การพัฒนาการบริหารการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและระบบการจัดการ เห็ดโรงเรือน เพื่อการนำมาสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

แบบเสนอโครงการ
การพัฒนาการบริหารการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและระบบการจัดการ เห็ดโรงเรือน เพื่อการนำมาสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

1. ชื่อโครงการ

การพัฒนาการบริหารการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและระบบการจัดการ เห็ดโรงเรือน เพื่อการนำมาสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์-ตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธู์ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุกัญญา ดวงอุปมามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์0819642221นายธนพล โยคะสิงห์ เลขบัตร1469900450196หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (นักศึกษา)
นางสาวพัชราปิ่นแก้ว เลขบัตร 1469900321795 หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (นักศึกษา)
นายณัฐวุฒิ จำนงอุดมเลขบัตร 1461200171432 หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (นักศึกษา)
นางสาวปวีณาอำภาทิพย์เลขบัตร 1469900496587 หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (นักศึกษา)
นางสาวพิมพรรณ ภูมิวัฒร์เลขบัตร1469900399051 หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (นักศึกษา)
นางสาวกนกกาญน์ ไชยประโคมเลขบัตร 1461400097708หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (นักศึกษา)
นายปัตทวีคำทองเลขบัตร 1461201202129หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (นักศึกษา)
นายนรากร ถิตย์พงษ์ เลขบัตร 1459900809879หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (นักศึกษา)
นายดำรงค์ ศรีจันทร์เลขบัตร1450200253594หลักสูตร อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล(ต่อเนื่อง) (นักศึกษา)
นายสุวิทย์ บุญพงษ์เลขบัตร 1459900613851 หลักสูตร อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล(ต่อเนื่อง) (นักศึกษา)
ดร.กรกนก ดลโสภณ เลขบัตร 3469900161077 หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ(อาจารย์ที่ปรึกษา)
นางสาววไลพร พลอยวิเลิศ เลขบัตร 3460500802646หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
นางสาวสกลวรรณ เชื้อภักดี เลขบัตร 1340700338697หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
นายกัมปนาท ไชยเพชรเลขบัตร1470900073670 หลักสูตร อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล(ต่อเนื่อง) (อาจาย์ที่ปรึกษา)

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ยางตลาด โนนสูง

3. รายละเอียดชุมชน

ตำบลโนนโนนสุง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์มีส่วนใหญ่ดำรงชีวิตด้วยการอาศัยแหล่งอาหาร และแหล่งน้ำจากธรรมชาติ บ้านเรือนจะเลือกทำเลที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร อยู่ใกล้แหล่งน้ำและป่าโคก ต่อมามีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมทำให้ระบบการตลาดเข้ามาส่งผลให้การทำมาหากินเพิ่มมากขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งชาวบ้านโนนสูงได้มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยมีการพัฒนาทางด้านอาชีพเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมหลังจากการทำอาชีพหลักโดยแยกได้ดังนี้สภาพทางเศรษฐกิจ อาชีพการเกษตร80%อาชีพรับจ้าง 16% อาชีพรับราชการ 4 % ด้านเกษตรกรรมประชากรปลูกข้าว , ปลูกอ้อย , ปลูกมันสำประหลัง , ปลูกข้าวโพดปลูกถั่วลิสง , พืชผักสวนครัว , ยูคาลิปตัสปลูกยางพาราเป็นต้น ด้านปศุสัตว์ประชากรมีการเลี้ยงโค , กระบือ , ไก่ , เป็ด , สุกร ด้านการพาณิชย์มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดเล็กร้านอาหารร้านขายอุปกรณ์การเกษตรร้านขายวัสดุก่อสร้างโรงสีข้าวร้านขายของชำอู่ซ่อมรถเป็นต้น รับราชการ ด้านอื่น ๆ / อาชีพเสริม เช่น ประชากรประกอบอาชีพเพาะทำเห็ดโรงเรือนรับจ้างทั่วไป ฯลฯมีกลุ่มวิสากิจชุมชนและมีพื้นฐานทางด้านการทำอาชีพเสริม เช่นการเพาะเห็ดโรงเรือน ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนขาดการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เป็นรูปธรรม และยังขาดระบบการจัดการโรงเรือนเห็ด ซึ่งเป็นการช่วยปัญหาในเรื่องของความยากจน เพิ่มรายได้ เป็นอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชนท้องถิ่นขจัดปัญหาความยากจน จากการพัฒนาการบริหารการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและระบบการจัดการ เห็ดโรงเรือน

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นคณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินโครงการ คนในชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยึดอาชีพหลักคือการเกษตร โดยอาศัยความรู้ ความสามารถตลอดจนภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ปัจจุบันค่าครองชีพมีมากขึ้นทำให้รายจ่ายมากกว่ารายได้ ที่ได้จนเกิดภาระหนี้สินและปัญหาอื่นอีกมากมาย ส่งผลกระทบต่อวิถีชุมชนจนไม่สามารถพึ่งตนเองได้ดังนั้นชุมชนจึงต้อง มีการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองให้เข้มแข็งพึ่งตัวเองได้ การส่งเสริมให้ชุมชนจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี มีรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงที่ ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ ใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอนทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเอง แก้ไขปัญหาความยากจนของคนในชุมชน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาหาวิธีการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสมเพื่อความยั่งยืนของชุมชน
1. การบริหารการผลิต
1.1ด้านการจัดซื้อและจัดหาวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิต
- จัดให้มีการบันทึกรายงานวัตถุดิบ/ปัจจัยการผลิต รวมทั้งแหล่งที่มาทุกครั้งที่มีการ
สั่งซื้อ เพื่อใช้อ้างอิงในการสั่งซื้อครั้งต่อไป
- จัดให้มีระบบการตรวจรับวัตถุดิบด้ยวิธีการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมคุณภาพก่อนการ
ผลิตโดยกำหนดผู้รับผิดชอบพร้อม วิธีการตรวจรับที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ
- จัดซื้อตามหลักการ 5 R
- Right Quality
- Right Quantity
- Right Price
- Right Place
- Right Time

1.2 ด้านการผลิต
- วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการในตลาดและกำลังการผลิตของกลุ่ม
เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดซื้อวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตได้อย่างพอเพียง ไม่ขาดแคลนหรือชำรุดเสียหายและเกิดความสิ้นเปลือง
- จัดให้มีการแบ่งแผนกงานและกำหนดผู้รับผิดชอบตามความสามารถเพื่อให้
กลุ่มสามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาด หากกำลังการผลิตไม่เพียงพอ ให้พิจารณาจัด
จ้างเพิ่มเติมจากภายนอกได้ (Outsourcing)
- กำหนดให้มีขั้นตอนการผลิตที่ชัดเจน จัดพิมพ์เป็นเอกสารแสดงขั้นตอนการผลิต
เพื่อให้พนักงานสามารถดำเนินการผลิตตามขั้นตอนได้เหมือนๆ กัน
- กำหนดเกณฑ์หรือ วิธีการในการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์และตัวบ่งชี้สินค้าที่
ไม่ผ่านการตรวจ โดยใช้ระเบียบวิธีหรือกฏเกณฑ์ของทางราชการเป็นหลักมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหารเช่น อ.ย. (FDA) กระทรวงสาธารณสุขรวมถึงการส่งเสริมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้ได้รับการรับรองและแสดงเครื่องหมายการรับรอง เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย และ
สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ชุมชน เน้นให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืน

1.3 ด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์และสถานที่ผลิต
-มีการกำหนดรายละเอียดของกิจกรรมการดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น วิธีการ กระบวนการตรวจสอบ การบำรุงรักษา การทำความสะอาด เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถผลิตหรือให้บริการได้ต่อเนื่อง
- จัดสถานที่ผลิตให้มีสภาพเหมาะสมตามมาตรฐานที่กำหนด


1.4 ด้านการบรรจุและการจัดส่ง
-กำหนดวิธีการที่เหมาะสมในการบรรจุผลิตภัณฑ์และคัดเลือกภาชนะที่ใช้ในการ
บรรจุเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ถูกห่อหุ้มอย่างดีอยู่ตลอดเวลา ไม่ชำรุดเสียหายทั้งในระหว่างจัดเก็บหรือขนส่งคำนึงถึงอุณหภูมิที่จัดเก็บหรือขนส่งด้วยเช่นกัน
- กำหนดข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่ต้องระบุบนฉลากตามกฏหายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อผู้ผลิตที่ตั้งผู้จำหน่าย ข้อแนะนำการใช้ระบุน้ำหนัก / ปริมาณสุทธิ ส่วนประกอบทางโภชนาการ และวันหมดอายุ
- กำหนดวิธีการเก็บรักษาและกระบวนการจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสม เน้นการเก็บรักษาและไม่ให้ชำรุดเสียหายระหว่างการขนส่ง ก่อนถึงมือลูกค้า

