การพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงวัยด้วยวิถีอิสลาม

แบบเสนอโครงการ
การพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงวัยด้วยวิถีอิสลาม

1. ชื่อโครงการ

การพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงวัยด้วยวิถีอิสลามวิทยาลัยชุมชน สตูลวิทยาลัยชุมชนสตูลสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูลเขาขาวฮารูณ ราโอบ404 ม.2 ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล 91160089-4803970สุริยา หะยีเหย็บ
ผู้รับใบอนุญาตสถาบันปอเนาะดารุลกุรอาน

2. พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สตูล ควนโดน ควนสตอ

3. รายละเอียดชุมชน

ประวัติความเป็นมาของตำบลเขาขาว

ตามตำนานเล่าขานมาว่ามีพระยา๒คนแย่งทำมาหากินกันในพื้นที่ดังกล่าวนี้เพราะดินใน

บริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มาก กองทัพของพระยาทั้งสองได้รบกันเป็นเวลานาน แต่ไม่สามารถเอาชนะกันได้ต่อมาจึง “หย่าทัพ” กัน (ยุติการรบ) ซึ่งเรียกเป็นภาษามลายูว่า “ตอละ” แปลว่าเลิกแล้วตกลงแบ่งพื้นที่ออกเป็น๒ฝ่าย คือ ฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ เรียกว่า ตอละเหนือและตอละใต้ (ตอละเหนือ คือ ตำบลน้ำผุดในปัจจุบันนี้ ส่วนตอละใต้คือตำบลเขาขาวในปัจจุบัน)

ตอละเหนือมีขุนสำราญ เป็นผู้ปกครอง ส่วนตอละใต้มีขุนภิรมย์เป็นผู้ปกครอง (ขุนภิรมย์เดิมชื่อ นายผอม นกเกษม) มีผู้ใหญ่บ้านชื่อนายเหลบ ซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นสนิท

ตอละใต้เปลี่ยนชื่อมาเป็นตำบลเขาขาวเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓มีกำนันเอ๊ะติ้งดำเป็นกำนันคนแรกของตำบล เหตุที่เปลี่ยนมาเป็นตำบลเขาขาว เพราะมีภูเขาใหญ่ที่มียอดสูงที่สุดและที่ด้านหน้าของภูเขามีหน้าผาสีขาวขนาดใหญ่มองเห็นได้เด่นชัด และบนยอดเขาดังกล่าวมีบ่อน้ำอยู่บ่อหนึ่งซึ่งไม่เคยแห้งเลยทุกฤดูกาล ในสมัยโบราณชาวบ้านนับถือกันมากและพากันกราบไหว้าบูชาบนบานศาลกล่าวในเรื่องต่าง ๆ มากมายและเรียกกันว่า “ทวดโต๊ะเขาขาว”

ปัจจุบันราษฎรได้ตั้งถิ่นฐานรวมกันเป็นชุมชนบ้านเรือนอยู่ในสองฟากของถนนเพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมา และมีบางส่วนที่สร้างบ้านเรือนอยู่ในสวนซึ่งเป็นที่ดินของตนเอง ดำเนินชีวิตเรียบง่ายแบบชาวบ้านชนบท ภายใต้วัฒนธรรมแบบอิสลาม มีมัสยิดหรือสุเหร่าเป็นจุดศูนย์กลางและเป็นศูนย์รวมของชุมชน ราษฎรนับถือศาสนาอิสลามประมาณ๙๖เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด ส่วนอีกประมาณร้อยละ๔นับถือศาสนาพุทธ

๑.๒ สภาพภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม บางส่วนที่เป็นเนินสูงเช่นบ้านบ่อหินสภาพพื้นดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วน ดินเหนียวมีลำคลองใหญ่และเล็กหลายสาย เช่นคลองละงูคลองลำจุหนุงคลองลำปาโร๊ด และมีหนองน้ำอีกหลายแห่ง ในฤดูฝนมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพทางด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนา ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ และปลูกผักต่าง ๆเพื่อขายในจังหวัดและต่างจังหวัด ส่วนการคมนาคมใช้ทางบกเพียงทางเดียว

ที่ตั้ง

ตำบลเขาขาว ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอละงู ระยะทางประมาณ ๑๕กิโลเมตรและห่างจากจังหวัดสตูลประมาณ๖๐กิโลเมตรมีเนื้อที่ประมาณ ๓๙.๑๕๔กิโลเมตรหรือ ๒๔,๔๗๑.๒๕ ไร่

อาณาเขต

ทิศเหนือติดต่อกับตำบลกำแพง และบ้านลานเสือ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยมีแนวเขต

ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลละงู อำเภอละงูจังหวัดสตูล และตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล

ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลละงู อำเภอละงูจังหวัดสตูล

ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลกำแพงบ้านทุ่งเสม็ดตำบลกำแพงอำเภอละงูจังหวัดสตูล
ประชากร

ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวมีทั้งสิ้น๖,๔๔๕คนแยกเป็นชาย๓,๒๒๗คนและหญิง๓,๒๒๘ คนมีความหนาแน่น เฉลี่ย๑๖๔ คน/ตารางกิโลเมตร แยกรายละเอียดได้ดังนี้

๑.๔ ทรัพยากรธรรมชาติ หมายเหตุข้อมูล ณ วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๗

ทรัพยากรธรรมชาติที่พบว่ามีหลายชนิดเช่น แร่ธาตุ โดยแร่ธาตุที่ขุดพบ คือ พลวงและตะกั่วแต่ยังไม่มีการขุดในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้มีป่าไม้นานาพันธุ์ในบริเวณนี้ มีทั้งไม้สวยงามและไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้สาวดำไม้หมากพลูตั๊กแตนเป็นต้นสัตว์น้ำมีเฉพาะสัตว์น้ำจืดเพราะไม่มีพื้นที่ติดทะเล

๒.โครงสร้างพื้นฐาน

๒.๑ การคมนาคม

๒.๑.๑ ทางรถยนต์ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว มีเส้นทางคมนาคมทางหลวงชนบทที่

เชื่อมต่อระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีทางหลวงชนบทที่สำคัญได้แก่

๑. ทางหลวงชนบท หมายเลข ๓๐๐๗เป็นทางหลวงชนบทที่แยกจากทางหลวง

แผ่นดิน หมายเลข ๔๐๗๘ เป็นเส้นทางหลักที่สามารถเดินทางไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุดและมีเส้นทางหลวงชนบทที่เชื่อมต่อไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนาอำเภอมะนัง จังหวัดสตูล นอกจากนั้นก็เป็นเส้นทางหลวงชนบทที่ใช้ในเดินทางติดต่อภายในเขตพื้นที่ จำนวน ๕ สาย คือ

๑.สายบ้านเกาะแกล-บ้านหัวควน

๒.สายบ้านเกาะแกล-บ้านหาญ

๓.สายบ้านดาหลำ-บ้านนาข่า

๔.สายบ้านเกาะเปลว-ลำตอละ

๕.สายบ้านบ่อหิน-บ้านทุ่งเกาะปาบ

๒.๒ แหล่งน้ำ

๑) คลองละงู เป็นธรรมชาติไหลมาจากตำบลน้ำผุดไหลผ่านหมู่ที่๔, ๕, ๖ และ ๗ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเป็นคลองที่มีน้ำไหลผ่านตลอดปี

๒)คลองลำตอละและลำจุหนุง เป็นคลองตามธรรมชาติในช่วงแล้งน้ำจะแห้งไม่พอใช้สำหรับ

การเกษตร

๓)หนองพรุบุหลังเป็นหนองน้ำธรรมชาติมีเนื้อที่ประมาณ ๑๖ ไร่ ใช้สำหรับเลี้ยงปลาและทำ

การเกษตร

๓)ฝายน้ำล้น มี๔แห่ง

๔)บ่อน้ำตื้นมี๔๕๐บ่อ

๕)บ่อบาดาล มี๓๕บ่อ

๖)บ่อโยก มี๔๓บ่อ

๒.๓ การไฟฟ้ามีจำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงครบทุกหมู่บ้านและทุกหลังคาเรือน

๒.๔ การโทรคมนาคม มีโทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๖ แห่ง

๓. ด้านเศรษฐกิจ

สภาพเศรษฐกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวประชากรมีฐานะทางรอบครัวอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร เช่นสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทำนาทำไร่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพเสริม เช่น ทำขนมช่างเสริมสวยช่างตัดเย็บเสื้อผ้าช่างก่อสร้างปลูกผักสวนครัวเลี้ยงไก่ไข่ไก่เนื้อเลี้ยงแพะไก่ชนการปลูกผักผลไม้มีเกือบทุกชนิด เช่น ทุเรียนเงาะ มังคุดส้มโอ ขนุนส้มโชกุน เป็นต้น ส่วนอาชีพค้าขายมีอยู่โดยทั่วไปทุกหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นร้านขายของชำ

สถานที่ท่องเที่ยว

มีถ้ำวังครามตั้งอยู่บ้านหาญหมู่ที่ ๒ตำบลเขาขาวนับเป็นถ้ำที่สวยงามมากถ้ำหนึ่งปัจจุบันมีการก่อสร้างถนนลาดยางจนถึงบริเวณถ้ำวังคราม

