โครงการยกระดับกลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ ตำบลหมอเมือง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน

แบบเสนอโครงการ
โครงการยกระดับกลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ ตำบลหมอเมือง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน

1. ชื่อโครงการ

โครงการยกระดับกลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ ตำบลหมอเมือง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่านปศุสัตว์จังหวัด, สำนักงานเกษตรจังหวัด, กลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองอำเภอแม่จริม จังหวัดน่านกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่านนางสาวสุธาทิพย์ไชยวงศ์สาขาสัตวศาสตร์และประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เลขที่ 59 หมู่ที่ 13 ต.ฝายแก้ว อ. ภูเพียง จ.น่าน 55000โทรศัพท์ 0865034368 อีเมลล์ suthathip.ch.st@gmail.comอ.ศุภมาศ ทรัพย์ทวีธนกิจ
สพ.ญ.ณพัธ นรินทรรัตน์
ดร.รัชนี บัวระภา
ผศ.ดร.ชาญยุทธ์ กาญจนไพบูลย์
อ.บุษบา มะโนแสน
ผศ.ดร.วรรณวิภา ปานศุภวัชร
น.ส.เจนจิรา ถุงเสน
น.ส.ลักษมี กาถม
น.ส.ธิดารัตน์ คำเทพ
นายธรนินทร์ นันใจ
น.ส.สุภัควดีพิมพ์มาศ
นางนันทนา เรืองแสง
นายระมัด คำมงคล (หัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองอำเภอแม่จริม)
นายอาทิพงษ์ อ่อนบรรจ (สำนักงานปศุสัตว์อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน)

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
น่าน แม่จริม พื้นที่เฉพาะ:พื้นที่สูง

