การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จากกาบกล้วย : กรณี บ้านบวกปลาค้าว ต.หัวง้ม อ.พาน จ.เชียงราย

แบบเสนอโครงการ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จากกาบกล้วย : กรณี บ้านบวกปลาค้าว ต.หัวง้ม อ.พาน จ.เชียงราย

1. ชื่อโครงการ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จากกาบกล้วย : กรณี บ้านบวกปลาค้าว ต.หัวง้ม อ.พาน จ.เชียงรายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงรายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงรายบ้านบวกปลาค้าว หมู่ที่ 3 ตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงรายนายกนกพงษ์ ศรีเที่ยงคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรมทร.ล้านนา เชียงราย99 ถ.พหลโยธิน ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย 57120โทรศัพท์/โทรสาร0861987506, 053-723-971 ต่อ 3001 E-mail – address : Kanokpong@rmutl.ac.th1. นายสุริยงค์ประชาเขียว
2. ดร. ปภาวดี เนตรสุวรรณ
3. ดร. ถาวร อินทโร
4. ดร. กรุณา ใจนนถีย์
5. ดร. ไภสัชชา อินพูลใจ
6. นาย สรายุธบูญช่วย
7. นางสาวอวยพร ต๊ะวัน
8. นางสาวณฐมน ทรัพย์บุญโต
9.นายพีรวัตร ลือสัก
10.นางสาวสุวิสา ธะยะธง

