การยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนเทศบาลตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

แบบเสนอโครงการ
การยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนเทศบาลตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

1. ชื่อโครงการ

การยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนเทศบาลตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ และ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมหมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองแวงเหนือ เทศบาลตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์นายเกียรติพงษ์ เจริญจิตต์สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 62/1 ถ.เกษตรสมบูรณ์ ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 4600008156945411. นันทพรญาณพิบูลย์
2. พัฒน์พงษ์ ภาวงค์
3. ชาริศา โพธิ์ขาว
4. สุธาลินี โงชาฤทธิ์
5. ชัชวาลย์ ตาเมือง
6. รวิสุต แสนวันดี
7. สุรศักดิ์ พัศสาคร
8. อัษฎาง ศิริละ
9. ภูมิ หมั่นพลศรี
10. อุ้มบุญเชลียงรัตน์ชัย
11. วรพจน์ สมมูล
12. พนิดาวงศ์ปรีดี

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ ภูปอ ชนบท
กาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ กาฬสินธุ์ ในเมือง

3. รายละเอียดชุมชน

มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเป็นลูกคลื่นลอนลาด (Undulating) และที่ลาดชันเชิงซ้อน มีความสูง ๑๖๐ – ๒๒๐ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยพื้นที่ราบมีความลาดชัน ๐ – ๒ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มใช้ทำนา พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างเนินดินทั่วไป สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ความลาดชัน ๒ – ๕ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลภูปอ พื้นที่ลุ่มใช้ทำนา ที่ดอนใช้ปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น สภาพพื้นที่ที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ความลาดชัน ๕ – ๑๒ เปอร์เซ็นต์ อยู่ทางทิศเหนือของตำบล พืชพรรณเป็นป่าไม้ (ที่มา : สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ดิน ๒๕๕๐) ตำบลภูปอตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ระยะห่างจากอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ประมาณ๒๕กิโลเมตรมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลนามะเขือ อ.สหัสขันธ์ และตำบลหนองแวง อ.สมเด็จ มีการใช้ทรัพยากรร่วมกับตำบลนามะเขือ คือ ภูปอ ซึ่งเป็นภูเขาที่เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธไสยาสน์ภูปอ
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลไผ่ อ.เมืองกาฬสินธุ์ ทรัพยากรที่ใช้ร่วมกัน คือ ถนนลูกรังที่เชื่อมระหว่างบ้านสะอาดสมศรี ตำบลภูปอ และบ้านโคกล่าม ตำบลไผ่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลนาจารย์ อ.เมืองกาฬสินธุ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลขมิ้น อ.เมืองกาฬสินธุ์
เทศบาลตำบลภูปอเป็นชุมชนที่มีความรักสามัคคีมีวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ตามฮีตสิบสอง
คองสิบสี่ที่สืบทอดกันมายาวนาน เป็นสังคมที่อยู่กันแบบเครือญาติ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความสามัคคี มีประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่โบราณ มีการใช้ภาษาอิสานเป็นหลัก มีกิจกรรมทางด้านความเชื่อทางศาสนาตามศาสนาพุทธ มีทั้งหมด ๗ หมู่บ้าน ๙๖๕ ครัวเรือน มีประชากรจำนวน ๓,๙๘๑คน แยกเป็นชาย ๑,๙๖๘ คน (คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๔๑) หญิง ๒,๐๑๓ คน (คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๕๔) ประกอบอาชีพทำไร่เป็นอาชีพหลักมากที่สุด จำนวน ๑,๐๑๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๕๔รองลงมาคืออาชีพรับจ้างทั่วไป/บริการ จำนวน ๘๕๖ คนคิดเป็นร้อยละ ๓๒.๖๓รองลงมาอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน จำนวน ๒๖๖ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๐.๑๔ (ที่มา:ระบบข้อมูลตำบล(TCNAP ณ วันที่๓๐ เมษายน ๒๕๖๑)
