การพัฒนาเพื่อยกระดับรูปแบบการผลิตปลากดคังในกระชังไม้และนวัตกรรมบ่อดินของชุมชนวนเกษตร บ้านท่าลี่ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

แบบเสนอโครงการ
การพัฒนาเพื่อยกระดับรูปแบบการผลิตปลากดคังในกระชังไม้และนวัตกรรมบ่อดินของชุมชนวนเกษตร บ้านท่าลี่ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

1. ชื่อโครงการ

การพัฒนาเพื่อยกระดับรูปแบบการผลิตปลากดคังในกระชังไม้และนวัตกรรมบ่อดินของชุมชนวนเกษตร บ้านท่าลี่ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่านคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่านสำนักงานประมงจังหวัดน่านบ้านท่าลี่ ตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ดวงใจคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เลขที่ 59 หมู่ที่ 13 ต.ฝายแก้ว อ.ภูเพียง จ.น่านหมายเลขโทรศัพท์ (ที่ทำงาน) 054-710259มือถือ 091-8396241,E–Mail: mr1fisheries@hotmail.com, ekachai@rmutl.ac.thอาจารย์จิตราปั้นรูป
อาจารย์เจียมจิตร ช่างสาร
นางสาวกรรณิกา ก๋าแก้ว
นางสาวญภา มูลทิ

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
น่าน เวียงสา ขึ่ง ชนบท

3. รายละเอียดชุมชน

บ้านท่าลี่ เป็นอีกหนึ่งชุมชนในตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน คำว่า"ขึ่ง" เป็นคำอุทานภาษาพื้นเมือง หมายถึง สีออกแดง สมัยก่อนมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในป่าองค์หนึ่งสีออกไปทางสีทองแดง และปัจจุบันนี้พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดขึ่งเจริญ ชาวบ้านที่เข้าไปพบพระพุทธรูปองค์นี้ จึงอุทานขึ้นมาว่า "แดงจึ่งขึ่ง" และได้นำพระพุทธรูปมาประดิษฐานอยู่ในหมู่บ้าน ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกว่า "บ้านขึ่ง" และต่อมาได้นำมาตั้งเป็นชื่อตำบลขึ่ง ซี่งตำบลขึ่งนี้เป็นตำบลในอำเภอเวียงสา ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน คือ บ้านมงคล, บ้านงิ้วงาม, บ้านขึ่ง, บ้านท่าลี้, บ้านผาโพธิ์ทอง ด้านเขตพื้นที่พบว่า ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ทิศใต้ ติดกับ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลส้านนาหนองใหม่, ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ทิศตะวันตก ติดกับตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่านด้านอาชีพของสมาชิกชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่อาชีพหลัก ทำนา ทำไร่ อาชีพรอง ทอผ้า และประมงภูเขา ด้านสาธารณูปโภค พบว่า 1,049 ครัวเรือนมีไฟฟ้า ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ชุมชนในตำบลขึ่งมีผลิตภัณฑ์ผ้าทอลายน้ำไหลเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน1. มีจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำภายในหมู่บ้าน และแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการใช้น้ำประจำหมู่บ้าน
2. มีการวางแผนการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำภายในหมู่บ้าน โดยจัดทำคลองคอนกรีตส่งน้ำโดนรอบหมู่บ้าน
3. ทำคลองส่งน้ำโดยใช้แรงงานจากชาวบ้าน รวมทั้งได้รับงบประมาณจากโครงการองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและเงินบริจาคจากเกษตรกรในพื้นที่
4. มีแอ่งเก็บน้ำขนาด 7,857 ตรม แต่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์
5. มีสระเก็บน้ำทุกครัวเรือน
6. พื้นที่ร้อยละ 30 สามารถทำเกษตรในฤดูแล้งได้
7. มีแม่น้ำว้าไหลผ่านรอบหมู่บ้าน ตลอดปี
8. มีกองทุนเงินหนึ่งล้านบาท
9. มีกองทุนออมทรัพย์สัจจะหมู่บ้าน
10. มีระบบน้ำประปาหมู่บ้าน บริหารจัดการโดยคณะกรรมการและปล่อยน้ำให้สมาชิกตลอด โดยสมาชิกจ่ายค่าน้ำยูนิตละ 5 บาท
11. ชุมชนตั้งอยู่ใกล้ อำเภอเวียงสา ระยะทาง 40 กม.
12. เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่างของอำเภอเวียงสาและขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่น
1. พื้นที่ของชุมชนติดกับแม่น้ำว้า จึงประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก (ต่อเนื่องทุกปี)
2. พืชผลทางการเกษตรเสียหาย
3. มีแอ่งเก็บน้ำขนาด 7,857 ตรม แต่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์
4. มีแม่น้ำว้าไหลผ่านรอบหมู่บ้าน ตลอดปี แต่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์
5. ชาวบ้านทำประมงแบบยังชีพ
6. ปลาและสัตว์น้ำในพื้นที่ลดปริมาณลง
7. เกษตรกรขาดองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
1. การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ โดยเฉพาะด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจ
2. แหล่งการผลิตสัตว์น้ำที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจแบบครบวงจร
3. บ่อเพาะและอนุบาลสัตว์น้ำในพื้นที่
4. ต้องการให้มีนักวิชาการระดับอุดมศึกษาเข้าไปกำกับดูแลด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างต่อเนื่อง

