การพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์

แบบเสนอโครงการ
การพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์

1. ชื่อโครงการ

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม ,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านขาม,สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกาฬสินธุ์,สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอยางตลาดบ้านโคกสี ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์นายโสภณ มูลหา62/1 ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์084-3912686ผู้ร่วมโครงการ
1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวิชญา ณัฏฐากรกุล อาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทรงเกียรติ ซาตันอาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรพิมล พิมพ์แก้ว อาจารย์สาขาวิชานิติศาสตร์
4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์คมกริช ทองนาคอาจารย์สาขาวิชาสหวิทยาการและนวัตกรรมการศึกษา
5) ดร.อ๊อต โนนกระยอม อาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
6) นายปรีชา ทับสมบัติอาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
7) นางสาวพรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์ อาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
8) ดร.นพคุณ ทองมวลอาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
9) ดร.วรกร วิชัยโย อาจารย์สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
10) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพิธธนวดี สมคะเณย์อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์
11) นายศุภชัย ฉัตรจรัสกูล อาจารย์สาขาวิชานิติศาสตร์
นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ
1) นายสถาพร หาศิริ
2) นายนเรศ ปรุงเรณู
3) นายจรูญ แสวงศร
4) นายวิศรุต ปองได้
5) นางสาวมันทนา จอมทรักษ์
6) นางสาวจุฑามณี นามนิตย์
7) นายธวัฒน์ชัย ใจศิริ
8) นายกิตติศักดิ์ เรืองศริ

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ยางตลาด คลองขาม

3. รายละเอียดชุมชน

-ประเทศที่เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ก้าวตามสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสต้องต่อสู้และปรับตัวอย่างมากมายในการดำเนินชีวิต ผู้สูงอายุอีกส่วนหนึ่งก็มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นผู้สูงอายุด้อยโอกาสหากขาดการเตรียมตัวที่ดี และทั้งสองกลุ่มมีโอกาสได้รับผลกระทบในประเด็นของความเเหลื่อมล้ำทางสังคมได้สูง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุโดยมากพบว่าเป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน อาชีพมีทั้งรับจ้างทั่วไป ขายและทำการเกษตร ขาดความสามารถในการดูแลตนเอง เพิ่งเข้าสู่วัยสูงอายุหรือเป็นผู้สูงอายุตอนต้น อยู่ในครอบครัวเดี่ยว ติดสังคม ไม่มีผู้ดูแลหรือถูกทอดทิ้งหรืออยู่ลำพังหรือถูกละเลย การศึกษาน้อยและมีปัญหาสุขภาพ
-หากมองแง่การเข้าถึง/ได้รับสิทธิ พบว่า สวัสดิการทางสังคมที่ผู้สูงอายุด้อยโอกาสเข้าถึง/ได้รับมากเป็นการรับเบี้ยยังชีพ การตรวจรักษา/การตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การอยู่อาศัยในบ้านของตนเอง การใช้ช่องทางพิเศษรับบริการในสถานบริการของรัฐ การได้รับความสะดวก/ปลอดภัยในการใช้ทางลาด บันได ราวจับห้องน้ำสาธารณะและข้อความป้ายสัญลักษณ์ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
-ขณะที่สิทธิสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุด้อยโอกาสรู้จักน้อยมาก คือ รับค่าจัดการศพตามประเพณี 2,000 บาท เมื่อเสียชีวิต การช่วยเหลือด้านกฎหมายเมื่อมีคดีความ กู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพจากกองทุนผู้สูงอายุหรือจากรัฐ การรับของกิจของใช้ในชีวิตประจำวันที่จัดโดยชุมชนท้องถิ่น เช่น อาหารสำหรับผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 มื้อ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่
-มีประเด็นที่น่าสนใจไปกว่านั้นจากงานวิจัย ยังพบว่า สวัสดิการทางสังคมที่ผู้สูงอายุด้อยโอกาสไม่เคยรับบริการ ไม่เคยเข้าถึงและไม่ต้องการ คอ การช่วยเหลือด้านกฎหมายเมื่อมีคดีความ ครอบครัวอุปการะ การอาศัยในสถานสงเคราะห์หรือบ้านพักคนชรา การขอสนับสนุนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาการเคลื่อนไหวและสิทธิสวัสดิการสังคมที่ผุ้สูงอายุด้อยโอกาสไม่เคยรับบริการ ไม่เคยเข้าถึง แต่ต้องการ ได้แก่ การดูแล/ช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัวเมื่อยากลำบาก ค่าจัดการศพตามประเพณีเมื่อเสียชีวิต การเป็นสมาชิกกลุ่มอาชีพในชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ สหกรณ์ ชมรม เครือข่ายผู้สูงอายุ กองทุนสวัสดิการชุมชน บริการซ่อมบ้าน การช่วยเหลือด้วยเงิน หรือสิ่งของจากรัฐไม่เกินครั้งละ 3,000 บาทต่อครอบครัวติดต่อกันไม่เกิน 3 ครั้ง และการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ
-เหล่านี้ชี้ให้เห็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดกับผู้สูงอายุด้อยโอกาสมีทั้ง 1) การเข้าไม่ถึงบริการ ให้บริการไม่ตรงกับความต้องการ 2) ความไม่เป็นธรรม 3) ความไม่เสมอภาค หรือ 4) ทั้งเข้าไม่ถึงบริการ ให้บริการไม่ตรงกับความต้องการ ไม่เป็นธรรม และไม่เสมอภาค
-ทั้งนี้ ชุมชนบ้านโคกสี ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชุมชนที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นคนพื้้นเพ และย้ายเข้ามา หรือกลุ่มไทย้อ มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกันไป ผู้สูงอายุบางคนยังไม่สามารถเข้าถึงการช่วยเหลือของภาครัฐได้ตามที่ตนเองต้องการ ทำให้ชุมชนต้องหันมาคิดถึงวิธีการ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุกลุ่มเหล่านี้ให้สามาพึ่งพาตนเองได้ และชุมชนยังให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
-ภูมิปัญญาท้องถิ่น
-ผู้นำที่เข็มแข็ง
-ภาครัฐ
-กลุ่มเครือข่ายผุ้สูงอายุในชุมชน
-ผู้สูงอายุมีการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน อาชีพมีทั้งรับจ้างทั่วไป ขายและทำการเกษตร ขาดความสามารถในการดูแลตนเอง เพิ่งเข้าสู่วัยสูงอายุหรือเป็นผู้สูงอายุตอนต้น อยู่ในครอบครัวเดี่ยว ติดสังคม ไม่มีผู้ดูแลหรือถูกทอดทิ้งหรืออยู่ลำพังหรือถูกละเลย การศึกษาน้อยและมีปัญหาสุขภาพ
-ความเหลื่อมล้ำที่เกิดกับผู้สูงอายุด้อยโอกาสมีทั้ง 1) การเข้าไม่ถึงบริการ ให้บริการไม่ตรงกับความต้องการ 2) ความไม่เป็นธรรม 3) ความไม่เสมอภาค หรือ 4) ทั้งเข้าไม่ถึงบริการ ให้บริการไม่ตรงกับความต้องการ ไม่เป็นธรรม และไม่เสมอภาค
-การพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคงผู้สูงอายุในชุมชนบ้านโคกสี โดยต้องเป็นนวัตกรรมที่ชุมชนและผู้สูงอายุร่วมมือคิดค้นขึ้นมาโดยมีข้อตกลงและเงื่อนไขร่วมกันระหว่างชุมชนและผู้สูงอายุ

