การมีส่วนร่วมพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ข้าวโป่งเพื่อสุขภาพ

แบบเสนอโครงการ
การมีส่วนร่วมพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ข้าวโป่งเพื่อสุขภาพ

1. ชื่อโครงการ

การมีส่วนร่วมพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ข้าวโป่งเพื่อสุขภาพมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์สำนักงานเทศบาลตำบลโพนทองตำบลโพนทองนายปิยณัฐ โตอ่อนคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เลขที่62/1 ถ.เกษตรสมบูรณ์ อ.เมืองฯ จ.กาฬสินธุ์ 46000081-7180180นายถาวร แก้วแกมเกษ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และเทคโนโลยีขนส่ง
นายดนุพล ฮาตสม นักศึกษาสาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และเทคโนโลยีขนส่ง
นายเจษฎา ยาโสภา นักศึกษาสาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และเทคโนโลยีขนส่ง
นางสาวณัฐวรรณ แคล่วคล่อง นักศึกษาสาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และเทคโนโลยีขนส่ง
นายปรีชา สระแก้ว นักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติ
นายณัฐพงศ์แก้ววันนา นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการอาหาร
นางสาววราพร อุดรพูล นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
นางสาววรรณพร จำเริญบุญ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ-การจัดการทั่วไป
นางสาวรุจิรา โพนยงค์ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ-การจัดการทั่วไป
นางสาวบุษกร เขตจำนันต์ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ-การจัดการทั่วไป
นางสาวรัชฎา แต่งภูเขียว อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และเทคโนโลยีขนส่ง
นายอุ้มบุญ เชลียงรัตน์ชัย อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติ
ผศ.ดร.กรรณิการ์ห้วยแสน อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการอาหาร
นางพนอจิต นิติสุข อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการอาหาร
ดร.มัลลิกา ธีระกุล อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
ดร.เสาวลักษณ์ จิตมงคล อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ-การจัดการทั่วไป