1.5 ด้านการคำนวณต้นทุน
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึก
การวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้า การคำนวณต้นทุนมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการ คือ
1. เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิตและต้นทุนขาย
2. เพื่อสามารถนำต้นทุนทั้งหมด มาเปรียบเทียบกับรายได้จากการขายเพื่อจะได้ทราบว่ามีกำไรหรือขาดทุนในการขายสินค้า
3. เพื่อคำนวณหรือตีราคาสินค้าคงเหลือที่ขายได้ไม่หมดว่ามีมูลค่าเท่าไหร่
4. เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการซื้อสินค้าและจัดทำงบประมาณในการซื้อสินค้า รวมทั้งต่อรองราคากับผู้ขายวัตถุดิบ
5. เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าสินค้าใดควรขายต่อไปและสินค้าใดควรเลิกขาย (ในกรณีที่มีการผลิตมีสินค้าหลายชนิด)
ต้นทุนแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ
1. ต้นทุนผันแปร คือ ต้นทุนที่ผันแปรตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขาย เช่น วัตถุดิบ ค่าแรงทางตรง ค่าใช้จ่ายในการผลิตทางตรงเป็นต้น
2. ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นไม่ว่ากิจการจะได้ขายสินค้าหรือไม่ ต้นทุนนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขาย เช่น เงินเดือนพนักงานหน้าร้าน ค่าเช่าร้าน ค่าเสื่อมราคา ค่าประกันภัย เป็นต้น
ดังนั้นต้นทุนการผลิตจะประกอบไปด้วยวัตถุดิบ+ค่าแรงงาน + ค่าใช้จ่ายในการผลิต ซึ่งทั้งสามรายการนี้เป็นเพียงส่วนของการผลิตเท่านั้น หากเราจะคิดต้นทุนรวมของสินค้า จำเป็นต้องนำค่าใช้จ่ายในการขายและดำเนินการมารวมด้วยเช่น เงินเดือน , ค่าคอมมิชชั่นพนักงานขาย, ค่าแรงพนักงานขายหน้าร้าน, ค่าการตลาด (โฆษณา,แผ่นพับ), ค่าเช่าสำนักงานและร้าน, ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา, ค่าโทรศัพท์, ค่าน้ำมันรถ,ดอกเบี้ย, ค่าเช่ารถ, ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ฯลฯ เพื่อการคำนวณต้นทุนให้ใกล้เคียงความจริง หากเราคำนวณแค่วัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าน้ำค่าไฟฟ้าทำให้ได้ต้นทุนสินค้าที่น้อยกว่าความเป็นจริงและมีผลทำให้ตั้งราคาขายที่ต่ำไปและอาจขาดทุนได้
วิธีการคำนวณหาต้นทุนการผลิตแบบง่ายมีสูตรดังนี้
การคำนวณแบบง่าย ๆ นี้เหมาะกับวิสาหกิจชุมชน ที่มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งเหมาะกับการคำนวณสินค้าประเภทโอทอปที่มีความชัดเจนในเรื่องการใช้วัตถุดิบ ค่าแรงงานต่อรอบการผลิตและไม่มีการเก็บสต๊อกวัตถุดิบไว้ การคำนวณจำเป็นต้องคิดเพื่อให้ทราบถึงต้นทุนผลิตต่อหน่วย และนำต้นทุนผลิตไปรวมกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อให้ทราบถึงต้นทุนรวมของสินค้ากลุ่มวิสหากิจชุมชนที่ยังไม่เคยคำนวณต้นทุนผลิตและต้นทุนรวมสินค้าไว้ ต้องจดบันทึกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ให้ได้อย่างน้อย 1 เดือนเพื่อนำตัวเลขในเดือนที่จดบันทึกมาคำนวณหาต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าตนเองเพื่อจะได้ไม่ขาดทุนเพราะการตั้งราคาขายที่ต่ำไป

2. ระบบการจัดการ
การบริหารจัดการ ดังนี้ผู้ที่ต้องการเพาะเห็ดให้ประสบความสำเร็จ ควรจะมีการพิจารณาในสิ่งต่อไปนี้
2.1 การวางแผนขั้นแรกการคัดเลือกชนิดเห็ดนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากจะเป็นตัว
กำหนดการวางผังและแผนปฏิบัติที่จะติดตามมา สำหรับรายละเอียดที่ต้องทราบเพื่อให้ประกอบการตัดสินใจมีดังต่อไปนี้
2.1.1 เห็ดที่จะเพาะต้องได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นเห็ดที่
ประชาชนในพื้นที่มีความคุ้นเคยดีอยู่แล้ว เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้านางรม หรือจะเป็นเห็ดที่นำเข้าจากต่างประเทศและมีการประชาสัมพันธ์ให้รู้จัดทั่วไปและเกิดความนิยมในการบริโภคขึ้นมา เช่น เห็ดหอม เห็ดเข็มทอง
2.1.2 พื้นที่ หรือสถานที่ตั้งฟาร์ม จะต้องอยู่ไม่ห่างจากตลาดหรือแหล่งรับซื้อ มี
การคมนาคมสะดวก
2.1.3 ตลาด จะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตที่กำหนดไว้ในเป้าหมายได้
2.1.4 สภาพภูมิอากาศ และสภาพภูมิประเทศเหมาะสมกับการผลิตเห็ดชนิดที่
ต้องการ ทั้งนี้เนื่องจากเห็ดต่างชนิดกันมีความต้องการอุณหภูมิในการเจริญของเส้นใยและการออกดอกไม่เท่ากัน ถ้าสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุณหภูมิไม่เหมาะสมทำให้ต้องมีการปรับอุณหภูมิ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการผลิตยุ่งยากเพิ่มขึ้นไปอีก และมีต้นทุนสูงขึ้นไปด้วย
2.1.5วัตถุดิบหรือวัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ด หาง่าย และมีราคาถูกซึ่งในปัจจุบันนี้
ปัญหาอันเนื่องมาจากวัสดุเพาะหายาก กำลังกลายมาเป็นปัญหาสำคัญของการเพาะเห็ดหลายชนิด ทั้งนี้เนื่องจากวัสดุสำหรับเพาะเห็ดหลายอย่าง เช่น ขี้เลื่อยและขี้ฝ้าย มีราคาสูงขึ้น และหายากขึ้นเรื่อง ๆ ปัญหานี้ยิ่งรุนแรงขึ้นถ้าฟาร์มเห็ดตั้งอยู่ในที่ห่างไกลจากแหล่งผลิตวัสดุเหล่านี้เมื่อศึกษาข้อมูลโดยละเอียดแล้วจะสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจว่าเลือกเพาะเห็ดชนิดใดก็ได้ และจัดทำแผนการตลาดประจำปีไว้ล่วงหน้า เพื่อทำแผนการผลิตเห็ดประจำปี โดยกำหนดปริมารงาน และกำหนดเวลาปฏิบัติได้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติได้อย่างมีระบบ
2.2 การคัดเลือกแม่เชื้อการคัดเลือกแม่เชื้อเห็ดเป็นการเตรียมการขั้นตอนแรกของการทำเชื้อ สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ลักษณะประจำพันธุ์ ได้แก่ ผลผลิต คุณภาพ สี ขนาดดอกและการตอบสนองต่ออุณหภูมิระดับต่างๆ แม่เชื้อเตรียมได้จากเนื้อเยื่อดอกเห็ด แม่เชื้อที่ดีจะต้องมีความบริสุทธิ์ ไม่เป็นโรคติดต่อ จึงมีความจำเป็นในการเอาใจใส่ในการคัดเลือกแม่เชื้อเป็นสำคัญ
2.3 การทำเชื้อเห็ด เชื้อเห็ดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการเพาะเห็ดเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้พันธุ์เห็ดที่มีอัตราการเจริญสูง มีความแข็งแรง เส้นใยเจริญรวดเร็ว ให้ผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาด ก็นำมาเพาะในวัสดุที่ปราศจากการปนเปื้อน ผ่านการบ่ม และเก็บรักษาอย่างถูกวิธี
2.4 การจัดเตรียมวัสดุเพาะเห็ดการเตรียมวัสดุเพาะเห็ดมีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามชนิดของ
เห็ดที่จะทำการเพาะ โรงเรือนอุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสมในการอบไอน้ำเพื่อที่จะกำจัดศัตรูเห็ด รวมทั้งการปรับสภาพปุ๋ยหมักให้เหมาะสมกับชนิดเห็ดที่จะเพาะเป็นสิ่งสำคัญ ข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต้องทราบได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางเคมี อันได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณธาตุอาหาร การเติมอาหารเสริม ระดับความชื้น การบรรจุถุง และการนึ่งฆ่าเชื้อเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีผลกระทบต่อผลผลิตและความเสียหายอันเนื่องมาจากการปนเปื้อนโดยเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น
2.5 การดูแลรักษา เริ่มตั้งแต่การบ่มเชื้อ การบังคับให้ออกดอก การให้น้ำ และการเก็บดอก ข้อมูลที่
จำเป็นต้องทราบได้แก่สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ปริมาณก๊าซออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ อุณหภูมิ ความชื้น ่ความเป็นกรดเป็นด่าง ในระยะความเจริญต่างๆของเห็ดแต่ละชนิด ซึ่งนับว่าจำเป็นในการให้ผลผลิตเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากเห็ดเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนต่อหน่วยสูงในระยะเวลาอันรวดเร็ว และชาวฟาร์มเห็ดจะเน้นการผลิตเพียงอย่างเดียวการดูแลรักษาความสะอาดของฟาร์มจึงถูกละเลยก่อให้เกิดปัญหาการระบาดของโรคแมลง ตลอดจนศัตรูเห็ดชนิดอื่น ๆ ตามมา ผลผลิตที่ได้ลดลงจนถึงขนาดเก็บเห็ดไม่ได้ก็มี การบริหารศัตรูเห็ดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

3. การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์
การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการนั้น โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดตามความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา การออกแบบมีการใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ความคิดริเริ่ม ความคล่องในการคิดความยืดหยุ่นในการคิดความคิดละเอียดละออ
การพัฒนา หมายถึง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
ผลิตภัณฑ์ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ค้นคว้าออกแบบ ประดิษฐ์ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หมายถึง กระบวนการค้นคว้า คิดออกแบบ แก้ไขและปรับปรุงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น
การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึง การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธี และสิ่งแวดล้อม โดยมีการวิเคราะห์หาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดแล้วนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ซึ่งอยู่ในความนิยมของตลาด

ปัจจัยที่เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์
1. คุณภาพของผลิตภัณฑ์
2. วัสดุและกระบวนการผลิต
3. ความต้องการของผู้บริโภค
4. ความเป็นอยู่
5. สภาพเศรฐกิจ