ตำบลภูปออำเภอเมืองกาฬสินธุ์จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นตำบลที่มีความโดดเด่นด้านการเกษตรและมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญได้แก่
๑. พระพุทธไสยาสน์ภูปอตำบลภูปอ มีเขาภูปอเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธไสยาสน์ภูปอ ที่เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดีหรือเมื่อประมาณ๑,๕๐๐ปีมาแล้ว โดยพุทธไสยาสน์ภูปอนี้ จะประดิษฐานอยู่๒ ตำแหน่งคือ บริเวณเชิงเขา ชาวบ้านเรียกติดปากว่า“องค์ย่า” และบริเวณยอดเขาชาวบ้านนิยมเรียก “ องค์ปู่” โดยสังเกตจากท่าทางในการประดิษฐานของพระพุทธไสยาสน์ทั้งสอง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไปและถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลภูปอ มีการอนุรักษ์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามสืบทอดต่อกันมาจนชั่วลูกชั่วหลานเช่น ประเพณีตักบาตรเทโวประเพณี สรงน้ำในวันวิสาขาบูชา ของทุกปี เป็นต้น
๒. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตำบลภูปอ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์และเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นสถานที่ศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งยังที่ตั้งของฟาร์มเอาท์เล็ท (farm outlet) เป็นศูนย์รวมของผลิตผลทางการเกษตร จำหน่ายผัก ผลไม้ที่ปลอดสารพิษ
๓. ตำบลอาหารปลอดภัยตำบลภูปอเป็นแหล่งผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ระดับต้นๆ ของจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลมีการผลิตพืชโดยไม่ใช้สารเคมี หรือหากมีการใช้สารเคมีก็ใช้ในระดับที่ปลอดภัยกับผู้บริโภค มุ่งเน้นการผลิตเพื่อจำหน่ายให้กับคนในชุมชนและตำบลใกล้เคียงได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมี และจำหน่ายในร้านค้าเครือข่ายในยังร้านค้าเครือข่ายของจังหวดกาฬสินธุ์ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลภูปอได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย นำมาสู่สุขภาพที่ดีของประชาชน
หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองแวงเหนือ เทศบาลตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความต้องการพัฒนาในเรื่องของศักยภาพการเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว โดยต้องการยกระดับอาหารพื้นถิ่น หรือวัตถุดิบในท้องถิ่น ให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่สามารถสนับสนุนการท่องเที่ยว ทั้งในเชิงของการใช้เป็นอาหารต้อนรับนักท้องเที่ยว และเป็นอาหารที่สามารถซื้อหากลับไปเป็นของฝากได้ เป็นต้น เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนชุมชนต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และผลิตภัณฑ์อาหารที่สามารถขายเป็นของฝากให้แก่นักท่องเที่ยวได้เพื่อเป็นช่องทางสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

- เรื่อง“การศึกษาคุณสมบัติการเป็นอิมัลซิไฟเออร์และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของโปรตีนไฮโดรไลซ์จากส่วนเหลือใช้ของปลานิลในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม”ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ปีงบประมาณ 2556
- เรื่อง“การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมจีนผสมผงดอกอัญชันที่ผ่านกระบวนการเอนแคปซูเลชั่นด้วยสารเมือกจากผักปลัง”ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ปีงบประมาณ 2558
- เรื่อง“การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมจีนโปรตีนและแคลเซียมสูงจากส่วนเหลือใช้ของปลานิล”ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ปีงบประมาณ 2558

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารของชุมชนให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพดียิ่งขึ้น

ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีมาตรฐานและผลิตภัณฑ์อาหารที่สามารถขายเป็นของฝากได้