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ โพนทอง

3. รายละเอียดชุมชน

ตำบลโพนทอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ทั้งหมดของตำบลโพนทอง 26.28 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 16,425 ไร่ แบ่งเขตการปกครอง เป็น 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านหามแห, หมู่ที่ 2 บ้านโพนทอง, หมู่ที่ 3 บ้านโคกน้ำเกลี้ยง, หมู่ที่ 4 บ้านหนองบัว, หมู่ที่ 5 บ้านหนองบัวน้อย, หมู่ที่ 6 บ้านห้วยสีทน, หมู่ที่ 7 บ้านโพนทอง, หมู่ที่ 8 บ้านมอดินแดง, หมู่ที่ 9 บ้านหามแห และหมู่ที่ 10 บ้านโคกน้ำเกลี้ยง ซึ่งมีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 6,495 คน ทั้งหมดประมาณ 2,353 ครัวเรือน รายได้ต่อคนในพื้นที่โดยเฉลี่อยู่ที่ 30,000 บาท/คน/ปีประชากรในเขตตำบลโพนทองส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 75 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก การพาณิชย์และรับจ้างรับราชการ ประมาณร้อยละ 9 อาชีพรับจ้าง และอื่นๆ ประมาณร้อยละ 16 พืชผลทางการเกษตรที่ปลูกมากที่สุดคือ ข้าว ข้าวโพด แตงโม มะเขือเทศและถั่วต่างๆ นอกจากนี้ในบางครัวเรือก็ทำไร่มันสำปะหลัง ปลูกยางพารา และได้ทำการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบางส่วนมาเป็นขนมพื้นบ้านไม่ว่าจะเป็น ข้าวโป่ง ข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ เป็นต้น เพื่อจำหน่ายหรือใช้ในงานเทศกาลตามประเพณีต่างๆด้วยกระบวนการผลิตข้าวโป่ง มีความยุ่งยากในขั้นตอนการผลิต เพราะต้องใช้กำลังคนมากในขั้นตอนการตำ และในขั้นตอนการตากต้องใช้ระยะเวลานานกว่าประมาณ 1 วัน ถึงจะแห้ง อีกทั้งข้าวโป่งที่แห้งก็แห้งไม่พร้อมกันทั้งแผ่น ต้องมีการกลับด้านเพื่อให้ทั้ง 2 ด้านแห้งเท่ากัน จึงส่งผลต่อกำลังการผลิตที่ได้ต่อวันไม่สามารถตอบสนองต่อของตลาดได้ กำลังการผลิตต่อวันอยู่ที่ประมาณ 800 แผ่นต่อวันจากการลงสำรวจพื้นที่บ้านหนองบัวเบื้องต้นพบว่า หมู่บ้านนี้มีความเป็นอยู่ดีในระดับหนึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างทำงานรายวันการรวมกลุ่มในการทำผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นอาชีพเสริมยังไม่พบกลุ่มที่มีความเข้มแข็งแต่พบว่าในตำบลโพนทองมีผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ได้มีการทำในครัวเรือนคือ ข้าวโป่ง ซึ่งจัดเป็นขนมโบราณพื้นบ้านอีสาน ขนมโบราณรสอร่อยของคนอีสานนั้น มีมากมายหลายชนิด เช่น ข้าวจี่ ข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ เป็นต้น บางชนิดก็คล้ายคลึงกับขนมพื้นเมืองโบราณของภาคอื่นๆ ขนมโบราณแต่ละชนิดล้วนมีความผูกผันกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ขนมอีสานที่มีคำว่า "ข้าว” นำหน้าอีกอย่างหนึ่งที่ทานแล้วไม่รู้จักเบื่อ นั่นก็คือ "ข้าวโป่ง”เป็นขนมอีสานที่มีมาแต่โบราณ คนทำต้องมีฝีมือพอสมควรซึ่งโครงการนี้ได้มุ่งประเด็นการผลิตข้าวโป่งที่มีรูปแบบที่สร้างความแตกต่างเพื่อเป็นจุดขาย คือเป็นข้าวโป่งที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยที่มีการเพิ่มถั่ว เมล็ดธัญพืช และสมุนไพรให้สีแก่ข้าวโป่ง ซึ่งเราจะเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ว่า ข้าวโป่งสมุนไพรและธัญพืชเพื่อสุขภาพ เป็นโจทย์ที่จะช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการนำหลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งกลุ่มนักศึกษาและชาวบ้านจะได้เรียนรู้ร่วมกันในด้านการจัดหาวัตถุดิบซึ่งเป็นตัวเริ่มต้น ไปจนถึงสามารถผลักดันให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนของบ้านหนองบัวเพื่อเพิ่มรายได้ฉะนั้นในระหว่างการดำเนินงานในระยะเวลา 5 เดือนนี้ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนต้องการให้เกิดผลสำเร็จและเป็นรูปธรรม ในด้านการคัดเลือกวัตถุดิบ สร้างกระบวนการผลิตสร้างเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ขายได้ทั้งในและนอกชุมชน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1 สำหรับองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์ที่จะนำไปใช้ในการดำเนินโครงการจะเน้นไปที่การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ข้าวโป่ง รวมทั้งการศึกษาต้นทุนฐานกิจกรรมของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งรูปแบบของห่วงโซ่อุปทาน จะเริ่มต้นจาก Supplier คือคนหรือองค์กรที่จัดหาสินค้าและบริการให้กับธุรกิจอื่น การค้นหาซัพพลายเออร์ที่ให้ราคาดี (ถูกกว่าของรายอื่น) เปรียบเสมือนหัวใจของความสำเร็จของธุรกิจ การต่อรองกับซัพพลายเออร์มักจะเกี่ยวข้องกับประเด็นหลักๆ เช่น วิธีการชำระเงิน ราคาและมูลค่าที่จะต้องชำระ รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากกระบวนการต่าง ๆ เช่น การจ่ายเงินล่าช้า ความผิดพลาด ยังไม่ได้รับสินค้าหรือได้รับช้ากว่ากำหนด เป็นต้น แล้วจะส่งข้อมูลไปยัง Purchasing คือฝ่ายจัดซื้อ มีหน้าที่จัดซื้อสินค้าและบริการจากผู้ขายด้วยการจ่ายเงินตามราคาที่กำหนดไว้จากผู้ให้บริการด้วยราคาที่สอดคล้องกับปริมาณและคุณภาพของสินค้าและการบริการนั้น ๆ รวมถึงการจัดส่งที่ถูกต้องตามเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้แล้วทำการการผลิต (Production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และ พลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจจากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการแล้วทำการขนส่งสินค้าไปยัง ศูนย์จัดจำหน่าย หรือศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center : DC) คือคลังสินค้าของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ที่ออกแบบให้มีลักษณะเฉพาะอย่าง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการหมุนเวียนสินค้าเข้าและสินค้าออก ทำหน้าที่รับคำสั่งซื้อ จัดหาสินค้า และจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า โดยไม่ให้เกิดการเก็บรักษาสินค้าโดยไม่จำเป็นหรืออีกนัยหนึ่ง จุดที่ทำหน้าที่ในการกระจายสินค้าไปให้ถึงมือผู้บริโภคหรือลูกค้าที่ศูนย์กระจายสินค้าหนึ่งๆ อาจจะมีสินค้าที่มาจากหลายโรงงานการผลิต เช่นศูนย์กระจายสินค้าของซุปเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ จะมีสินค้ามาจากโรงงานที่ต่างๆ กัน เช่น โรงงานผลิตยาสระผม, โรงฆ่าสัตว์, เบเกอรี่ เป็นต้น จากนั้นทำการกระจายสินค้าไปยังลูกค้า ( Customers) คือลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัท โดยนักการตลาดจะต้องทำการศึกษาตลาดลูกค้าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากตลาดแต่ละประเภทก็จะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน
ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity-Based Costing) หรือระบบ ABC เป็นเครื่องมือในการบริหารงานในลักษณะการบริหารงานฐานคุณค่า (Value-Based Management) ซึ่งเชื่อมโยงการบริหารระดับองค์กรลงสู่ระบบการปฏิบัติงานประจำวัน โดยพิจารณาหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานตลอดทั้งกิจการ (Cross-Functional) ในลักษณะที่มองกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรเป็นภาพรวม (Integrated View)