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

9.1 องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ดังนี้
9.1.1 การสร้างนวัตกรรมบ่อดินปั้นลงดินในพื้นลาดเชิงเขา
9.1.2 การสร้างนวัตกรรมกระชังไม้สำหรับเลี้ยงปลากดคัง
9.1.3 การสร้างนวัตกรรมอาหารปลากึ่งเปียกชนิดลอยน้ำโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นบางส่วนในสูตรอาหาร
9.1.4 องค์ความรู้การเตรียมลูกพันธุ์ปลากดคัง
9.1.5 องค์ความรู้จัดการคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยง
9.1.6 องค์ความรู้ด้านโภชนศาสตร์สัตว์น้ำและการให้อาหารสัตว์น้ำ
9.1.7 องค์ความรู้การพัฒนาสื่อการตลาดส่งเสริมการจำหน่ายปลากดคังคุณภาพระดับพรีเมี่ยม
9.1.8 องค์ความรู้ต้นทุนการเลี้ยงปลากดคังในกระชังและบ่อดิน

9.2 รายละเอียดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมจากความหลากหลายสาขาวิชา ที่สามารถนำไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและความต้องการของชุมชน
9.2.1 การสร้างนวัตกรรมบ่อดินปั้นลงดินในพื้นลาดเชิงเขา รายละเอียด: เป็นการสร้างบ่อดินขนาดความกว้าง 2*ยาว 3*ลึก1.5 เมตร เล็กในพื้นที่ลาดชันเชิงเขา สามารถป้องกันการซึมออกของน้ำออกจากบ่อได้ บ่อมีความแข็งแรงเนื่องจากเป็นดินเหนียวผสมกับปูนในสัดส่วนที่เหมาะสม
9.2.2 การสร้างนวัตกรรมกระชังไม้สำหรับเลี้ยงปลากดคัง รายละเอียด: เป็นกระชังเลี้ยงปลาขนาด ความกว้าง 2*ยาว 2*ลึก 1.2 เมตร ซึ่งสร้างจากไม้ชนิดต่างๆที่สามารถหาได้ในพื้นที่ เช่น ปีกไม้ ไม้ไผ่ ฯลฯ
9.2.3 การสร้างนวัตกรรมอาหารปลากึ่งเปียกชนิดลอยน้ำโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นบางส่วนในสูตรอาหารรายละเอียด: เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงปลาซึ่งพัฒนาจากเศษเหลือปศุสัตว์ เช่น หัวไก่ ไส้ไก่ โครงไก่ ไส้ปลาทู ผสมเข้ากับผลผลิตตกเกรดในพื้นที่ เช่น ฟักทองตกเกรด ซึ่งมีมากกกว่า 10 ตันต่อปีในพื้นที่จังหวัดน่าน
9.2.4 องค์ความรู้การเตรียมลูกพันธุ์ปลากดคัง รายละเอียด: ศึกษาข้อมูลด้านการเลี้ยงและการจัดการพ่อแม่พันธุ์ปลา วิธีการเพาะขยายพันธุ์แบบต่าง ๆ การฟักไข่ปลา การผลิตอาหารปลาวัยอ่อน การจับและการลำเลียงลูกปลา การป้องกันและรักษาโรคปลาวัยอ่อน การเตรียมบ่ออนุบาลปลา การเลี้ยงและการให้อาหารปลาวัยอ่อน การเก็บเกี่ยวผลผลิตและขนส่ง
9.2.5 องค์ความรู้จัดการคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยง รายละเอียด: ศึกษาข้อมูลลักษณะทางกายภาพ ซึ่งเป็นดัชนีคุณภาพน้ำที่ผันแปร อันเกิดจากลักษณะกายภาพที่สามารถตรวจวัดได้ และมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ในทางตรงหรือทางอ้อม เช่น สี (Colour), ความขุ่น (Turbidity), อุณหภูมิ (Temperature), ความนำไฟฟ้า (Conductivity), ปริมาณสารแขวนลอย (Suspended Solids)และลักษณะทางเคมีภาพ ซึ่งเป็นดัชนีคุณภาพน้ำที่ผันแปรอันเนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีที่สามารถตรวจวัดได้ และมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH), ความเป็นกรด (Acidity), ความเป็นด่าง (Alkalinity), ความกระด้าง (Hardness), ปริมาณออกซิเจนละลาย (Dissolved oxygen), ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์อิสระ (Free carbondioxide), ไนโตรเจน (Nitrogen), ฟอสฟอรัส (Phosphorus), ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulphide), และความเค็ม (Salinity)