3. รายละเอียดชุมชน

อำเภอแม่จริมเดิม มีชื่อว่า “บ่อว้า” เพราะในท้องที่ดังกล่าวมีลำห้วยน้ำว้าไหลผ่าน โดยตลอดพื้นที่ และมีบ่อเกลือสินเธาว์อยู่ใกล้ ลำห้วยน้ำว้า ประชาชนมักจะเอาน้ำในบ่อมาต้มจนตกตะกอน เป็นเกลือสินเธาว์ (เกลือทราย) แล้วนำไปประกอบอาหาร ได้รับการยกฐานะเป็น “ อำเภอแม่จริม” เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๐ มีเขตการปกครอง 5 ตำบลคือ ตำบลแม่จริมตำบลหนองแดงตำบลหมอเมืองตำบลน้ำปายและตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดน่านอยู่ห่างจากจังหวัดน่านประมาณ ๓๘กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ๗๐๖ กิโลเมตรพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ยประมาณ ๖๕๐ เมตร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ต่างๆ นอกจากนั้นการประกอบอาชีพของแต่ละครัวเรือนแล้ว สมาชิกในชุมชนที่ประกอบอาชีพเดียวกันโดยเฉพาะกลุ่มเลี้ยงสัตว์ มีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างเครือข่ายในการดำเนินการ ในรูปแบบของกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง อำเภอแม่จริม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ให้สามารถพึ่งพาตนเอง และเพื่อความยั่งยืนในการประกอบอาชีพของชุมชนด้วย
ไก่พื้นเมือง เป็นไก่ที่อยู่คู่ครัวเรือนไทยมานานแล้ว ไก่พันธุ์ประดู่หางดำ ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ จากการดำเนินการวิจัยโครงสร้างฝูง และพัฒนาให้เป็นไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำพันธุ์แท้ขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 และได้ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมปศุสัตว์ให้ชื่อว่า “ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่” โดยยังคงมีความเป็นไก่พื้นเมืองทั้งลักษณะภายนอก และคุณสมบัติที่ดีทางด้าน การฟักไข่ การเลี้ยงลูก และเนื้อมีรสชาติอร่อย โดยวัตถุประสงค์ของการกระจายพันธุ์ออกไปยังเกษตรกรเพื่อเสริมอาหารโปรตีนไว้บริโภค และเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งยังเป็นการผลักดันระบบการสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรรายย่อยในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ให้สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้ ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ได้ถูกเชิญไปให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรกรให้สามารถพัฒนางานด้านการเกษตรให้มีความทันสมัย เพื่อให้สามารถสร้างอาชีพที่มั่นคงได้ โดยสังเกตได้จากโครงการอบรม, อบรมเชิงปฏิบัติการ ที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานจากภาครัฐ อาทิเช่น ปศุสัตว์จังหวัด, สำนักงานเกษตรจังหวัด, ธกส., สหกรณ์เครือข่ายต่างๆ รวมถึงโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนต่าง ๆ ที่มีความตื่นตัวที่จะส่งเสริมให้เกษตรกร มีความกินดีอยู่ดี และมีอาชีพที่มั่นคง โดยการสนับสนุนพันธุ์สัตว์ และความรู้ทางวิชาการให้กับเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องถึงแนวทางการจัดการ แหล่งโปรตีนจากสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีก ให้มีประสิทธิภาพการผลิตที่ดีและเหมาะสม สามารถพึ่งพาตนเองได้ กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน เป็นกลุ่มของเกษตรกรก้าวหน้าที่มีวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มเพื่อสร้างกิจการด้านการปศุสัตว์ให้สามารถสร้างรายได้และสามารถพึ่งพอตนเองได้ โดยมีหน่วยงานที่คอยให้คำปรึกษา เช่น ปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ และหน่วยงานราชการอื่นๆ อยู่บ้างแล้ว อย่างไรก็ตามในบางปัญหาที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการเลี้ยง เช่น การจัดการพ่อแม่พันธุ์ไก่พื้นเมือง พื้นที่และรูปแบบการเลี้ยง (การเลี้ยงแบบปล่อย) การผลิตอาหารสัตว์ด้วยตนเอง แต่การบริหารจัดการระบบการเลี้ยงของกลุ่มเอง ยังไม่ต่อเนื่องและขาดความรู้ความเข้าใจในเชิงวิชาการ จึงส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนและประสิทธิภาพการผลิต อันส่งผลต่อขวัญและกำลังใจของกลุ่มผู้เลี้ยงเอง อีกทั้งตามแผนพัฒนาของอำเภอแม่จริม ที่ต้องการพัฒนาอำเภอให้รองรับกับนโยบายท่องเที่ยวเมืองรอง โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงชุมชน ที่มีความโดดเด่นและเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ การล่องแก่งน้ำว้า และกล้วยฉาบกระซิบรักและจะเป็นการดีหากสามารถส่งเสริมชุมชนที่เกี่ยวข้องให้มีกิจกรรมโดดเด่นอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวหลักได้ เช่น การพัฒนาโฮมสเตย์ หรือเมนูห้ามพลาดไว้แนะนำนักท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกจังหวัดให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น1.การจัดการพ่อแม่พันธุ์ไก่พื้นเมือง พื้นที่และรูปแบบการเลี้ยง (การเลี้ยงแบบปล่อย)
2.การผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ (มีต้นกล้วยเป็นวัตถุดิบสำหรับลดต้นทุนอาหารสัตว์อยู่แล้ว เนื่องจากอำเภอแม่จริม มีสินค้าโดดเด่นคือ กล้วยฉาบกระซิบรัก ทำให้มีต้นกล้วยจำนวนมาก)
3. การบริหารจัดการระบบการเลี้ยงของกลุ่มเอง ยังไม่ต่อเนื่องและขาดความรู้ความเข้าใจในเชิงวิชาการ
ต้องการพัฒนาความรู้ ทักษะ ด้านการจัดการฟาร์มไก่พื้นเมืองพ่อแม่พันธุ์ และพัฒนาผลผลิตไก่พื้นเมืองไปให้สามารถพึ่งพาตนเองและพัฒนาไปสู่อาชีพอย่างยั่งยืน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. ด้านการจัดการฟาร์มไก่พื้นเมืองพ่อแม่พันธุ์ เช่น การจัดการโรงเรือน การจัดการตู้ฟักไข่ การจัดการอาหารไก่พ่อแม่พันธุ์ การควบคุมโรคสัตว์ปีก
2. การถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่อง การเลี้ยงไก่พื้นเมืองขุน
3. การแปรรูปและการจัดจำหน่ายสัตว์ปีก เช่น การเชือดและชำแหละสัตว์ปีกอย่างถูกวิธี การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไก่พื้นเมืองเพื่อให้เป็นอาหารประจำชุมชน ตามวัตถุดิบโดดเด่นที่มีในท้องถิ่น เช่น ไก่ทอดมะแขว่น ไก่อบโอ่ง ไก่ย่างสมุนไพร เป็นต้น และการคำนวณต้นทุนและการตั้งราคาสินค้า