4. การตลาดด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันในกระบวนการบริหารวิสาหกิจชุมชนควรมีการวางแผนการตลาดด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
4.1 Social Media Marketingเป็นการทำการตลาดออนไลน์ผ่านสื่อสังคม Social Media ต่าง ๆ เช่น Facebook Instagram Twitter Pinterestการทำการตลาดผ่านช่องทางนี้มีข้อดีคือ ใช้ทุนในการเริ่มต้นน้อยและไม่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญมากเท่าช่องทางอื่น ๆ ใครอยากเริ่มต้นทำ การตลาดออนไลน์ / ขายของออนไลน์ ในยุคนี้ ก็จะเริ่มต้นด้วยการเปิดบัญชี Facebook Fan page หรือ Instagramส่วนใหญ่แล้วควรมีช่องทาง Social Media ในการทำการตลาดหรือใช้กลยุทธ์ Social Media ในการปิดการขาย แต่อาจมีเพื่อสร้าง Brand Awarenessเพื่อให้ผู้บริโภครู้จักสินค้าและแบรนด์หรือยิงโฆษณา Facebook เพื่อนำลูกค้าไปปิดที่ Website หรือ Line@ เป็นต้น
ทักษะที่จำเป็นในการทำการตลาด ออนไลน์
- การวางแผนการทำ Content Marketing ผ่าน Social Media ในแฟลตฟอร์มต่าง ๆ
- การทำรูปกราฟฟิกให้สวยดึงดูดใจ
- การเขียนที่ดี รวมทั้งหมด ทั้งการเลือกเขียนหัวข้อ, เนื้อหา
- การโฆษณาในแต่ละช่องทาง เช่น Facebook Ads, Twitter Ads
-
5. การออกแบบเครื่องช่วยในกระบวนการผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี
เครื่องทอดสุญญากาศ : Vacuum Fryer เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพในการทอดผัก ผลไม้และเครื่องเทศต่าง ๆ ลดการเปลี่ยนแปลงสีและการสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการอาหารจากการทอด ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความกรอบไม่อมน้ำมันและเก็บรักษาได้นาน มีชุดกรองเศษอาหารจากการทอด สามารถถอดทำความสะอาดได้ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับวัตถุดิบหลากหลายประเภท ขนาดและรูปร่าง ให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อนำไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์
5.1 การอบแห้ง
การอบแห้ง (Drying) คือ การเอาน้ำออกจากวัสดุที่ต้องการทำให้ปริมาณน้ำในวัสดุนั้นลดลง (ความชื้นลดลง) โดยส่วนใหญ่วัสดุนั้นจะอยู่ในสถานะของแข็ง น้ำที่ระเหยออกจากวัสดุนั้นอาจจะไม่ต้องระเหยที่จุดเดือดแต่ใช้อากาศพัดผ่านวัสดุนั้นเพื่อดึงน้ำออกมา วัสดุจะแห้งได้มาก-น้อยจะขึ้นอยู่กับธรรมชาติของมันด้วย ในการอบ เมื่อทำให้ของเหลวในวัตถุดิบระเหยเป็นไอ จะได้ผลิตภัณฑ์ของแข็งที่มีสัดส่วนของของเหลวลดต่ำลง ซึ่งนอกจากจะมีกรณีที่วัตถุดิบมีสภาพเป็นของแข็งที่เปียกชื้นแล้ว ยังมีกรณีที่อบของเหลวข้น(Slurry) หรือของเหลวใสเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ผงอีกด้วย
เครื่องอบโดยมากมักจะเป็นส่วนสุดท้ายของกระบวนการผลิต โดยผลิตภัณฑ์ที่อบแล้วจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จทันที ดังนั้น การอบไม่สม่ำเสมอ เช่น ไม่แห้งหรือแห้งเกินไป และรูปร่างของผลิตภัณฑ์ เช่น วัตถุดิบเป็นก้อน รวมทั้งปริมาณผลได้ (Yield) จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจ นอกจากนี้ความร้อนแฝงของการระเหยของของเหลวจะมีค่าสูง การอบจึงสิ้นเปลืองพลังงานมาก การจัดการพลังงานความร้อนจึงเป็นปัญหาที่สำคัญ
5.2 เครื่องอบภายใต้สุญญากาศ (Vacuum Dryer)
เครื่องอบ Vacuum Dryer จะใช้หลักการว่า เมื่อวางวัตถุดิบที่จะอบไว้ในสุญญากาศอ่อนๆ แล้วให้ความร้อน ผลต่างความดันระหว่างความดันไอของตัวทำละลายกับสุญญากาศที่ผิวหน้าตัวทำละลาย จะทำให้ตัวทำละลายในวัตถุดิบระเหยเป็นไอออกมา และเนื่องจากอุณหภูมิระเหยจะขึ้นอยู่กับระดับความเป็นสุญญากาศ ดังนั้น จึงเหมาะกับวัตถุดิบที่เสื่อมสภาพง่ายต่อความร้อน จึงใช้การอบแบบนี้ในอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์และอาหาร โดยทั่วไปอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์จะมีการผลิตเป็นจำนวนไม่มาก จึงมักเดินเครื่องอบแบบ Batch และใช้การอบบนถาด ส่วนในอุตสาหกรรมอาหาร ในแง่ของความคุ้มทุนจะต้องผลิตเป็นจำนวนมาก ส่วนมากจึงใช้เครื่องอบต่อเนื่องแบบลำเลียงด้วยสายพาน



ภาพประกอบ 1 เครื่องอบ vacuum dryer แบบต่อเนื่อง
5.3 Vacuum Drying
เป็นการระเหยน้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดภายใต้บรรยากาศปกติ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีคุณภาพดี แต่กระบวนการนี้จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและดำเนินกระบวนการสูง จึงเหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มี มูลค่าสูงหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการให้มีความชื้นต่ำโดยไม่เกิดการทำลายของตัวผลิตภัณฑ์ ชนิดของเครื่องอบแห้งแบบสุญญากาศมี 4 ชนิดได้แก่
5.3.1 Vacuum shelf dryer เป็นระบบที่ง่ายที่สุดสำหรับเครื่องอบแห้งสุญญากาศ เครื่องประกอบด้วยตู้สุญญากาศ ซึ่งภายในมีชั้นรองรับถาดวางผลิตภัณฑ์ ตัวชั้นอาจได้รับความร้อนจากไฟฟ้าซึ่งจะถ่ายเท ความร้อนไปยังอาหารโดยการนำความร้อนหรือใช้อากาศร้อนเป็นตัวพาความร้อนไปยังชิ้นผลิตภัณฑ์ ตัวตู้สุญญากาศจะต่อ กับอุปกรณ์สร้างระบบสุญญากาศที่อยู่ภายนอกตู้ ซึ่งอาจเป็นปั๊มสุญญากาศหรือ Steam Ejector อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับระบบ คือคอนเดนเซอร์ซึ่งเป็นตัวเก็บไอน้ำอาจอยู่ภายในหรือนอกตู้ แต่ควรติดตั้งอยู่ก่อนหน้าปั๊มสุญญากาศเพื่อป้องกันไม่ให้ไอน้ำเข้าไปในปั๊ม เครื่องนี้จะเหมาะสำหรับการผลิตแบบ Batch สามารถบำรุงรักษาได้ง่าย เหมาะสำหรับการใช้ระดับสุญญากาศสูงๆ สามารถใช้ได้กับ ผลิตภัณฑ์ในทุกรูปแบบ ตั้งแต่รูปของเหลว ของเหลวข้น ผง ชิ้นๆ
5.3.2 Conical rotating vacuum dryer เป็นการผลิตแบบ Batch เป็นถังสุญญากาศทรงกระบอกหมุน ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดการลื่นไหลอย่างนุ่มนวลผ่านผนังของถัง ที่หุ้มด้วยชั้นของน้ำร้อนรอบ ๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มความร้อนให้กับผลิตภัณฑ์อย่างทั่วถึง เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นผง และชิ้น และไม่มีการเกาะติดกันหรือติดผนังซึ่งจะทำให้ลดอัตราการถ่ายเทความร้อนและการอบแห้ง
5.3.3 Rotary vacuum dryer เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง มีลักษณะเป็นลูกกลิ้งแนวนอนไม่เคลื่อนที่ หุ้มด้วยชั้นของน้ำร้อน เป็นการทำงานแบบ Batch ใช้ได้กับผลิตภัณฑ์หลากหลายและต้องการระดับสุญญากาศสูงๆ
5.3.4 Continuous vacuum drying เป็นการผลิตแบบต่อเนื่อง โดยการอบด้วยระบบด้วยสุญญากาศร่วมกับ Belt Dryer ให้ความร้อนโดยใช้ Infrared Heater หรือให้ความร้อนจากแผ่นร้อนด้านบนหรือล่าง จะมีการกลับผลิตภัณฑ์ระหว่างการลำเลียง จากสายพานหนึ่งไปสายพานอีกอันหนึ่ง เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งอย่างทั่วถึง เหมาะสำหรับผลไม้เป็นชิ้น ๆ เม็ด ๆ ต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่าแบบ Batch เมื่อใช้กำลังการผลิตที่เท่ากัน
5.4 ประเภทของน้ำมันและกรดไขมัน
5.4.1 ประเภทของน้ำมัน
น้ำมันประกอบอาหารในปัจจุบันมีแหล่งที่มาแตกต่างกัน สามารถแยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1. น้ำมันจากไขมันสัตว์ น้ำมันจากไขมันสัตว์มีอยู่หลายชนิด เช่น ไขวัว ไขหมู ซึ่งจะมีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง ทำให้เกิดปัญหาหลอดเลือดของหัวใจและสมองอุดตันได้นำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดสมองตีบทำให้เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ เราจึงไม่แนะนำให้บริโภคน้ำมันจากสัตว์
2. น้ำมันจากไขมันพืช น้ำมันจากไขมันพืชที่นำมาบริโภคได้จากแหล่งวัตถุดิบหลายชนิด ได้แก่ มะพร้าว เมล็ดถั่วเหลือง เมล็ดข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน ผลมะกอก เมล็ดปาล์ม เนื้อปาล์มและรำข้าว เป็นต้น ทำให้ส่วนประกอบที่เรียกว่า “กรดไขมัน” ของน้ำมันพืชแต่ละชนิดแตกต่างกัน