9.2.6 องค์ความรู้ด้านโภชนศาสตร์สัตว์น้ำและการให้อาหารสัตว์น้ำ รายละเอียด: ศึกษาการเตรียมอาหารสัตว์น้ำ ประเภทวัตถุดิบ คุณสมบัติและข้อจำกัดการใช้ของวัตถุดิบ การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบอาหาร และการประเมินคุณค่าอาหารและวัตถุดิบ การประกอบสูตรอาหาร การคำนวณสูตรอาหาร กระบวนการผลิตอาหาร การทดสอบการให้อาหาร หลักการให้อาหารสัตว์น้ำชนิดต่างๆ
9.2.7 องค์ความรู้การพัฒนาสื่อการตลาดส่งเสริมการจำหน่ายปลากดคังระดับพรีเมี่ยม รายละเอียด: ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการตลาดอิเล็คทรอนิคส์ในยุคปัจจุบันได้ การวางแผนการตลาดอิเล็คทรอนิคส์ เข้าใจเครื่องมือการตลาดอิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภทและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ รับรู้และตอบสนองในด้านความรับผิดชอบ ความมีวินัย ความซื่อสัตย์ ในการเรียนและการทำงาน และสามารถทำงานทำงานร่วมกับผู้อื่น ใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
9.2.8 องค์ความรู้ด้านต้นทุนการผลิตปลากดคังในกระชังและบ่อดิน รายละเอียด: ศึกษาด้านปัจจัยที่สำคัญที่จะกำหนดว่าสินค้าจะมีราถูกหรือแพง เพราะต้นทุนการผลิตมีส่วนประกอบหลายอย่างที่เป็นปัจจัยหลักในการผลิต ทั้งค่าวัสดุ, ค่าแรงงาน, ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของนักศึกษาสังกัด มทร.ล้านนา ให้เป็นบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 สามารถนำองค์ความรู้ (สหวิทยาการ) จากหลายสาขาวิชา หลายศาสตร์ หรือจากการปฏิบัติมาผสมผสานใช้ในการเรียนการสอน การวิเคราะห์ วิจัย และสังเคราะห์ขึ้นเป็นองค์ความรู้ใหม่ด้านการเพาะเลี้ยงปลากดคัง ซึ่งมีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจแบบครบวงจร สู่การสร้างงานสร้างอาชีพแก่ชุมชนฐานรากในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย 2. เพื่อสนับสนุนการพัฒนากำลังคนฐานรากนอกระบบการศึกษาในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย ให้สามารถสร้างอาชีพการเลี้ยงปลากดคังในกระชังไม้และนวัตกรรมบ่อดินแบบครบวงจร เพื่อเพิ่มรายได้ระดับครัวเรือนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมสมัย 3. เพื่อแก้ปัญหาด้านความยากจน และความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และเพิ่มอาชีพทางเลือกแก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายด้วยมิติด้านการเลี้ยงปลากดคังที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจแบบครบวงจร

1 เชิงปริมาณ 1) นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน จาก 4 สาขา จำนวน 17 คน ได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านบริการวิชาการและทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เกี่ยวข้องด้านการเลี้ยงปลากดคังที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจแบบครบวงจรในนวัตกรรมบ่อดินและกระชังไม้ที่เหมาะสมกับบริบทของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย 2) คณาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จำนวน 6 คน มีความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการอย่างถูกต้อง ด้านการเลี้ยงปลากดคังที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจแบบครบวงจรในบ่อดินและกระชังไม้ รวมทั้งสามารถถ่ายทอดสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากดคังในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง 3) เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการเลี้ยงปลากดคังแบบครบวงจรทั้งในบ่อดินและกระชังไม้ เช่น การเตรียมนวัตกรรมบ่อดิน การเตรียมกระชังไม้ การจัดการต้นทุนค่าอาหารปลา การจัดการคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยง และนำเสนอผลผลิตผ่านช่องทางการตลาดร่วมสมัย 4) เอกสารวิชาการด้านการเลี้ยงปลากดคังในนวัตกรรมบ่อดินและกระชังไม้ที่เหมาะสมกับบริบทของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1 ฉบับ 5) ได้รูปแบบการเลี้ยงปลากดคังในนวัตกรรมบ่อดินและกระชังไม้ที่เหมาะสมกับบริบทของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 รูปแบบ 6) นักศึกษามีความรู้ความสามารถและมีทักษะในเชิงวิชาการและการปฏิบัติ จำนวน 17 คน ในการการพัฒนาเพื่อยกระดับรูปแบบการผลิตปลากดคังในกระชังแบบครบวงจรของชุมชนวนเกษตร บ้านท่าลี่ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่านด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมสมัย โดยชุมชนมีส่วนร่วม ตั้งแต่ต้นทาง คือ การเพาะอนุบาลปลากดคัง กลางทาง คือ การเลี้ยงปลากดคังให้มีคุณภาพ และปลายน้ำ คือ ช่องทางการตลาดปลากดคังให้กับชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2 เชิงคุณภาพ 1) ได้รูปแบบด้านการพัฒนาประมงภูเขาที่สอดคล้องต่อความต้องการของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปขยายผลในชุมชนอื่นๆ ต่อไป
2) ทางด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจัดจำหน่ายผลผลิตปลากดคังที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด
3) ทางด้านสังคม เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายหรือวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาประมงภูเขาที่ได้มาตรฐานในพื้นที่จังหวัดน่าน
4) เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความเข้าใจในการพัฒนาสื่อการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายผลผลิตปลากดคังคุณภาพ
5) เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีอาชีพทางเลือกในการเลี้ยงปลากดคังในกระชังไม้และในนวัตกรรมบ่อดิน 6) เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีขึ้นจากการปรับเปลี่ยนอาชีพเกษตรกรรมที่เสี่ยงในการใช้สารเคมี 7) นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน สามารถนำองค์ความรู้ (สหวิทยาการ) จากหลายสาขาวิชา หลายศาสตร์ หรือจากการปฏิบัติมาผสมผสานใช้ในการเรียนการสอน การวิเคราะห์ วิจัย และสังเคราะห์ขึ้นเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาประมงภูเขาสู่การสร้างงานสร้างอาชีพแก่ชุมชนฐานรากในพื้นที่จังหวัดน่าน 8) เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพใหม่ด้านการเลี้ยงปลากดคังในกระชังไม้และในนวัตกรรมบ่อดินของพื้นที่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10
9) เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีแหล่งอาหารโปรตีนจากปลาบริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 10) สนับสนุนการพัฒนากำลังคนฐานราก ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อลดปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้าและปัญหาคุณภาพชีวิต ส่งผลให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป