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนากลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน

 

1.00 1.00
2 นักศึกษาและอาจารย์สามารถเรียนรู้การปฏิบัติงานจริงเพื่อการแก้ไขปัญหาในชุมชนได้

 

1.00 1.00
3 เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง ชุมชน หน่วยงานศึกษาและหน่วยงานเครือข่ายอื่นๆ

 

1.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเกษตรกร (ไม่น้อยกว่า) 30
คณะทำงาน (ไม่น้อยกว่า) 6
นักศึกษา 10
อาจารย์ที่ปรึกษา 2

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมย่อยที่ 1 พัฒนารูปแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองพ่อแม่พันธุ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อยที่ 1 พัฒนารูปแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองพ่อแม่พันธุ์
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนากลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
  2. นักศึกษาและอาจารย์สามารถเรียนรู้การปฏิบัติงานจริงเพื่อการแก้ไขปัญหาในชุมชนได้
  3. เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง ชุมชน หน่วยงานศึกษาและหน่วยงานเครือข่ายอื่นๆ
รายละเอียดกิจกรรม
พัฒนารูปแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองพ่อแม่พันธุ์
1. การอบรมถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่องการดูแลไก่พ่อแม่พันธุ์พื้นเมือง
(1) การจัดการโรงเรือน
(2) การจัดการตู้ฟักไข่
(3) การจัดการอาหารไก่พ่อแม่พันธุ์
(4) การควบคุมโรคสัตว์ปีก
2. การบูรณาการกับรายวิชา การผลิตสัตว์ปีก ในหลักสูตร วท.บ. เกษตรศาสตร์ วิชาเอกสัตวศาสตร์ และจัดการถ่ายทอดโดยให้นักศึกษาในรายวิชาดังกล่าวมีส่วนร่วมการดำเนินกิจกรรมภายในชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2562 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
กลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง สามารถผลิตไก่พื้นเมืองพ่อแม่พันธุ์ที่มีประสิทธิภาพดีด้านการให้ผลผลิตไข่ฟักได้
- เชิงปริมาณ กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน มีจำนวนไข่เข้าฟักเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 10 หรือ สามารถลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ลงอย่างน้อย กิโลกรัมละอย่างน้อย 1.50 บาท
- เชิงคุณภาพ กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีความรู้ และทักษะในการจัดการผลิตปศุสัตว์ ได้อย่างมีคุณภาพ
- เชิงเวลา โครงการเสร็จตามกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

กลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง สามารถผลิตไก่พื้นเมืองพ่อแม่พันธุ์ที่มีประสิทธิภาพดีด้านการให้ผลผลิตไข่ฟักได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
1. สำนักงานปศุสัตว์อำเภอแม่จริม สนับสนุนเครือข่าย เจ้าหน้าที่ และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม
2. สำนักงานเกษตรอำเภอแม่จริม สนับสนุนเครือข่าย เจ้าหน้าที่
3. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน สนับสนุนสถานที่ดำเนินงาน พันธุ์สัตว์
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 300 6 3,600
ค่าตอบแทนการประสานงาน 6 คน 240 7 10,080
ค่าตอบแทนการประสานงาน 4 คน 180 15 10,800
ค่าอาหาร 30 คน 130 2 7,800
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 7 ครั้ง 1,800 1 12,600
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