5.4.2 กรดไขมันกับสุขภาพ
กรดไขมันแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid) เนื่องจากเป็นกรดไขมันอิ่มตัวจึงค่อนข้างคงตัว ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนช้ากว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว ในด้านสุขภาพกรดไขมันอิ่มตัวจะเพิ่มระดับของแอลดีแอล (LDL-low density lipooroteins) ในกระแสเลือด ซึ่งแอลดีแอลเป็นโคเลสเตอรอลชนิดร้าย หากมีมากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉีนบพลัน หรือสมองขาดเลือดไปเลี้ยงก่อให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต และไตวาย เป็นต้น กรดไขมันอิ่มตัวนี้จะพบได้มากในน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มเคอร์เนิล การทดสอบอย่างง่ายว่าน้ำมันพืชมีกรดไขมันอิ่มตัวมากหรือไม่ ทำได้โดยวางขวดน้ำมันพืชทิ้งไว้ในห้องปรับอากาสหรือแช่ตู้เย็น หากน้ำมันเป็นไขแสดงว่าน้ำมันพืชมีสัดส่วนกรดไขมันอิ่มตัวมาก
2. กรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (Monounsaturated fatty acid) ที่สำคัญในน้ำมันพืชคือ กรดโอเลอิก (Oleic acid) แม้ว่าจะคงตัวน้อยกว่ากรดไขมันอิ่มตัวแต่ก็ทนความร้อนได้ดี จึงเหมาะที่จะนำมาทอดอาการซึ่งต้องถูกความร้อนสูงเป็นเวลานาน จากการวิจัยพบว่า กรดโอเลอิกสามารถลดแอลดีแอล แต่จะไม่เพิ่มหรือลดเอชดีแอล (HDL-high density lipoproteins) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลชนิดดี กรดโอเลอิกพบมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว และน้ำมันถั่วลิสง ตามลำดับ
3. กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated fatty acid) กรดไขมันชนิดนี้มีความไวต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน และไม่คงตัวหากปรับปรุงด้วยความร้อนสูงเป็นเวลานาน จึงไม่แนะนำให้ใช้ทอดอาหาร ในแง่สุขภาพกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งสามารถลดระดับของแอลดีแอลในเลือดได้ แต่ขณะเดียวกันจะลดระดับของเอชดีแอลด้วยกรดไขมันที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ กรดไลโนเลอิก (Linoleic acid) และกรดไลโนเลนิก (Linolenic acid) โดยทั้งสองชนิดนี้เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ดังนั้น จึงต้องรีบบริโภคน้ำมันพืชในกลุ่มนี้บ้าง พบมากในน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันทานตะวัน และน้ำมันดอกฝอย
5.5 การเสื่อมสภาพของน้ำมัน
5.5.1 การเสื่อมสภาพของน้ำมัน
ควรจะทิ้งทันที หากน้ำมันทอดอาหารที่ใช้อยู่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. มีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้น สีดำ เกิดฟอง ควันหรือเหม็นไหม้
2. ปริมาณสารโพลาร์ทั้งหมด (Total polar compounds) มากกว่าร้อยละ 25 โดยน้ำหนัก หรือเมื่อใช้ชุดทดสอบสารโพลาร์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้วให้ผลเป็นสีชมพูอ่อน หรือไม่มีสี
3. ค่าเพอร์ออกไซด์ (Peroxide value) มากกว่า 10 เมื่อคิดเป็นมิลลิกรัมสมมูลย์ต่อน้ำมันและไขมัน 1 กิโลกรัม
4. อุณหภูมิที่เป็นควันหรือจุดเกิดควันต่ำกว่า 170 องศาเซลเซียส ไม่ควรใช้ต่อไป เพราะน้ำมันเสื่อมคุณภาพจะไหม้เร็วเป็นควัน

5.5.2 ปัจจัยที่เป็นผลต่อการเสื่อมคุณภาพของน้ำมัน
การเสื่อมคุณภาพของน้ำมันทอดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
1. อัตราการใช้และการทดแทนน้ำมันทอดเก่า (Turnover rate) คือ อัตราส่วนระหว่างน้ำมันทั้งหมดที่มีอยู่ในภาชนะทอดต่ออัตราการเติมน้ำมันใหม่ลงไป เพื่อทดแทนน้ำมันทอดที่อาหารดูดซับไป เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ที่จะรักษาคุณภาพของน้ำมันทอดเอาไว้ ข้อแนะนำคือให้เติมน้ำมันใหม่ประมาณร้อยละ 25 โดยน้ำหนักทุกวัน
2. อุณหภูมิเมื่อสูงกว่า 200 องศาเซลเซียส จะเร่งการเสื่อมสลายของน้ำมันได้เร็วขึ้น และทำให้เกิดสารโพลิเมอร์ต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้มากขึ้น
3. น้ำมันที่ใช้ทอดอาหารจะเสื่อมคุณภาพได้ยากง่ายขึ้นอยู่กับปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัวในน้ำมันชนิดนั้น ๆ ถ้ามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง จะเสื่อมคุณภาพได้ง่าย
4. ชนิดของอาหารและส่วนประกอบที่ใช้ปรุงก็มีผลต่อคุณภาพน้ำมัน ดังนี้
4.1 อาหารที่มีความชื้นหรือมีน้ำที่ผิวหน้าอาหารดิบก่อนทอดมากเท่าใด จะทำให้น้ำมันเสื่อมคุณภาพเร็วมากขึ้นเท่านั้น
4.2 ไข่ขาวจะทำให้น้ำมันเป็นฟองเร็วกว่าปกติ
4.3 อาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น ปลา และหอย เป็นต้น ทำให้น้ำมันมีกลิ่นเฉพาะตัว อายุการใช้งานของน้ำมันจะสั้นลง
4.4 กากอาหาร เศษขนมปัง อาหารชุบปด้วยแป้งทำให้น้ำมันถูกปนเปื้อนได้ง่าย กากอาหารเหล่านี้จะไหม้และเป็นสีดำ
5.5.3 ผลของการใช้น้ำมันทอดซ้ำต่อสุขภาพ
การใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยัน ดังนี้
1. น้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำจะมีคุณค่าทางโภชนาการลดลง ในหนูทดลองพบว่าทำให้การเจริญเติบโตลดลง ตับและไตมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการสะสมไขมันในตับ การหลังเอนไซม์ทำลายสารพิษในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าร่างกายได้รับสารพิษมากขึ้น
2. ไอระเหยจากน้ำมันทอดอาหาร หากสูดดมเป็นเวลานานจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพ การศึกษาทางระบาดวิทยาพบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคมะเร็งปอดของผู้หญิงจีนและไต้หวันที่ไม่สูบบุหรี่ เพราะสูดไอระเหยของน้ำมันในการผัดหรือการทอดอาหาร และพบมารก่อมะเร็งในไอระเหยของน้ำมันทอดอาหาร ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าทำให้เกิดเนื้องอกในปอด และมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูทดลอง
3. น้ำมันทอดซ้ำนาน 20 ชั่วโมงขึ้นไป จะเกิดสารโพลาร์ในน้ำมันสูง
4. จากการสำรวจพบว่า หากเป็นการปรุงอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือนการใช้น้ำมันทอดซ้ำ 2-3 ครั้ง ถือว่าค่อนข้างปลอดภัย เนื่องจากมีสารโพลาร์ ไม่เกินร้อยละ 25 แต่ในร้านอาหารจารด่วน อาหารทอดในตลาดหรือร้านริมถนน ค่อนข้างอันตรายต่อสุขภาพ

5.5.4 สารโพลาร์
สารโพลาร์เป็นสารประกอบมีขั้วในน้ำมันทอดอาหารซึ่งเกิดระหว่างกระบวนการทอด เมื่อน้ำมันผ่านกระบวนการทอดอาหารแบบท่วมที่อุณภูมิสูงประมาณ 170-180 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานาน ความชื้นของอาหารและออกซิเจนจากอากาศจะเร่งการเสื่อมสลายของน้ำมัน โดยเกิดปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญ 3 อย่าง คือ ไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) ออกซิเดชัน (Oxidation) และโพลิเมอร์ไรด์เซชั่น (Polymerization) ซึ่งมีผลกระทบทางกายภาพของน้ำมัน เช่น สี กลิ่น และรสชาติเปลี่ยนไป จุดเกิดควันลดลงและความหนืดของน้ำมันมากขึ้น ดังภาพประกอบ 3 และ 4
สารโพลาร์เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของน้ำมันที่เป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศทางยุโรป โดยประเทศต่าง ๆ ได้กำหนดค่าสารโพลาร์ทั้งหมดในน้ำมันแตกต่างกัน เช่น ประเทศเยอรมัน กำหนดค่าสารโพลาร์ไม่เกินร้อยละ 24 ประเทศเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ สาธารณรัฐเช็ค สเปน อิตาลี ฮังการีและไทย กำหนดสารโพลาร์ไม่เกินร้อยละ 25 ขณะที่ประเทศ ออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์ กำหนดค่าสารโพลาร์ไม่เกินร้อยละ 27


ภาพประกอบ 2 การสูญเสียคุณภาพน้ำมันในขบวนการทอด



ภาพประกอบ 3 ปริมาณสารโพลาร์ที่เพิ่มขึ้นในน้ำมันทอดอาหารเมื่อเวลาเปลี่ยนไป

5.5.5 สารโพลีไวคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน
โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbons;PAHs) เป็นกลุ่มสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ส่วนใหญ่ไม่ละลายน้ำ ดังนั้นจึงสะสมในชั้นไขมันของร่างกาย โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน เป็นสารที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ของสารอินทรีย์ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งพบในเขม่าควันไฟ ไอเสียของเครื่องยนต์ การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ บุหรี่ เตาเผาเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง/ย่าง อาหารทอดกรอบ อาหารรมควัน และควันที่เกิดจากน้ำมันทอดซ้ำ
จากการศึกษาวิจัย น้ำมันพืชที่ผ่านการใช้ซ้ำ ๆ พบว่า คุณภาพน้ำมันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน โดยค่าสารโพลาร์และปริมาณสารโพลีไวคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอนจะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อมีการใช้น้ำมันทอดซ้ำหลายครั้ง
สหภาพยุโรป (European Union, EU) ได้กำหนดปริมาณสารเบนโซ (เอ) ไพริน (Benzo(a)pyrene) ซึ่งงเป็นสารในกลุ่มสารประกอบโพลีไวคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน ที่มีความสามารถในการก่อมะเร็งสูงสุด ในน้ำมันและไขมันที่ใช้เป็นอาหารให้มีได้ไม่เกิน 2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับในประเทศยังไม่มีข้อกำหนดปริมาณสารโพลีไวคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันหรือไขมันที่ใช้เป็นอาหารแต่อย่างใด ทั้งนี้การตรวจวัดปริมาณสารดังกล่าว สามารถตรวจได้ด้วยเครื่องมือพิเศษในห้องปฏิบัติการ
การใช้น้ำมันทอดซ้ำที่เสื่อมคุณภาพแล้ว จึงเป็นความเสี่ยงของผู้บริโภคในการที่จะได้รับสารก่อมะเร็งในมนุษย์
5.6 การตรวจเช็คคุณภาพของน้ำมัน
อันตรายของน้ำมันที่เสื่อมคุณภาพเกิดจากโครงสร้างของน้ำมันถูกเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น สารโพลาร์ ซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดหัวใจตีบ และสารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดคาร์บอน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ กระทรวงสาธารรสุขจึงออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 283) พ.ศ. 2547 เรื่อง กำหนดปริมารสารโพลารืในน้ำมันที่ใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย ให้มีปริมาณสารโพลาร์ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก ผู้ประกอบการอาหารที่ใช้น้ำมันทอดอาหารที่มีค่าปริมาณสารโพลาร์เกินมาตรฐานที่กำหนดและจำหน่ายแก่ผู้บริโภค ถือเป็นการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน ฝ่าฝืนมาตรา 25(3) ของพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
การดำเนินการเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากพิษภัยของน้ำมันทอดซ้ำที่ดีที่สุดคือ ผู้ประกอบการเปลี่ยนน้ำมันทอดอาหารก่อนเสื่อมคุณภาพ ซึ่งจะทราบได้โดยรู้รอบระยะเวลาเปลี่ยนน้ำมันใหม่ที่ใช้ทอดอาหาร
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำเพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการร้านอาหารได้ตรวจสอบ ควรจะต้องเปลี่ยนน้ำมันใหม่ทุก ๆ กี่วัน โดยชุดทดสอบนี้มีความแม่นยำถึงร้อยละ 99.2 และรู้ผลภายในเวลา 3 นาที นักเรียนหรืออาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ก็สามารถทำได้ ที่สำคัญคือราคาประหยัดเพียง 20 บาทต่อการทดสอบ 1 ครั้ง
5.6.1 การควบคุมน้ำมันตามกฎหมายอาหาร
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 283) พ.ศ. 2547 เรื่อง กำหนดปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารหรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย ให้น้ำมันใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพท่อจำหน่ายมีปริมาณสารโพลาร์ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก
ผู้ประกอบการอาหารที่ใช้ทอดอาหารซึ่งมีค่าสารโพลาร์เกินร้อยละ 25 จำหน่ายแก่ผู้บริโภค เป็นการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน ฝ่าฝืนมาตรา 25(3) ของพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