2 สำหรับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตได้นำเอาหลักการศึกษางาน (Work Study) มาวิเคราะห์การทำงานในปัจจุบันด้วย Flow Process Chart จากนั้นใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment; QFD) มาช่วยในการออกแบบเครื่องจักรระบบอัตโนมัติสำหรับขั้นตอนการตำ การรีดข้าวให้ได้ขนาด และการตาก และทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพก่อนและหลังการปรับปรุง พร้อมทั้งคำนวณจุดคุ้มทุน ซึ่งทำให้เกิดนวัตกรรมที่จะสามารถยกระดับทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพได้

3 สำหรับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการอาหาร ใช้องค์ความรู้ด้านกระบวนการแปรรูปอาหารโดยการใช้การลดขนาด (แปรรูปอาหารกลุ่มแป้ง) เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารโดยใช้ความร้อน (กระบวนการอบแห้ง)

4 สำหรับองค์ความรู้ด้านธุรกิจจะทำการส่งเสริมขีดความสามารถด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ข้าวโป่งเพื่อสุขภาพ ตำบลโพนทอง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการศึกษากลยุทธ์การตลาดของผลิตภัณฑ์ด้วยหลักปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 6Ps คือ Product ด้านผลิตภัณฑ์ Price ด้านราคา Place ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย Promotion ด้านการส่งเสริมการตลาด People ด้านบุคคล และ Process ด้านกระบวนการ ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์ เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงให้สอดคล้องและตรงตามความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตแบบกึ่งอัตโนมัติ

