

กิจกรรมที่ 2 ทดสอบไพโรไลซีสแบบเร็วของขยะ

ชื่อกิจกรรม
ทดสอบไพโรไลซีสแบบเร็วของขยะ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซีสแบบเร็ว
  2. เพื่อศึกษาผลกระทบทางสภาพแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม
นักศึกษาหลักสูตร อส.บ.เทคโนโลยีเครื่องกล ทดสอบการทำงานของเครื่องไพโรไลซีสแบบเร็ว เพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานและปรับแต่งอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน สำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของ นักศึกษาหลักสูตร วท.บ.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ดำเนินการ หากผลออกมาว่ามีการปล่อยมลพิษทางอากาศเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด นักศึกษา 2 หลักสูตรแรกที่ดำเนินการสร้างต้องปรับปรุงเครื่องให้ได้ตามค่ามาตรฐาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 January 2020 ถึง 31 January 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
เครื่องไพโรไลซีสแบบเร็วสามารถทำงานได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ สนับสนุนขยะ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

- ปฏิบัติงานล่วงเวลา วันจันทร์-ศุกร์ (200 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 50 บาท x 3 คน = 30,000 บาท)

1 คน 30,000 1 30,000
รวมค่าใช้จ่าย 30,000

กิจกรรมที่ 3 การไพโรไลซีสแบบเร็วของขยะและบันทึกผล

ชื่อกิจกรรม
การไพโรไลซีสแบบเร็วของขยะและบันทึกผล
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซีสแบบเร็ว
  2. เพื่อผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ
  3. เพื่อศึกษาผลกระทบทางสภาพแวดล้อม
  4. เพื่อสร้างรายได้จากการจำหน่ายโลหะที่เหลือจากกระบวนการ
รายละเอียดกิจกรรม
นักศึกษาหลักสูตร อส.บ.เทคโนโลยีเครื่องกล ทดลองอุณหภูมิไพโรไลซีสมี 5 ระดับ คือ 400 450 500 550 และ 600 องศาเซลเซียส ที่ส่งผลต่อปริมาณและสมบัติของผลิตภัณฑ์ เพื่อหาอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานจริง โดยมีนักศึกษาหลักสูตร วท.บ.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น องค์ประกอบแก๊สที่เกิดจากกระบวนการ และการปล่อยของเสียจากกระบวนการ เป็นต้น สำหรับนักศึกษาหลักสูตร บธ.บ.บริหารธุระกิจ (สาขาวิชาการจัดการ) วิเคราะห์ต้นทุนการผลิตในแต่ละเงื่อนไขเพื่อหาจุดคุ้มทุน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 February 2020 ถึง 29 February 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
- องค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัย
- ชุทชนและนักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
- ผลการวิจัยที่สามารถนำเสนอในที่ประชุมวิชาการได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ สนับสนุนขยะ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าอาหาร

- อาหารกลางวัน (100 คน ๆ ละ 100 บาท × 1 ครั้ง) - อาหารว่าง (100 คน ๆ ละ 35 บาท × 2 มื้อ x 1 วัน)

1 ชุด 17,000 1 17,000
รวมค่าใช้จ่าย 17,000

กิจกรรมที่ 4 วิเคราะห์สมบัติของผลิตภัณฑ์

ชื่อกิจกรรม
วิเคราะห์สมบัติของผลิตภัณฑ์
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ
  2. เพื่อศึกษาผลกระทบทางสภาพแวดล้อม
  3. เพื่อสร้างรายได้จากการจำหน่ายโลหะที่เหลือจากกระบวนการ
รายละเอียดกิจกรรม
- วิเคราะห์สมบัติของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบสมบัติที่ได้กับเชื้อเพลิงปิโตรเลียม รวมทั้งวิเคราะห์คุณลักษณะทางกายภาพของเศษโลหะที่เหลือจากการไพโรไลซีสแบบเร็ว สำหรับประเมินราคาเศษโลหะที่เหลือ
- สมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบด้วย
1) ค่าความร้อน
2) ความหนาแน่น
3) ความหนืด
4) จุดวาบไฟ – จุดติดไฟ
การวิเคราะห์สมบัติน้ำมันเชื้อเพลิง นักศึกษาหลักสูตร อส.บ.เทคโนโลยีเครื่องกล นำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรมเครื่องกล ของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบแก๊สนั้น นักศึกษาหลักสูตร วท.บ.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม อาจเก็บตัวอย่างบางรายการมาวิเคราะห์ที่สาขาวิชาที่ตนสังกัด
นักศึกษาหลักสูตร บธ.บ. บริหารธุระกิจ (สาขาวิชาการจัดการ) วิเคราะห์ต้นทุนการผลิตเพื่อประเมินรายรับ-รายจ่าย และรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 March 2020 ถึง 31 March 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
- สมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิงจากกระบวนการใกล้เคียงสมบัติของเชื้อเพลิงปิโตรเลียม
- เศษโลหะที่เหลือจากการไพโรไลซีสแบบเร็วสามารถจำหน่ายในร้านรับซื้อของเก่าได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ปฏิบัติงานล่วงเวลา วันหยุดราชการ (80 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 60 บาท x 3 คน = 14,400 บาท)