1.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
- คณาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 6
นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน 17

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาเพื่อยกระดับรูปแบบการผลิตปลากดคังในกระชังไม้และนวัตกรรมบ่อดินของชุมชนวนเกษตร บ้านท่าลี่ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาเพื่อยกระดับรูปแบบการผลิตปลากดคังในกระชังไม้และนวัตกรรมบ่อดินของชุมชนวนเกษตร บ้านท่าลี่ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. วางแผนการดำเนินการ (P)
    -เขียนแบบเสนอโครงการ ประชุมผู้รับผิดชอบโครงการ นำข้อสรุปผลการประชุมเพื่อเสนอต่อที่ประชุมทีมงาน ที่ปรึกษา และคณะกรรมการเพื่อร่วมและรับข้อเสนอแนะในด้านต่างๆ
    2. การดำเนินการจัดโครงการ (D)
    กิจกรรมต้นทาง
    2.1 เก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นกลุ่มเป้าหมายผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
    2.2 เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านประมงภูเขาของกลุ่มเป้าหมาย
    2.3 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการเลี้ยงปลาในกระชังและบ่อดิน
    กิจกรรมกลางทาง
    2.4 การสร้างนวัตกรรมบ่อดินปั้นลงดินในพื้นลาดเชิงเขา จำนวน 12 บ่อ
    2.5 การเตรียมพันธุ์ปลากดคังขนาด 3 นิ้ว จำนวน 10,000 ตัว
    2.6 การเตรียมกระชังไม้ จำนวน 12 กระชัง
    2.7 การเตรียมนวัตกรรมอาหารปลากึ่งเปียกชนิดลอนน้ำ
    2.8 การตรวจวิเคราะห์และจัดการคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยง
    2.9 การให้อาหารปลาและการจัดการสุขภาพปลาในบ่อดินและกระชังไม้
    กิจกรรมปลายทาง
    2.10 การพัฒนาสื่อการตลาดส่งเสริมการจำหน่ายปลากดคังคุณภาพระดับพรีเมี่ยม
    2.11 การวิเคราะห์ต้นทุนการเลี้ยงปลาในกระชังและบ่อดิน
    2.12 การแปรรูปเนื้อปลาพร้อมปรุงและบรรจุภัณฑ์
    3. การติดตามประเมินผล (C)
    - ติดตามและประเมินผลการจัดทำโครงการจากแบบประเมินผล และวิเคราะห์ผลโครงการ
    - จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน
    4. การปรับปรุง/พัฒนา/แก้ไขจากผลการติดตาม (A)
    - ประชุมกรรมการดำเนินงานเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงแก้ไขและรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    1 มกราคม 2563 ถึง
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ผลผลิตที่คาดว่าจะได้ (Output)
    - นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน จาก 4 สาขา จำนวน 17 คน ได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านบริการวิชาการและทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เกี่ยวข้องด้านการเลี้ยงปลากดคังที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจในบ่อดินและกระชังไม้ที่เหมาะสมกับบริบทของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย
    - คณาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จำนวน 6 คน มีความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการอย่างถูกต้อง ด้านการเลี้ยงปลากดคังที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจในบ่อดินและกระชังไม้ รวมทั้งสามารถถ่ายทอดสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากดคังในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
    - เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการเลี้ยงปลาคังทั้งในบ่อดินและกระชังไม้ เช่น การเตรียมบ่อดิน การเตรียมกระชังไม้ การจัดการต้นทุนค่าอาหารปลา การจัดการคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยง และนำเสนอผลผลิตผ่านช่องทางการตลาดร่วมสมัย
    - เอกสารวิชาการด้านการเลี้ยงปลาคังในบ่อดินและกระชังไม้ไผ่ที่เหมาะสมกับบริบทของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1 ฉบับ
    - ได้รูปแบบการเลี้ยงปลาคังในบ่อดินและกระชังไม้ที่เหมาะสมกับบริบทของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 รูปแบบ
    ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ (Outcome)
    - ได้รูปแบบด้านการพัฒนาประมงภูเขาที่สอดคล้องต่อความต้องการของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปขยายผลในชุมชนอื่นๆ ต่อไป
    - ทางด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจัดจำหน่ายผลผลิตปลาคังที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด
    - ทางด้านสังคม เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายหรือวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาประมงภูเขาที่ได้มาตรฐานในพื้นที่จังหวัดน่าน
    - เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความเข้าใจในการพัฒนาสื่อการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายผลผลิตปลาคังคุณภาพ
    - เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีอาชีพทางเลือกในการเลี้ยงปลากดคังในกระชังไม้และปลากดคังบ่อดิน
    - เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีขึ้นจากการปรับเปลี่ยนอาชีพเกษตรกรรมที่เสี่ยงในการใช้สารเคมี
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง (นักวิชาการประมงปฏิบัติการ)
    สำนักงานประมงจังหวัดน่าน ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดน่าน ชั้น 2 ถนนน่าน-พะเยา ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าถ่ายเอกสาร