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
เชียงราย ชนบท

3. รายละเอียดชุมชน

จากรายงานสถิติจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2561 พบว่าจังหวัดเชียงราย มีรายได้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนเท่ากับ 11,809 บาท มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน 10,441 บาท และหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน 30,608 บาท จากตัวเลขที่มีการรายงานพบว่ารายได้ที่มาจากภาคการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพของประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัด มีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 9,009 บาท (ที่มา: การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2560 จังหวัด เชียงราย สำนักงานสถิติแห่งชาติ) จะพบว่าเมื่อนำค่าเฉลี่ยรายได้เทียบกับค่าใช้จ่ายและจำนวนหนี้สินมีการติดลบมากกว่าเป็นเงินออม โดยจังหวัดเชียงราย ประกอบไปด้วยอำเภอทั้งหมด 18 อำเภอ ซึ่งอำเภอพาน เป็นหนึ่งอำเภอที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด มีจำนวนประชากรทั้งหมด 116,992 คน และเป็นสถานที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงรายอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ประกอบไปด้วย 15 ตำบล จากการลงพื้นที่และจากการขอสนับสนุนความรู้ทางด้านวิชาการจากมหาวิทยาลัย พบว่า ชุมชนบ้านบวกปลาค้าว ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3ตำบลหัวง้ม ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว ปลูกพืช เลี้ยงปลา เป็นต้น โดยอาชีพที่สร้างรายได้เป็นจำนวนมากให้กับพื้นที่คือการเลี้ยงปลานิล แต่ในพื้นที่จริงนั้นการเลี้ยงปลานิลมักจะอยู่ในกลุ่มคนที่มีเงินทุนสูงและมีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเอง ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องของรายได้ โดยคนที่ไม่มีทีดินทำกินเป็นของตนเอง ก็จะมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นเมื่อมาดูบริบทของชุมชนและเป็นความต้องการของชุมชนที่จะแก้ไขปัญหาความยากจน โดยพยายามสร้างอาชีพเพื่อเป็นรายได้เสริมหรือเป็นรายได้หลักในอนาคตพบว่าในชุมชนที่มีความสนใจสร้างผลิตภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ” โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ได้ตั้งขึ้นจากการที่ชาวบ้านเห็นว่าทุกครั้งที่มีการจัดงานต่าง ๆ เช่น งานทำบุญ งานขึ้นบ้านใหม่ งานวัดและงานประจำปีต่าง ๆ เมื่อจัดงานเสร็จจะมีขยะที่เหลือจำนวนมากโดยเฉพาะขยะที่เป็นพลาสติก เกิดปัญหาในการกำจัดที่ค่อนข้างยุ่งยาก ทำให้คนในกลุ่มพยายามศึกษาหาความรู้และหาวิธีในการแก้ไขปัญหาโดยมองไปที่ต้นเหตุของปัญหา และหาวิธีการโดยเลือกใช้วัสดุทางธรรมชาติ เช่น ใบตองตึง ใบตองกล้วย ครั้งแรกทางกลุ่มได้ลองทำผลิตภัณฑ์ที่เป็น ถ้วยและชาม เป็นหลัก โดยเครื่องมือในการขึ้นรูปวัสดุก็มาจากเครื่องมือที่ทำขึ้นมาเองง่าย ๆ โดยใช้จานหรือถ้วยชามที่เป็นอลูมิเนียม 2 ใบมาซ้อนทับกันโดยนำเอาวัสดุทางธรรมชาติมาวางซ้อนทับตรงกลางถ้วยทั้งสอง แล้วทำการกดด้วยเครื่องมือขนาดเล็กเพื่อขึ้นรูป ปัญหาที่ตามมาพบว่า วัสดุทั้งสองสามารถขึ้นรูปได้ ในเฉพาะช่วงแรกเท่านั้น หลังจากเวลาผ่านไปเมื่อวัสดุเหล่านั้นเริ่มแห้ง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเริ่มแตก กรอบ ไม่สามารถใช้งานได้จริง และเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานาน ๆ จะเกิดเชื้อราขึ้นมา ทำให้เกิดความไม่เหมาะสมในการใช้งานโดยวัตถุดิบในการผลิตถ้วยชามจากธรรมชาติที่ได้รับความนิยม เช่น กาบหมาก ซึ่งทางกลุ่มทราบดีว่ากาบหมาก มีคุณสมบัติที่ดีในการขึ้นรูปและมีความสวยงาม แต่ในชุมชนไม่มีต้นหมากและต้องสั่งเข้ามาทำให้ กลุ่มมองหาวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกาบหมาก โดยทางกลุ่มได้ใช้ กาบกล้วยแทน ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยพบว่าข้อดีในการใช้กาบกล้วย คือ มีความเหนียว สามารถขึ้นรูปได้ง่าย ที่สำคัญทุกบ้านจะมีต้นกล้วยปลูกเป็นจำนวนมาก โดยปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือนและปลูกเพื่อจำหน่าย ซึ่งจากจากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ามีการปลูกต้นกล้วยไม่ต่ำกว่า 50 ไร่ เมื่อทำการเก็บผลผลิตเสร็จต้นกล้วยก็จะถูกตัดทั้งโดยเปล่าประโยชน์ แต่ปัญหาที่พบจากการใช้กาบกล้วย เช่น ต้องมีการตากกาบกล้วยให้แห้งก่อนถึงจะสามารถนำมาใช้ได้ โดยต้องใช้เวลาหลายวันในการตากกาบกล้วยขึ้นอยู่กับสภาพของอากาศเป็นหลักปัญหาการกาบกล้วยที่ได้มีขนาดเล็กต้องนำกาบกล้วยมาต่อกันเสียก่อน ทำให้เกิดเป็นรอยรั่วได้ง่าย เป็นต้น

จากที่ได้กล่าวมาพบว่า ในชุมชนยังขาดองค์ความรู้และขาดเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องมีการเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อทำการประชุมและสรุปความจำเป็นที่ต้องพัฒนาร่วมกัน โดยมีดังนี้ ชุมชนต้องการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดระยะเวลาในการตากกาบกล้วย ต้องมีการพัฒนาเครื่องมือในการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถหาช่องทางจำหน่ายสิ้นค้าได้ด้วย โดยออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากลาย เป็นที่ต้องการของตลาด และลดต้นทุนในการผลิตลง รวมทั้งมีการสร้างโดมตากกาบกล้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และทำการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น
ดังนั้น คณะดำเนินงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ได้เล็งเห็นความสำคัญและปัญหาจึงร่วมกับชุมชนบ้านบวกปลาค้าว ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3ตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนไปอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นจึงมีการวางแผนงานให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันให้เป็นไปตามรูปแบบกิจกรรม ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
1. กิจกรรมในระดับต้นน้ำ ได้แก่ กิจกรรมด้านการส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบแก่ชุมชน กิจกรรมการพัฒนาเครื่องจักรให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานโดยมีนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการเป็นผู้ร่วมพัฒนากับชุมชน
2. กิจกรรมในระดับกลางน้ำ ได้แก่ กิจกรรมการรวบรวมและการแปรรูปผลผลิตจากกาบกล้วย กิจกรรมการออกแบบและการสร้างผลิตภัณฑ์โดยใช้องค์ความรู้จากคณะวิทยาศาสตร์ กิจกรรมการจำหน่ายและการสร้างแบรนด์สินค้า โดยมีนักศึกษาสาขาการตลาดเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม และกิจกรรมสร้างภาคีด้านวิชาการที่จะมาช่วยสนับสนุนส่งเสริมด้านนวัตกรรม/เทคโนโลยีเพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์
3. กิจกรรมในระดับปลายน้ำ ได้แก่ กิจกรรมรวมกลุ่มให้เป็นวิสาหกิจชุมชน กิจกรรมต้นทุนบัญชี โดยมีนักศึกษาสาขาการบัญชีเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม และการเปิดช่องทางการตลาดใหม่ เพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