ได้เครื่องจักรในการผลิตแบบกึ่งอัตโนมัติ จำนวน 1 ชุด สามารถเพิ่มกำลังการผลิตต่อวันได้สูงขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

50.00 1.00
2 2. พัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ

ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบจำนวน 3 สูตร

30.00 1.00
3 3. เพื่อนำหลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปพัฒนาหมู่บ้านเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์แก่ชุมชน

เพิ่มรายได้กลุ่มผู้ประกอบการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เทียบกับรายได้เฉลี่ยก่อนดำเนินโครงการ

20.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มชุมชนในตำบลโพนทอง 90
ณัฐพงศ์ แก้ววันนา 6143330230071 1
ณัฐวรรณ แคล่วคล่อง 1460600150083 1
ดนุพล ฮาตสม 1103702729302 1
ถาวร แก้วแกมเกษ 1469900432287 1
บุษกร เขตจำนันต์ 1460300216232 1
ปรีชา สระแก้ว 1749900746092 1
รุจิรา โพนยงค์ 1460500255398 1
วรรณพร จำเริญบุญ 1469900444269 1
วราพร อุดรพูล 1469900375631 1
เจษฎา ยาโสภา 1400900282147 1

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การวิเคราะห์โซ่คุณค่าเพื่อยกระดับการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ ข้าวโป่งเพื่อสุขภาพ ต.โพนทอง อ.เมืองฯ จ.กาฬสินธุ์

ชื่อกิจกรรม
การวิเคราะห์โซ่คุณค่าเพื่อยกระดับการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ ข้าวโป่งเพื่อสุขภาพ ต.โพนทอง อ.เมืองฯ จ.กาฬสินธุ์
วัตถุประสงค์
  1. 1. เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตแบบกึ่งอัตโนมัติ
รายละเอียดกิจกรรม
ทำการวิเคราะห์โซ่คุณค่าเพื่อยกระดับการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ของข้าวโป่ง ตำบลโพนทอง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งทำการศึกษาโดยการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการทำข้าวโป่งวิเคราะห์ภาพรวมทั่วไปของการจัดการโซ่คุณค่า โดยการแสดงแผนภาพภาพรวมของห่วงโซ่อุปทานการเคลื่อนย้ายข้าวโป่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ รวมทั้ง ขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ของผู้มีส่วนร่วมที่มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทาน ตามแนวทางของตัวแบบอ้างอิงการดำเนินงาน SCOR Model และนำผลการศึกษามาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และโอกาส โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT เพื่อยกระดับการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤศจิกายน 2562 ถึง 16 ธันวาคม 2562
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ทราบถึงโครงสร้างของห่วงโซ่อปทานการทำข้าวโป่งและต้นทุนในการผลิตในแต่ละกิจกรรม
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
การมีส่วนร่วมของสำนักงานเทศบาลและชุมชนในตำบลโพนทอง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนการประสานงาน

อาจารย์ 1 ท่าน

1 คน 180 32 5,760
ค่าตอบแทนการประสานงาน

นักศึกษา 2 คน

2 คน 120 32 7,680
ค่าวัสดุสำนักงาน

กระดาษถ่ายเอกสาร A4 ขนาด 80 แกรม (รีม)

20 ชุด 120 1 2,400
ค่าวัสดุสำนักงาน

กระดาษ 100 ปอนด์ (แผ่น)

50 ชุด 20 1 1,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

ดินสอดำ HB (กล่อง)

5 ชุด 100 1 500
ค่าวัสดุสำนักงาน

ยางลบ (ก้อน)

50 ชิ้น 5 1 250
ค่าวัสดุสำนักงาน

ปากกา (กล่อง)