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

-รูปแบบกิจกรรมการช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น
-กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่ระดับครอบครัว วัด โรงเรียน
-การจัดการความเสี่ยงด้วยแนวคิดใหม่
-พลวัตทางสังคมโลก
-สถิติเบื้องต้น
-การบริหารจัดการสุขภาพ นันทนาการ
-กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
-สื่อดิจิทัล
-นโยบายสาธารณะและการขับเคลื่อนนโยบาย

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์

ประเด็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์ด้านต่างๆ

4.00 2.00
2 เพื่อค้นหาศักยภาพของผู้สูงอายุในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์

-ผู้สูงอายุออกแบบแนวทาง วิธีการ กระบวนการการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ

-ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์

80.00 40.00
3 เพื่อพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์

-ผู้สูงอายุได้นำนวัตกรรมไปใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในจังหวัดกาฬสินธุ์

-ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง

-เกิดนวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สุงอายุ ๓ นวัตกรรม

80.00 50.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 ต้นน้ำ ๑. สำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ ๒.การรวมกลุ่มรับการถ่ายทอดความรู้ กระบวนการ วิธีการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ต้นน้ำ ๑. สำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ ๒.การรวมกลุ่มรับการถ่ายทอดความรู้ กระบวนการ วิธีการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อศึกษาความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์
รายละเอียดกิจกรรม
-ประชุมเตรียมการสำรวจพื้นที่กลุ่มเป้าหมายในบ้านโคกสี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
-การสำรวจปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ
-คณะดำเนินโครงการลงพื้นที่สำรวจกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ
-คณะดำเนินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิทยากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนานวัตกรรมกิจกรรมที่ระบุไว้
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 November 2019 ถึง 30 November 2019
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
๑. กลุ่มผู้สูงอายุตามประเด็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ
๒. กลุ่มผู้สูงอายุได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้พัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ทรัพยากรอื่น ๆ
-เอกสารสำรวจ
-วิทยากรกระบวนการ
ภาคีร่วมสนับสนุน
ชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 4 คน 1,800 3 21,600
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าอาหาร 90 คน 100 1 9,000
ค่าถ่ายเอกสาร 80 ชุด 100 1 8,000
ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม 80 คน 240 1 19,200
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,200 1 1,200
ค่าตอบแทนการประสานงาน 10 คน 2,000 1 20,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 2 ครั้ง 1,800 1 3,600
รวมค่าใช้จ่าย 84,600