โดยหวังว่าเมื่อโครงการสำเร็จ จะสามารถนำองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ วิจัย มุ่งนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในเกิดผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสามารถวัดได้ ภายใต้แนวคิด “พัฒนานวัตกรรม เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน” เพื่อให้เกิดจัดตั้งกลุ่มและการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่ได้ จนนำไปสู่การเพิ่มรายได้ในระดับครัวเรือนและสามารถวัดระดับความสำเร็จของกลุ่มให้เกิดความยั่งยืนต่อไป และยังสามารถเพิ่มการเรียนรู้ให้บัณฑิตซึ่งสอดคล้องตามวัตถุประสงค์รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยี (Innovation and Technology) โดยสามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ เพื่อให้นักศึกษาประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่จริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถออกแบบระบบงาน มีความฉลาดในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีสานึกในความเป็นธรรมและมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความใฝ่รู้อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และยังสามารถส่งเสริมอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ดังคำกล่าวที่ว่า“บัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน”
ชุมชนยังขาดองค์ความรู้และขาดเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องมีการเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อทำการประชุมและสรุปความจำเป็นที่ต้องพัฒนาร่วมกัน โดยมีดังนี้ ชุมชนต้องการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดระยะเวลาในการตากกาบกล้วย ต้องมีการพัฒนาเครื่องมือในการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถหาช่องทางจำหน่ายสิ้นค้าได้ด้วย โดยออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากลาย เป็นที่ต้องการของตลาด และลดต้นทุนในการผลิตลง รวมทั้งมีการสร้างโดมตากกาบกล้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และทำการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบแก่ชุมชน
2องค์ความรู้การพัฒนาเครื่องจักรให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน
3องค์ความรู้การรวบรวมและการแปรรูปผลผลิตจากกาบกล้วย
4องค์ความรู้การออกแบบและการสร้างผลิตภัณฑ์
5องค์ความรู้การจำหน่ายและการสร้างแบรนด์สินค้า
6องค์ความรู้รวมกลุ่มให้เป็นวิสาหกิจชุมชน
7องค์ความรู้ต้นทุนบัญชี

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อนำองค์ความรู้และงานวิจัยของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยถ่ายทอดสู่ชุมชนสำหรับพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์กาบกล้วยในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2สร้างองค์ความรู้ให้กับบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน 3เพื่อสร้างอาชีพ และรายได้ให้กับคนในชุมชน 4เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
  • มหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัย ที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับในระดับท้องถิ่น ชาติและนานาชาติ มีศักยภาพในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมชุมชน และวัฒนธรรมตลอดจนนาผลงานไปสู่การใช้ประโยชน์ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ -เพิ่มผลิตภาพ สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการ เพียงพอต่อการเป็นฐานตลาดงาน ตลาดอาชีพที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตในท้องถิ่น
1.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักศึกษา 10

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จากกาบกล้วย : กรณี บ้านบวกปลาค้าว ต.หัวง้ม อ.พาน จ.เชียงราย