10 ชุด 400 1 4,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

ซองน้ำตาล A4 (ห่อ)

10 ชุด 300 1 3,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

คลิปดำ (กล่อง)

12 ชุด 50 1 600
ค่าวัสดุสำนักงาน

คลิปสีเงิน (กล่อง)

6 ชุด 100 1 600
ค่าวัสดุสำนักงาน

ลวดเย็บกระดาษ (กล่อง)

20 ชุด 10 1 200
รวมค่าใช้จ่าย 25,990

กิจกรรมที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตข้าวโป่งเพื่อสุขภาพ ด้วยระบบกึ่งอัตโนมัติ

ชื่อกิจกรรม
การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตข้าวโป่งเพื่อสุขภาพ ด้วยระบบกึ่งอัตโนมัติ
วัตถุประสงค์
  1. 1. เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตแบบกึ่งอัตโนมัติ
รายละเอียดกิจกรรม
ศึกษาขั้นตอนการทำข้าวโป่งแบบวิธีการพื้นบ้าน และทำการปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยนำหลักการศึกษางาน (Work Study) มาวิเคราะห์การทำงานในปัจจุบันด้วย Flow Process Chart จากนั้นใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment; QFD) มาช่วยในการออกแบบเครื่องจักรระบบอัตโนมัติสำหรับขั้นตอนการตำ การรีดข้าวให้ได้ขนาด และการตาก และทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพก่อนและหลังการปรับปรุง พร้อมทั้งคำนวณจุดคุ้มทุน ซึ่งทำให้เกิดนวัตกรรมที่จะสามารถยกระดับทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพได้ (เครื่องตำข้าวโป่ง เครื่องรีดข้าวโป่ง และตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 ธันวาคม 2562 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้เครื่องต้นแบบการผลิตแบบกึ่งอัตโนมัติ และสามารถวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของกระบวนการได้
ทรัพยากรอื่น ๆ
- ข้าวเหนียว (ขาวและดำ)
- ธัญพืช (ข้าวเหนียวดำ งาขาว งาดำ ข้าโพด และแครอทฯ)
- สมุนไพร (ใบเตย อัญชัน และมะตูมฯ)
ภาคีร่วมสนับสนุน
การมีส่วนร่วมของสำนักงานเทศบาลและชุมชนในตำบลโพนทอง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนการประสานงาน

อาจารย์ 2 ท่าน

2 คน 180 32 11,520
ค่าตอบแทนการประสานงาน

นักศึกษา 3 คน

3 คน 120 32 11,520
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

เพลาสแตนเลส (SS304) ขนาด Ø 1˝½ x 6 m. (2 เส้น x 7,500)

2 ชิ้น 7,500 1 15,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

เพลาสแตนเลส (SS304) ขนาด Ø 2˝½ x 6 m. (1 เส้น x 23,000)

1 ชิ้น 23,000 1 23,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

เพลาสแตนเลส (SS304) ขนาด Ø 4˝ (1 m. x 8,000)

1 ชิ้น 8,000 1 8,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

แผ่นสแตนเลส ผิวมัน (SS304) ขนาด 1.2 m. x 2.4 m. x 3 mm. (6 แผ่น x 6,200)

6 ชิ้น 6,200 1 37,200
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

แผ่นสแตนเลส ผิวมัน(SS304) ขนาด 1.2 m. x 2.4 m. x 12 mm. (1 แผ่น x 28,000)

1 ชิ้น 28,000 1 28,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ฉากสแตนเลส (SS304) ขนาด 37.5 mm. x 37.5mm. x 3 mm. ยาว 6 m. (15 เส้น x 1,500)

15 ชิ้น 1,500 1 22,500
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ตะแกรงสแตนเลส (SS304) ขนาด 1.2 m. x 2.4 m. x 3 mm. ขนาดรู 5 mm. (6 แผ่น x 8,500)