(1) วัสดุทางการเกษตรสำหรับการจัดฝึกอบรม เรื่อง การพัฒนาระบบการผลิตพ่อแม่พันธุ์ไก่

1 ชุด 50,000 1 50,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ชุด 2,120 1 2,120
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 3,000 1 3,000
รวมค่าใช้จ่าย 100,000

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองขุน (เพื่อการผลิตเนื้อคุณภาพดี)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองขุน (เพื่อการผลิตเนื้อคุณภาพดี)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนากลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
  2. นักศึกษาและอาจารย์สามารถเรียนรู้การปฏิบัติงานจริงเพื่อการแก้ไขปัญหาในชุมชนได้
รายละเอียดกิจกรรม
การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองขุน (เพื่อการผลิตเนื้อคุณภาพดี)
1. การถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่อง การเลี้ยงไก่พื้นเมืองขุน
(1) การจัดการไก่พื้นเมืองระยะต่างๆ ได้แก่ ระยะกก ระยะไก่รุ่น และระยะสุดท้ายก่อนจับจำหน่าย
(2) การจัดการโรงเรือน และการผลิตอาหารไก่พื้นเมืองต้นทุนต่ำ
(3) การควบคุมโรคสัตว์ปีก
2. การบูรณาการกับรายวิชา การผลิตสัตว์ปีก โภชนศาสตร์ ทักษะวิชาชีพทางสัตวศาสตร์ ในหลักสูตร วท.บ. เกษตรศาสตร์ วิชาเอกสัตวศาสตร์ และจัดการถ่ายทอดโดยให้นักศึกษาในรายวิชาดังกล่าวมีส่วนร่วมการดำเนินกิจกรรมภายในชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
- เชิงปริมาณ กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน มีประสิทธิภาพการผลิตเนื้อไก่คุณภาพดี และสามารถลดต้นทุนอาหารสัตว์ลงอย่างน้อยกิโลกรัมละ 1 บาท
- เชิงคุณภาพ กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง มีความรู้และทักษะในการจัดการไก่พื้นเมืองได้อย่างมีคุณภาพ
- เชิงเวลา โครงการเสร็จตามกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
- เชิงค่าใช้จ่าย (บาท) 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทบาทถ้วน)
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
1. สำนักงานปศุสัตว์อำเภอแม่จริม สนับสนุนเครือข่าย เจ้าหน้าที่ และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม
2. สำนักงานเกษตรอำเภอแม่จริม สนับสนุนเครือข่าย เจ้าหน้าที่
3. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน สนับสนุนสถานที่ดำเนินงาน พันธุ์สัตว์
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 300 3 1,800
ค่าตอบแทนการประสานงาน 6 คน 240 7 10,080
ค่าตอบแทนการประสานงาน 4 คน 180 15 10,800
ค่าอาหาร 30 คน 130 2 7,800
ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 1 คน 1,800 7 12,600
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

(1) วัสดุทางการเกษตรสำหรับการจัดฝึกอบรม เรื่อง การพัฒนาระบบการผลิตไก่พื้นเมืองขุน

1 ชุด 43,920 1 43,920
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ชุด 3,000 1 3,000
อื่น ๆ

วัสดุเชื้อเพลิง

1 ชุด 7,000 1 7,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 3,000 1 3,000
รวมค่าใช้จ่าย 100,000