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จากกาบกล้วย : กรณี บ้านบวกปลาค้าว ต.หัวง้ม อ.พาน จ.เชียงราย
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    1 กิจกรรมด้านการส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบแก่ชุมชน
    2 กิจกรรมการพัฒนาเครื่องจักรให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน
    3 กิจกรรมการรวบรวมและการแปรรูปผลผลิตจากกาบกล้วย
    4 กิจกรรมการออกแบบและการสร้างผลิตภัณฑ์
    5 กิจกรรมการจำหน่ายและการสร้างแบรนด์สินค้า
    6 กิจกรรมรวมกลุ่มให้เป็นวิสาหกิจชุมชน
    7 กิจกรรมต้นทุนบัญชี
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    ถึง
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    1) ผลผลิตที่คาดว่าจะได้ (Output)
    1.1 บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเกิดพัฒนาทักษะในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อท้องถิ่น
    1.2 ชุมชนเกิดความรู้เรื่องวิธีการทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากวัสดุทางธรรมชาติ
    1.3 ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวในขั้นตอนและกระบวนการผลิตสินค้ามากขึ้น
    1.4 ชุมชนมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับช่องทางการตลาดในยุค 4.0
    1.5 นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติในพื้นที่จริง
    2) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ (Outcome)
    2.1 บุคลากรของมหาวิทยาลัยและนักศึกษา มีการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปใช้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
    2.2 สามารถนำไปพัฒนาหรือต่อยอดเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจได้
    2.3 เกิดการบูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์แขนงต่าง ๆ
    2.4 นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    ค่าตอบแทนวิทยากร (ภายใน) ( 300 บาท x 6 ชม x 10 วัน)

    6 ครั้ง 300 10 18,000
    ค่าตอบแทนวิทยากร

    ค่าตอบแทนวิทยากร (ภายนอก) ( 600 บาท x 6 ชม x 10 วัน)

    6 ครั้ง 600 10 36,000
    อื่น ๆ

    ค่าเบี้ยเลี้ยง นักศึกษา 10 คน x 120 วัน x 240 บาท

    10 คน 240 120 288,000
    ค่าอาหาร

    ค่าอาหาร 50 คน x 80 บาท x 7 ครั้ง

    50 คน 80 7 28,000
    ค่าอาหาร

    ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม ผู้เข้าร่วมโครงการ 50 คน x 14 ครั้ง x 25 บาท/มื้อ

    50 คน 25 14 17,500
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างเหมาทำเครื่องขึ้นรูปผลิตภัณฑ์

    1 ชิ้น 70,000 1 70,000
    ค่าวัสดุสำนักงาน

    - วัสดุฝึกอบรม - กระดาษ ปากกา - ค่าทำเล่ม

    1 ชุด 20,000 1 20,000
    รวมค่าใช้จ่าย 477,500

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 477,500.00 บาท

    ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 54,000.00 45,500.00 20,000.00 358,000.00 477,500.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 11.31% 9.53% 4.19% 74.97% 100.00%

    11. งบประมาณ

    477,500.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output) - ชุมชนเกิดความรู้เรื่องวิธีการทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากวัสดุทางธรรมชาติ
    -ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวในขั้นตอนและกระบวนการผลิตสินค้ามากขึ้น
    -ชุมชนมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับช่องทางการตลาดในยุค 4.0
    -บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเกิดพัฒนาทักษะในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อท้องถิ่น
    - นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติในพื้นที่จริง
    ผลลัพธ์ (Outcome) - สามารถนำไปพัฒนาหรือต่อยอดเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจได้ - บุคลากรของมหาวิทยาลัยและนักศึกษา มีการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปใช้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
    - นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์
    ผลกระทบ (Impact) - เพิ่มรายได้ และสามารถสร้างอาชีพให้กับชุมชน
    -สร้างความร่วมมืออันดีทั้งหน่วยงานในพื้นที่และชุมชนให้สามารถทางานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนและสังคม
    - เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ลดมลพิษทางขยะได้ในอนาคต
    -สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานจากชุมชนใกล้เคียงหรือผู้ที่สนใจ
    นำเข้าสู่ระบบโดย kwangtong kwangtong เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 14:33 น.