100.00 100.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1. นันทพร ญาณพิบูลย์ 1469900417164 1
2. พัฒน์พงษ์ ภาวงค์ 1470600124236 1
3. ชาริศา โพธิ์ขาว 1460200095620 1
4. สุธาลินี โงชาฤทธิ์ 1460200095824 1
5. ชัชวาลย์ ตาเมือง 1460099442177 1
6. รวิสุต แสนวันดี 1250100439779 1
7. สุรศักดิ์ พัศสาคร 1480701240223 1
8. อัษฎาง ศิริละ 1460301247492 1
9. หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองแวงเหนือ 1

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 1. สำรวจความต้องการและประเภทของอาหารที่ชุมชนต้องการพัฒนา

ชื่อกิจกรรม
1. สำรวจความต้องการและประเภทของอาหารที่ชุมชนต้องการพัฒนา
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    ลงพื้นที่สำรวจและสอบถามความต้องการพื้นฐานของอาหารพื้นถิ่น และวัตถุดิบที่ต้องการเลือกมาพัฒนา
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    11 พฤศจิกายน 2562 ถึง 11 ธันวาคม 2562
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    ได้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้พิจารณาคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนา
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร 5 คน 180 9 8,100
    ค่าตอบแทนวิทยากร 8 คน 120 9 8,640
    ค่าตอบแทนการประสานงาน 2 คน 300 9 5,400
    ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 5 คน 240 9 10,800
    ค่าที่พักตามจริง 13 คน 600 9 70,200
    ค่าอาหาร 15 คน 240 9 32,400
    รวมค่าใช้จ่าย 135,540

    กิจกรรมที่ 2 2. กำหนดรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารที่ชุมชนต้องการพัฒนา

    ชื่อกิจกรรม
    2. กำหนดรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารที่ชุมชนต้องการพัฒนา
    วัตถุประสงค์
      รายละเอียดกิจกรรม
      เอาข้อมูลจากการสำรวจที่สรุปได้ เข้าประชุมกับชุมชน เพื่อกำหนดรูปแบบของผลิตภัณฑ์
      ระยะเวลาดำเนินงาน
      14 ธันวาคม 2562 ถึง 15 ธันวาคม 2562
      ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
      ได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนา และแผนการดำเนินงานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
      ทรัพยากรอื่น ๆ
      ภาคีร่วมสนับสนุน
      รายละเอียดงบประมาณ
      ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
      ค่าตอบแทนวิทยากร 5 ครั้ง 180 2 1,800
      ค่าตอบแทนวิทยากร 8 คน 120 2 1,920
      ค่าตอบแทนการประสานงาน 2 คน 300 2 1,200
      ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 5 คน 240 2 2,400
      ค่าที่พักตามจริง 13 คน 600 2 15,600
      ค่าอาหาร 15 คน 240 2 7,200
      รวมค่าใช้จ่าย 30,120

      กิจกรรมที่ 3 3. ดำเนินการพัฒนาผลิตอาหารที่ได้กำหนดไว้

      ชื่อกิจกรรม
      3. ดำเนินการพัฒนาผลิตอาหารที่ได้กำหนดไว้
      วัตถุประสงค์
        รายละเอียดกิจกรรม
        ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามรูปแบบที่กำหนด
        ระยะเวลาดำเนินงาน
        16 ธันวาคม 2562 ถึง 31 มกราคม 2563
        ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
        ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบพร้อมสำหรับการวิเคราะห์คุณภาพและมาตรฐาน
        ทรัพยากรอื่น ๆ
        ภาคีร่วมสนับสนุน
        สำนักงานเทศบาลตำบลภูปอ
        รายละเอียดงบประมาณ
        ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
        ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 120 47 11,280
        ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน 180 47 16,920
        อื่น ๆ 2 ชิ้น 60,000 1 120,000
        รวมค่าใช้จ่าย 148,200