6 ชิ้น 8,500 1 51,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ลวดเชื่อมสแตนเลส (SS304) ขนาด 2.6 mm. (1 ลัง x 4,900บาท)

1 ชุด 4,900 1 4,900
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ปูนซีเมนต์ (1 ถุง x 50 Kg. x 150 บาท)

1 ชิ้น 150 1 150
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

หิน ขนาด ½ (1 คิว)

1 ชุด 700 1 700
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ทรายละเอียด (1 คิว)

1 ชุด 250 1 250
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ล้อเลื่อนขนาด 2˝ (4 ล้อ x 250)

4 ชิ้น 250 1 1,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

มอเตอร์ไฟฟ้า AC ขนาด 3 แรงม้า (2 ตัว x 6,500 บาท)

2 ชิ้น 6,500 1 13,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

เบรกเกอร์ ขนาด 30A (3 ตัว x 450 บาท)

3 ชิ้น 450 1 1,350
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

เบรกเกอร์ ขนาด 10A (3 ตัว x 200 บาท)

3 คน 200 1 600
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ฮีตเตอร์ 200 W 12V (5 ตัว x 400 บาท)

5 ชิ้น 400 1 2,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

พัดลมระบายความร้อน 24V DC 1.8A ขนาด 6˝ (2 ตัว x 1,200 บาท)

2 ชิ้น 1,200 1 2,400
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

วงจรขับมอเตอร์ DC (2 ตัว x 1,200 บาท)

2 คน 1,200 1 2,400
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

DC คอนเวอร์เตอร์ (2 ตัว x 350 บาท)

2 ชิ้น 350 1 700
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

รีเลย์ 12 โวลต์ แบบแยกอิสระ 6 ช่อง (2 ตัว x 260 บาท)

2 คน 260 1 520
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

เซนเซอร์วัดความชื้นและอุณหภูมิ (3 ตัว x 780 บาท)

3 คน 780 1 2,340
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

Arduino Nano 3.0 รุ่นใหม่ ใช้ชิฟ CH340G บัดกรีขาแล้ว พร้อมสาย (5 ตัว x 180 บาท)

5 ชิ้น 180 1 900
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

LCD 1604 ขนาด 16 ตัวอักษร 4 บรรทัด (2 ชุด x 180 บาท)

2 คน 180 1 360
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

Connector 2.54 mm. connector ตัวผู้ 5 ขา (50 x 3 บาท)

50 ชิ้น 3 1 150
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

XH2.54 cable connector 2.54 mm. 5p ขั้วต่อคอนเน็กเตอร์ 2.54 mm. ตัวมียพร้อมสายไฟ 5 เส้น ยาว 30 cm. (50 x 8 บาท)

50 ชิ้น 8 1 400
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ไมโครสวิตช์ กดติดปล่อยดับ ขนาด 12 x 12 x 4.3 mm. (50 x 5 บาท)

50 ชิ้น 5 1 250
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

XH2.54 cable connector 2.54 mm. 3p ขั้วต่อคอนเน็กเตอร์ 2.54 mm. ตัวมียคู่ พร้อมสายไฟยาว 20cm 3 เส้น (50 x 7 บาท)

50 ชิ้น 7 1 350
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

XH2.54 mm. SMT SMD connector 3p ขั้วต่อแบบ SMD ระยะ 2.54 mm. (50 x 3 บาท)

50 ชิ้น 3 1 150
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

แผ่นปริ๊น PCB อเนกประสงค์แบบ 1 หน้าอย่างดี สีเขียว PCB ขนาด 9x15 cm. (10 x 40 บาท)

10 ชิ้น 40 1 400
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

สายไฟ 1×1.5 SQ mm. (100 m./ม้วน) สีแดง (1 ม้วน x 700 บาท)

1 ชุด 700 1 700
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

สายไฟ 1×1.5 SQ mm. (100 m./ม้วน) สีดำ (1 ม้วน x 700 บาท)