5.6.2 วิธีการตรวจสอบวัดค่าสารโพลาร์
การตรวจวัดเพื่อดูการเสื่อมคุณภาพน้ำมันสามารถพิจารณาได้จากค่าสารโพลาร์ซึ่งมีหลายวิธีแต่ละวิธีมีข้อจำกัดแตกต่างกัน ดังตาราง 2

ตาราง 1 วิธีการตรวจวัดค่าสารโพลาร์
วิธีที่ วิธีการทดสอบ ข้อดี ข้อจำกัด
1 เทคนิคคอลัมน์โครมาโตกราฟี (Column chromatography) (วิธีมาตรฐาน) มีความแม่นยำสูง 1) ใช้เวลาในการทดสอบนาน 4 ชั่วโมงต่อตัวอย่าง
2) ตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น
3) ค่าใช้จ่ายต่อตัวอย่างสูง
2 เครื่อง Dielectric Constant ทราบผลภายใน 5 นาที 1) ต้องตรวจวัดที่อุณหภูมิช่วง 150-180 องศาเซลเซียสจึงจะแสดงค่าได้ถูกต้อง
2) ต้องหมั่นทำความสะอาดหัว Probe อย่างสม่ำเสมอ
3) ค่าที่วัดได้ขึ้นกับชนิดของน้ำมันปริมาณน้ำในน้ำมันและไขมันจากอาหารที่ทอด
4) ทุก ๆ 50ตัวอย่างต้องปรับเทียบเครื่องมือ 1ครั้ง
5) ราคาแพง ประมาณ 21,500 บาทต่อเครื่อง
6) ไม่แนะนำให้ใช้ตรวจน้ำมันปาล์มเคอร์เนิลและน้ำมันบัว
3 เทคนิคธินเลเยอร์โครมาโตกราฟี (Thin Layer Chromatography,TLC) ใช้งานง่าย 1) อ่านผลภายใน 35นาที
2) แผ่น strip ต้องเก็บในภาชนะที่ปิดสนิท พ้นแสงที่อุณหภูมิห้องทั่วไป
3) มีค่าใช้จ่ายแผ่น strip 70 บาทต่อหนึ่งการทดสอบ
4) ราคาเครื่องละประมาณ 14,000 บาท ต่อเครื่อง
5) ไม่แนะนำให้ใช้ตรวจน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์มเคอร์เนิล น้ำมันบัว
4 ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 1) อ่านผลภายใน 2 นาที
2) ใช้งานง่าย
3) ราคาถูก (20 บาท/ตัวอย่าง)
4) ให้ผลถูกต้องร้อยละ 99.2 1) เมื่อตัวอย่างน้ำมันเป็นไขต้องทำให้เป็นของเหลวก่อน
2) การตรวจในน้ำมันมะพร้าวเดี่ยว ๆ จะให้ผลไม่แม่นยำ

5.6.3 ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมัน
1. หลักการชุดทดสอบ เป็นการวัดปริมาณสารที่เกิดขึ้นระหว่างการทอดอาหารแล้วปรับเทียบเป็นปริมาณสารโพลาร์ทั้งหมด สารเคมีที่ใช้ในการทดสอบจะทำปฏิกิริยากับสารประกอบที่มีประจุ (สารโพลาร์) ในตัวอย่าง ให้สีชมพูจางถึงเข้ม เมื่อปริมาณสารโพลาร์มีค่าไม่เกินร้อยละ 25 และไม่มีสีชมพู เมื่อปริมาณสารโพลาร์มีค่ามากกว่าร้อยละ 25
2. ขั้นตอนการทดสอบ
1. ผสมตัวอย่างให้เป็นเนื้อเดียวกัน (ตัวอย่างน้ำมันต้องไม่ร้อน หรือเป็นไข หากตัวอย่างเป็นไข อุ่นให้เหลวก่อนและรอให้เย็นก่อน)
2. ใช้หลอดฉีดยาขนาด 1 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร ดูดตัวอย่างน้ำมันจนถึงขีด 1 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร ปล่อยลงในขวดวิเคราะห์ตัวอย่าง
3. ใช้หลอดฉีดยาขนาด 5 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร พร้อมเข็ม ดูดสารละลายโพลาร์ 1 ถึงขีด 4 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร แล้วปล่อยลงในขวดวิเคราะห์ตัวอย่าง ปิดจุกขวด เขย่าแรง ๆ ประมาณ 30 วินาที
4.ใช้หลอดฉีดยาขนาด 1 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร ดูดสารละลายโพลาร์ 3 จนถึง ขีด 0.20 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร แล้วปล่อยลงในขวดใส่ตัวอย่าง ปิดจุขวดเขย่าแรง ๆ ประมาณ 30 วินาที เพื่อให้สารละลายแยกชั้น สังเกตสีของสารละลายชั้นแล้วแปรผล ดังตาราง 3



ภาพประกอบ 4 ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมัน

ตาราง 2 ปริมาณสารโพลาร์และการแปลผล
สีของสารละลายชั้นบน ร้อยละของปริมาณสารโพลาร์ การแปลผล
ชมพู 25 เป็นน้ำมันที่เสื่อมแล้วไม่ควรใช้

3. การเก็บรักษาและอายุการใช้งาน
1. สารโพลาร์ 3 เมื่อใช้เสร็จให้เก็บในกล่อง เนื่องจากเป็นสารที่ไวต่อแสง ซึ่งจะทำให้ชุดทดสอบมีอายุการใช้งานลดลง
2. เก็บที่อุณหภูมิห้องได้นาน 12 เดือน

5.6.4 แผ่นทดสอบ (Examination Paper) [5]
น้ำมันเป็นส่วนสำคัญในการทำอาหารประเภททอดต่าง ๆ ซึ่งถ้าน้ำมันที่ใช้เสื่อมสภาพจะเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง กลิ่น-รสและคุณภาพของอาหาร มีหลายวิธีในการวัดมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันและไขมัน และอาหารที่มีน้ำมันและไขมันเป็นองค์ประกอบ ซึ่งวิธีหนึ่งที่ง่ายและได้ผลที่เชื่อถือได้ คือ การวัดค่าความเป็นกรด (Acid Value) ซึ่งตามโรงงานทั่วไปจะใช้ แผ่นทดสอบ (Examination Paper) ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันหลังการทอด



ภาพประกอบ 5 สีของแผ่นทดสอบ (Examination Paper)
- อาหารที่ต้องการสีเหลืองทองสวยงาม เช่น shrimp Tempura ค่าของกระดาษทดสอบจะไม่เกิน 1 (สีเขียว)
- อาหารทั่วไปและอาหารที่มีการคลุกเกล็ดขนมปัง เช่น Chicken Fry, Shrimp Torpedo, Shrimp Butterflyค่าของกระดาษทดสอบจะไม่เกิน 2 (สีเขียวอ่อน)
- อาหารที่เป็นแผ่นแป้ง เช่น MoneyBag, Samoza, Spring Roll ค่าของกระดาษทดสอบจะไม่เกิน 3 (สีเขียวอมเหลือง)
ค่าของกรด (Acid Value) หมายถึง จำนวนมิลลิกรัมของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ที่ทำปฏิกิริยาเป็นกลาง (Neutralize) พอดีกับกรดไขมันอิสระที่มีอยู่ในน้ำมัน หรือไขมัน 1 กรัม กรดไขมันอิสระนี้มาจากการสลายตัวของไตรกลีเซอไรด์ ทางเคมีหรือจากการกระทำโดยความร้อน แสง ค่าของกรดนี้เป็นเครื่องชี้วัดว่า น้ำมันมีคุณภาพดีหรือไม่ ซึ่งน้ำมันที่มีคุณภาพดี หรือยังไม่ได้มีการใช้งานจะมีค่าของกรดต่ำกว่า ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมัน การใช้งานและการเก็บรักษา การทดสอบคุณภาพของน้ำมัน จะต้องวัดเมื่อน้ำมันอยู่ที่อุณภูมิปกติ ห้ามวัดในขณะที่น้ำมันมีอุณหภูมิสูง