    (2) ค่าจ้างเหมาทำรูปเล่มเอกสารการฝึกอบรม (60บาทx60คน)

    60 คน 60 1 3,600
    ค่าพาหนะเดินทาง - ค่าเดินทางในพื้นที่

    (1) ค่าจ้างเหมารถในการเก็บข้อมูลเกษตรกรและข้อมูลด้านประมง จำนวน 5 วันๆ ละ 2,500 บาท

    5 ครั้ง 2,500 1 12,500
    ค่าอาหาร

    ค่าอาหารกลางวันของผู้เข้ารับการอบรมและทีมงาน (150บาทx50คนx2วัน)

    50 คน 150 2 15,000
    ค่าอาหาร

    ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (35บาทx50คนx2มื้อx 2วัน)

    50 คน 35 4 7,000
    อื่น ๆ

    ค่าเบี้ยเลี้ยงนิสิตช่วยงาน (210บาทx10วันx10คน)

    10 คน 210 10 21,000
    อื่น ๆ

    ค่าเหมาผลิตคู่มือการเลี้ยงปลากดคังในกระชังและบ่อดิน (100บาทx60ชุด)

    60 ชุด 100 1 6,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างเหมาสร้างบ่อดินปั้นลงดินในพื้นลาดเชิงเขา ขนาด 6 ตรม. จำนวน 12 บ่อๆละ 5,000 บาท

    12 ครั้ง 5,000 1 60,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างเหมาผลิตอาหารกึ่งเปียกชนิดลอยน้ำ จำนวน 3,000 กก.ๆ ละ 15 บาท

    3,000 ครั้ง 15 1 45,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างเหมาผลิตกระชังไม้ ขนาด 3 ลบ.ม. พร้อมทุนลอย จำนวน 12 กระชังๆ ละ 5,000 บาท

    12 ชิ้น 5,000 1 60,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างเหมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ 10 พารามิเตอร์ จำนวน 20 ครั้ง ๆ ละ 1,500 บาท

    1 ชิ้น 1,500 20 30,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างเหมาผลิตสื่อการตลาดส่งเสริมการจำหน่ายปลากดคังคุณภาพระดับพรีเมี่ยม จำนวน 1 ชิ้นงาน

    1 ชิ้น 20,000 1 20,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างเหมาแปรรูปเนื้อปลากดคังพร้อมปรุงพร้อมต้นแบบบรรจุภัณฑ์ จำนวน 1 ชิ้นงาน