1 ชุด 700 1 700
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

โซล่าเซลล์ 390W (2 แผง x 5,000 บาท)

2 ชิ้น 5,000 1 10,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

Battery Bellco 210Ah 12V (1 ตัว x 11,000 บาท)

1 ชิ้น 11,000 1 11,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ชาร์จเจอร์คอนโทรล ขนาด 40 A ระบบ 12/24/36/48 V (1 ชุด x 4500 บาท)

1 ชุด 4,500 1 4,500
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ข้าวเหนียว (ขาวและดำ)

1 ชุด 1,000 1 1,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ผักและธัญพืช (งาขาว งาดำ ข้าวโพด และแครอทฯ)

1 ชุด 1,000 1 1,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

สมุนไพร (ใบเตย อัญชัน และมะตูมฯ)

1 คน 1,000 1 1,000
รวมค่าใช้จ่าย 272,910

กิจกรรมที่ 3 การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเอาสมุนไพรและธัญพืชมาใช้ทำเป็นส่วนผสมในข้าวโป่ง

ชื่อกิจกรรม
การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเอาสมุนไพรและธัญพืชมาใช้ทำเป็นส่วนผสมในข้าวโป่ง
วัตถุประสงค์
  1. 2. พัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม
ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเอาสมุนไพร ผักและธัญพืชมาใช้ทำเป็นส่วนผสมในข้าวโป่ง (ข้าวเหนียวดำ งาขาว งาดำ ข้าวโพด แครอท น้ำอัญชัน และน้ำใบเตย ฯ) จากนั้นวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ ทำการทดสอบ และสรุปผลการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มกราคม 2563 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบข้าวโป่งเพื่อสุขภาพ จำนวน 3 สูตร
ทรัพยากรอื่น ๆ
- ข้าวเหนียว (ขาวและดำ)
- ธัญพืช (ข้าวเหนียวดำ งาขาว งาดำ ข้าโพด และแครอทฯ)
- สมุนไพร (ใบเตย อัญชัน และมะตูมฯ)
- สารเคมีสำหรับวิเคราะห์จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด (Plate Count Agar, Potato Dextrose Agar, Nutrient agar)
- สารเคมีสำหรับวิเคราะห์ค่าความหืน (Thiobarbituric acid: TBA) และสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant)
(สารละลายมาตรฐาน Phenolic acid standard, Trolox 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH), ABTS Ethanol, Folin reagent)
- บรรจุภัณฑ์
ภาคีร่วมสนับสนุน
การมีส่วนร่วมของสำนักงานเทศบาลและชุมชนในตำบลโพนทอง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนการประสานงาน

อาจารย์ 3 ท่าน

3 คน 180 32 17,280
ค่าตอบแทนการประสานงาน

นักศึกษา 2 คน

2 คน 120 32 7,680
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

สารเคมีสำหรับวิเคราะห์จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด 1 ชุด

1 ชุด 13,000 1 13,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

สารเคมีสำหรับวิเคราะห์ค่าความหืน (Thiobarbituric acid: TBA) และสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) 1 ชุด

1 ชุด 13,000 1 13,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ข้าวเหนียว (ขาวและดำ)

1 ชุด 4,000 1 4,000
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

ผักและธัญพืช (งาขาว งาดำ ข้าวโพด และแครอทฯ)

1 ชุด 4,660 1 4,660
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

สมุนไพร (ใบเตย อัญชัน และมะตูมฯ)

1 ชุด 4,000 1 4,000
รวมค่าใช้จ่าย 63,620

กิจกรรมที่ 4 การส่งเสริมขีดความสามารถด้านการตลาดของข้าวโป่งเพื่อสุขภาพ ต.โพนทอง อ.เมืองฯ จ.กาฬสินธุ์

