โครงการอาสาประชารัฐ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ของผู้ประกอบการปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ

แบบเสนอโครงการ
โครงการอาสาประชารัฐ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ของผู้ประกอบการปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ

1. ชื่อโครงการ

โครงการอาสาประชารัฐ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ของผู้ประกอบการปลากัดไทยในเขตภาคเหนือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ลำปางกลุ่มผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยกลุ่มภาคเหนือผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยกลุ่มภาคเหนือนางสายนที ทรัพย์มีมทร.ล้านนา ลำปาง200หมู่ 17 ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง 52000054-342-547, 054-342-548, ต่อ 163 เบอร์มือถือ 082-0334693, 085-863-22-55นายสรวิทย์ ปานพินิจ การตลาด/คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
นายวชิระ หล่อประดิษฐ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ/คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
นายศราวุธ เอกบาง วิศวกรรมเครื่องกล/คณะวิศวกรรมศาสตร์
นายเรืองพันธุ์ ทรัพย์มี ประมง/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
นางพรพิมล จุลพันธ์ ประมง/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
นางสาวสุภัทรชาธุระกิจ ประมง/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
นายสมเกียรติ ตันตา ประมง/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
นายจตุพร โปธาคำฝ่ายประชาสัมพันธ์ มทร. ล้านนา ลำปาง
นางสาวจารุวรรณ สุยะ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มทร. ล้านนา ลำปาง
(ดร. อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล ที่ปรึกษาโครงการ ผู้เชี่ยวชาญ กรมประมง
ดร. สุกัญญา เชิดชูงาม ที่ปรึกษาโครงการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
นายศราวุธ สมสุข ที่ปรึกษาโครงการ ประธานเครือข่ายปลากัดไทยภาคเหนือตอนบน
ดร. สนาม เอกวิลัย ที่ปรึกษาโครงการ ประธานเครือข่ายปลากัดไทยภาคเหนือตอนล่าง)

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ภาคเหนือ ชนบท
ลำปาง เมืองลำปาง พิชัย ชานเมือง
เชียงใหม่ เมืองเชียงใหม่ พระสิงห์ ในเมือง

3. รายละเอียดชุมชน

ผู้ประกอบธุรกิจการเลี้ยงปลากัด กลุ่ม Cluster Plakad ในเขตภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยระดับครัวเรือน ศักยภาพในการเพาะเลี้ยง การสร้างอาหารให้กับปลากัดยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการในการสร้างคุณภาพในการเพาะเลี้ยงในแต่ละช่วงวัยของปลากัด รวมถึงยังไม่มีการพัฒนานวัตกรรมในการเพาะเลี้ยงผู้ประกอบการธุรกิจเพาะเลี้ยงปลากัดในเขตภาคเหนือ มีผู้ที่สนใจในการเพาะเลี้ยงเป็นจำนวนมากมีศักยภาพในการเพาะเลี้ยง แต่ทรัพยากรในการเพาะเลี้ยงไม่เพียงพอ ได้แก่อาหารธรรมชาติที่จำเป็นได้แก่ ไรแดง หนอนแดง ไส้เดือนดิน ทำให้ต้นทุนในการเพาะเลี้ยงสูงกว่าผู้ประกอบการในภาคกลางที่มีปริมาณอาหารธรรมชาติที่เพียงพอต่อความต้องการในการเพาะเลี้ยงการขาดความรู้พื้นฐานในการพัฒนาปลากัดสายพันธ์ใหม่ ๆ
ปัญหาในการเพาะเลี้ยงที่ขาดแหล่งอาหารที่มีชีวิต ได้แก่ ไรแดงหนอนแดง ใส้เดือนน้ำ
การดูแลปลา
การกำจัดโรคปลาที่มักระบาดในฤดูฝน
ขาดช่องทางการจัดจำหน่ายที่ยั่งยืน
พบปัญหาการตายของปลาเมื่อเข้าสู่ฤดูหนา
นวัตกรรมในการเพาะเลี้ยงปลาที่เหมาะสมกับภูมิประเทศ
การสนับสนุนทางด้านวิชาการด้านการผลิต (เพาะเลี้ยงปลากัด)
การตลาดออนไลน์