    1 ชิ้น 10,000 1 10,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างเหมาให้อาหารปลาและตรวจสุขภาพปลา จำนวน 3 เดือน ๆ ละ 6,000 บาท

    1 ครั้ง 6,000 3 18,000
    อื่น ๆ

    ค่าจ้างเหมาผลิตชิ้นส่วนเครื่องบดหัวปลา

    1 ชิ้น 20,000 1 20,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    ค่าแม่พันธุ์ปลากดคัง จำนวน 10 ตัวๆ ละ 1,500 บาท

    10 ชิ้น 1,500 1 15,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    ค่าลูกพันธุ์ปลากดคัง ขนาดความยาว 3 นิ้ว จำนวน 8,000 ตัวๆละ 6 บาท

    8,000 ชิ้น 6 1 48,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    ค่าพ่อพันธุ์ปลากดคัง จำนวน 10 ตัวๆ ละ 800 บาท

    10 ชิ้น 800 1 8,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    ค่าอาหารปลา จำนวน 30 กส.ๆ ละ 530 บาท

    30 คน 530 1 15,900
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    ค่าวัสดุยาและสารเคมีขนส่งปลา

    1 ชิ้น 6,000 1 6,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

    ค่าถังพลาสติก ขนาด 1,000 ลิตร จำนวน 4 ถัง ๆ ละ 2,500 บาท

    4 คน 2,500 1 10,000
    รวมค่าใช้จ่าย 431,000

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 431,000.00 บาท

    ค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 38,100.00 102,900.00 290,000.00 431,000.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 8.84% 23.87% 67.29% 100.00%

    11. งบประมาณ

    431,000.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output) เกษตรกรได้รับความรู้ ความเข้าใจทักษะด้านการเลี้ยงปลาคังในบ่อดินและกระชังไม้ เช่น การเตรียมบ่อดิน การเตรียมกระชังไม้ การจัดการต้นทุนค่าอาหารปลา การจัดการคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยง และนำเสนอผลผลิตผ่านช่องทางการตลาดร่วมสมัย ได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านบริการวิชาการและทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เกี่ยวข้องด้านการเลี้ยงปลากดคังที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจในบ่อดินและกระชังไม้ที่เหมาะสมกับบริบทของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย
    ผลลัพธ์ (Outcome) - ได้รูปแบบด้านการพัฒนาประมงภูเขาที่สอดคล้องต่อความต้องการของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปขยายผลในชุมชนอื่น ๆ ต่อไป
    - เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจัดจำหน่ายผลผลิตปลาคังที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด
    - เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายหรือวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาประมงภูเขาที่ได้มาตรฐานในพื้นที่จังหวัดน่าน
    - เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความเข้าใจในการพัฒนาสื่อการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายผลผลิตปลาคังคุณภาพ
    - เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีอาชีพทางเลือกในการเลี้ยงปลากดคังในกระชังไม้และปลากดคังบ่อดิน
    - เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีขึ้นจากการปรับเปลี่ยนอาชีพเกษตรกรรมที่เสี่ยงในการใช้สารเคมี
    - นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน สามารถนำองค์ความรู้ (สหวิทยาการ) จากหลายสาขาวิชา หลายศาสตร์ หรือจากการปฏิบัติมาผสมผสานใช้ในการเรียนการสอน การวิเคราะห์ วิจัย และสังเคราะห์ขึ้นเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาประมงภูเขาสู่การสร้างงานสร้างอาชีพแก่ชุมชนฐานรากในพื้นที่จังหวัดน่าน
    ผลกระทบ (Impact) - เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพใหม่ด้านการเลี้ยงปลากดคังในกระชังไม้และในบ่อดินของพื้นที่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10
    - เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีแหล่งอาหารโปรตีนจากปลาบริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10
    - สนับสนุนการพัฒนากำลังคนฐานราก ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อลดปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้าและปัญหาคุณภาพชีวิต ส่งผลให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป
    นำเข้าสู่ระบบโดย kwangtong kwangtong เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 11:09 น.