5.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากบทที่หนึ่งได้ทราบแล้วว่างานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นในด้านการสร้างและทดสอบหม้อผลิตน้ำมันหมูชนิดสุญญากาศ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นที่จะศึกษาให้ทราบถึงความสามารถและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการผลิตน้ำมันหมูดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งในการออกแบบนั้น จำเป็นต้องทำการศึกษาถึงหลักการทำงานของกระบวนการอบภายใต้สภาวะสุญญากาศ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องศึกษางานวิจัยที่ผู้ทำมาก่อนเพื่อให้ทราบถึงแนวคิด สมบัติ และปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการผลิตน้ำมันหมูภายใต้สภาวะสุญญากาศนอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันการระเมิดสิทธิบัตรของผู้วิจัยท่านอื่น ซึ่งจากอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมีนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศได้ศึกษาในหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังศึกษามากมาย อาทิเช่น
ภัทวรา ปฐมรังษิยังกุล ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับแคบหมูไร้มันเป็นอาหารที่คนไทยจำนวนมากนิยมรับประทาน มีโปรตีนสูง ปกติการผลิตแคบหมูไร้มันใช้การทอดแบบน้ำมันท่วมที่มีอุณหภูมิสูง180 - 200องศาเซลเซียส ที่ความดันบรรยากาศปกติ ซึ่งทำให้น้ำมันออกซิเดชั่นง่าย แคบหมูจะมีกลิ่นหืนเร็วภายใน 2-3 วัน และมีโอกาสเกิดสารก่อมะเร็งพวกอนุมูลอิสระมาก แต่สามารถพัฒนาแคบหมูไร้มันให้มีคุณภาพที่เป็นมิตรกับสุขภาพมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีการทอดแบบสุญญากาศ ซึ่งทำการทอดที่อุณหภูมิต่ำกว่าการทอดน้ำมันท่วม โดยทฤษฎีจะช่วยถนอมวิตามินและสารอาหาร และระหว่างการทอดมีออกซิเจนสัมผัสแคบหมูและน้ำมันน้อยมากดังนั้นจึงเกิดออกซิเดชันของไขมันและสารก่อมะเร็งน้อยกว่า แคบหมูหืนช้า สามารถเก็บได้ประมาณ 10 ถึง 14 วัน จึงจะเริ่มมีกลิ่นหืน (เก็บในถุงพลาสติกใสถุงร้อนธรรมดา หากเก็บในถุงกันแสงและความชื้นได้ จะเก็บได้นานกว่านี้) และในเครื่องทอดมีการเหวี่ยงน้ำมันจึงทำให้แคปหมูมีไขมันน้อยกว่าแคปหมูทอดที่ความดันปกติ แคบหมูไร้มันทอดสุญญากาศดีต่อสุขภาพมากกว่าการนำไปทอดที่ความดันปกติ โดยใช้เทคโนโลยีการทอดแบบสุญญากาศ ทำให้ทอดแคปหมูให้พองได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า180 ถึง 200 องศาเซลเซียส เมื่อทอดที่อุณหภูมิต่ำจะทำลายวิตามินและสารอาหารน้อยลง และในหม้อทอดเป็นสุญญากาศจึงมีออกซิเจนสัมผัสแคบหมูและน้ำมันน้อยมาก ดังนั้นจึงเกิดออกซิเดชันของไขมันและสารก่อมะเร็งน้อยกว่า ทำให้ใช้น้ำมันทอดซ้ำได้จำนวนหลายครั้งด้วย ช่วยประหยัดน้ำมันทอด ลดต้นทุนและลดของเสียที่ต้องกำจัดจากโรงงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และในเครื่องทอดมีการเหวี่ยงน้ำมันจึงทำให้แคปหมูมีไขมันน้อยกว่าแคบหมูที่ความดันปกติ


ภาพประกอบ 6 แคบหมูไร้มันเพื่อสุขภาพ หืนช้าและไขมันต่ำด้วยการทอดแบบสุญญากาศ

ชัยวัฒน์ เผ่าสันทัดพานิชย์ ได้ดำเนินการศึกษาและสำรวจข้อมูลการใช้เครื่องทอดสุญญากาศที่มีใช้อยู่ในกระบวนการผลิตทุเรียนทอดสุญญากาศ ผลการสำรวจในพื้นที่ภาคตะวันออกที่มีการปลูกทุเรียนมากคือ จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด พบว่า มีการใช้เครื่องทอดสุญญากาศจำนวน 4 ราย พบในจังหวัดจันทบุรี 3 ราย และในจังหวัดตราด 1 ราย ทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก โดยมีขนาดกำลังผลิตสูงสุดไม่เกิน 50 กิโลกรัมต่อครั้ง มีทั้งแบบสลัดน้ำมันในถังทอดและไม่มี ราคาเครื่องมีตั้งแต่ 3 แสนบาท จนถึง 5 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับขนาดกำลังผลิตและอุปกรณ์ในระบบ ปัญหาที่พบคือ การดักไอเดือดของน้ำและน้ำมันพืชก่อนเข้าปั๊มสุญญากาศมีประสิทธิภาพต่ำ จากนั้นมีการศึกษาพัฒนาออกแบบเครื่องทอดสุญญากาศสำหรับทอดทุเรียนสุกได้ที่อุณหภูมิต่ำ ได้เครื่องทอดสุญญากาศต้นแบบที่ออกแบบประกอบด้วย 1) ถังทอดแบบปิดสนิทลักษณะทรงกระบอกตั้ง มีตะกร้าทอดทรงกระบอกวางแนวตั้งภายในและมีแกนหมุนปรับเร็วและช้าได้ ความสามารถในการทอด 5 กิโลกรัมต่อครั้ง มีการสลัดน้ำมันในถังทอด 2) ระบบให้ความร้อนกับน้ำมันทอด แบบผ่านตัวกลางเป็นน้ำมันถ่ายเทความร้อนโดยใช้แก๊สหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง 3) ถังพักและสำรองน้ำมันทอด 4) ระบบปั๊มหมุนเวียนน้ำมันทอดออกจากถังทอด 5) ระบบชุดดับไปเดือดของน้ำมันและน้ำมันจากถังทอดก่อนเข้าปั๊มสุญญากาศ และ6) เครื่องปั๊มสุญญากาศแบบMechanical Booster Pumpผลทดสอบและแก้ไขปรับปรุงต้นแบบเครื่องทอดสุญญากาศ พบว่า ชิ้นเนื้อทุเรียนดิบหั่น จำนวน 5 กิโลกรัม มีสภาวะการทอดเหมาะสมที่อุณหภูมิทอด 85 องศาเซลเซียส ใช้เวลาทอด 35 นาที และการสลัดน้ำมันใช้เวลา 20 นาที โดยสร้างระดับสุญญากาศสูงสุดได้ 740 - 760 มิลลิเมตรปรอท ได้ผลิตภัณฑ์หลังทอดจำนวน 2 กิโลกรัมและชิ้นเนื้อทุเรียนสุกหั่นสี่ส่วน จำนวน 5 กิโลกรัม มีสภาวะการทอดเหมาะสมที่อุณหภูมิทอด 85 องศาเซลเซียส ใช้เวลาทอด 40 นาทีและการสลัดน้ำมันใช้เวลา 30 นาทีโดยสร้างระดับสุญญากาศสูงสุดได้ 740 - 760 มิลลิเมตรปรอท ได้ผลิตภัณฑ์ล้างทอดจำนวน 2.1 กิโลกรัม ต้นแบบเครื่องทอดสุญญากาศมีการศึกษาทดสอบเครื่องปั๊มสุญญากาศแบบ Water jetพบว่า สามารถทดแทนการใช้เครื่องปั๊มสุญญากาศแบบ Mechanical Booster Pump ได้ โดยสร้างระดับสุญญากาศสูงสุดเพียง 720 มิลลิเมตรปรอท สามารถทอดเนื้อทุเรียนดิบความหนา 6-8 มิลลิเมตรจำนวน 5 กิโลกรัม ที่สภาวะการทอดเหมาะสม ที่อุณหภูมิทอด 85 องศาเซลเซียส ใช้เวลาทอด 30 นาที และการสลัดน้ำมันใช้เวลา 20 นาทีได้ผลิตภัณฑ์ล้างทอดจำนวน 2.15 กิโลกรัม