แหละหนองพรุบุหลัง มีการก่อสร้างถนคอนกรีตเสริมเหล็กรอบ ๆ เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และออกกำลังกาย

๔. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาวเช่นทรัพยากรป่าไม้ป่าเขาขาว และป่าควนทังมีไม้หลุมพอไม้ยางไม้ไผ่เขียว เป็นต้น สำหรับปัญหามลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมประสบปัญหาอยู่บ้าง เนื่องจากมีผู้ประกอบการมาตั้งโรงโม่หินและโรงงานคัดแยกทรายในเขตพื้นที่ เหตุดังกล่าวจึงส่งผลกระทบคุณภาพของน้ำในคลองละงูและคุณภาพอากาศในละแวกโรงงาน

๕.ด้านสังคม

๕.๑ด้านการศึกษามีสถานศึกษาอยู่๕แห่ง

๑. โรงเรียนบ้านหาญ

๒. โรงเรียนบ้านบ่อหิน

๓. โรงเรียนบ้านดาหลำ (โรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการ ศึกษา)

๔. โรงเรียนบ้านนาข่า

๕. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลเขาขาว

๕.๒การพัฒนาเด็กเล็ก มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๓ แห่ง

๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อหิน

๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งเกาะปาบ

๓. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ในมัสยิดนูรุลมูบีน

๕.๓ศาสนา มีมัสยิด จำนวน๗แห่ง

๑.มัสยิดบ้านหนองแบก

๒. มัสยิดญามีอุฎฎันยีบีน

๓. มัสยิดบ้านบ่อหิน

๔. มัสยิดเอี๊ยะซาน

๕.มัสยิดญามีอุลอิควาน

๖.มัสยิดนูรุลมูบีน

๗. มัสยิดมิฟต้าฮุดดีน
ผู้สูงวัยในพื้นที่เขาขาว มีจำนวนมาก ที่ต้องแบกรับภาระในการดูแลตัวเอง ครอบครัว และลูกหลาน ด้วยกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยปัญหาที่มารุมล้อม ทำให้ผู้สุงวัยมีปัญหาด้านสุขภาพจิต ซึ่งส่งผลทำให้การดำรงณ์ชีวิตขาดความสุขทางใจ และมีปัญหาโรคซึมเศร้านวัตกรรมการพัฒนาจิตใจผู้สูงวัย ด้วยวิถีอิสลาม

4. ประเด็นปัญหาหลัก

5. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6. องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. คู่มือการใช้ชีวิต ตามวิถีอิสลาม
2. สื่อบทดุอา (การขอพร) จากคำภีร์อัลกุรอาน (ฉบับภาษาอาหรับ คำอ่านภาษาไทย และแปลเป็นภาษาไทย)
3. สื่อบทซีเกร (การรำลึก) จากคำภีร์อัลกุรอาน (ฉบับภาษาอาหรับ คำอ่านภาษาไทย และแปลเป็นภาษาไทย)
4. อบรมศาสนธรรม คุณธรรม นำชีวิต
5. การอ่านคำภีร์อัลกุรอาน ด้วยทำนอง มุร๊อตตัล
6. เพจคุณธรรม

7. วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงวัย
  1. สภาพปัญหาที่ผู้สูงสัยประสบ
  2. ความต้องการพัฒนาสุขภาพจิต
1.00 1.00
2 2. เพื่อพัฒนานวัตกรรมแก้ปัญหาสุขจิตของผู้สูงวัยด้วยวิถีอิสลาม
  1. คู่มือการใช้ชีวิต ตามวิถีอิสลาม
  2. สื่อบทดุอา (การขอพร) จากคำภีร์อัลกุรอาน (ฉบับภาษาอาหรับ คำอ่านภาษาไทย และแปลเป็นภาษาไทย)
  3. สื่อบทซีเกร (การรำลึก) จากคำภีร์อัลกุรอาน (ฉบับภาษาอาหรับ คำอ่านภาษาไทย และแปลเป็นภาษาไทย)
  4. อบรมศาสนธรรม คุณธรรม นำชีวิต
  5. การอ่านคำภีร์อัลกุรอาน ด้วยทำนอง มุร๊อตตัล
  6. เพจคุณธรรม
1.00 1.00
3 3.เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงวัยด้วยวิถีอิสลาม
  1. กิจกรรมอ่านคุฎบะห์
  2. กิจกรรมการอ่านอัลกุรอาน
  3. กิจกรรมท่องบทดุอาฮฺ
  4. กิจกรรม Love4Old
1.00 1.00

8. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้สูงวัย 100

9. ระยะเวลา

10. วิธีดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 1.ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
1.ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาสุขภาพจิต
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงวัย
รายละเอียดกิจกรรม
สัมภาษณ์ผู้สูงวัยถึงปัญหาและความต้อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 31 มกราคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
สภาพปัญหา
ความต้องการพัฒนาสุขภาพจิต
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
รวมค่าใช้จ่าย 0