        กิจกรรมที่ 4 4. วิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์

        ชื่อกิจกรรม
        4. วิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์
        วัตถุประสงค์
          รายละเอียดกิจกรรม
          ดำเนินการวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์
          ระยะเวลาดำเนินงาน
          1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2563
          ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
          ทราบข้อมูลพื้นฐานด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ อายุการเก็บรักษา เป็นต้น
          ทรัพยากรอื่น ๆ
          ภาคีร่วมสนับสนุน
          รายละเอียดงบประมาณ
          ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
          ค่าตอบแทนวิทยากร 2 ชิ้น 45,000 1 90,000
          รวมค่าใช้จ่าย 90,000

          กิจกรรมที่ 5 5. ฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี

          ชื่อกิจกรรม
          5. ฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี
          วัตถุประสงค์
            รายละเอียดกิจกรรม
            จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชุมชน
            ระยะเวลาดำเนินงาน
            24 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 8 มีนาคม 2563
            ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
            ชุมชนสามารถดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารที่กำหนดไว้ได้
            ทรัพยากรอื่น ๆ
            ภาคีร่วมสนับสนุน
            สำนักงานเทศบาลตำบลภูปอ
            รายละเอียดงบประมาณ
            ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
            ค่าตอบแทนวิทยากร 5 คน 180 2 1,800
            ค่าอาหาร 20 คน 150 2 6,000
            ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 2 ชุด 10,000 2 40,000
            ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุม 20 คน 300 2 12,000
            ค่าตอบแทนวิทยากร 8 คน 120 2 1,920
            รวมค่าใช้จ่าย 61,720

            กิจกรรมที่ 6 6. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์

            ชื่อกิจกรรม
            6. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์
            วัตถุประสงค์
              รายละเอียดกิจกรรม
              จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์อาหารที่พัฒนาได้
              ระยะเวลาดำเนินงาน
              2 มีนาคม 2563 ถึง 17 มกราคม 2563
              ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
              ได้สื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 2 ชิ้นงาน
              ทรัพยากรอื่น ๆ
              ภาคีร่วมสนับสนุน
              รายละเอียดงบประมาณ
              ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
              ค่าตอบแทนวิทยากร 2 ชิ้น 10,000 1 20,000
              ค่าพาหนะเดินทาง - รถยนต์ส่วนบุคคล 2 คน 240 4 1,920
              รวมค่าใช้จ่าย 21,920

              กิจกรรมที่ 7 6. ประเมินผลและสรุปการดำเนินงาน

              ชื่อกิจกรรม
              6. ประเมินผลและสรุปการดำเนินงาน
              วัตถุประสงค์
                รายละเอียดกิจกรรม
                ดำเนินการประเมินผลและสรุปการดำเนินงาน
                ระยะเวลาดำเนินงาน
                16 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
                ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
                ได้รูปเล่มสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
                ทรัพยากรอื่น ๆ
                ภาคีร่วมสนับสนุน
                รายละเอียดงบประมาณ
                ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
                ค่าตอบแทนวิทยากร 1 ชิ้น 10,000 1 10,000
                รวมค่าใช้จ่าย 10,000

                รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 497,500.00 บาท

                ค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
                ค่าใช้จ่าย (บาท) 190,980.00 146,520.00 40,000.00 120,000.00 497,500.00
                เปอร์เซ็นต์ (%) 38.39% 29.45% 8.04% 24.12% 100.00%

                11. งบประมาณ

                497,500.00บาท

                12. การติดตามประเมินผล

                ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
                ผลผลิต (Output) ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้มาตรฐานและสามารถขายเป็นของฝากได้ นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกฝนทักษะจากการทำงานร่วมกับชุมชน
                ผลลัพธ์ (Outcome) ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่สามารถใช้จำหน่ายเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน นักศึกษาสามารถใช้องค์ความรู้ยกระดับผลิตภัณฑ์ตามวัตถุประสงค์ได้
                ผลกระทบ (Impact) ชุมชนสามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร นักศึกษาได้ความรู้และทักษะจากการทำงานร่วมกับชุมชน
                นำเข้าสู่ระบบโดย kiatipong.ch kiatipong.ch เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 11:07 น.