การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวชุมชน

แบบเสนอโครงการ
การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวชุมชน

1. ชื่อโครงการ

การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์1.สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2. สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ3.สาขานิเทศศาสตร์บ้านขยองนางสาวกาญจนาเถาว์ชาลี186 หมู่ที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์08835143651. นางสาวลดาวัลย์ ปัญตะยัง อาจารย์ประจำสาขาการพัฒนาสังคม
2.นายพงษ์พันธ์พึ่งตน อาจารย์ประจำสาขาการสังคมศึกษา
3. นายกิติศักดิ์ จันฤาไชยอาจารย์ประจำสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
4. นักศึกษาสาขาการพัฒนาสังคมจำนวน 6 คน
5. นักศึกษาสาขาสังคมศึกษาจำนวน 2 คน
6. นักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 2 คน

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สุรินทร์ เมืองสุรินทร์ ตาอ็อง

3. รายละเอียดชุมชน

บ้านขยอง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ค้าขายและรับจ้างทั่วไป อยุ่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 29 กิโลเมตร ใช้ภาษาเขมรในการสื่อสารเป็นหลัก- มีกลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงโคเนื้อนครชัยบุรินทร์
- กลุ่มรักษ์อินทรีย์ (ผลิตข้าวอินทรีย์)
- กลุ่มทอผ้าไหม
- กลุ่มอาชีพบทบาทสตรี (ถนอมอาหาร)
- กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง
ทุกกลุ่มมีการรวมกลุ่ม มีความสามัคคี
- ชาวบ้านขาดความรู้ความเข้าใจในประเด็นเรื่องการตลาด การต่อรอง การตั้งราคาสินค้า
- ชาวบ้านต้องการจัดตั้งหรือเปิดหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยว แต่ขาดความรู้และทักษะในการดำเนินการ
การรวมกลุ่มของแต่ละกลุ่มมความสามัคคี สมาชิกกลุ่มมีความเข้มแข็ง จากภูมิปัญญาที่มีสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษชาวบ้าน แต่ยังขาดความรู้เรื่องการตลาด และการทำเป็นหมู่บ้านตัวอย่างเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวในชุมชน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

- การส่งเสริมและให้ความรู้เรื่องการตลาด
- การส่งเสริมและให้ความรู้เรื่องการท่องเที่ยว
- การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาและพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่มีคุณภาพ

กลุ่มมีกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 1 กลุ่ม

20.00 1.00
2 เพื่อพัฒนากระบวนการด้านการตลาด รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในงานการตลาด ให้เกิดขึ้นภายในชุมชน และการแปรรูปให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด

เกิดการพัฒนากิจกรรมทางการตลาด และการประชาสัมพันธ์อย่างน้อย 4 กิจกรรม เช่น กิจกรรมปฏิบัติการสร้างสื่อในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยว

40.00 1.00
3 เพื่อศึกษาและพัฒนาบัญชีต้นทุนในการผลิต ตลอดจนสามารถบริหารราคาและวิเคราะห์กำไร จากการดำเนินกิจกรรมได้

ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถวิเคราะห์ต้นทุน และเกิดการตั้งราคาที่มีผลกำไรได้

20.00 1.00
4 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นที่รู้จัก

ชุมชนเป็นที่รู้จักและมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวและสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชนได้

20.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1. สมาชิกกลุ่ม จำนวน 5 กลุ่ม ในหมู่บ้านขยอง 100

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่มีคุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่มีคุณภาพ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อศึกษาและพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่มีคุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม
ทำกิจกรรมระดมสมอง ในแต่ละกลุ่ม ทั้งกลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงโคขุน, กลุ่มรักษ์อินทรีย์ ,กลุ่มทอผ้าไหม, กลุ่มอาชีพบทบาทสตรี,กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจัดทำSWOT เพื่อค้นหาศักยภาพของกลุ่ม จัดแข็ง จุดออ่อนที่ควรพัฒนา โอกาสในการพัฒนาและภาวะคุกคามของกลุ่ม เพื่อนำไปวางแผนในการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มต่อไป
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2562 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
กลุ่มทราบภึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม รู้ถึงศักยภาพของกลุ่ม และสามารถกำหนดแผนและนโยบายในการพัฒนากลุ่มได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
ทุนของชุมชน/ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภาคีร่วมสนับสนุน
อาจารย์แต่ละสาขาที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 5 คน 4,000 5 100,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่่ม 25บาทx100คนx5วันx2มื้อ ค่าอาหารกลางวันๅ150บาทx100คนx5วัน