1 ชุด 14,400 1 14,400
รวมค่าใช้จ่าย 14,400

กิจกรรมที่ 5 ทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์

ชื่อกิจกรรม
ทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ
  2. เพื่อศึกษาผลกระทบทางสภาพแวดล้อม
  3. เพื่อสร้างรายได้จากการจำหน่ายโลหะที่เหลือจากกระบวนการ
รายละเอียดกิจกรรม
นักศึกษาหลักสูตร อส.บ.เทคโนโลยีเครื่องกล ทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากกระบวนการกับเครื่องยนต์ดีเซลหรือเครื่องยนต์แก๊สโซลีนแบบสูบเดียว เพื่อหาอัตราการสิ้นเปลือง แรงม้าเบรก และแรงบิดของเครื่องยนต์ และเก็บตัวอย่างแก๊สไอเสียไปให้นักศึกษาหลักสูตร วท.บ.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ผล ข้อมูลทั้ง 2 ส่วนต้องนำมาประมวลผลเพื่อหาปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เหมาะสมในเครื่องยนต์
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 March 2020 ถึง 31 March 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
- น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากกระบวนการใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ได้
- ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

ค่าเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล (4 บาท × 70 กิโลเมตร x 50 ครั้ง)

1 ชุด 14,000 1 14,000
รวมค่าใช้จ่าย 14,000

กิจกรรมที่ 6 สรุปผลการวิจัย

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการวิจัย
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซีสแบบเร็ว
  2. เพื่อผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ
  3. เพื่อศึกษาผลกระทบทางสภาพแวดล้อม
  4. เพื่อสร้างรายได้จากการจำหน่ายโลหะที่เหลือจากกระบวนการ
รายละเอียดกิจกรรม
ผลการดำเนินงานวิจัยในกิจกรรมที่ 1 - 5 นักศึกษาต้องนำมาสรุปผลเป็นรูปเล่มงานวิจัยโดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาและที่ปรึกษาร่วมช่วยกำกับติดตามและคอยแนะนำในการดำเนินกิจกรรมอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามกิจกรรม 1 - 5 อาจารย์ที่ปรึกษา ที่ปรึกษาร่วม และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ก็ต้องควบคุมการดำเนินกกิจกรรมอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 March 2020 ถึง 31 March 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
รูปเล่มรายงานวิจัยจำนวน 10 เล่ม
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าถ่ายเอกสาร

- จ้างถ่ายเอกสาร (1,000 แผ่น x 0.50 บาท) - จ้างถ่ายเอกสารรูปเล่มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (10 เล่ม x 250 บาท)

10 ชิ้น 300 1 3,000
รวมค่าใช้จ่าย 3,000

กิจกรรมที่ 7 ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้จากการทำวิจัย

ชื่อกิจกรรม
ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้จากการทำวิจัย
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซีสแบบเร็ว
  2. เพื่อผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ
  3. เพื่อศึกษาผลกระทบทางสภาพแวดล้อม
  4. เพื่อสร้างรายได้จากการจำหน่ายโลหะที่เหลือจากกระบวนการ
รายละเอียดกิจกรรม
วางแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกิดจากโครงงานแก่ตัวแทนบุคลากรในชุมชน โดยให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และที่ปรึกษาร่วม พิจารณาความเป็นไปได้และกำหนดแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อไป
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 March 2020 ถึง 31 March 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
- องค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัย 1 เรื่อง
- ลดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในครัวเรือน
- เพิ่มรายได้ของครัวเรือนร้อยละ 7
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
อื่น ๆ 1 ครั้ง 50,000 1 50,000
รวมค่าใช้จ่าย 50,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 44,400.00 34,000.00 371,600.00 50,000.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 8.88% 6.80% 74.32% 10.00% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) สามารถกำจัดขยะได้ 100 กิโลกรัมต่อครั้ง การสร้างนวัตกรรมสำหรับกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ผลลัพธ์ (Outcome) องค์ความรู้ที่เกิดจากการกำจัดขยะสามารถถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ในชุมชน - การนำความรู้ภาคทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง
- นักศึกษาหลักสูตร อส.บ.เทคโนโลยีเครื่องกล เทียบได้ 6 หน่วยกิต คือ วิชา 08-035-402 Seminar in Mechanical Technology 3 หน่วยกิต และ วิชา 08-035-407 Mechanical Technology Project 3 หน่วยกิต
- นักศึกษาหลักสูตร วท.บ.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เทียบได้ 3 หน่วยกิต คือ วิชา SC-013-011 มลพิษทางอากาศ
- นักศึกษาหลักสูตร บธ.บ.บริหารธุระกิจ (สาขาวิชาการจัดการ) เทียบได้ 3 หน่วยกิต คือ วิชา 05-052-306 เทคนิคการจัดการสมัยใหม่
ผลกระทบ (Impact) - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ
- ลดปัญหาภาวะมลพิษของชุมชุน
- ลดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในครัวเรือน
- เพิ่มรายได้ภายในครัวเรือนร้อยละ 7
- องค์ความรู้ที่เกิดจากการทำวิจัย
- ทักษะการปฏิบัติเชิงพื้นที่
- แนวทางต่อยอดงานวิจัย
นำเข้าสู่ระบบโดย Keyoon.du Keyoon.du เมื่อวันที่ 29 October 2019 04:30 น.