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมย่อยที่ 3 การแปรรูปและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อยที่ 3 การแปรรูปและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนากลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
  2. นักศึกษาและอาจารย์สามารถเรียนรู้การปฏิบัติงานจริงเพื่อการแก้ไขปัญหาในชุมชนได้
  3. เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง ชุมชน หน่วยงานศึกษาและหน่วยงานเครือข่ายอื่นๆ
รายละเอียดกิจกรรม
การแปรรูปและการจัดจำหน่ายสัตว์ปีก
1. การเชือดและชำแหละสัตว์ปีกอย่างถูกวิธี
2. การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไก่พื้นเมืองเพื่อให้เป็นอาหารประจำชุมชน ตามวัตถุดิบโดดเด่นที่มีในท้องถิ่น เช่น ไก่ทอดมะแขว่น ไก่อบโอ่ง ไก่ย่างสมุนไพร เป็นต้น
3. การคำนวณต้นทุนและการตั้งราคาสินค้า
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
- เชิงปริมาณ กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไก่พื้นเมืองอย่างน้อย 2 เมนู
- เชิงคุณภาพ กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน มีทักษะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปได้อย่างมีคุณภาพ
- เชิงเวลา โครงการเสร็จตามกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
- เชิงค่าใช้จ่าย (บาท) 70,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
1. สำนักงานปศุสัตว์อำเภอแม่จริม สนับสนุนเครือข่าย เจ้าหน้าที่ และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม
2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน สนับสนุนสถานที่ดำเนินงาน พันธุ์สัตว์
3. หมู่บ้านหมอเมือง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน สนับสนุนสถานที่ในการจัดกิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ (อุปกรณ์โรงครัว)
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 300 6 3,600
ค่าตอบแทนการประสานงาน 6 คน 240 1 1,440
ค่าอาหาร 30 คน 130 2 7,800
ค่าพาหนะเดินทาง - รถตู้เช่า 1 คน 1,800 2 3,600
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 1 ชุด 50,000 1 50,000
ค่าวัสดุสำนักงาน 1 ชุด 560 1 560
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ชิ้น 3,000 1 3,000
รวมค่าใช้จ่าย 70,000

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมย่อยที่ 4 การประสานงานและติดตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อยที่ 4 การประสานงานและติดตามโครงการ
วัตถุประสงค์
  1. เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง ชุมชน หน่วยงานศึกษาและหน่วยงานเครือข่ายอื่นๆ
รายละเอียดกิจกรรม
การประสานงานและติดตามโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
- เชิงปริมาณ (1) จำนวนบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่มีเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการ อย่างน้อยมาจาก 3 คณะ
และไม่น้อยกว่า 10 คน
(2) นักศึกษามีส่วนร่วมไม่น้อยกว่า 8 คน
(3) มีการบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนอย่างน้อย 1 รายวิชา
(4) มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภายนอกอย่างน้อย 2 หน่วยงาน
- เชิงคุณภาพ บุคลากรมีทักษะการทำงานเชิงบูรณาการผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปฏิบัติจริง และ
หน่วยงานเครือข่าย
- เชิงเวลา โครงการเสร็จตามกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
- เชิงค่าใช้จ่าย (บาท) 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
อื่น ๆ

ค่าประสานงานและติดตามโครงการ

1 ชุด 30,000 1 30,000
รวมค่าใช้จ่าย 30,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 300,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 52,200.00 9,000.00 52,200.00 149,600.00 37,000.00 300,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 17.40% 3.00% 17.40% 49.87% 12.33% 100.00%

11. งบประมาณ

300,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) กลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงไก่สามารถดำเนินกิจกรรมกลุ่มได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ภายใต้การทำงานเชิงบูรณาการผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปฏิบัติจริง นักศึกษามีความรู้ความสามารถและมีทักษะในเชิงวิชาการและการปฏิบัติ
สามารถวิเคราะห์ ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาจากชุมชนได้
ผลลัพธ์ (Outcome) กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนสามารถนำไปสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนได้ การบูรณาการด้านการเรียนการสอน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ตนในชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
ผลกระทบ (Impact) กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง มีศักยภาพในการทำปศุสัตว์อย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีที่เหมาะสม การพัฒนากำลังคนฐานรากทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษาในการสร้างองค์ความรู้ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สอดคล้องตามปรัชญามหาวิทยาลัย ในการเป็น “มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อชุมชน” และการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายรัฐบาล
นำเข้าสู่ระบบโดย kriengkrai sriprasert kriengkrai sriprasert เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 16:20 น.