100 คน 200 5 100,000
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 2 เที่ยว 5,000 5 50,000
รวมค่าใช้จ่าย 250,000

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนากระบวนการด้านการตลาด รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในงานการตลาด ให้เกิดขึ้นภายในชุมชน และการแปรรูปให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนากระบวนการด้านการตลาด รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในงานการตลาด ให้เกิดขึ้นภายในชุมชน และการแปรรูปให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนากระบวนการด้านการตลาด รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในงานการตลาด ให้เกิดขึ้นภายในชุมชน และการแปรรูปให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด
  2. เพื่อศึกษาและพัฒนาบัญชีต้นทุนในการผลิต ตลอดจนสามารถบริหารราคาและวิเคราะห์กำไร จากการดำเนินกิจกรรมได้
รายละเอียดกิจกรรม
อบรมและให้ความรู้เรื่องการตลาดแก่ชาวบ้าน และสส่งเสริมให้ชาวบ้านได้ทราบถึงการประชาสัมพันธ์ด้านการตลาด รวมถึงสามารถผลิตสินค้าและบริการให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ชาวบ้านทราบถึงวิธิการทางการตลาดและผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด และมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ30
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
- อาจารย์และนักศึกษาสาขาการตลาด
- องค์การบริหารส่วนตำบลตาอ็อง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 5 คน 4,000 2 40,000
ค่าอาหาร 100 คน 200 2 40,000
รวมค่าใช้จ่าย 80,000

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นที่รู้จัก

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นที่รู้จัก
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นที่รู้จัก
รายละเอียดกิจกรรม
จัดฝึกอบรมและให้ความรู้รวมทั้งศึกษาดูงานเกี่ยวกับเรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากแหล่งท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานในการจัดตั้งการท่องเที่ยว โดยชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พ.ค. 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ชาว บ้านมีความรู้ความเข้าใจในการจัดตั้งแหล่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนและสามารถจัดตั้งกลุ่ม การท่องเที่ยวเพื่อชุมชน ร้อยละ 20 และมีรายได้จากการ จำหน่ายสินค้าในชุมชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
1)สภาวัฒนธรรมจังหวัด
2) ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด
3) พัฒนาชุมชน
4) องค์การบริหารส่วนตำบลตาอ็อง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร 4 คน 4,000 3 48,000
ค่าอาหาร 100 คน 200 3 0
ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่ 2 เที่ยว 12,000 2 48,000
ค่าอาหาร 100 คน 200 3 60,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 200 ชุด 70 1 14,000
รวมค่าใช้จ่าย 170,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 188,000.00 298,000.00 14,000.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 37.60% 59.60% 2.80% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) เกิดกระบวนการเรียนรู้และต่อยอดองค์ความรู้ในชุมมชน เช่น ศักยภาพของกลุ่มและชุมชน การผลิตสินค้าที่ตรงตามความต้องการของตลาด ,ทราบถึงการหลักการการจัดการท่องเที่ยวในชุมชน นักศึกษาสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ในศาสตร์ที่ได้ศึกษาเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อชุมชนที่ดำเนินโครงงาน เรียนรู้กระบวนการ ขั้นตอนวิธิการศึกษาชุมชน ประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อยอดจากที่เรียนทฤษฎีในห้องเรียน สู่การฝึกปฏิบัติงานภาคสนามในพื้นที่ชุมขนและสร้างความยั่งยืนในชุมชน ตลอดจนสามารถช่วยให้ชุมชนที่เข้าร่วมโครงงานเกิดรายได้จากเดิม ร้อยละ 30 สอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชา
ผลลัพธ์ (Outcome) เกิดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนอย่างความยั่งยืน เนื่องจากชาวบ้านได้เรียนรู้และต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง นักศึกษาเกิดองค์ความรู้ในการศึกษาชุมชน การศึกษษจากการจัดกระบวนกลุ่ม ระดมสอง ได้ฝึกทำกิจกรรมและดำเนินกิจกรรมทางการผลิต และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีต่อยอดองค์ความรู้ ในการดำเนินการการตลาด เพื่อต่อยอกดองค์ความรู้หลังจากจบการศึกษาและเกิดทักษะในกระบวนการทำงานต่อไป
ผลกระทบ (Impact) เกิดความยั่งยืน และก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นของจากการจำหน่ายสินค้าและการท่องเที่ยวในชุมชน จากการลงพื้นที่ นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการทำงานในอนาคตหลังจากจบการศึกษาได้
นำเข้าสู่ระบบโดย aorthao aorthao เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 15:50 น.