กิจกรรมที่ 2 2.พัฒนานวัตกรรมปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัยด้วยวิถีอิสลาม

ชื่อกิจกรรม
2.พัฒนานวัตกรรมปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัยด้วยวิถีอิสลาม
วัตถุประสงค์
  1. 2. เพื่อพัฒนานวัตกรรมแก้ปัญหาสุขจิตของผู้สูงวัยด้วยวิถีอิสลาม
รายละเอียดกิจกรรม
สร้างและพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ประกอบการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงวัยด้วยวิถีอิสลาม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 พ.ค. 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
1. คู่มือการใช้ชีวิต ตามวิถีอิสลาม
2. สื่อบทดุอา (การขอพร) จากคำภีร์อัลกุรอาน (ฉบับภาษาอาหรับ คำอ่านภาษาไทย และแปลเป็นภาษาไทย)
3. สื่อบทซีเกร (การรำลึก) จากคำภีร์อัลกุรอาน (ฉบับภาษาอาหรับ คำอ่านภาษาไทย และแปลเป็นภาษาไทย)
4. อบรมศาสนธรรม คุณธรรม นำชีวิต
5. การอ่านคำภีร์อัลกุรอาน ด้วยทำนอง มุร๊อตตัล
ทรัพยากรอื่น ๆ
ภาคีร่วมสนับสนุน
รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
รวมค่าใช้จ่าย 0

กิจกรรมที่ 3 3.จัดกิจกรรมพัฒนาสุขภาพจิตผู้สูงวัยด้วยวิถีอิสลาม

ชื่อกิจกรรม
3.จัดกิจกรรมพัฒนาสุขภาพจิตผู้สูงวัยด้วยวิถีอิสลาม
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    จัดกิจกรรมประจำสัปดาห์และพบปะประจำเดือน
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    1. กิจกรรมอ่านคุฎบะห์
    2. กิจกรรมการอ่านอัลกุรอาน
    3. กิจกรรมท่องบทดุอาฮฺ
    4. กิจกรรม Love4Old
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    รายละเอียดงบประมาณ
    ประเภทจำนวนบาทครั้งรวมเงิน
    ค่าตอบแทนวิทยากร 3 คน 2,000 10 60,000
    ค่าตอบแทนการประสานงาน 1 คน 1,000 10 10,000
    ค่าจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ 5 ชิ้น 1,500 5 37,500
    ค่าเช่าสถานที่ 2 ครั้ง 3,000 10 60,000
    ค่าอาหาร 100 คน 100 10 100,000
    ค่าเช่ารถ 1 เที่ยว 1,000 10 10,000
    ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ/รายได้ 7 ชิ้น 10,000 1 70,000
    ค่าวัสดุสำนักงาน 2 ชุด 2,000 1 4,000
    ค่าถ่ายเอกสาร 100 คน 100 3 30,000
    รวมค่าใช้จ่าย 381,500

    รวมงบประมาณทุกกิจกรรมของแผนการดำเนินงาน จำนวน 381,500.00 บาท

    ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุรวมเงิน
    ค่าใช้จ่าย (บาท) 70,000.00 37,500.00 200,000.00 74,000.00 381,500.00
    เปอร์เซ็นต์ (%) 18.35% 9.83% 52.42% 19.40% 100.00%

    11. งบประมาณ

    381.00บาท

    12. การติดตามประเมินผล

    ต่อชุมชนต่อนักศึกษา
    ผลผลิต (Output) 1. ได้ใช้นวัตกรรมพัฒนาสุขภาพจิต
    2. ผู้สูงวัยได้พบปะเพื่อนๆในวัยเดียวกัน
    3. ผู้สูงวัยมีความสุข
    1. เข้าใจวิถีชีวิตของผู้สูงสัย
    2. ได้พัฒนาศักยภาพตนเองในการพัฒนานวัตกรรม
    ผลลัพธ์ (Outcome) ผู้สูงวัยอายุยืน และได้รับผลบุญจากการพัฒนาสุขภาพจิต มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมีความเมตตากรุณาผู้สูงวัย
    ผลกระทบ (Impact) ผู้สูงวัยในชุมชนมีสุขภาพที่ดีทำให้บุตรหลานหายเป็นห่วง และทำให้ชุมชนเข้มแข็ง และมีความสุข นักศึกษาสามารถนำเอากระบวนการวิถีอิสลามไปประยุกต์ใช้กับสมาชิกในครอบและในชุมชนของนักศึกษา
    นำเข้าสู่ระบบโดย harun harun เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2562 20:12 น.