กิจกรรมที่ 2 กลางน้ำ ๑. ประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กลางน้ำ ๑. ประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อค้นหาศักยภาพของผู้สูงอายุในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์
รายละเอียดกิจกรรม
-คณะดำเนินงานและวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนพัฒนานวัตกรรมให้มีความสอดคล้องกับบริบทชุมชนที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ด้วย
-คณะผู้ดำเนินงานและวิทยากรร่วมกับผู้สูงอายุ ปฏิบัติการตามฐานกิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 December 2019 ถึง 19 February 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
๑. ผู้สูงอายุนำนวัตกรรมไปใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในชีวิตประจำวัน
๒. ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับผู้สูงอยู่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ
ทรัพยากรอื่น ๆ
-ภูมิปัญญาท้องถิ่น
-กิจกรรมกลุ่ม
-ชุมชนท่องถิ่น
ภาคีร่วมสนับสนุน
ชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 4 คน 1,800 3 21,600
ค่าตอบแทนการประสานงาน 10 คน 2,000 3 60,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,200 3 3,600
ค่าเช่าสถานที่ 3 ครั้ง 2,000 3 18,000
ค่าอาหาร 90 คน 100 3 27,000
ค่าถ่ายเอกสาร 80 ชุด 100 3 24,000
ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม 80 คน 240 3 57,600
รางวัลเพื่อการยกย่อง 6 คน 500 3 9,000
ค่าพาหนะเดินทาง - รถโดยสารประจำทาง 1 ครั้ง 20,000 1 20,000
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 2 ครั้ง 1,800 3 10,800
อื่น ๆ

-ค่าวัสดุในการดำเนินการ, การอบรม

1 คน 59,800 1 59,800
รวมค่าใช้จ่าย 311,400

กิจกรรมที่ 3 ปลายน้ำ ๑. ประชุมเชิงปฏิบัติการการถอดบทเรียนการจัดการความรู้ร่วมกับกลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
ปลายน้ำ ๑. ประชุมเชิงปฏิบัติการการถอดบทเรียนการจัดการความรู้ร่วมกับกลุ่ม
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์
รายละเอียดกิจกรรม
-แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ ๔ กลุ่มตามฐานกิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ จัดการความรู้ร่วมกันกับคณะผู้ดำเนินงานและภาคีเครือข่าย เล่าเรื่องการดำเนินงานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำที่ได้ดำเนินโครงการมา
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 February 2020 ถึง 29 February 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
๑. ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับผู้สูงอยู่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ
๒. เกิดภาคีเครือข่าย วิทยากร ๔ กลุ่มละ ๒๐ คน
๓. อัตราปัญหาความเหลื่อมล้ำลดลงร้อยละ 5
๔. มีการจัดสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุด้อยโอกาสในชุมชน
๕. ผู้สูงอายุเข้าถึงการบริการาร ให้บริการตรงกับความต้องการ ๒) มีความเป็นธรรม ๓) ความเสมอภาค ร้อยละ ๑๐
ทรัพยากรอื่น ๆ
-ผู้ทรงคุณวุฒิ
-ปราชญ์ชาวบ้าน
-ชุมชนท้องถิ่น
ภาคีร่วมสนับสนุน
ชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 4 คน 1,800 1 7,200
ค่าตอบแทนการประสานงาน 10 คน 2,000 1 20,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 1,200 1 1,200
ค่าเช่าสถานที่ 1 ครั้ง 2,000 1 2,000
ค่าอาหาร 80 คน 100 1 8,000
รางวัลเพื่อการยกย่อง 6 คน 500 1 3,000
ค่าถ่ายเอกสาร 80 คน 100 1 8,000
ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม 80 คน 240 1 19,200
ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน 1,800 1 5,400
อื่น ๆ

-ค่าจัดทำสื่อเผยแพร่ (15000 บาท) -ค่าจัดทำคู่มือการใช้นวัตกรรมฯ (15000 บาท)

1 คน 30,000 1 30,000
รวมค่าใช้จ่าย 104,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 251,800.00 6,000.00 152,400.00 89,800.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 50.36% 1.20% 30.48% 17.96% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) -ผู้สูงอายุร่วมกับชุมชนคิดค้นนวัตกรรมในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมด้วยตนเอง
-มีนวัตกรรมในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม
-ผู้สูงอายุเข้าถึงการบริการาร ให้บริการตรงกับความต้องการ มีความเป็นธรรม ความเสมอภาค
-ได้บูรณาการรายวิชาสู่ภาคปฏิบัติ
ผลลัพธ์ (Outcome) -ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมผู้สูงอายุ
-ชุมชนให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ
-ชุมชนเข้ามีบทบาทสำคัญในการผลักดันสวัสดิการผู้สูงอายุด้านต่างๆ
-สามารถคิดวิเคราะห์ สังเเคราะห์ เรียนรู้ทั้งรูปแบบ เนื้อหา กระบวนการ
ผลกระทบ (Impact) -เกิดกลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคมผู้สูงอาายุ
-ชุมชนเรียนรุ้ ชุมชนเข้มแข็ง
-เกิดทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ให้ความสำคัญต่อการวางแผนชีวิตในวัยเกษียณ
-เกิดธุรกิจสวัสดิการทางสังคมผุ้สูงอายุ
นำเข้าสู่ระบบโดย aot.no aot.no เมื่อวันที่ 28 October 2019 18:03 น.