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การเพาะเลี้ยงปลากัดไทย
การผลิตอาหาร ไรแดง หนอนแดง ไส้เดือนน้ำ
การตลาดออนไลน์
สารสนเทศปลากัดไทย
นวัตกรรมในการเพาะเลี้ยงปลาที่เหมาะสม

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพประมง ทางการบัญชีและวิศวกรรมเครีืองกลในการบูรณาการกับความสามารถของสถานประกอบการในการลงมือปฏิบัติทางวิชาชีพเก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนรวมถึงข้อมูลที่จำเป็นทางการบัญชีอื่นกับสถานประกอบการจริง สามารถค้นคว้า รวบรวมเพื่อการคิดวิเคราะห์และประมวลผลสร้างสรรค์ผลจากความรู้ทางวิชาชีพเพื่อการปฏิบัติงาน มีความฉลาดในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีสำนึกในความเป็นธรรมและมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีนิสัยใฝ่เรียนใฝ่รู้อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยกลุ่มภาคเหนือได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานจากนักศึกษาโครงการอาสาประชารัฐจำนวน 30 ราย
  • นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมคล้านนา ลำปาง เข้าร่วมโครงการอาสาประชารัฐจำนวนไม่น้อยกว่า 8 ราย
1.00 1.00
2 เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ โดยการสร้างหรือนำองค์ความรู้ที่หลากหลายในสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการในการแก้ปัญหา
  • ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยกลุ่มภาคเหนือสามารถเพาะเลี้ยง และจัดการด้านสุขภาพปลากัดได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

  • ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยกลุ่มภาคเหนือมีนวัตกรรมทางความรู้ในการเพาะเลี้ยงปลากัดอย่างน้อย 2 ชิ้นงาน

1.00 1.00
3 เพื่อนำองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาหรือนำนวัตกรรมที่มีในสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ ให้สามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้
  • ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยกลุ่มภาคเหนือได้รับการถ่ายทอดความรู้จากมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 3 สาขาวิชา

  • ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยกลุ่มภาคเหนือสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้บริหารจัดการธุรกิจของตนได้อย่างน้อยร้อยละ 70

1.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักศึกษาสาขาการบัญชี, ประมง, วิศวกรรมเครื่องกลและผ 10
ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยภาคเหนือตอนบน 30

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 โครงการอาสาประชารัฐ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ของผู้ประกอบการปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ

ชื่อกิจกรรม
โครงการอาสาประชารัฐ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ของผู้ประกอบการปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. จัดทำข้อเสนอโครงการ
    ประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการสำหรับการผลิตและพัฒนากำลังคนที่สอดคล้องกับการผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 ให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพ สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษากับการปฏิบัติงานจริงตามโครงการอาสาประชารัฐ
    2. เปิดรับสมัครและคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ
    ประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการ และเชิญชวนนักศึกษาสาขาการบัญชี ประมง และวิศวกรรมเครื่องกลที่สนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการ
    3. การประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน
    จัดการประชุมคณะทำงาน นักศึกษา เครือข่าย cluster plakad ภาคเหนือ ที่ปรึกษาโครงการและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยเพื่อสร้างความเข้าใจและข้อตกลงในการดำเนินโครงการ
    4. กิจกรรมอบรมความรู้และสร้างเสริมแนวคิดด้านอุดมการณ์อาสาสมัคร
    จัดอบรมนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการให้มีความรู้ ทักษะการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการ และแนวคิดทัศนคติในการทำงานด้วยอุดมการณ์ของการเป็นอาสาสมัคร
    5. กิจกรรมอบรมความรู้และสร้างเสริมประสบการณ์การทำงานกับกลุ่ม/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม
    5.1 การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลด้านศักยภาพ และความต้องการในการแก้ปัญหาการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยของผู้ประกอบการในพื้นที่เป้าหมาย
    5.2 ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการนำเสนอโครงงานแนวทางแก้ไข
    5.3 จัดประชุมนักศึกษาเพื่อทบทวนองค์ความรู้ และแนวทางการการปฏิบัติงานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับนักศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้ประกอบการ
    6. ดำเนินกิจกรรม
    ลงพื้นที่เป้าหมายเพื่อดำเนินโครงงานร่วมกับผู้ประกอบการเป็นระยะเวลา 4 เดือน
    7. การนิเทศนักศึกษา
    เพื่อติดตามการปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษา และข้อแนะนำแก่นักศึกษาในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
    8. ประชุมสรุปประสบการณ์และประเมินผลการปฏิบัติงาน
    8.1 ลงพื้นที่เป้าหมาย และจัดประชุมร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อรับฟังการนำเสนอความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งรับฟังบทเรียนหรือประสบการณ์การทำงานของนักศึกษา
    8.2 ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุป ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
    9. นำเสนอรายงานการปฏิบัติงาน
    จัดประชุมเพื่อให้นักศึกษานำเสนอผลการปฏิบัติงานเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการ
    10. การจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ (ปีที่ 1)
    ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    1) ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ (Output)
    (1.1) ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยกลุ่มภาคเหนือได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานจากนักศึกษาโครงการอาสาประชารัฐจำนวน 30 ราย
    (1.2) นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมคล้านนา ลำปาง เข้าร่วมโครงการอาสาประชารัฐจำนวนไม่น้อยกว่า 8 ราย
    2)ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ (Outcome)
    (2.1) กลุ่มผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยภาคเหนือมีความพึงพอใจจากการปฏิบัติงานของนักศึกษาโครงการอาสาประชารัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
    (2.2) นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการอาสาประชารัฐสามารถเรียนรู้การแก้ปัญหา (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมินผล) ตามหลักวิชาการได้อย่างถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    กลุ่มผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถโดยสารประจำทาง

    ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป-กลับ ในการลงพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 4 รอบการเดินทาง

    10 คน 500 4 20,000
    อื่น ๆ

    ค่าเบี้ยเลี้ยง (4 เดือน x 22วัน) จำนวน 8 คน (240x22x4)

    8 คน 240 88 168,960
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล

    ค่าเดินทาง ที่พัก ยานพาหนะ และน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการนิเทศตรวจติดตาม

    1 คน 20,720 1 20,720
    อื่น ๆ

    1. การดำเนินกิจกรรม 188320 บาท 1.1 ค่าใช้จ่ายในการจัดการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน 1.2 ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมอบรมความรู้และสร้างเสริมแนวคิดด้านอุดมการณ์อาสาสมัคร 1.3 ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมอบรมความรู้และสร้างเสริมประสบการณ์การทำงานกับกลุ่ม/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2. ค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงงาน 100000 บาท 3. ค่าจัดทำรายงาน 2000 บาท

    1 ชุด 290,320 1 290,320
    รวมค่าใช้จ่าย 500,000

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

    ค่าใช้สอยอื่น ๆรวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 40,720.00 459,280.00 500,000.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 8.14% 91.86% 100.00%

    11. งบประมาณ

    500,000.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output) ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยกลุ่มภาคเหนือได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานจากนักศึกษาโครงการอาสาประชารัฐจำนวน 30 ราย นักศึกษามีความรู้ความสามารถและมีทักษะในเชิงวิชาการและการปฏิบัติ
    ผลลัพธ์ (Outcome) กลุ่มผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยภาคเหนือมีความพึงพอใจจากการปฏิบัติงานของนักศึกษาโครงการอาสาประชารัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 การบูรณาการด้านการเรียนการสอน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ตนในชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
    ผลกระทบ (Impact) ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยกลุ่มภาคเหนือสามารถยกระดับมาตรฐานการผลิต
    ปลากัดไทยได้ตามหลักวิชาการ
    การพัฒนากำลังคนฐานรากทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษาในการสร้างองค์ความรู้ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สอดคล้องตามปรัชญามหาวิทยาลัย ในการเป็น “มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อชุมชน” และการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายรัฐบาล
    นำเข้าสู่ระบบโดย kwangtong kwangtong เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 15:55 น.