ภาพประกอบ 7 แสดงส่วนประกอบต้นแบบเครื่องทอดสุญญากาศ

1) ถังทอด (A)
- ถังทอด เป็นถังชนิด 3 ชั้น วัสดุเป็นสเตนเลส ความจุประมาณ 100 ลิตร ขนาดภายใน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 525 มิลลิเมตร สูง 890 มิลลิเมตร หนา 3 มิลลิเมตร ผนังชั้นแรกหล่อด้วยน้ำมันเก็บถ่ายความร้อน ผนังชั้นที่ 2 หุ้มด้วยฉนวนใยแก้วกันความร้อน
- มีตะกร้าทอด วัสดุเป็นสเตนเลส มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 350 มิลลิเมตร สูง 250 มิลลิเมตร ผนังเป็นรูตะแกรง ขนาด 3 มิลลิเมตร ติดตั้งภายในถังทอด ใช้หมุนเหวี่ยงสลัดน้ำมันได้
- มีต้นกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ 380 โวลท์ขนาด 2 แรงม้า ใช้ขับเพลาหมุนของตะกร้าทอดในถังทอด
2) ถังพักน้ำมันทอด (B)
- ถังพักน้ำมันทอด เป็นถังชนิดชั้นเดียววัสดุเป็นสเตนเลส ความจุประมาณ 100 ลิตร ขนาดภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 525 มิลลิเมตร สูง 890 มิลลิเมตร หนา 3 มิลลิเมตร ใช้เก็บพักและหมุนเวียนน้ำมันทอดจากถังทอด
3) ระบบปั๊มหมุนเวียนน้ำมันทอด (C)
- ท่อเดินน้ำมันทอด วัสดุเป็นสเตนเลสมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร ใช้หมุนเวียนน้ำมันทอดระหว่างถังทอดและถังพักน้ำมันทอด โดยให้ไหลผ่านชุดกรองแยกเศษผลิตผลก่อนเข้าสู่ถังพัก
- เป็นปั๊มหมุนเวียนน้ำมันทอด แบบ 380 โวลท์ขนาด 1 แรงม้า อัตราไหล 5 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมงสำหรับส่งน้ำมันทอดจากถังพักไปเข้าถังทอด
4) ระบบให้ความร้อนกับน้ำมันทอด (D)
- เป็นหัวเตาเผาเชื้อเพลิงแก๊สหุงต้ม สำหรับให้ความร้อน ผ่านก้นถังทอดและผ่านสู่ตัวกลางซึ่งเป็นน้ำมันเก็บถ่ายความร้อนสูง แล้วถ่ายเทความร้อนสู่น้ำมันทอด
- มีถังบรรจุแก๊สหุงต้ม และอุปกรณ์วาล์วควบคุมความดัน
- มีหัววัดและควบคุมอุณหภูมิน้ำมันทอด ชนิดเทอร์โมคัปเปิ้ลแบบเค โดยการวัดและควบคุมระดับอุณหภูมิความร้อนของน้ำมันทอดตามที่ต้องการ
- มีชุดสวิตช์เทอร์โมสแตทและโซลินอยด์วาล์ว ควบคุมการเปิด-ปิดของโซลินอยด์วาล์วซึ่งจ่ายการไหลของแก๊สผ่านท่อสู่หัวเตาเผา โดยใช้โซลีนอยด์วาล์วเปิดปิดแก๊ส
5) ระบบชุดควบแน่นไอเดือดของอากาศ ประกอบด้วย
5.1 อุปกรณ์ควบแน่นไอเดือด (E)
- เป็นอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน วัสดุเป็นสเตนเลส มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 150 มิลลิเมตร ยาว 500 มิลลิเมตร สำหรับดักไอน้ำและน้ำมันของอากาศที่ออกมาจากถังทอด โดยมีน้ำเย็นจากเครื่องลดอุณหภูมิน้ำมาหมุนเวียนแลกเปลี่ยนความร้อน
- มีท่อเดินอากาศ วัสดุเป็นสเตนเลส มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตร ใช้ดูดอากาศออกจากถังทอดและถังพัก เข้าสู่เครื่องปั๊มสุญญากาศโดยให้ไหลผ่านอุปกรณ์ควบแน่นไอเดือดก่อนเข้าเครื่องปั๊มสุญญากาศ
5.2 เครื่องลดอุณหภูมิน้ำ (F)
- เป็นเครื่องหล่อเย็น (Cooling tower) ขนาด 5 ตัน สำหรับระบายความร้อนจากน้ำ
- มีพัดลมไฟฟ้าแบบ 380 โวลท์ขนาด 1/6 แรงม้า ใช้เป่าลดอุณหภูมิน้ำให้เย็นลง
- มีปั๊มหมุนเวียนน้ำ แบบ 380 โวลท์ ขนาด 1 แรงม้า อัตราไหล 100 ลิตร/ นาที ใช้ส่งน้ำเย็นหมุนเวียนระหว่างเครื่องลดอุณหภูมิน้ำและอุปกรณ์ควบแน่นไอเดือด
- มีท่อเดินน้ำเย็น วัสดุเป็นท่อพลาสติก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร ใช้หมุนเวียนน้ำเย็นระหว่างเครื่องลดอุณหภูมิน้ำและอุปกรณ์ควบแน่นไอเดือด
6) เครื่องปั๊มสุญญากาศ แบบ Mechanical Booster Pump (G)
- เป็นเครื่องปั๊มสุญญากาศ ระบบการปั๊มแบบผสม โดยมีการทำงาน 2 ขั้นตอน ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับแต่ละช่วงของความดัน ขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนยกความดัน โดยปั๊มตัวแรก (ตัวล่าง) จะเพิ่มความดันสุญญากาศจนถึงระดับที่ยอมรับประมาณ 680 มิลลิเมตรปรอท และปั๊มตัวที่สอง(ตัวบน) ในขั้นตอนสุดท้าย จะเป็นการปั๊มหนุน (backing pump) ทำให้ความดันสุญญากาศลงลึกถึงระดับสูงสุดได้ 759.2 มิลลิเมตรปรอท (0.8 ทอร์)
- ปั๊มตัวแรก ใช้ไฟฟ้าแบบ 380 โวลท์ขนาด 5 แรงม้า
- ปั๊มตัวที่สอง ใช้ไฟฟ้าแบบ 380 โวลท์ขนาด 3 แรงม้า
- ความสามารถดูดอากาศได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ประมาณ 5.7 ลูกบาศก์เมตร/ นาที

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของคนในชุมชน ตำบลโนนโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยละ 7เป้าหมายระยะเวลา 1 ปี

ลดปัญหาความยากจน และสร้างรายได้จากการส่งเสริมอาชีพทางด้านการเกษตรให้คนในชุมชนตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยละ 7เป้าหมาย ระยะเวลา 1 ปี

7.00 1.00
2 เพื่อพัฒนาการบริหารการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและระบบการจัดการ เห็ดโรงเรือน เพื่อการนำมาสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์

มีการพัฒนาการบริหารการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและมีความเป็นระบบมากขึ้นร้อยละ60 เป้าหมาย 1 ปี

60.00 1.00
3 เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ สู่ช่องทางการตลาด ด้วยช่องทางการตลาดผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ

มีผลิตภัณฑ์ใหม่ สู่ช่องทางการตลาด ด้วยช่องทางการตลาดผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศร้อยละ 60 เป้าหมาย 1 ปี

60.00 1.00
4 เพื่อออกแบบนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี สู่กระบวนการผลิตภัณฑ์ใหม่

ออกแบบนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี สู่กระบวนการผลิตภัณฑ์ใหม่ร้อยละ 60 เป้าหมาย1 ปี

60.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สมาชิกวิสาหกิจชุมชนตำบลโนนสูง และคนในชุมชน 60

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมย่อยที่ 1 การพัฒนาการบริหารการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและระบบการจัดการ เห็ดโรงเรือน เพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อยที่ 1 การพัฒนาการบริหารการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและระบบการจัดการ เห็ดโรงเรือน เพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของคนในชุมชน ตำบลโนนโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยละ 7เป้าหมายระยะเวลา 1 ปี
  2. เพื่อพัฒนาการบริหารการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและระบบการจัดการ เห็ดโรงเรือน เพื่อการนำมาสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม
1.ลงพื้นที่ สัมภาษณ์เชิงลึกโดยแบบสัมภาษณ์
2.จัดประชุมกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์เชิงลึก
3.จัดประชุมระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพ และข้อจำกัดและแนวทางการจัดการวิสากิจชุมชน


4.ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกระบวนการจัดการการผลิต และแนวทางการในพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า
5.ลงพื้นที่การติดตาม ปัญหา ข้อจำกัด
6.ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกระบวนการจัดการโรงเรือนเห็ด และแนวทางการในพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า
7.ลงพื้นที่การติดตาม ปัญหา ข้อจำกัด
8.สรุปผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤศจิกายน 2562 ถึง 11 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต : มีการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เป็นรูปอย่างยั่งยืน 1 กลุ่ม
ผลลัพธ์ : วิสาหกิจชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและมีความเป็นระบบมากขึ้น 1 กลุ่ม
ทรัพยากรอื่น ๆ
-
ภาคีร่วมสนับสนุน
-
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
อื่น ๆ

วันหยุดราชการ วันละไม่เกิน 7 ชั่วโมง ๆ ละ 60 บาท) (จำนวน 4 วัน x 7 ชั่วโมง x 60 บาท x 6 คน)

6 คน 1,680 1 10,080
ค่าเช่ารถ

ค่าชดเชยรถยนต์ส่วนบุคคล (x 45 กม. x 4 บาท x 10 เที่ยว)

10 เที่ยว 450 1 4,500
ค่าถ่ายเอกสาร

จ้างถ่ายเอกสารแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (300 ชุด x 5 บาท)

300 ชุด 5 1 1,500
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

จ้างทำป้ายไวนิลโครงการวิจัย ขนาด 1.5 x 2 เมตร (1 ป้าย x 500 บาท)

1 ชิ้น 500 1 500
ค่าเช่าสถานที่

ค่าจัดสถานที่ในการดำเนินการจัดประชุม (4 วัน x 2,000 บาท)

4 ครั้ง 2,000 1 8,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวัน (70 คน x 120 บาท x 4 มื้อ)

70 คน 120 4 33,600
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (70 x 35 บาท x 8 มื้อ)

70 คน 35 8 19,600
ค่าถ่ายเอกสาร

จ้างทำเล่มรายงานวิจัยฉบับร่าง (3 เล่ม x 200 บาท)

3 ชิ้น 200 1 600
ค่าถ่ายเอกสาร

จ้างทำเอกสารรูปเล่มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (10 เล่ม x 500 บาท)

10 ชิ้น 500 1 5,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

ปากกา (5 กล่อง x 250 บาท) -หมึกเครื่องปริ้นเตอร์ (2 ตลับ x 2,000 บาท) -กระดาษชาร์ท (50 แผ่น x 10 บาท) - กระเป๋าใส่เอกสาร (70 ใบ x 80 บาท) -ปากกาเคมี (5 กล่อง x 300 บาท) - กระดาษ A4 80 แกรม (5 รีม x120 บาท) - กระดาษชาร์ทสี 80 แกรม (2 รีม x 185 บาท)

1 ชุด 12,720 1 12,720
ค่าถ่ายเอกสาร

จ้างทำรูปเล่มเอกสารประกอบการแสดงความคิดเห็นกลุ่ม (70 ชุด x 50 บาท)

70 ชุด 50 1 3,500
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าธรรมเนียมอุดหนุนสถานศึกษา ร้อยละ 10

1 ครั้ง 15,000 1 15,000
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวัน (30 คน x 120 บาท x 2 มื้อ)

30 คน 120 2 7,200
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (30 x 35 บาท x 4 มื้อ)

30 คน 35 4 4,200
อื่น ๆ

จ้างทำคู่มือการบริหารการผลิต (240 เล่ม x 50 บาท

240 ชุด 50 1 12,000
อื่น ๆ

จ้างทำคู่มือระบบการจัดการโรงเรือน (240 เล่ม x 50 บาท

240 ชุด 50 1 12,000
รวมค่าใช้จ่าย 150,000

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมย่อยที่ 2 พัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์และการออกแบบ ผลิตภัณฑ์จากเห็ด ผ่านช่องทางการตลาด ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ และนักศึกษาหลักสูตรริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อยที่ 2 พัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์และการออกแบบ ผลิตภัณฑ์จากเห็ด ผ่านช่องทางการตลาด ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ และนักศึกษาหลักสูตรริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของคนในชุมชน ตำบลโนนโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยละ 7เป้าหมายระยะเวลา 1 ปี
  2. เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ สู่ช่องทางการตลาด ด้วยช่องทางการตลาดผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ
รายละเอียดกิจกรรม
1.ลงพื้นที่สำรวจ ปัญหา ข้อจำกัด ของกลุ่มผลิตภัณฑ์เห็ดบ้านโนนสูง จำนวน 2 วัน
2.ประชุมแลกเปลี่ยนองค์วามรู้ด้านการจัดการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และการตลาดอย่างมีส่วนร่วม จำนวน 2 วัน
3.ประชุมกลุ่มเพื่อหาแนวทางการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน จำนวน 2 วัน
4.ลงพื้นที่ ติดตาม การจัดการกลุ่มและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 วัน
5.สรุปผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤศจิกายน 2562 ถึง 11 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชน และสามารถนำเสนอขายได้จริง ร้อยละ 10 ของรายได้เดิม ผลลัพธ์ : ผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชน เป็นทียอมรับของตลาด ร้อยละ 10
ผลผลิต :ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ร้อยละ 10 ของรายได้เดิม
ผลลัพธ์ : ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ จำนวน 1 ชิ้น
ผลผลิต :นำเสนอขายได้จริง ร้อยละ 10
ผลลัพธ์ : เป็นทียอมรับของตลาด ร้อยละ 10
ทรัพยากรอื่น ๆ
-
ภาคีร่วมสนับสนุน
-
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าปฎิบัติงานล่วงเวลา (วันหยุดราชการ วันละไม่เกิน 7 ชั่วโมง ๆ ละ 60 บาท) (จำนวน 4 วัน x 7 ชั่วโมง x 60 บาท x 6 คน) 10,080-