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริมขีดความสามารถด้านการตลาดของข้าวโป่งเพื่อสุขภาพ ต.โพนทอง อ.เมืองฯ จ.กาฬสินธุ์
วัตถุประสงค์
  1. 3. เพื่อนำหลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปพัฒนาหมู่บ้านเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์แก่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม
สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จากนั้นทำส่งเสริมขีดความสามารถด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ข้าวโป่ง ตำบลโพนทอง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการศึกษากลยุทธ์การตลาดของผลิตภัณฑ์ด้วยหลักปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 6Ps คือ Product ด้านผลิตภัณฑ์ Price ด้านราคา Place ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย Promotion ด้านการส่งเสริมการตลาด People ด้านบุคคล และ Process ด้านกระบวนการ ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์ เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงให้สอดคล้องและตรงตามความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 16 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
สามารถขยายตลาดการค้าได้เพิ่มขึ้น
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
การมีส่วนร่วมของสำนักงานเทศบาลและชุมชนในตำบลโพนทอง
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนการประสานงาน

อาจารย์ 1 ท่าน

1 คน 180 32 5,760
ค่าตอบแทนการประสานงาน

นักศึกษา 3 คน

3 คน 120 32 11,520
ค่าตอบแทนวิทยากร

วิทยากร (มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์) จำนวน 3 ท่าน (300 บาท/ชั่วโมง)

3 คน 300 48 43,200
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (30 คน x 4 มื้อ x 25 บาท x 3 หมู่บ้าน)

30 คน 25 12 9,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวัน (30 คน x 2 วัน x 100 บาท x 3 หมู่บ้าน)

30 คน 100 6 18,000
อื่น ๆ

ค่าธรรมเนียมอุดหนุนสถานศึกษา ร้อยละ 10

1 ครั้ง 50,000 1 50,000
รวมค่าใช้จ่าย 137,480

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 121,920.00 27,000.00 301,080.00 50,000.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 24.38% 5.40% 60.22% 10.00% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบจำนวน 3 สูตร
ได้ระบบการผลิตแบบกึ่งอัตโนมัติจำนวน 1 ชุด
สามารถเพิ่มกำลังการผลิตต่อวันได้สูงขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
เพิ่มรายได้กลุ่มผู้ประกอบการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เทียบกับรายได้เฉลี่ยก่อนดำเนินโครงการ
ได้รับความรู้และทักษะเกี่ยวกับวางแผน รวมถึงการออกแบบระบบในการการพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการผลิตแบบกึ่งอัตโนมัติ ชุดควบคุมเครื่องต้นแบบ และวางแผนการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์
ผลลัพธ์ (Outcome) สามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ หรือผลผลิตการเกษตรอื่นๆในเชิงพาณิชย์ได้ นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางทฤษฏีและการปฏิบัติงานจริงไปทำการเทียบโอนในรายวิชาของแต่ละสาขาได้ดังนี้
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และเทคโนโลยีขนส่ง
- วิชาวิศวกรรมคุณค่า (EN-063-003) 3 หน่วยกิต
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติ
- วิชาวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EN-112-101) 2 หน่วยกิต
- วิชาปฏิบัติการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง (EN-112-102) 1 หน่วยกิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
- วิศวกรรมอาหาร 1 (03-052-304) 3 หน่วยกิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
- วิชาการกำจัดและการใช้ประโยชน์จากของเสีย (03-071-434) 2 หน่วยกิต
- วิชาปฏิบัติการการกำจัดและการใช้ประโยชน์จากของเสีย (03-071-435) 1 หน่วยกิต
หลักสูตรบริหารศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ-การจัดการทั่วไป
- วิชาการบริหารโครงการ (05-052-403) 3 หน่วยกิต
ผลกระทบ (Impact) สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน ได้รับทักษะจากการทำโครงการเพื่อไปใช้ในการพัฒนาตนเอง
นำเข้าสู่ระบบโดย piyanat.to piyanat.to เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 14:49 น.