6 คน 1,680 1 10,080
ค่าอาหาร

ค่าอาหารกลางวัน 70 คน x 2 วัน x 120 บาท

70 คน 120 4 33,600
ค่าอาหาร

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คน x 35 บาท x 4 ครั้ง

70 คน 35 8 19,600
ค่าเช่าสถานที่

ค่าเช่าสถานที่ 4 วัน x 2,000 บาท

4 ครั้ง 2,000 1 8,000
ค่าถ่ายเอกสาร

จ้างทำเอกสารประกอบการอบรม 70 เล่ม x 100 บาท

70 ชิ้น 50 1 3,500
ค่าเช่ารถ

ค่าชดเชยรถยนต์ส่วนบุคคล 45 กม. X 4 บาท x 10 เที่ยว

10 เที่ยว 450 1 4,500
ค่าถ่ายเอกสาร

จ้างเหมาบริการจัดทำคู่มือ 120 เล่ม x 100 บาท

100 ชิ้น 150 1 15,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

จ้างจัดบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ 2 งาน x 10,000 บาท

2 คน 10,000 1 20,000
ค่าวัสดุสำนักงาน

แฟ้มสอดใส่เอกสาร 2x 100 200- หมึกเครื่องปริ้นเตอร์ 2 x 2,000 บาท 4000- ปากกา 1 กล่อง x 250 บาท 250- กระดาษ A4 80 แกรม 5 รีม x 120 บาท 600-

1 ชุด 5,050 1 5,050
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

กระดาษฟริบชาร์ต 50 แผ่น x 10 บาท 500- ปากกาเมจิกสี 10 กล่อง x 150 บาท 1,500- ปากกา 3 กล่อง x 250 บาท 750- กระเป๋าใส่เอกสาร 70 ใบ x 80 บาท 5,600- ค่าวัตถุดิบในการออกแบบ (ความต้องการของชุมชน) 2,320-

1 ชุด 10,670 1 10,670
อื่น ๆ

ค่าธรรมเนียมอุดหนุนสถานศึกษา ร้อยละ 10

1 ครั้ง 15,000 1 15,000
ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์

จ้างทำฉลากผลิตภัณฑ์ (ขนาด 127ซม. x 50 ซม.) 5,000-

1 ครั้ง 5,000 1 5,000
รวมค่าใช้จ่าย 150,000

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมย่อยที่ 3 การออกแบบเครื่องช่วยในกระบวนการผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี(นักศึกษาหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล(ต่อเนื่อง))

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อยที่ 3 การออกแบบเครื่องช่วยในกระบวนการผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี(นักศึกษาหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล(ต่อเนื่อง))
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของคนในชุมชน ตำบลโนนโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยละ 7เป้าหมายระยะเวลา 1 ปี
  2. เพื่อออกแบบนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี สู่กระบวนการผลิตภัณฑ์ใหม่
รายละเอียดกิจกรรม
1.ศึกษา/รวบรวมข้อมูล
2.ร่างต้นแบบ/ออกแบบรายละเอียด
จัดหาวัสดุอุปกรณ์
3.ดำเนินการสร้าง/ประกอบ
4.ทดสอบการทำงาน/ปรับปรุงแก้ไข
5.สรุปผลโครงการและจัดทำรายงาน/จัดทำคู่มือ/ถ่ายทอดเทคโนโลยี
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤศจิกายน 2562 ถึง 11 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
ผลผลิต : เครื่องมือลดต้นทุนการผลิต ร้อยละ 5
ผลลัพธ์ : ลดต้นทุนการผลิต ร้อยละ 5 สร้างรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7
ทรัพยากรอื่น ๆ
-
ภาคีร่วมสนับสนุน
-
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
ค่าตอบแทนวิทยากร

ค่าปฎิบัติงานล่วงเวลา - วันหยุดราชการ วันละ 7 ชั่วโมง ๆ ละ 60 บาท x 5 วัน x 3 คน 6,300.00-

1 ครั้ง 6,300 1 6,300
ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้

- หัวเตาแก๊สอินฟาเหรด (9,000 บาท x 1 ตัว) 9,000.00- - กล่องควบคุมแก๊ส (4,500 บาท x 1 ชุด) 4,500.00- - เข็มจุดแก๊ส (1500 บาท x 1 ตัว) 1,500.00- - โซลีนอยด์วาล์ว 2 ขนาด 1/2 นิ้ว (1,200 บาท x 2 ตัว) 2,400.00- - ชุดข้อต่อและหัวปรับแรงดันแก๊ส (4,000 บาท x 2 ชุด) 8,000.00- - สแตนเลสแผ่น เกรด 304 (ขนาด 1,200 x 2,400 x หนา 2 มม. x 6 แผ่น) 34,500.00- - สแตนเลสกล่อง เกรด 304 (ขนาด 2 นิ้ว x 2 นิ้ว x หนา 2 มม. x 10 กล่อง) 28,000.00- - สแตนเลสแผ่น ชนิดมีรูตะแกรงขนาด 5 มม. เกรด 304 (ขนาด 1,200 x 2,400 x หนา 2 มม. x 1 แผ่น) 9,000.00- - เทอร์โมคัปเปิ้ล ชนิด K (1,800 บาท x 2 ตัว) 3,600.00- - อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (4,800 บาท x 1 ตัว) 4,800.00- - ชุดตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า 16,400.00- - อุปกรณ์ลดความดัน 22,000.00- - เกจวัดความดัน 1,850.00- - ชุดกรองไอน้ำมัน 11,750.00- - ชุดควบแน่นไอน้ำมัน 16,400.00-

1 ครั้ง 173,700 1 173,700
อื่น ๆ

ค่าธรรมเนียมอุดหนุนสถาบัน ร้อยละ 10

1 ครั้ง 20,000 1 20,000
รวมค่าใช้จ่าย 200,000

รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 500,000.00 บาท

ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุอื่น ๆรวมเงิน
ค่าใช้จ่าย (บาท) 31,380.00 25,500.00 171,900.00 202,140.00 69,080.00 500,000.00
เปอร์เซ็นต์ (%) 6.28% 5.10% 34.38% 40.43% 13.82% 100.00%

11. งบประมาณ

500,000.00บาท

12. การติดตามประเมินผล

ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
ผลผลิต (Output) มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ต่อปี
มีการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เป็นรูปอย่างยั่งยืน 1 กลุ่ม
มีระบบการบริหารจัดการ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน มากขึ้น 1ระบบ
ผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชน และสามารถนำเสนอขายได้จริง ร้อยละ 10 ของรายได้เดิม
ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ร้อยละ 10 ของรายได้เดิม
นำเสนอขายได้จริง ร้อยละ 10
เครื่องมือลดต้นทุนการผลิต ร้อยละ 5
1. การเรียนในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ
2. สามารถเทียบโอนรายวิชา
2.1 รหัสวิชา 08-035-407 โครงงานเทคโนโลยีเครื่องกลจำนวน 3 หน่วยกิต
2.2 รหัสวิชา BA-042-020คอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับงานธุรกิจ จำนวน 4 หน่วยกิต
2.3 รหัสวิชา 05-052-201ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ จำนวน 3 หน่วยกิต
2.4 รหัสวิชา 05-052-306เทคนิคการจัดการสมัยใหม่ จำนวน 3 หน่วยกิต
2.5 รหัสวิชา 05-051-202การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จำนวน3 หน่วยกิต
ผลลัพธ์ (Outcome) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7
วิสาหกิจชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและมีความเป็นระบบมากขึ้น 1 กลุ่ม
มีระบบการบริหารจัดการ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชน เป็นทียอมรับของตลาด ร้อยละ 10
ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ จำนวน 1 ชิ้น
เป็นทียอมรับของตลาด ร้อยละ 10
ลดต้นทุนการผลิต ร้อยละ 5
1. การเรียนในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ
2. สามารถเทียบโอนรายวิชา
2.1 รหัสวิชา 08-035-407 โครงงานเทคโนโลยีเครื่องกลจำนวน 3 หน่วยกิต
2.2 รหัสวิชา BA-042-020คอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับงานธุรกิจ จำนวน 4 หน่วยกิต
2.3 รหัสวิชา 05-052-201ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ จำนวน 3 หน่วยกิต
2.4 รหัสวิชา 05-052-306เทคนิคการจัดการสมัยใหม่ จำนวน 3 หน่วยกิต
2.5 รหัสวิชา 05-051-202การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จำนวน3 หน่วยกิต
ผลกระทบ (Impact) มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ต่อปีจากการประกอบอาชีพโรงเรือนเพาะเห็ด
มีกลุ่มวิสาหกิจ 1 กลุ่ม
คุณภาพและมาตรฐาน 1ระบบ
ผลิตภัณฑ์ใหม่ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7
ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวน 1 ชิ้น
สร้างรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7
สร้างรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7
1. การเรียนในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ
2. สามารถเทียบโอนรายวิชา
2.1 รหัสวิชา 08-035-407 โครงงานเทคโนโลยีเครื่องกลจำนวน 3 หน่วยกิต
2.2 รหัสวิชา BA-042-020คอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับงานธุรกิจ จำนวน 4 หน่วยกิต
2.3 รหัสวิชา 05-052-201ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ จำนวน 3 หน่วยกิต
2.4 รหัสวิชา 05-052-306เทคนิคการจัดการสมัยใหม่ จำนวน 3 หน่วยกิต
2.5 รหัสวิชา 05-051-202การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จำนวน3 หน่วยกิต
นำเข้าสู่ระบบโดย Duanguppama.s Duanguppama.s เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 02:59 น.